Analysis of public policy


นโยบายสาธารณะแห่งรัฐ


แนวคิด 
    การดำเนินชีวิตและการทำงานของมนุษย์เราไม่ว่าจะทำอยู่ที่ไหนเมื่อไหร่ การดำเนินชีวิตหรือการทำงานจะเกี่ยวข้องกับนโยบายของภาครัฐบาลทั้งหมดเพราะเราเองต้องทำงานกับคนจำนวนมาก ๆ ซึ่งทำให้เกิดปัญหาต่าง ๆ มากมาย รัฐจึงต้องอาศัยอำนาจนั้นเข้ามาแทรกแซงและบริหารจัดการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น หรือเราจะได้ยินอยู่เสมอว่ารัฐบาลประกาศนโยบายเรื่องนี้ เรื่องนั้นออกมา เพื่อให้เราทราบและต้องปฏิบัติตาม ซึ่งเราอาจเป็นผู้ร่วมในการกำหนดนโยบายหรือผู้ได้รับผลกระทบหรือเป็นคัดค้านในนโยบายนั้นหรือบางครั้งเราอาจจะได้ยินคำกล่าวที่ว่า "นโยบายย่อมอยู่เหนือเหตุผล"

   Policy คือ กรอบแนวคิดหรือแนวทางในการแก้ไขปัญหาหรือสนองต่อความต้องการของคนในสังคมนั้นๆ

   Public คือ กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับผู้คนจำนวนมาก ๆ หรือคนในสังคมนั้น ซึ่งดำรงชีวิตอยู่ร่วมกัน  แก้ปัญหาต่าง ๆ มากมาย อาจมีการกระทบ กระเทือนต่อสิทธิเสรีภาพและหน้าที่ของบุคคล ซึ่งจะต้องอาศัยอำนาจของรัฐเข้ามาช่วยในการบริหารจัดหรือการกำหนดนโยบาย

ความหมายและความเป็นมา 

คำว่า “นโยบาย” พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 ให้ความหมายว่า หมายถึง หลักการและวิธีปฏิบัติซึ่งถือเป็นแนวดำเนินการ

มาจากศัพท์ว่า “นย + อุบาย” หมายถึง เค้าความที่สื่อให้เข้าใจเอาเอง หรือหมายถึง“แนวทางหรืออุบายที่ชี้ทางไปสู่วัตถุประสงค์

คำว่า “ Policy ” มีความหมายว่า แนวทางปฏิบัติของบ้านเมืองหรือหมู่ชน

มาจากรากศัพท์ภาษากรีก “Polis” ซึ่งหมายถึงเมือง รัฐ

    คำว่า “นโยบายสาธารณะ” (Public Policy) ในหลายมิติตามวัตถุประสงค์และแนวทางการศึกษาของแต่ละคน ซึ่งสามารถจำแนกได้เป็น 3 กลุ่ม ดังนี้

กลุ่มที่ 1 : ในมิติที่เป็นกิจกรรมหรือการกระทำหรืองดเว้นการกระทำของรัฐบาล
กลุ่มที่ 2 : ในมิติที่เป็นแนวทางเลือกสำหรับการตัดสินใจของรัฐบาล
กลุ่มที่ 3 : ในมิติที่เป็นแนวทางการกระทำของรัฐบาล

กลุ่มที่ 1 : ในมิติที่เป็นกิจกรรมหรือการกระทำหรืองดเว้นการกระทำของรัฐบาล
เดวิด อีสตัน (David Euston) (1953)

  • ได้นิยามคำว่านโยบายสาธารณะว่า "คืออำนาจในการจัดสรรคุณค่าและประโยชน์ต่าง ๆ ทั้งหมดในสังคมโดยอาศัยอำนาจตามกฎหมายเพื่อสังคมเป็นส่วนร่วม”

เจส์ม แอนเดอร์สัน (James Anderson) (1970)

  • ได้นิยามคำว่านโยบายสาธารณะว่า"คือแนวทางในการปฏิบัติของรัฐ ที่มีจุดมุ่งหมายหรือวัตถุประสงค์ที่เกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่ง เช่น ความยากจน เกษตรกรรม ”

ไอรา ชาร์คานสกี้ (Ira Sharkansky) (1970)

  • ได้นิยามคำว่านโยบายสาธารณะว่า"คือกิจกรรมที่กระทำโดยรัฐซึ่งครอบคลุมกิจกรรมของรัฐทั้งหมดรวมทั้งกำหนดกฎระเบียบในการควบคุมและกำกับกิจกรรม เช่น ด้านการศึกษา การคมนาคม ขนส่ง ฯลฯ"

ธอมัส ดาย (Thomas R. Dye) (1984)

  •  ได้นิยามคำว่านโยบายสาธารณะว่า"สิ่งใดก็ตามที่รัฐบาลเลือกที่จะกระทำ หรือเลือกที่จะไม่กระทำ”

ลูอิส โคนิก (Louis Koenig) (1986)

  • ได้นิยามคำว่านโยบายสาธารณะว่า"คือกิจกรรมที่รัฐบาลกระทำหรือไม่กระทำ ซึ่งมีผลต่อความกินดี อยู่ดีของประชาชน นโยบายสาธารณะมีเนื้อหาและผลของนโยบายที่ตามมาในการกำหนดชีวิตและอนาคตของประชาชน"

กลุ่มที่ 2 : ในมิติที่เป็นแนวทางเลือกสำหรับการตัดสินใจของรัฐบาล

ลินตัน คอล์ดเวลล์ (Lynton Coldwell)

  • ได้นิยามคำว่านโยบายสาธารณะว่า “บรรดาการตัดสินใจอย่างสัมฤทธิ์ผลที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมต่าง ๆ ที่สังคมอนุญาต หรือห้ามมิให้กระทำการ การตัดสินใจดังกล่าวอาจออกมาในรูปคำแถลงการณ์ กฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ หรือคำพิพากษา เป็นต้น และนโยบายนั้นจะต้องปฏิบัติตามนโยบายนั้นในอนาคต”

 วิลเลี่ยม กรีนวูด (William Greenwood)

  • ได้นิยามคำว่านโยบายสาธารณะ “คือการตัดสินใจขั้นต้น เพื่อที่จะกำหนดแนวทางกว้าง ๆ เพื่อนำไปเป็นแนวทางของการปฏิบัติงานต่าง ๆ ให้เป็นไปอย่างถูกต้อง และบรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้”

อาร์ เจ เอส เบเกอร์ (R.J.S. Baker)

  • ได้นิยามคำว่านโยบายสาธารณะ “ คือการตัดสินใจของรัฐบาลว่าจะทำอะไร”

อมร นโยบายสาธารณะ

ได้นิยามคำว่านโยบายสาธารณะ

  •  ในความหมายอย่างแคบ หมายถึง หลักการและกลวิธีที่นำไปสู่เป้าหมายที่กำหนดไว้
  • ในความหมายอย่างกว้าง จะครอบคลุมถึงการตัดสินใจเกี่ยวกับการกำหนดตัวเป้าหมายอีกด้วย รักษาสัตย์

Heing Eulau และ Kenneth Prewitt

  • ได้นิยามคำว่านโยบายสาธารณะ  “เป็นการตัดสินใจที่ไม่ใช่การตัดสินใจชั่วขณะ แต่เป็นการตัดสินใจที่แน่นอน มีลักษณะของการกระทำที่ไม่เปลี่ยนแปลง และกระทำซ้ำ ๆ ทำในระยะยาวมากกว่าระยะสั้น”

กลุ่มที่ 3 : ในมิติที่เป็นแนวทางการกระทำของรัฐบาล

ชาร์ลส์ จาคอป (Charles Jacop)

  • ได้นิยามคำว่านโยบายสาธารณะ “ หลักการ แผนงาน หรือแนวทางการกระทำต่าง ๆ”

 ฮาโรลด์ ลาสเวลล์ กับ อับราฮัม แทปแพลน (Harold Lasswell & Abraham Kaplan)

  • ได้นิยามคำว่านโยบายสาธารณะ “คือแผนงาน หรือโครงการที่ได้กำหนดขึ้น อันประกอบด้วย เป้าหมาย คุณค่า และการปฏิบัติต่าง ๆ ”

พินพันธุ์ นาคะตะ

ได้นิยามคำว่านโยบายสาธารณะ  “คือโครงการที่รัฐบาลกำหนดขึ้นเป็นแนวทางสำหรับการปฏิบัติในการจัดสรรคุณค่าต่าง ๆ ให้แก่สังคม”

     นโยบายสาธารณะ (Public Policy) คือ กิจกรรมที่กระทำโดยรัฐบาลตัดสินใจ
กระทำ ให้ครอบคลุมกิจกรรมทั้งหมด ซึ่งต้องมีวัตถุประสงค์ เป้าหมายที่ชัดเจน ต้องมีการวางแผนการดำเนินกิจกรรมอย่างเป็นระบบตอบสนองความต้องการของประชาชนส่วนร่วมและถูกต้องตามระเบียบกฎหมาย

   1. สำคัญต่อผู้กำหนดนโยบาย

   2. สำคัญต่อประชาชน

   3. เป็นเครื่องมือในการกำหนดทิศทางในการพัฒนาประเทศ

   4. เป็นเครื่องมือในการตอบสนองความต้องการของประชาชน

   5. เป็นเครื่องมือในการแก้ไขปัญหาที่สำคัญของประชาชน

   6. เป็นการใช้อำนาจของรัฐบาลเพื่อจัดสรรค่านิยมทางสังคม

   7. เป็นเครื่องมือของรัฐบาลในการสร้างความเป็นธรรมในสังคม

   8. เป็นเครื่องมือในการสร้างความเสมอภาคในโอกาสแก่ประชาชน

   9. เป็นเครื่องมือในการกระจายรายได้แก่ประชาชน

   10. เป็นเครื่องมือในการกระจายความเจริญไปสู่ชนบท

   11. เป็นเครื่องมือในการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

   12. เป็นเครื่องมือของรัฐบาลในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม


 องค์ประกอบของนโยบายเป็นส่วนหนึ่งในการกำหนดนโยบายซึ่งพอสรุปเป็นแผนภาพได้ด้งนี้  


อ้างอิงจาก:
  ดิศกุล เกษมสวัสดิ์(2554).สไลด์ประกอบการบรรยาย Public Policy.มหาวิทยาลัยบูรพา.    
  เสรี พิจิตรศิริ(ผู้บรรยาย).สไลด์ประกอบการบรรยายวิชานโยบายสาธารณะและการวางแผน.
   ดวงใจ ปีเย่(ผู้บรรยาย)(2549).สไลด์ประกอบการบรรยาย Public Policy and Policy Analysis.

คำสำคัญ (Tags): #Analysis of public policy.
หมายเลขบันทึก: 446120เขียนเมื่อ 27 มิถุนายน 2011 10:25 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:47 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท