กลุ่มสังคมเพื่อนแรงงานนอกระบบชุมชนคลองเตย


บทเรียนแรงงานนอกระบบชุมชนคลองเตย “ ยถากรร-มาชน

                ชุมชนคลองเตย ชุมชนแออัดหรือสลัมที่ใหญ่ที่สุดของกรุงเทพมหานครและเป็นแหล่งพักอาศัยของคนจนเมืองที่เป็นกำลังแรงงานสำคัญในการพัฒนาประเทศไทย อาจพูดได้ว่าตลอดระยะเวลากว่า 50 ปีชุมชนคลองเตยชุมชนเล็กๆตั้งอยู่บนที่ดินของ การท่าเรือแห่งประเทศไทย (กทท.) บริเวณท่าเรือคลองเตยริมแม่น้ำเจ้าพระยา เติบโตมาพร้อมๆกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เพราะภาครัฐพยายามผลักดันการพัฒนาประเทศด้วยอุตสาหกรรม ทำให้รัฐบาลและเอกชนต้องสั่งสินค้าเครื่องจักรและวัตถุดิบจากต่างชาติ ท่าเรือคลองเตยซึ่งเป็นศูนย์กลางการคมนาคมขนส่งทางน้ำจึงมีความจำเป็นต้องใช้แรงงานคนจำนวนมากในการขนถ่ายสินค้า จึงเกิดการอพยพแรงงานจากพื้นที่ต่างๆทั่วประเทศจำนวนมาเข้ามาทำงานเมื่อไม่มีที่ซุกหัวนอนก็อาศัยสร้างเพิงพักพิงชั่วคราวอยู่ใกล้บริเวณท่าเรือคลองเตยทั้งที่ดินของการท่าเรือและที่ดินของเอกชนอื่นๆที่เจ้าของมิได้ดูแลหรือใช้ประโยชน์จนกลายเป็นชุมชนคลองเตยที่มีเนื้อที่ประมาณ 400 ไร่ มีชุมชนย่อยๆอีกประมาณ 26 ชุมชน ผู้พักอาศัยกว่า 70,000 คน

                ชุมชนคลองเตยเกิดขึ้นอย่างไร้รูปแบบการจัดระเบียบชุมชนตั้งแต่เริ่มตั้งหลักแหล่งย่อมมีปัญหาสะสมทั้งการบุกรุกที่ดิน การเป็นแหล่งเสื่อมโทรมที่พักอาศัยด้อยคุณภาพ จึงมีหน่วยงานเอกชนและรัฐเข้ามาช่วยเหลือดูแลเด็กเยาวชน ผู้ป่วย ผู้ประสบภัย ผู้พิการ ผู้ไร้ที่พึ่งพิง ผู้สูงอายุ ซึ่งครอบคลุมด้านสุขภาพ การศึกษา การฝึกอาชีพและทุนประกอบอาชีพ การออมทรัพย์ การรณรงค์ต่อต้านการยาเสพติด ซึ่งมีองค์กรมูลนิธิต่างๆตั้งอยู่ในบริเวณ ดังนี้ มูลนิธิสงเสริมการพัฒนาบุคคล (The Human Development Foundation)  โดยคณะสงฆพระมหาไถ มูลนิธิดวงประทีป   มูลนิธิสันติสุข มูลนิธิรวมน้ำใจ  มูลนิธิสิกขาเอเชีย  มูลนิธิเด็กออนในสลัมในพระอุปถัมภ์สมเด็จพระเจาพี่นางเธอเจาฟากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร  มูลนิธิชวยคนปญญาออนในพระบรมราชินูปถัมภ์  มูลนิธิไทยอาทร หรือ แอคเซ็นเตอร์   สมาคมอาสาตอตานยาเสพติดคลองเตย  สมาคมพัฒนาประชากรและชุมชน (PDA)  สหกรณเครดิตยูเนี่ยนชุมชนพัฒนาคลองเตย 79 จำกัด มูลนิธิเพื่อการศึกษาตลอดชีวิต มูลนิธิบานชีวิตใหม  ศูนยพัฒนาเด็กพิเศษชุมชนคลองเตย   สถาบันการพัฒนาพื้นฐานภายใตโครงการสงเสริมการจัดการสิ่งแวดลอมเมือง (Grassroots Development Institute)  และองค์กรสาธารณะประโยชน์ขนาดเล็กอีกมากตั้งขึ้นมาเพื่อช่วยเหลือชาวชุมชน

 

http://www.m-society.go.th/document/edoc/edoc_2226.pdf

 

ความเป็นมากลุ่มแรงงานนอกระบบชุมชนคลองเตย 

                ในปีพ.ศ 2545 สถานการณ์ยาเสพติดชุมชนคลองเตยระบาดอย่างหนัก รัฐบาลขณะนั้นจึงมีมาตรการการปราบปรามขั้นเด็ดขาด ในฐานะของสมาชิกชุมชนคุณสินสมุทร ประดา และเพื่อนพ้องที่ร่วมกิจกรรมกันตั้งแต่ปีพศ. 2526 สมัยเป็นลูกเสือชาวบ้าน และกิจกรรมอื่นๆอย่างต่อเนื่อง ต้องการแสดงความใส่ใจช่วยเหลือให้ชุมชนมีปัญหายาเสพติดน้อยลงจึงร่วมกันจัดตั้ง ชมรมชื่อว่าศูนย์ป้องกันและบำบัดยาเสพติด แต่ด้วยความหวาดกลัวอิทธิพลของผู้ค้ายาเสพติดจึงไม่มีชาวชุมชนเข้าร่วมกิจกรรมของเพราะชื่อ “ศูนย์ป้องกันและบำบัดยาเสพติด”ที่มุ่งประเด็นต่อต้านยาเสพติดอย่างเปิดเผยอาจเป็นอันตรายแก่ผู้เข้าร่วมกิจกรรม  คุณสินสมุทร  ประดา จึงเปลี่ยนชื่อชมรมใหม่ว่า “ชมรมผู้บำเพ็ญประโยชน์เพื่อสังคม คิดดี ทำดี สังคมดี” ตั้งแต่ปีพศ. 2546 แล้ว ดำเนินกิจกรรมในวันสำคัญของชาตินี่ปีละ 4 ครั้ง คือ วันเด็ก วันผู้สูงอายุ วันแม่ วันพ่อ ทำทุกปี เป็นต้นมา

                คุณสินสมุทร ทราบข่าวว่าคุณปรีชา ทองจันทร์ เป็นที่ปรึกษาด้านกฎหมายของสหกรณ์ยูเนี่ยนที่ศูนย์เมอร์ซี่ ในชุมชนคลองเตย ต้องการแกนนำที่มีเพื่อนบ้านและกว้างขวางในเขตคลองเตยเข้าร่วมโครงการเสริมสร้างความเข้มแข็งขบวนการแรงงานเพื่อคุ้มครองสวัสดิภาพแรงงาน(สสร.) จึงสนใจและ สมัครเข้าเป็นแกนนำของโครงการฯ เมื่อได้พบ รศ. ดร.ณรงค์  เพ็ชรประเสริฐได้ศึกษาข้อมูล วัตถุประสงค์ของโครงการฯและตระหนักว่าเป็นประโยชน์ต่อแรงงานผู้ยากลำบากในชุมชนจึงติดต่อประสานงานให้คนในชุมชนที่สนใจเข้าร่วมกลุ่มสังคมเพื่อน

ความคาดหวังเดิม

                จากสภาพความเป็นชุมชนแออัดที่มีหน่วยงาน องค์กรภาครัฐ ภาคเอกชน มูลนิธิและผู้มีจิตอาสาเข้ามาให้ความช่วยเหลือสงเคราะห์ผู้ยากลำบากในชุมชนตลอดเวลาผู้คนส่วนใหญ่มองว่าชุมชนคลองเตยเป็นแต่ผู้รับความช่วยเหลือจากผู้อื่น ชมรมผู้บำเพ็ญประโยชน์เพื่อสังคม คิดดี ที สังคมดี ในช่วงก่อนที่จะเข้าร่วมโครงการของสสร. กลุ่มแกนนำอยากทำดีเพื่อสังคม อยากให้ชาวชุมชนเป็นผู้ให้ ผู้เสียสละมากว่าเป็นผู้รับฝ่ายเดียวจึงจัดกิจกรรมที่เป็นรูปธรรมด้วยการรวมตัวกันไปทำกิจกรรมปีละ 2 ครั้งเป็นอย่างน้อย เช่น จัดกิจกรรมนำของเยี่ยมเด็กๆในช่วงวันเด็ก หรือการไปเยี่ยมผู้สูงอายุ ไปทำบุญ เป็นต้น

 

 

 

ความคาดหวังใหม่

                เมื่อได้ศึกษาวัตถุประสงค์ของโครงการเสริมสร้างความเข้มแข็งขบวนการแรงงานเพื่อคุ้มครองสวัสดิภาพแรงงาน  กลุ่มสังคมเพื่อนชมรมผู้บำเพ็ญประโยชน์เพื่อสังคม คิดดี  สังคมดี มีความคาดหวังเพิ่มเติมที่จะให้เพื่อนพ้องน้องพี่ที่เคยร่วมกิจกรรมอื่นๆมาร่วม เรียนรู้และมีกิจกรรมต่อเนื่องมากขึ้นกว่าเดิมแต่ที่สำคัญคือการให้ชาวชุมชนได้เรียนรู้จักการให้และ มีความเสียสละแก่สังคมส่วนรวม

ทุนทางสังคมเดิมของชุมชนคลองเตย

                สมากชิกกลุ่มส่วนใหญ่มีความใกล้ชิดกันอยู่เดิมเพราะผลของการทำกิจกรรมขององค์กรต่างๆที่เข้ามาทำงานในชุมชนคลองเตย สมาชิกจึงรู้จักกันมาก่อน แทบไม่มีสมาชิกหน้าใหม่ที่ไม่รู้จัก

                แกนนำกลุ่มเป็นคนที่มนุษย์สัมพันธ์ดีชอบเดินพบปะกันคนในชุมชนคลองเตย สื่อสารติดต่อแจ้งข่าวกับคนอื่นๆได้ดี มีเครือข่าย และทำให้เครือข่ายคงอยู่ มีจิตกุศล เสียสละ

พัฒนาการและผลของการเรียนรู้กลุ่มสังคมเพื่อน

                ด้วยความที่ยังไม่เข้าใจยุทธศาสตร์ของกลุ่มสังคมเพื่อนของโครงการสสร.อย่างลึกซึ้งคุณสินสมุทรคิดว่าเป็นการช่วยเหลือคนยากคนจนเหมือนบรรดาองค์กรการกุศลทั่วไปที่เคยเข้ามาช่วยเหลือในชุมชนคลองเตย การตั้งกลุ่มครั้งแรกเมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน พศ.2552คุณสินสมุทรจึงได้เปิดกลุ่มเรียนรู้ กลุ่มละ 20 คน รุ่นแรกเป็นผู้สูงอายุและคนจนประเภทเดินไม่ได้อ่านหนังสือไม่ออกในชุมชน การทำกิจกรรมกลุ่มเรียนรู้จึงยากมากผู้นำกลุ่มจึงใช่วิธีพูดคุยให้ฟังมากว่าให้สมาชิกพูดคุยกันเอง

คุณสินสมุทรเล่าว่า “พอตอนหลังที่ได้ไปประชุม และสัมมนาแกนนำที่โครงการสสร.จัดให้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากกลุ่มต่างๆ ก็เลยรู้ว่ามันเปลี่ยนไปแล้ว คือเราต้องเอาคนที่พอมีความสามารถพูดคุยกันรู้เรื่อง เพราะสังคมเพื่อนเราจะต้องมีการเรียนรู้เพิ่มเติม ช่วยเหลือแบ่งปันเสียสละ ช่วยเหลือกันในด้านการประกอบอาชีพ เปลี่ยนแบบฉบับซักหน่อยว่า “มาพูดคุยกัน ให้ชีวิตดีขึ้น”   จึงได้เปลี่ยนเป้าหมายเป็นการชวนแรงงานนอกระบบเช่นแม่ค้า แม่บ้าน กรรมกรรับจ้างในท่าเรือ (มากที่สุด) จักรยานยนต์รับจ้าง และอีกอาชีพหนึ่งคือเดินทางไปรับของแจก ตามโพยที่มีคนทำขายฉบับละ 5 บาท  มาร่วมเป็นสมาชิกกลุ่มเรียนรู้  สมาชิกส่วนมากพักอาศัยอยู่ที่แฟลต 1- 10 กับ 11 และ 18 อยู่ใกล้ๆสถานที่เราประชุม  

สมาชิกของกลุ่มสังคมเพื่อนในชุมชนคลองเตย ตั้งแต่ปีที่ 1 และปีที่ 2 มีสมาชิก 300 คน พอมาปีที่ 3 ก็ได้อีก 20 คน ทางโครงการเขาก็บอกว่า “หยุด มันจะมากเกินไปแล้ว อยากได้แรงงานในระบบ” ส่วนเราคือแรงงานนอกระบบ ก็เลยหยุด ตอนนี้ก็เลยมีสมาชิกทั้งหมด 320 คนใน 3 ปีนี้ และเป็นแรงงานนอกระบบทั้งหมด   ที่จริงกลุ่มเรียนรู้ในแถบคลองเตยมี 4 กลุ่ม แต่อีก 3 กลุ่มต้องสิ้นสุดไปด้วยเหตุผลใดกลุ่มของคุณสินสมุทรไม่ทราบ เพราะต่างคนต่างทำ กลุ่มที่สิ้นสุดไปมีสมาชิกประมาณ 40 คน แต่กลุ่มสังคมเพื่อนของชมรมผู้บำเพ็ญประโยชน์เพื่อสังคม คิดดี ทำดี สังคมดียังสามารถดำเนินกิจกรรมต่อได้เพราะสมาชิกส่วนใหญ่รู้จักกันเป็นทุนเดิมจึงชอบแวะเวียนมาพูดคุยในกลุ่ม

ความรู้และกระบวนการเรียนรู้ของกลุ่ม

                แกนนำกลุ่มได้จัดทำแบบเรียน สมมติว่าตัวเองเป็นครู จัดทำเป็นบทเรียน  12 สัปดาห์ ทำเป็นบทเรียนเลย 12 เรื่อง เริ่มต้นจากการแนะนำโครงการเสริมสร้างความเข้มแข็งขบวนการแรงงานเพื่อคุ้มครองสวัสดิภาพแรงงาน และจัดทำเป็นเอกสารแจกให้สมาชิกอ่าน เรื่องที่ 2 ก็คือ ประโยชน์ของการออมเงินวันละ 1 บาท เรื่องที่ 3 สังคมเพื่อน การช่วยเหลือแบ่งปัน เสียสละ เรื่องที่ 4  การก่อตั้งชมรมผู้ประกันตนเพื่อพิทักษ์สิทธิประโยชน์จากการประกันสังคม เรื่องที่ 5 การลดละเลิกอบายมุข เรื่องที่ 6  การแพร่ระบาดของยาเสพติดให้โทษ เรื่องที่ 7 การทำกิจกรรมร่วมกันของกลุ่มสังคมเพื่อน เรื่องที่ 8 แรงงานนอกระบบคลองเตย เรื่องที่ 9 ปัญหาที่มีอยู่ด้านสังคมคลองเตย เรื่องที่ 10 ปัญหาที่มีอยู่ด้านเศรษฐกิจคนคลองเตย เรื่องที่ 11 ปัญหาด้านการเมือง เรื่องที่ 12 การก่อตั้งธนาคารแรงงาน  

                ในการพูดคุยกันในกลุ่มสังคมเพื่อนแต่ละสัปดาห์แกนนำจะเป็นผู้เริ่มต้นบรรยายให้ความรู้ซึ่งจะขอยกตัวอย่างในสัปดาห์ที่มีการพูดคุยเรื่องแรงงานนอกระบบในคลองเตยโดยแกนนำจะเกริ่นนำเกี่ยวกับแรงงานนอกระบบ เป็นการว่าจ้างแรงงานทั่วไป แรงงานเหมาจ่าย  คนส่วนใหญ่จะเป็นคนด้อยโอกาสในการประกอบอาชีพ ถูกเอารัดเอาเปรียบจากนายจ้าง ถูกกดค่าจ้างแรงงาน น้อยกว่าค่าจ้างแรงงานของรัฐบาลกำหนด เมื่อประสบอุบัติเหตุเจ็บไข้ได้ป่วย  ต้องหาเงินมาดูแลรักษาตนเอง  น่าเวทนายิ่งนักแต่แกนนำได้เสนอ หนทางแก้ไขโดยนำยุทธศาตร์ของโครงการมาอธิบาย เช่น มีการรวมกลุ่มเรียนรู้ เพื่อเสริมสร้างขบวนการแรงงานนอกระบบคลองเตยไปในทิศทางเดียวกัน รศ. ดร. ณรงค์  เพ็ชรประเสริฐ  คณะเศรษฐศาสตร์  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ยื่นมือช่วยเหลือแรงงาน เกิดชมรมผู้ประกันตน  เพื่อคุ้มครองสุขภาพและสวัสดิการนอกระบบ ตั้งธนาคารประชาชนเพื่อการกู้ยืม/เป็นเจ้าของธนาคาร  ในการกู้เงินมาประกอบอาชีพ

จากนั้นแกนนำจะตั้งประเด็นคำถามให้สมาชิกช่วยกันตอบ เช่นจัดตั้งกลุ่มเรียนรู้ขึ้นมาในคลองเตย  ผู้เข้ามาในกลุ่มเรียนรู้มีความรู้เพิ่มเติม หรือไม่ การลดละเลิก อบายมุข ทุกประเภทที่มีอยู่ในคลองเตย กลุ่มเรียนรู้สามารถทำได้หรือไม่  การดำเนินชีวิตตามแบบทฤษฏีเศรษฐกิจพอเพียงของพ่อหลวงเราทำกันแล้วหรือยัง  และที่ผ่านมาเคยเป็นผู้ให้ไม่หวังสิ่งตอบแทนบ้างหรือไม่  ตามแบบสังคมเพื่อน  ช่วยเหลือ  แบ่งปัน  เสียสละ  และทำกิจกรรมร่วมกันอยู่เสมอ  สมาชิกจะตอบคำถามกันตามความคิดเห็นของตนแต่ส่วนใหญ่จะนั่งฟังและบางส่วนคิดว่าเป็นเรื่องดีที่มีคนคิดให้รวมกลุ่มทำงานซึ่งในชุมชนมีการรวมกลุ่มอยู่หลายประเภทตามที่หน่วยงานขอให้ช่วยแต่ที่ดำเนินการและมีการเข้าถึงปัญหาชุมชนก็มีเรื่องการคุ้มครองผู้บริโภคที่ชุมชนตกเป็นเหยื่อการขายสินค้าหลอกลวง แต่สำหรับเรื่องการรวมกลุ่มเพื่อช่วยเหลือกันก็มีอยู่ตลอดเวลา

การขยายจำนวนสมาชิก

                การที่โครงการขยายได้เร็วในปีที่ 2 เพราะมีสมาชิกเดือดร้อนเรื่องเงินแต่ยังไม่สมารถกู้เงินของกลุ่มได้สมาชิกที่รู้แหล่งทรัพยากรอื่นๆจึงแนะนำกองทุนผู้สูงอายุของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เมื่อมีสมาชิกไปดำเนินการกู้ได้จากกองทุนผู้สูงอายุได้ก็ทำให้สมาชิกในกลุ่มคนอื่นๆเข้าใจว่ากลุ่มสามารถช่วยให้ได้เงินมาจึงมาสมัครกันมากขึ้นเพราะบอกต่อๆกัน

แกนนำเล่าว่าเมื่อโครงการสสร.เห็นว่ามีแต่แรงงานนอกระบบเป็นสมาชิกจึงอยากให้ขยายสมาชิกเป็นแรงงานในระบบซึ่งแรงงานในระบบที่คลองเตยส่วนมากทำงานที่ท่าเรือคลองเตยซึ่งเขามีสหภาพของตนเองการเข้าไปเจาะกลุ่มยากมากเขาไม่สนใจ ตอนนี้กลุ่มเรียนรู้คลองเตยมีสมาชิกกลุ่มทั้งหมด 320 คน

การปรับกลยุทธ์เป็นการคุยกลุ่มเล็ก

                เมื่อหยุดรับสมาชิกใหม่ สมาชิกเดิม 300 กว่าคนก็มาประชุมกันทุกเดือน แต่แบ่งเป็นการคุยกลุ่มย่อย 10 มีแกนนำกลุ่มย่อย ใช้กลยุทธ์คนใกล้ชิดกันก็คุยกัน มักเป็นเรื่องการค้าขาย ทำมาหากิน ปรับทุกข์ เรื่องครอบครัว เรื่องสุขภาพ มีอะไรที่ช่วยกันได้ก็ช่วยกัน เป็นเหมือนเพื่อนบ้านคุยกัน การปรับกลยุทธ์เป็นกลุ่มเล็กเพื่อให้กลุ่มยังมีกิจกรรมการพบปะปรับทุกข์สุขกันอยู่แต่ไม่ได้มีสมาชิกสนใจเพิ่มขึ้น

 

 

 

กิจกรรมการออม

                กลุ่มสังคมเพื่อนชุมชนคลองเตยมีกองทุนหลายกองทุนโดยเริ่มต้นจากการที่เก็บเงินค่าอาหารจากที่ได้เมื่อเข้าร่วมประชุมกลุ่มคนละ 7 บาทฝากที่ศูนย์เมอร์ซี่ 500 กว่าบาท และก็เอาไปเป็นค่าใช้จ่ายกับการเป็นสมาชิกชมรมผู้ประกันตนปีละ 12 บาทต่อคน

แนวคิดการออมเพื่อการลงทุนได้ถูกนำมาดัดแปลงเป็นกองทุนวิสาหกิจชุมชนเพื่อการประกอบอาชีพ ซึ่งคุณสินสมุทรได้ให้รายละเอียดว่า “ใครประกอบอาชีพแล้วเดือดร้อนเราก็ให้กู้ กู้ได้สูงสุด 3,000 บาท ตอนนี้มีเงินสดอยู่ประมาณ 11,000 บาท แต่ต้องออมเดือนละ 300 บาท ประมาณ 3 เดือนนะครับถึงจะกู้ได้ แต่ตอนนี้ไม่ได้ให้ใครกู้นะครับ เพราะเพิ่งเริ่มเมื่อกันยายน 2553   เงินเริ่มต้นก็ขอจากสมาชิกเป็นให้นำเงินที่ได้รับเป็นค่าอาหารช่วงสุดท้ายเหลืออีก 7 เดือน ผมขอจากกลุ่มทุกกลุ่มเลยว่า เงินโครงการสสร.เราไม่เอามาเป็นสมบัติของพวกเราแล้ว แต่เอามาเป็นสมบัติของกองกลางมาเข้ากองทุนวิสาหกิจชุมชนเพื่อเป็นเงินออมหมดจะไปฝากที่ธนาคารออมทรัพย์ เสร็จแล้วเมื่อครบกำหนด 1 ปีที่ธนาคารเขาคิดดอกเบี้ยให้ ถ้าใครไม่พอใจอยากได้เงิน 300 คืน มาแจ้งความประสงค์กับผมเลย ผมจะคืนให้หมดเลยจะซื้อหุ้นไว้เอง”

                กลุ่มสังคมเพื่อนมีสมาชิก 300 กว่าคนถ้าร่วมเป็นสมาชิกกองทุนวิสาหกิจชุมชนด้วยจะเป็นเงินก้อนโตพอสมควร แต่คุณสินสมุทรกล่าวเพิ่มเติมว่า “กลุ่มไม่หยุดแค่นี้ ผมไปเที่ยวบอก หรือเชิญชวนคนนอกชมรมเข้าร่วมโครงการ โดยบอกเขาว่า เอามาช่วยเหลือสังคม ทำทาน และคุณเองก็ได้ประโยชน์ ให้เขาเอาเงินตรงนี้ไปประกอบอาชีพ และเมื่อเจ็บไข้ได้ป่วยเขาก็เอาเงินตรงนี้ไปรักษา เดี๋ยวเขาก็เอามาคืนซึ่งเราอาจะมีกฎ กติกาอะไรก็ว่ากันไป  เป็นกองทุนที่เราคิดขึ้นมาเอง มีข้าราชการบำนาญมาร่วมกับเรา หลายคนอยู่ บางคนก็เป็นพนักงานท่าเรือเก่าๆ ที่อายุมากๆ ประมาณ 70-80 ”  ส่วนกิจกรรมหารายได้เสริมหรือการมีฐานรายได้ที่เพิ่มขึ้นกลุ่มสังคมเพื่อนชุมชนคลองเตยไม่ได้ดำเนินกิจกรรมเรื่องรายได้เสริมของกลุ่มหรือสมาชิกเพราะทุกคนพยายามหาแหล่งทุนมาทำกิจกรรมของตนเองมากว่าการรวมกลุ่มเพื่อประกอบกิจการร่วมกัน

                ผลของกลุ่มสังคมเพื่อน

                การเข้าร่วมกิจกรรมตามยุทธศาสตร์กลุ่มศึกษาหรือกลุ่มสังคมเพื่อนของชุมชนคลองเตยคุณสินสมุทรได้กล่าวว่า “ความเข้าใจของพวกเรา เรายอมรับสภาพของแต่ละบุคคลที่อยู่ร่วมกัน ยอมรับความแตกต่างของแต่ละคน โครงการของสสร. มาเสริมพวกผมให้มันดีขึ้นกว่าเก่าหน่อยหนึ่งครับ ปกติพวกเราทำกันมาอยู่ก่อนแล้ว แต่เราไม่ได้ใช้คำพูดว่า “สังคมเพื่อน” เราใช้คำว่า “เป็นพี่เป็นน้อง” กัน อายุมากกว่าผมเป็นพี่ อายุน้อยกว่าผมเป็นน้อง ไม่มีเพื่อน เพราะเราเป็นพี่เป็นน้องกัน คำว่า “พี่น้อง” มันลึกซึ้ง พอเข้าร่วมโครงการฯมาเราก็เอาคำว่า “สังคมเพื่อน” มาใช้ มาช่วยเหลือผู้อื่น รู้จัก แบ่งปันและ เสียสละ ที่สำคัญที่ต้องการให้เห็นว่าเราคือผู้ให้ ไม่ใช่ผู้รับเพราะฉะนั้นการให้ของพวกเรามันทำให้เรามีความสุข”                  ผลที่เป็นรูปธรรมคือการออมเงินในรูปที่เรียกว่าวิสาหกิจชุมชนซึ่งกลุ่มยืนยันที่จะต้องทำต่อยอดโครงการสสร. เพื่อให้รู้ว่าความรู้ที่สสร.ให้มานั้นไม่เสียเปล่า ซึ่งอาจมีการปรับให้เหมาะสมกับชุมชนคลองเตย

 

บทเรียนกลุ่มสังคมเพื่อนของชุมชนคลองเตย

1.บทเรียนเรื่องการได้เพื่อนที่คอยช่วยเหลือเกื้อกูล : “การเป็นสังคมเพื่อน ทำให้ได้ความเป็นพี่เป็นน้อง และเกิดความห่วงใย อาทร คอยถามทุกข์สุขเราต่อประธาน และเพื่อนร่วมกลุ่ม”  “ช่วยทำให้กลุ่มมีความสามัคคีกันมากขึ้น ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน รู้สึกอบอุ่น ยึดโยงความสัมพันธ์ของกลุ่มให้แน่นแฟ้น และทำให้รู้สึกเหมือนว่ามีเสาหลักคอยค้ำจุนช่วยเหลือกลุ่มเดิมให้สามารถยืนหยัดด้วยตนเองได้อย่างเข้มแข็ง”  “ทำให้เกิดการมานะ อดทน เป็นกำลังใจในการทำมาหากิน และความเป็นอยู่ ต่อสู้ชีวิตให้อยู่รอดด้วยแรงใจจากโครงการนี้เป็นกำลังสำคัญ”

 2. บทเรียนการทำประโยชน์เพื่อส่วนรวม : “รู้จักรักสามัคคี ทำงานเพื่อคนอื่น เป็นคนดี ทำเพื่อสังคม และส่วนร่วม ทำเพื่อประโยชน์ส่วนรวม ” “ทำให้เกิดจิตสาธารณะ คือ ความอยากให้ผู้อื่นมีความสุข ช่วยบริการ และจิตอาสา คือ ความรู้สึกอยากเป็นผู้ให้มากกว่าการเป็นผู้รับซึ่งชาวชุมชนคลองเตยได้รับมาตลอดจึงอยากจะให้มีส่วนหนึ่งของชุมชนเป็นผู้ให้กลับคืนไปบ้างแต่มันยากที่จะเปลี่ยนแปลงกลุ่มใหญ่เปลี่ยนกลุ่มเล็กอย่างกลุ่มศึกษาได้ก็ยังดี”

3.บทเรียนเรื่องความรู้เกี่ยวกับการออม “ความรู้ที่เราได้จากการรวมกลุ่มกัน เราจะเอาความรู้ในเรื่องของการทำงานไปสอนลูกหลานให้ขยัน ตั้งอกตั้งใจทำงาน ทำงานจริงๆ และให้ดำเนินการกลุ่มแบบสังคมเพื่อน รู้จักเก็บออม อย่าใช้เงินสิ้นเปลือง”     

                แกนนำและแกนรองของกลุ่มสังคมเพื่อนยอมรับว่าการเรียนรู้ของกลุ่มสังคมเพื่อนอาจมิได้มีการปรับเปลี่ยนความคิดหรือพฤติกรรมของสมาชิกกลุ่มมากนักเพราะส่วนใหญ่ต้องต่อสู้ดิ้นรนในการหาเลี้ยงปากท้อง การเข้ามาช่วยเหลือขององค์กรส่วนใหญ่จึงมักเข้ามาในรูปของการสงเคราะห์มากกว่าการเสริมพลังให้ชุมชนรู้คิดเพื่อพัฒนาตนเอง เมื่อมีการปรับเปลี่ยนกระบวนการช่วยเหลือเป็นแบบการพัฒนาศักยภาพให้ชุมชนคิดเป็นทำได้เองในระยะหลังของการพัฒนาซึ่งอาจต้องใช้เวลามากกว่าจะก้าวข้ามความคุ้นชินเดิมๆ

 

 

บทเรียนแรงงานนอกระบบชุมชนคลองเตย “ ยถากรร-มาชน

                ชุมชนคลองเตย ชุมชนแออัดหรือสลัมที่ใหญ่ที่สุดของกรุงเทพมหานครและเป็นแหล่งพักอาศัยของคนจนเมืองที่เป็นกำลังแรงงานสำคัญในการพัฒนาประเทศไทย อาจพูดได้ว่าตลอดระยะเวลากว่า 50 ปีชุมชนคลองเตยชุมชนเล็กๆตั้งอยู่บนที่ดินของ การท่าเรือแห่งประเทศไทย (กทท.) บริเวณท่าเรือคลองเตยริมแม่น้ำเจ้าพระยา เติบโตมาพร้อมๆกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เพราะภาครัฐพยายามผลักดันการพัฒนาประเทศด้วยอุตสาหกรรม ทำให้รัฐบาลและเอกชนต้องสั่งสินค้าเครื่องจักรและวัตถุดิบจากต่างชาติ ท่าเรือคลองเตยซึ่งเป็นศูนย์กลางการคมนาคมขนส่งทางน้ำจึงมีความจำเป็นต้องใช้แรงงานคนจำนวนมากในการขนถ่ายสินค้า จึงเกิดการอพยพแรงงานจากพื้นที่ต่างๆทั่วประเทศจำนวนมาเข้ามาทำงานเมื่อไม่มีที่ซุกหัวนอนก็อาศัยสร้างเพิงพักพิงชั่วคราวอยู่ใกล้บริเวณท่าเรือคลองเตยทั้งที่ดินของการท่าเรือและที่ดินของเอกชนอื่นๆที่เจ้าของมิได้ดูแลหรือใช้ประโยชน์จนกลายเป็นชุมชนคลองเตยที่มีเนื้อที่ประมาณ 400 ไร่ มีชุมชนย่อยๆอีกประมาณ 26 ชุมชน ผู้พักอาศัยกว่า 70,000 คน

                ชุมชนคลองเตยเกิดขึ้นอย่างไร้รูปแบบการจัดระเบียบชุมชนตั้งแต่เริ่มตั้งหลักแหล่งย่อมมีปัญหาสะสมทั้งการบุกรุกที่ดิน การเป็นแหล่งเสื่อมโทรมที่พักอาศัยด้อยคุณภาพ จึงมีหน่วยงานเอกชนและรัฐเข้ามาช่วยเหลือดูแลเด็กเยาวชน ผู้ป่วย ผู้ประสบภัย ผู้พิการ ผู้ไร้ที่พึ่งพิง ผู้สูงอายุ ซึ่งครอบคลุมด้านสุขภาพ การศึกษา การฝึกอาชีพและทุนประกอบอาชีพ การออมทรัพย์ การรณรงค์ต่อต้านการยาเสพติด ซึ่งมีองค์กรมูลนิธิต่างๆตั้งอยู่ในบริเวณ ดังนี้ มูลนิธิสงเสริมการพัฒนาบุคคล (The Human Development Foundation)  โดยคณะสงฆพระมหาไถ มูลนิธิดวงประทีป   มูลนิธิสันติสุข มูลนิธิรวมน้ำใจ  มูลนิธิสิกขาเอเชีย  มูลนิธิเด็กออนในสลัมในพระอุปถัมภ์สมเด็จพระเจาพี่นางเธอเจาฟากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร  มูลนิธิชวยคนปญญาออนในพระบรมราชินูปถัมภ์  มูลนิธิไทยอาทร หรือ แอคเซ็นเตอร์   สมาคมอาสาตอตานยาเสพติดคลองเตย  สมาคมพัฒนาประชากรและชุมชน (PDA)  สหกรณเครดิตยูเนี่ยนชุมชนพัฒนาคลองเตย 79 จำกัด มูลนิธิเพื่อการศึกษาตลอดชีวิต มูลนิธิบานชีวิตใหม  ศูนยพัฒนาเด็กพิเศษชุมชนคลองเตย   สถาบันการพัฒนาพื้นฐานภายใตโครงการสงเสริมการจัดการสิ่งแวดลอมเมือง (Grassroots Development Institute)  และองค์กรสาธารณะประโยชน์ขนาดเล็กอีกมากตั้งขึ้นมาเพื่อช่วยเหลือชาวชุมชน

 

http://www.m-society.go.th/document/edoc/edoc_2226.pdf

 

ความเป็นมากลุ่มแรงงานนอกระบบชุมชนคลองเตย

                ในปีพ.ศ 2545 สถานการณ์ยาเสพติดชุมชนคลองเตยระบาดอย่างหนัก รัฐบาลขณะนั้นจึงมีมาตรการการปราบปรามขั้นเด็ดขาด ในฐานะของสมาชิกชุมชนคุณสินสมุทร ประดา และเพื่อนพ้องที่ร่วมกิจกรรมกันตั้งแต่ปีพศ. 2526 สมัยเป็นลูกเสือชาวบ้าน และกิจกรรมอื่นๆอย่างต่อเนื่อง ต้องการแสดงความใส่ใจช่วยเหลือให้ชุมชนมีปัญหายาเสพติดน้อยลงจึงร่วมกันจัดตั้ง ชมรมชื่อว่าศูนย์ป้องกันและบำบัดยาเสพติด แต่ด้วยความหวาดกลัวอิทธิพลของผู้ค้ายาเสพติดจึงไม่มีชาวชุมชนเข้าร่วมกิจกรรมของเพราะชื่อ “ศูนย์ป้องกันและบำบัดยาเสพติด”ที่มุ่งประเด็นต่อต้านยาเสพติดอย่างเปิดเผยอาจเป็นอันตรายแก่ผู้เข้าร่วมกิจกรรม  คุณสินสมุทร  ประดา จึงเปลี่ยนชื่อชมรมใหม่ว่า “ชมรมผู้บำเพ็ญประโยชน์เพื่อสังคม คิดดี ทำดี สังคมดี” ตั้งแต่ปีพศ. 2546 แล้ว ดำเนินกิจกรรมในวันสำคัญของชาตินี่ปีละ 4 ครั้ง คือ วันเด็ก วันผู้สูงอายุ วันแม่ วันพ่อ ทำทุกปี เป็นต้นมา

                คุณสินสมุทร ทราบข่าวว่าคุณปรีชา ทองจันทร์ เป็นที่ปรึกษาด้านกฎหมายของสหกรณ์ยูเนี่ยนที่ศูนย์เมอร์ซี่ ในชุมชนคลองเตย ต้องการแกนนำที่มีเพื่อนบ้านและกว้างขวางในเขตคลองเตยเข้าร่วมโครงการเสริมสร้างความเข้มแข็งขบวนการแรงงานเพื่อคุ้มครองสวัสดิภาพแรงงาน(สสร.) จึงสนใจและ สมัครเข้าเป็นแกนนำของโครงการฯ เมื่อได้พบ รศ. ดร.ณรงค์  เพ็ชรประเสริฐได้ศึกษาข้อมูล วัตถุประสงค์ของโครงการฯและตระหนักว่าเป็นประโยชน์ต่อแรงงานผู้ยากลำบากในชุมชนจึงติดต่อประสานงานให้คนในชุมชนที่สนใจเข้าร่วมกลุ่มสังคมเพื่อน

ความคาดหวังเดิม

                จากสภาพความเป็นชุมชนแออัดที่มีหน่วยงาน องค์กรภาครัฐ ภาคเอกชน มูลนิธิและผู้มีจิตอาสาเข้ามาให้ความช่วยเหลือสงเคราะห์ผู้ยากลำบากในชุมชนตลอดเวลาผู้คนส่วนใหญ่มองว่าชุมชนคลองเตยเป็นแต่ผู้รับความช่วยเหลือจากผู้อื่น ชมรมผู้บำเพ็ญประโยชน์เพื่อสังคม คิดดี ที สังคมดี ในช่วงก่อนที่จะเข้าร่วมโครงการของสสร. กลุ่มแกนนำอยากทำดีเพื่อสังคม อยากให้ชาวชุมชนเป็นผู้ให้ ผู้เสียสละมากว่าเป็นผู้รับฝ่ายเดียวจึงจัดกิจกรรมที่เป็นรูปธรรมด้วยการรวมตัวกันไปทำกิจกรรมปีละ 2 ครั้งเป็นอย่างน้อย เช่น จัดกิจกรรมนำของเยี่ยมเด็กๆในช่วงวันเด็ก หรือการไปเยี่ยมผู้สูงอายุ ไปทำบุญ เป็นต้น

 

 

 

ความคาดหวังใหม่

                เมื่อได้ศึกษาวัตถุประสงค์ของโครงการเสริมสร้างความเข้มแข็งขบวนการแรงงานเพื่อคุ้มครองสวัสดิภาพแรงงาน  กลุ่มสังคมเพื่อนชมรมผู้บำเพ็ญประโยชน์เพื่อสังคม คิดดี  สังคมดี มีความคาดหวังเพิ่มเติมที่จะให้เพื่อนพ้องน้องพี่ที่เคยร่วมกิจกรรมอื่นๆมาร่วม เรียนรู้และมีกิจกรรมต่อเนื่องมากขึ้นกว่าเดิมแต่ที่สำคัญคือการให้ชาวชุมชนได้เรียนรู้จักการให้และ มีความเสียสละแก่สังคมส่วนรวม

ทุนทางสังคมเดิมของชุมชนคลองเตย

                สมากชิกกลุ่มส่วนใหญ่มีความใกล้ชิดกันอยู่เดิมเพราะผลของการทำกิจกรรมขององค์กรต่างๆที่เข้ามาทำงานในชุมชนคลองเตย สมาชิกจึงรู้จักกันมาก่อน แทบไม่มีสมาชิกหน้าใหม่ที่ไม่รู้จัก

                แกนนำกลุ่มเป็นคนที่มนุษย์สัมพันธ์ดีชอบเดินพบปะกันคนในชุมชนคลองเตย สื่อสารติดต่อแจ้งข่าวกับคนอื่นๆได้ดี มีเครือข่าย และทำให้เครือข่ายคงอยู่ มีจิตกุศล เสียสละ

พัฒนาการและผลของการเรียนรู้กลุ่มสังคมเพื่อน

                ด้วยความที่ยังไม่เข้าใจยุทธศาสตร์ของกลุ่มสังคมเพื่อนของโครงการสสร.อย่างลึกซึ้งคุณสินสมุทรคิดว่าเป็นการช่วยเหลือคนยากคนจนเหมือนบรรดาองค์กรการกุศลทั่วไปที่เคยเข้ามาช่วยเหลือในชุมชนคลองเตย การตั้งกลุ่มครั้งแรกเมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน พศ.2552คุณสินสมุทรจึงได้เปิดกลุ่มเรียนรู้ กลุ่มละ 20 คน รุ่นแรกเป็นผู้สูงอายุและคนจนประเภทเดินไม่ได้อ่านหนังสือไม่ออกในชุมชน การทำกิจกรรมกลุ่มเรียนรู้จึงยากมากผู้นำกลุ่มจึงใช่วิธีพูดคุยให้ฟังมากว่าให้สมาชิกพูดคุยกันเอง

คุณสินสมุทรเล่าว่า “พอตอนหลังที่ได้ไปประชุม และสัมมนาแกนนำที่โครงการสสร.จัดให้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากกลุ่มต่างๆ ก็เลยรู้ว่ามันเปลี่ยนไปแล้ว คือเราต้องเอาคนที่พอมีความสามารถพูดคุยกันรู้เรื่อง เพราะสังคมเพื่อนเราจะต้องมีการเรียนรู้เพิ่มเติม ช่วยเหลือแบ่งปันเสียสละ ช่วยเหลือกันในด้านการประกอบอาชีพ เปลี่ยนแบบฉบับซักหน่อยว่า “มาพูดคุยกัน ให้ชีวิตดีขึ้น”   จึงได้เปลี่ยนเป้าหมายเป็นการชวนแรงงานนอกระบบเช่นแม่ค้า แม่บ้าน กรรมกรรับจ้างในท่าเรือ (มากที่สุด) จักรยานยนต์รับจ้าง และอีกอาชีพหนึ่งคือเดินทางไปรับของแจก ตามโพยที่มีคนทำขายฉบับละ 5 บาท  มาร่วมเป็นสมาชิกกลุ่มเรียนรู้  สมาชิกส่วนมากพักอาศัยอยู่ที่แฟลต 1- 10 กับ 11 และ 18 อยู่ใกล้ๆสถานที่เราประชุม  

สมาชิกของกลุ่มสังคมเพื่อนในชุมชนคลองเตย ตั้งแต่ปีที่ 1 และปีที่ 2 มีสมาชิก 300 คน พอมาปีที่ 3 ก็ได้อีก 20 คน ทางโครงการเขาก็บอกว่า “หยุด มันจะมากเกินไปแล้ว อยากได้แรงงานในระบบ” ส่วนเราคือแรงงานนอกระบบ ก็เลยหยุด ตอนนี้ก็เลยมีสมาชิกทั้งหมด 320 คนใน 3 ปีนี้ และเป็นแรงงานนอกระบบทั้งหมด   ที่จริงกลุ่มเรียนรู้ในแถบคลองเตยมี 4 กลุ่ม แต่อีก 3 กลุ่มต้องสิ้นสุดไปด้วยเหตุผลใดกลุ่มของคุณสินสมุทรไม่ทราบ เพราะต่างคนต่างทำ กลุ่มที่สิ้นสุดไปมีสมาชิกประมาณ 40 คน แต่กลุ่มสังคมเพื่อนของชมรมผู้บำเพ็ญประโยชน์เพื่อสังคม คิดดี ทำดี สังคมดียังสามารถดำเนินกิจกรรมต่อได้เพราะสมาชิกส่วนใหญ่รู้จักกันเป็นทุนเดิมจึงชอบแวะเวียนมาพูดคุยในกลุ่ม

ความรู้และกระบวนการเรียนรู้ของกลุ่ม

                แกนนำกลุ่มได้จัดทำแบบเรียน สมมติว่าตัวเองเป็นครู จัดทำเป็นบทเรียน  12 สัปดาห์ ทำเป็นบทเรียนเลย 12 เรื่อง เริ่มต้นจากการแนะนำโครงการเสริมสร้างความเข้มแข็งขบวนการแรงงานเพื่อคุ้มครองสวัสดิภาพแรงงาน และจัดทำเป็นเอกสารแจกให้สมาชิกอ่าน เรื่องที่ 2 ก็คือ ประโยชน์ของการออมเงินวันละ 1 บาท เรื่องที่ 3 สังคมเพื่อน

คำสำคัญ (Tags): #แรงงานนอกระบบ
หมายเลขบันทึก: 445172เขียนเมื่อ 21 มิถุนายน 2011 14:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 16:19 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท