National Health Act


แนวทางการพัฒนาสุขภาพ

จากความสำเร็จของการบังคับใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาสุขภาพ เช่น กฎหมายประกันสังคม กฎหมายหลักประกันสุขภาพ กฎหมายควบคุมบุหรี่ การใช้สิทธิบัตรยาเพื่อสาธารณโดยรัฐ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาสุขภาพ เช่น สสส. และโครงการต่างๆเช่น โครงการการถอนคาเฟอีนออกจากยาแก้ปวด และโครงการถุงยางอนามัย 100% เป็นต้น ถือเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้สามารถเสนอเพื่อร่างพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ จนสามารถเป็นพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550 ได้สำเร็จและประกาศลงในราชกิจจานุเบกษาในวันที่ 19 มีนาคม 2550   โดยความร่วมมือและการสนับสนุนจาก 3 องค์ประกอบหลัก อันได้แก่ ประชาชน วิชาชีพวิชาการ และประชาสังคม ทำให้ประเทศไทยมีพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติที่เกิดจากการมีส่วนร่วมของประชาชนอย่างแท้จริงเป็นครั้งแรก เพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชนทางด้านสุขภาพได้อย่างเป็นระบบและอย่างทั่วถึง และจากสถานการณ์ทางสุขภาพของประชาชนในปัจจุบันจะเห็นได้ว่า การขยายของโรงงานอุตสาหกรรมไปยังภูมิภาคต่างๆของประเทศโดยคำนึงถึงเพียงความเจริญก้าวหน้าทางด้านอุตสาหกรรม และเศรษฐกิจ โดยไม่คำนึงถึงผลกระทบต่อสุขภาพของคนในชมชนโดยรอบ ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ผลกระทบจากการย้ายถิ่นเพื่อมาหางานทำของคนต่างภูมิภาคซึ่งอาจมีโรคติดต่อต่างๆตามมาด้วย ฯลฯ การประกาศใช้ พรบ.สุขภาพแห่งชาติ อาจจะช่วยลดปัญหาทางด้านสุขภาพต่างๆให้แก่ประชาชนได้อีกทางหนึ่งด้วย

หมายเลขบันทึก: 444054เขียนเมื่อ 14 มิถุนายน 2011 19:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 4 มิถุนายน 2012 14:39 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท