ความหมายของและลักษณะของคอมพิวเตอร์ช่วยสอน


ความหมายของและลักษณะของคอมพิวเตอร์ช่วยสอน

ความหมายของคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer - assisted Instruction) หรือ CAI มีผู้

รวบรวมและให้ความหมาย ไว้ดังนี้

ศิริชัย สงวนแก้ว (2542) กล่าวว่า คอมพิวเตอร์ช่วยสอนหมายถึง การประยุกต์คอมพิวเตอร์

มาช่วยในการเรียนการสอน โดยมีการพัฒนาโปรแกรมขึ้นเพื่อเสนอเนื้อหาในรูปแบบต่าง ๆ เช่น

การเสนอแบบติวเตอร์ (tutorial) แบบจำลองสถานการณ์ (simulation) หรือ แบบการแก้ไขปัญหา

(problem solving) เป็นต้น การเสนอเนื้อหาดังกล่าวเป็นการเสนอโดยตรงไปยังผู้เรียนผ่านทาง

จอภาพหรือแป้นพิมพ์โดยเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้มีส่วนร่วม วัสดุทางการสอนคือ โปรแกรมหรือ

courseware ซึ่งปกติจะถูกเก็บไว้ในดิสก์หรือหน่วยความจำของเครื่อง พร้อมที่จะเรียกใช้ได้

ตลอดเวลา การเรียนในลักษณะนี้ในบางครั้งผู้เรียนจะต้องโต้ตอบหรือตอบคำถามเครื่องคอมพิวเตอร์

ด้วยการพิมพ์การตอบคำถามจะถูกประเมิน โดยคอมพิวเตอร์และจะเสนอแนะขั้นตอนหรือระดับ

ในการเรียน ขั้นต่อ ๆ ไป กระบวนการเหล่านี้เป็นปฏิกิริยาที่เกิดขึ้น ระหว่างผู้เรียนกับคอมพิวเตอร์

ดังนั้นสรุปความหมายของคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer-assisted Instruction) เป็น

กระบวนการเรียนการสอน โดยใช้สื่อคอมพิวเตอร์ในการนำเสนอเรื่องราวต่าง ๆ มีลักษณะเป็นการ

เรียนโดยตรงและเป็นการเรียนแบบมีปฏิสัมพันธ์ (interactive) คือ สามารถโต้ตอบระหว่างผู้เรียน

กับคอมพิวเตอร์ได้เป็นวิธีการเรียนการสอนที่ใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ซึ่งออกแบบไว้เพื่อ

นำเสนอบทเรียนแทนผู้สอน และผู้เรียนสามารถเรียนได้ด้วยตนเองตามลำดับขั้นตอนการเรียนอย่าง

เป็นระบบ เมื่อผู้เรียนโต้ตอบกับตัวบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนแล้ว ผู้เรียนจะได้ข้อมูลย้อนกลับ

ทันทีเนื้อหาสาระของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนจะมีลักษณะการออกแบบที่กระตุ้นความสนใจ

ของผู้เรียน ให้ติดตามอย่างต่อเนื่องด้วยการใช้ข้อความ ภาพเคลื่อนไหว ภาพนิ่ง กราฟิก เสียง

เป็นต้น โดยเมื่อผ่านทุกขั้นตอนของบทเรียนแล้วก็จะมีการประเมินผลการเรียนของผู้เรียนว่ามี

ความเข้าใจระดับใด

ถนอมพร เลาหจรัสแสง (2541: 8-11) ได้กล่าวถึงคุณลักษณะสำคัญของคอมพิวเตอร์ช่วย

สอน (CAI) ไว้ดังนี้

คุณลักษณะที่เป็นองค์ประกอบสำคัญของคอมพิวเตอร์ช่วยสอน 4 ประการ ได้แก่

1. สารสนเทศ (information) ในที่นี้หมายถึง เนื้อหาสาระ (content) ที่ได้รับการเรียบเรียง

แล้วเป็นอย่างดีซึ่งทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้หรือได้รับทักษะอย่างหนึ่งอย่างใดตามที่ผู้สร้างได้

กำหนดวัตถุประสงค์ไว้โดยการนำเสนอเนื้อหานี้อาจจะเป็นการนำเสนอในรูปแบบต่าง ๆซึ่งอาจจะ

เป็นในลักษณะทางตรง หรือทางอ้อมก็ได้ตัวอย่างการนำเสนอเนื้อหาในลักษณะทางตรงก็ได้แก่

การนำเสนอเนื้อหาในคอมพิวเตอร์ช่วยสอนประเภทติวเตอร์ซึ่งเปิดโอกาสให้ผู้ใช้ได้รับเนื้อหา

สาระและทักษะต่าง ๆ อย่างตรงไปตรงมาจากการ อ่าน จำทำความเข้าใจ และฝึกฝน ตัวอย่างการ

นำเสนอเนื้อหาในลักษณะทางอ้อมก็ได้แก่การนำเสนอเนื้อหาในคอมพิวเตอร์ช่วยสอนประเภท

เกมส์และการจำลองซึ่งเนื้อหาสาระ หรือทักษะที่ผู้เรียนได้รับจะถูกแฝงเอาไว้ในรูปแบบของเกมส์

ต่าง ๆเพื่อให้ผู้ใช้ได้ฝึกทักษะทางการคิด การจำการสำรวจสิ่งต่าง ๆ รอบตัว และเพื่อสร้าง

บรรยากาศการเรียนรู้ที่สนุกสนานเพลิดเพลิน และจูงใจให้ผู้ใช้มีความต้องการที่จะเรียนมากขึ้น

สารสนเทศ เป็นคุณลักษณะสำคัญประการหนึ่งของคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่ช่วยแยกความ

แตกต่างระหว่างคอมพิวเตอร์ช่วยสอนประเภทเกมส์ออกจากซอฟต์แวร์เกมส์ซึ่งมุ่งเน้นแต่ความ

บันเทิง และความเพลิดเพลินของผู้ใช้โดยไม่คำนึงถึงการให้ความรู้หรือทักษะแก่ผู้เรียนแต่อย่างใด

(บางโปรแกรมถึงกับใช้เรื่องราวที่สะท้อนภาพการต่อสู้และความรุนแรงเป็นส่วนประกอบสำคัญ

ของเกมส์) เช่น ซอฟต์แวร์เกมส์สตรีทไฟท์เตอร์ (street fighter) เป็นต้น อย่างไรก็ดีซอฟต์แวร์

เกมส์บางชิ้นก็อาจจัดว่าเป็นคอมพิวเตอร์ช่วยสอนประเภทหนึ่งได้แต่ทั้งนี้เกมส์เหล่านั้นจะต้องมี

คุณลักษณะสำคัญ กล่าวคือ จะต้องมีเป้าหมายรวม หรือวัตถุประสงค์ในการที่จะนำเสนอเนื้อหา

สาระความรู้หรือทักษะอย่างใดอย่างหนึ่งแก่ผู้เรียน

2. ความแตกต่างระหว่างบุคคล (individualization) การตอบสนองความแตกต่างระหว่าง

บุคคล คือลักษณะสำคัญของคอมพิวเตอร์ช่วยสอนบุคคลแต่ละบุคคลมีความแตกต่างกันทางการ

เรียนรู้ซึ่งเกิดจากบุคลิกภาพ สติปัญญา ความสนใจพื้นฐานความรู้ที่แตกต่างกันออกไป

(individualization) คอมพิวเตอร์ช่วยสอนซึ่งเป็นสื่อการเรียนการสอนรายบุคคลประเภทหนึ่งจึงต้อง

ได้รับการออกแบบให้มีลักษณะที่ตอบสนองต่อความแตกต่างส่วนบุคคลให้มากที่สุด กล่าวคือ

คอมพิวเตอร์ช่วยสอนจะต้องมีความยืดหยุ่นมากพอที่ผู้เรียนจะมีอิสระในการควบคุมการเรียนของ

ตน รวมทั้งการเลือกรูปแบบการเรียนที่เหมาะสมกับตนได้การควบคุมการเรียนของตนนี้ก็มีอยู่

หลายลักษณะด้วยกัน ลักษณะสำคัญ ๆ ได้แก่

2.1 การควบคุมเนื้อหา การเลือกที่จะเรียนส่วนใด ข้ามส่วนใด ออกจากบทเรียน

เมื่อใด หรือย้อนกลับมาเรียนในส่วนที่ยังไม่ได้ศึกษา เช่น มีเมนูหรือรายการที่แยกเนื้อหาตาม

หัวข้ออย่างชัดเจน หรือปุ่มควบคุมต่าง ๆในการสื่อไป (navigate) ในบทเรียน

2.2 การควบคุมลำดับของการเรียน การเลือกที่จะเรียนส่วนใด ก่อนหลัง หรือการ

สร้างลำดับการเรียนด้วยตนเอง เช่น ในลักษณะการเรียนเนื้อหาแบบโยงใย หรือสื่อหลายมิติ

(hypermedia) ซึ่งกำลังเป็นที่นิยมกันอยู่ในปัจจุบัน(ซึ่งอาจอยู่ในรูปของส่วนของการเชื่อมโยงแบบ

ฮอตเวิร์ด (hotword) หรือข้อความหลายมิติ(hypertext) ก็ได้ซึ่งผู้เรียนสามารถที่กดเลือกข้อมูลที่

ต้องการเรียนตามความสนใจ ความถนัด หรือตามพื้นฐาน ความรู้ของตนได้

2.3 การควบคุมการฝึกปฏิบัติหรือการทดสอบ ความต้องการที่จะฝึกปฏิบัติหรือ

ทำแบบทดสอบหรือไม่หากทำจะทำมากน้อยเพียงใด เช่น การมีปุ่มควบคุมต่างๆ จัดหาไว้ทุก

หน้าที่จำเป็น เช่น ปุ่มเลิกทำปุ่มกลับไปหน้าเดิม เป็นต้น

นอกจากนี้คอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่สมบูรณ์แบบอาจที่จะต้องมีการนำระบบผู้เชี่ยวชาญ

(expert system) หรือระบบปัญญาประดิษฐ์ (artificial intelligence) มาประยุกต์ใช้เพื่อที่จะ

สามารถตอบสนองต่อความแตกต่างของผู้เรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น เช่น การจัดเสนอ

เนื้อหา (หรือแบบฝึกหัด) ในระดับความยากง่ายที่ตรงกับพื้นฐานความสามารถ และความสนใจของ

ผู้เรียน เป็นต้น

3. การโต้ตอบ (interaction) ในที่นี้คือ การมีปฏิสัมพันธ์กันระหว่างผู้เรียนกับคอมพิวเตอร์

ช่วยสอนการเรียนการสอนรูปแบบที่ดีที่สุด ก็คือการเรียนการสอนในลักษณะที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียน

ได้มีปฏิสัมพันธ์กับผู้สอนได้มากที่สุดนอกจากนี้การที่มนุษย์สามารถเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

นั้นหาใช่เกิดขึ้นเพียงจากการสังเกตเท่านั้น หากจะต้องมีการโต้ตอบหรือมีปฏิสัมพันธ์โดยเฉพาะ

อย่างยิ่ง การได้มีการปฏิสัมพันธ์กับผู้สอน ดังนั้นคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่ได้รับการออกแบบมาอย่าง

ดีจะต้องเอื้ออำนวยให้เกิดการโต้ตอบระหว่างผู้เรียนกับคอมพิวเตอร์ช่วยสอนอย่างต่อเนื่อง และ

ตลอดทั้งบทเรียน การอนุญาตให้ผู้เรียนเพียงแค่การคลิกเปลี่ยนหน้าจอไปเรื่อยๆ ทีละหน้าไม่ถือว่า

เป็นปฏิสัมพันธ์ที่เพียงพอสำหรับการเรียนรู้

อย่างไรก็ดีมีซอฟต์แวร์มากมายที่โฆษณาตนเองว่าเป็นคอมพิวเตอร์ช่วยสอนแต่เมื่อเปิด

ใช้กันจริง ๆ แล้ว ไม่น่าจะเป็นคอมพิวเตอร์ช่วยสอนได้เลย ทั้งนี้ก็เพราะการที่ผู้สร้างไม่ได้นำ

คุณลักษณะสำคัญของคอมพิวเตอร์ช่วยสอนในส่วนของปฏิสัมพันธ์นี้ไปประยุกต์ใช้ในการออก

แบบซอฟต์แวร์ทางการศึกษาที่ได้รับการออกแบบให้ผู้ใช้กดเมาส์เพื่อพลิกเปลี่ยนหน้าไปเรื่อย ๆ

นั้นไม่ถือว่าเป็นการปฏิสัมพันธ์โต้ตอบระหว่างผู้เรียนและผู้สอน ผู้สร้างซอฟต์แวร์จำเป็นต้องใช้

เวลา ในส่วนของการสร้างความคิด วิเคราะห์และสร้างสรรค์เพื่อให้ได้มาซึ่งกิจกรรมการเรียน

(activity) หรืองาน (task) ที่ก่อให้เกิดปฏิสัมพันธ์ซึ่งมีความเกี่ยวเนื่องกับบทเรียน และเอื้ออำนวย

ให้เกิดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ

4. การให้ผลป้อนกลับโดยทันที(immediate feedback) ลักษณะที่ขาดไม่ได้อีกประการหนึ่ง

ของคอมพิวเตอร์ช่วยสอนก็คือ การให้ผลป้อนกลับโดยทันทีตามแนวคิดของสกินเนอร์(skinner)

แล้ว ผลป้อนกลับ หรือการให้คำตอบนี้ถือเป็นการเสริมแรง (reinforcement) อย่างหนึ่ง การให้ผล

ป้อนกลับแก่ผู้เรียนในทันทีหมายรวมไปถึงการที่คอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่สมบูรณ์จะต้องมีการ

ทดสอบหรือประเมินความเข้าใจของผู้เรียนในเนื้อหาหรือทักษะต่างๆตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้

ด้วย ซึ่งการให้ผลป้อนกลับแก่ผู้เรียนเป็นวิธีที่อนุญาตให้ผู้เรียนสามารถตรวจสอบการเรียนของตน

ได้ทั้งนี้มีงานวิจัยหลายชิ้นซึ่งสนับสนุนว่าการให้ผลป้อนกลับ โดยทันทีของคอมพิวเตอร์ช่วยสอน

นี้เองที่ถือได้ว่าเป็นจุดเด่น หรือข้อได้เปรียบประการสำคัญของคอมพิวเตอร์ช่วยสอน โดยเฉพาะ

อย่างยิ่งเมื่อเทียบกับสื่อประเภทอื่นๆไม่ว่าจะเป็นสื่อสิ่งพิมพ์หรือโสตทัศนวัสดุแล้ว เนื่องจากสื่อ

อื่นๆนั้นไม่สามารถที่จะประเมินผลการเรียนของผู้เรียนพร้อมกับการให้ผลป้อนกลับโดยฉับพลัน

เช่นเดียวกับคอมพิวเตอร์ช่วยสอน

ลักษณะของการให้ผลป้อนกลับนี้เป็นสิ่งที่ทำให้คอมพิวเตอร์ช่วยสอนแตกต่างไปจาก

มัลติมีเดีย-ซีดีรอมส่วนใหญ่ซึ่งได้มีการรวบรวม และนำเสนอเนื้อหาเกี่ยวกับเรื่องราวของสิ่งต่างๆ

หรือเหตุการณ์สำคัญต่างๆ ฯลฯ แต่มัลติมีเดียซีดีรอมไม่ได้มีการประเมินความเข้าใจของผู้ใช้แต่

อย่างใดไม่ว่าจะอยู่ในรูปแบบทดสอบแบบฝึกหัดหรือการตรวจสอบความเข้าใจในรูปแบบใด

รูปแบบหนึ่ง ซึ่งทำให้มัลติมีเดีย-ซีดีรอมเหล่านั้นถูกจัดว่าเป็นสื่อสำหรับการนำเสนอ (presentation

media) ไม่ใช่คอมพิวเตอร์ช่วยสอน

จากคุณลักษณะที่มีอาจจะสรุปได้ว่า (Computer - assisted Instruction) หรือ CAI เป็น

สื่อการเรียน การสอน เป็นกระบวนการเรียนการสอน โดยมีลักษณะการทำงานในรูปแบบของสื่อ

ประสม (multimedia) คือใช้สื่อร่วมกันมากกว่า 1 ชนิด เช่น ตัวอักษร ภาพ เสียง ภาพเคลื่อนไหว ที่

สำคัญคือสามารถโต้ตอบระหว่างผู้เรียนกับ คอมพิวเตอร์มีการประเมินผลเพื่อสนองตอบให้กับ

ผู้เรียนอย่างรวดเร็ว โดยจะต้องมีลักษณะสำคัญ4 ประการ ซึ่งเรียกย่อๆ ว่า 4-I คือ

1. Information: ต้องมีเนื้อหาสาระสำคัญ

2. Individualized: ต้องตอบสนองความแตกต่างระหว่างบุคคล

3. Interactive: ต้องมีการโต้ตอบระหว่างผู้ใช้กับบทเรียนได้

4. Immediate Feedback: ต้องให้ผลย้อนกลับโดยทันที

หมายเลขบันทึก: 445838เขียนเมื่อ 25 มิถุนายน 2011 16:12 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 03:22 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท