สถานการณ์มันสำปะหลังเดือนมิถุนายน


มันสำปะหลังช่วงฝน

20 มิถุนายน 54 ไปเยี่ยมแปลงมันสำปะหลังที่กำแพงเพชร เขตอ.เมืองเพิ่งฝนตกและได้รับฝนอยางต่อเนื่องต้นมันสำปะหลังงอกงามดี เขตทรงธรรมเกษตรกรส่วนใหญ่นิยมปลูกข้าวโพดไปพร้อม ๆ กับการปลูกมันด้วย โดยยกร่องปลูกมันสำปะหลังบนสันร่องและปลูกข้าวโพดระหว่างแถว ปลูกแถวเว้นแถว เกษตรกรต้องการมีรายได้ในช่วงแรก หลังเก็บข้างโพดแล้วมัสำปะหลังจะได้เติบโตเต็มที่ การปลูกที่นี่ปลูกมันข้ามปีจึงไม่สนใจกับการเจริญเติบโตในช่วงแรกที่โดนข้างโพดเบียดบังไป แต่ในรายที่มีพื้นที่ปลูกมาก ๆ มัจะปลูกมันอย่างเดี่ยวโดยการเตรียมดินให้ดี (ใส่ปุ๋ยอินทรีย์หรือวัสดุเหลือทึ้งจากโรงรงานอ้อยหรือโรงงานผงชูรส หรือปุ๋ยคอก ไถกลบพรวนดินตากไว้หลังจากเก็บเกี่ยวผลผลิต รอจนฝนมาความชื้นในดินมากพอจึงไถเตรียมดินอย่างปราณีตเพื่อปลูก)อาจยกร่องหรือไม่ก็ได้ ที่จริงการยกร่องหรือไม่ขึ้นอยู่กับสภาพพื้นที่ด้วย หากการระบายน้ำดีการยกร่องปลูกก็ไม่จำเป็น

ช่วงนี้มันสำปะหลังกำลังเจริญเติบโต เพลี้ยแป้งที่พบในช่วงแล้งที่ผ่านมา ก็ไม่ปรากฎกายหรือพบน้อยมาก โดยเฉพาะสีชมพูสุ่ม 4 แปลง พบ 1 แปลงในปริมาณเล็กน้อย จะพบชนิดอื่นเช่นสีเขียว และสีเทา เป็นหลัก ไม่พบแตนเบียนตัวเป็น ๆ เลย พบเฉพาะซากมัมมี่ที่ฝาเปิดแล้ว กำแพงเพชรเขตอำเภอเมือง คลองขลุง(ฝนน้อยกว่า)ไม่น่ากังวล  แต่เขตคลองลานซึ่งช่วงนี้แห้งแล้งกว่ามากใบหุบพบเพลี้ยป้งสีชมพู แต่ก็โชคดีที่พบร่องรอยการเข้าเบียนของแตนเบียน-เห็นมัมมี่ ยังไม่เห็นตัว- หากมีฝนมาช่วยบ้างก็จะไม่มีปัญหา ซึ่งช่วงนี้ก็เป็นหน้าฝนอยู่

นครสวรรค์แปลงที่มีเพลี้ยระบาดตั้งแต่ช่วงก่อนเข้าแล้งของปีนี้ มีการนำแตนเบียนไปปล่อยช่วง 25 กุมภาพันธ์ 54 ก็ยังพบเพลี้ยแป้งสีชมพูอยู่ มัมมี่ และเพลี้ยแป้งชนิดอื่น ๆ การควบคุมยังทำได้ไม่ดีแปลงมีวัชพืชมาก

กาญจนบุรี ที่เลาขวัญ พบแตนเบียนเพลี้ยแป้งสีชมพูตัวเมีย 1 ตัว ใต้เลนส์ขยายพอดี เผอิญเป็นช่วงบ่ายแดดแรง พบเขาระหว่างที่เขาหลบหรือกำลังตามเบียนเพลี้ยสีชมพูในพุ่มยอดมัน มันปลูกใหม่พบร่องรอยการทำลายของสีชมพูเนื่องจากยอดหงิก แล้วได้รับฝนช่วงหนึ่งจนยอดคลายและไม่พบสีชมพูในช่วงอายุตัวเต็มวัยแต่พบวัย 1 เล็กน้อย อากาศที่นี่แห้งแล้งมากมันจะเจริญเติบโตน้อยกว่าดินก็เป็นดินทรายจัด มีก้อนกรวดศิลาแรงปน พื้นที่แถบนี้น่าเป็นห่วง

30 มิ.ย.ระยอง การใช้สารเคมียังมีอยู่แม้ในส่วนราชการก็ตาม เพลี้ยแป้งช่วงนี้มีสีเขียวมากกำลังขยายเพิ่มจำนวน ตัวอ่อนมาก แตนเบียนท้องถิ่นมีน้อยพอเห็นตัวอยู่ส่วนแตนเบียนยังไม่พบตัวแต่ก็พบมัมมี่ของเขาอยู่น้อยมาก ของชาวบ้านก็พบทำนองเดียวกัน

หมายเลขบันทึก: 445390เขียนเมื่อ 22 มิถุนายน 2011 18:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 มิถุนายน 2012 10:32 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

แช่ท่อนพันธุ์ก่อนปลูกช้วยได้มาก ตอนนี้มันอายุ3เดือนยังไม่พบการเข้าทำลายของเพลี้ยแป้ง

จริงมีการยืนยันโดยหลายคนแล้วว่าใช้ได้ แต่ก็ยังมีคนที่นำเรื่องนี้มากล่างว่ายังมีข้อจำกัดที่บางแปลงโชคร้ายแปลงข้างเคียงไม่แช่ท่อนพันธุ์ด้วยสารฆ่าแมลงที่ราชการแนะนำ แล้วมีเพลี้ยติดมาด้วยแปลงนั้นระบาดรุนแรง หลังจาก 1 เดือนซึ่งหมดฤทธิ์ยาที่แช่ก็เริ่มมีเพลี้ยแป้งเข้าทำลายในแปลง หากเราพบว่ามีบางแปลงที่ไม่ได้ใส่ใจก็ควรเว่นวรรคการปลุกมันสำปะหลังเพื่อไม่ให้เป็นแหล่งแพร่กระจายเพลี้ยแป้ง อยากให้ชาวไร่มันทุคนช่วยกัน และคิดว่าคงไม่นานเกินไปเราต้องควบคุมได้ ตั้งแต่ปลูกต้นฤดูฝน ไม่ทิี้งต้นมันใว้ในแปลงข้ามแล้งโดยไม่มีการจัดการ ปรับปรุงบำรุงดินให้มันแข้งแรง หรือให้น้ำ สิ่งเหล่านี้จะช่วยลดการระบาดของเพลี้ยแป้งได้

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท