(15 มิ.ย. 54)...การสอน เรื่อง ความเข้มข้นสารละลาย ม. 5 และ จุดเดือดจุดหลอมเหลว


วันที่ 14 มิถุนายน 2554 วันนี้ มีคาบ สอน 3 คาบ คือ ม. 5 จำนวน 2 คาบ ในเวลา 9.20 น. ถึง 11.00 น. และ ม. 2 จำนวน 1 คาบ เวลา 14.00 น. ถึง 14.50 น.

เมื่อเข้าแถวหน้าเสาธงเสร็จมารอเพื่อที่จะทำการสอนในคาบที่ 2 ที่หน้อพัก อาจารย์ ลลนา ท่านเดินเข้ามาบอกว่า วันนี้ อาจารย์บุณยกท่านไปส่งนักเรียนเข้าคายคุณธรรมที่จังหวัดลำปาง ท่างฟากให้สอนแทน เลยได้สอน วิทยาศาสตร์เสริม ม.6 สายศิลย์ เวลา 8.30 น. ถึง 9.20 น. แทนท่านอาจารย์

จึงได้สอนแทนท่านอาจารย์บุญยก โดยสอนในเรื่อง โครงสร้างอะตอมของกลุ่มหมอก ซึ่งสอนต่อจากอาจารย์ที่สอนค้างไว้ โดยใช้การบรรยายในการสอนและให้นักเรียนทำการวิเคราะห์และสรุปเป็นความคิดรวบยอดเป็นของตนเองเพื่อง่ายในการจดจำหลัง

จากนั้นก็ทำการตอบคำถามที่นักเรียนถามส่วนมากเป็นเรื่องของการเรียนต่อเป็นส่วนใหญ่ เพราะ ม.6 ส่วนมากมักจะกังวลว่าจะเรียนที่ไหนดี เรียนอย่างไรดี จากการที่ฝังคำถามก็นึกย้อนถึงตนเองในตอน ม.6 ก็มีความคิดเช่นนี้ เลยบอกว่า

เรียนที่ไหนไม่ใช้เรื่องที่สำคัญแต่ที่สำคัญคือเราจะเรียนอะไรมากกว่า ซึ่งต้องเป็นสิ่งที่เราชอบ และเราทำมันได้ดี จะเรียนที่ไหนไม่สำคัณแต่สำคัณที่เราเรื่อนแล้วมีความสุขไม่ใช้มีความทุกกับการเรียนนั้น

คาบที่ 2 ได้สอน ม. 5/1 โดยวันนี้สอนเรื่อง ส่วนในพันล้านส่วน ส่วนในล้านส่วน และ โมลาริตี ของสารละลาย โดยใช้วิธีการสอนแบบบรรยายเช่นเดิมโดยบรรยายว่ามันคืออะไร มีความหมายอย่างไร มีการคิดการคำนวณอย่างไร แล้วทำการแสดงตัวอย่างในการคิด การคำนวณให้ดู แล้วตั้งโจทย์ให้นักเรียนทำ

เมื่อนักเรียนลงมือทำโจทย์ก็เดินดูว่าแต่ละคนทำอย่างไร เป็นไงบ้างถูกต้องแค่ไหน เมื่อทำแล้วก็ทำการเฉลยให้ดูบบนกระดาน แล้วให้โจทย์ข้อใหม่อีกที่ละข้อให้ลองคิด โดยให้นักเรียนฝึกคิดเอง เมื่อหมดคาบสอนก็ให้การบ้านเป็นโจทย์อย่างละข้อแต่เป็นการประยุกต์ขึ้นอีกนิดหนึ่งเพื่อให้นไปลองคิดดู

แต่พอคาบที่ 7 ก็สอนเรื่อง จุดเดือดจุดหลองเหลว ม.4/1 โดยใช้การบรรยาย ว่าคืออะไร มีแนวโน้มอย่างไร เป็นเพราะอะไร และยกตัวอย่างการเปรียบเทียบให้ดูก่อน หลังจากนั้นก็ให้โจทย์กับนักเรียนทำดูว่าทำได้ไหม โดยการเดินดูคนนู้คนนี้บ้างว่าทำกันอย่างไร ถูกต้องไหม แล้วเฉลยท้ายคาบให้ดู

การสอนแบบนี้พบว่านักเรียนส่วนใหญ่เข้าใจและทำโจทย์ที่ให้ได้ และเกิดการเรียนรู้ ถ้าไม่เข้าใจเขาก็จะให้เราอธิบายได้ทันที่ในขณะที่สอนแต่การสอนแบบนี้สอนเนื้อหาได้ช้า แต่มีปัญหาที่ผบก็คือ เด็กบางคนที่เรียนพิเศษมาเขาคิดว่าเขารู้แล้วก็จะไม่สนใจ ต่างกับคนที่ไม่ได้เรียนพิเศษที่ให้ความสนใจเป็นอย่างดีแล้วมาเรียนรู้ในห้องเรียน

แต่จะให้ทำอย่างไงได้เลยต้องคอยบอกให้ตั้งใจในเวลาเรียนหน่อย เพราะเพื่อนส่วนใหญ่ ประมาณ 80 เปอร์เซ็นต์ ไม่เข้าใจก็เลยต้องสอนให้ช้าลง เพื่อส่วนใหญ๋ให้เกิดการเรียนรู้ หรือใครมีวิธีที่ดี ๆ ช่วยแนะนำได้นะครับขอบคุณครับ

 

หมายเลขบันทึก: 444663เขียนเมื่อ 18 มิถุนายน 2011 20:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 22:29 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท