นวัตกรรมลดสารพิษในผักและผลไม้


การลดสารพิษในผักและผลไม้

นวัตกรรม การลดสารพิษในผัก ผลไม้

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหินซ้อน อำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี

Email    [email protected]   036 – 722313

(นายอานนท์ ภาคมาลี นักวิชาการสาธารณสุข ชำนาญการ)

  

       การลดสารพิษในผัก ผลไม้ เนื่องมาจากการใช้สารเคมีป้องกันและกำจัดศัตรูพืชที่ไม่ถูกต้อง ไม่เหมาะสม และไม่ระมัดระวัง ของเกษตรกรผู้ผลิต ทำให้เกิดผลกระทบ ต่อสุขภาพ ของประชาชนผู้บริโภค คือผู้บริโภคควรพิจารณาเลือกชื้อผัก ผลไม้ที่ปลอดสาพิษ  ผัก ผลไม้ เป็นอาหารที่มีประโยชน์ ต่อสุขภาพของคนเรา ให้สารอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการ และจำเป็นต่อการเจริญเติบโต ช่วยรักษาสมดุลของร่างกาย ซึ่งจะทำให้ระบบย่อยอาหารและระบบขับถ่ายดีขึ้น อย่างไรก็ตามผัก ผลไม้ ก็อาจก่อให้เกิดโทษได้ ถ้าหากผัก ผลไม้นั้น มีการปนเปื้อน เชื้อโรคพยาธิและสารเคมีที่เป็นอันตราย แม้ในปัจจุบัน  จะมีการส่งเสริมให้เกษตรกร ผู้เพาะปลูกลดการใช้สารเคมีลง หรือส่งเสริมให้มีการผลิตผัก ผลไม้ปลอดสารพิษกันเพิ่มขึ้นก็ตาม แต่เมื่อมาถึงตลาด ก็อาจเจอแม่ค้าที่เห็นแก่ได้ แอบใส่สารเคมีลงไปทำให้ผัก ผลไม้ ดูสด กรอบหน้ากิน จึงไม่มีใครกล้ารับประกันได้ว่าผักสด ผลไม้ นั้น สะอาดปลอดสารพิษแน่นอน เพราะทุกขั้นตอน ก่อนจะเป็นผัก ผลไม้มาถึงจานอาหารในสำรับกับข้าวให้เรากิน เพื่อลดต้นทุนในการผลิต เกษตรกรคงไม่นำอุจจาระสด มาใช้เป็นปุ๋ยรดผัก ตามแหล่งเพาะปลูกต่างๆ ซึ่งจะมีผลทำให้มีสารปนเปื้อนของไข่พยาธิ ตัวอ่อนพยาธิและเชื้อโรคในระบบทางเดินอาหารชนิดต่างๆ ในผักที่จำหน่ายตามท้องตลาด โดยทั่วไป ผักที่พบไข่พยาธิหรือตัวอ่อนพยาธิ หรือเชื้อโรคได้มาก มักจะเป็นผักชนิดมีใบไม่เรียบ และซ้อนกันมากๆ เช่นผักกาดขาว ผักสะระแหน่ ผักชี ต้นหอม กะหล่ำปลี ซึ่งเป็นผักที่คนไทยนิยมบริโภคสดๆ ทำให้มีโอกาสรับประทานตัวอ่อนหรือไข่พยาธิ หรือเชื้อโรคเข้าไปได้มาก ทำให้เป็นโรคหนอนพยาธิ เช่นโรคพยาธิตืดหมู โรคพยาธิแส้ม้า โรคพยาธิไส้เดือน เป็นต้น หรือโรคระบบทางเดินอาหาร เช่นโรคบิด โรคอหิวาตกโรคไทฟอยด์ เป็นต้น

 

        การลดสารพิษในผัก ผลไม้ อันตรายจากสารพิษตกค้าง ปัจจุบันมีการใช้สารเคมีเพื่อการเกษตร เพื่อป้องกันและการกำจัดศัตรูพืช อย่างแพร่หลาย โดยที่เกษตรกรผู้ใช้ขาดความรู้ ความเข้าใจที่ดี ทำให้มีสารพิษตกค้างในผัก ผลไม้ที่วางจำหน่าย ในท้องตลาดทั่วไป เนื่องจาก การใช้สารพิษกำจัดศัตรูพืช ในปริมาณที่มากเกินความจำเป็น หรือการใช้สารพิษร่วมกันหลายชนิด หรือการเก็บผลผลิตก่อนครบกำหนดระยะเวลาที่กำหนด หรือจากการใช้สารพิษ ทำให้สารพิษยังสลายตัวไม่หมด เกิดการตกค้างในผัก ผลไม้ได้ เมื่อรับสารพิษเข้าไปในปริมาณน้อยๆ แต่บ่อยครั้งเป็นเวลานาน จะสะสมปริมาณมากขึ้น จนทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของเซล จนกลายเป็นเซลมะเร็ง ลุกลามไปส่วนต่างๆของร่างกายได้เช่น มะเร็งตับ มะเร็งของลำไส้ เป็นต้น สำหรับผักที่พบสารพิษตกค้างอยู่มาก ได้แก่ ถั่วฝักยาว กะหล่ำปลี คะน้า กวางตุ้ง ดอกกะหล่ำ ถั่แขก บวบ แตงโมอ่อน แตงกวา แตงไทย พริกต่างๆ มะระ มะเขือเทศ เป็นต้น

 

         การลดสารพิษในผัก ผลไม้ อันตรายของพิษภัยปนเปื้อน มากับผัก ผลไม้ ที่วางจำหน่ายในท้องตลาดทั่วไปสิ่งสำคัญที่ต้องรู้จักวิธีเลือกผัก ผลไม้ ที่สะอาดปลอดภัย ไว้บริโภคดังต่อไปนี้

  1. เลือกชื้อผัก ผลไม้ ที่สะอาด ไม่มีคราบดิน หรือ คราบขาวของสารพิษกำจัดศัตรูพืช หรือราตามใบ ซอกใบหรือก้านใบ
  2. เลือกชื้อผัก ผลไม้ ที่มีรูพรุน เป็นรอยกัดแทะของหนอนแมลงอยู่บ้าง ไม่ควรเลือกชื้อผัก ผลไม้ ที่มีใบ ผลสวยงาม หนอนกัดเจาะผัก ผลไม้ได้แสดงว่ามีสารพิษกำจัดศัตรูพืชในปริมาณ ที่ไม่เป็นอันตรายมาก
  3. เลือกชื้อผัก ผลไม้ที่มีคุณภาพ ถูกหลักอนามัย หรือผัก ผลไม้กางมุ้ง

 

         การลดสารพิษในผัก ผลไม้  เพื่อให้ผู้บริโภคผัก ผลไม้ ที่สะอาดปลอดภัย มีสุขภาพสมบูรณ์ แข็งแรง มีวิธีลดปริมาณเชื้อโรค ไข่พยาธิ และตัวอ่อนพยาธิ การลดสารพิษในผัก ผลไม้ คือ

  1. ปลอกเปลือก หรือลอกเปลือกชั้นนอก ของผัก ผลไม้ออกทิ้ง แกะเป็นกลีบหรือแกะใบออกจากต้น หรือส่วนขอบรอบนอกออก แล้วล้างน้ำสะอาด
  2. การลดสารพิษในผัก ผลไม้ ด้วยน้ำสะอาดหลายๆครั้งและกลีบใบ ถูหรือล้างด้วยใช้น้ำก๊อกไหลผ่านผัก ผลไม้อย่างน้อย 2 นาที่หรือใช้สารละลายอื่นๆในการล้างดังนี้
    1. ใช้น้ำเกลือ (เกลือ 2 ช้อนโต๊ะ/น้ำ 4 ลิตร)
    2. ใช้น้ำคลอรีน (ละลายปูนคลอรีน ½ ช้อนชา/น้ำ 20ลิตร และใช้อย่างระมัดระวัง)
    3. ใช้น้ำส้มสายชู (น้ำส้มสายชู ½ ถ้วย/น้ำ 4 ลิตร)
    4. ใช้น้ำโซดา (โซเดียมคาร์บอนเนต 1 ช้อนโต๊ะ/4 ลิตร)
    5. ใช้น้ำยาล้างผัก (ตามวิธีผู้ผลิตแนะนำ)
    6. แช่น้ำปูนใส นาน 10 นาที และล้างด้วยน้ำสะอาด
    7. แช่ด่างทับทิม นาน 10 นาที (ด่างทับทิม 20 – 30เกล็ด/น้ำ4ลิตร)
    8. แช่น้ำซาวข้าว นาน 10 นาที
    9. ต้มหรือลวกผักด้วยน้ำร้อน ลดปริมาณสารพิษในผัก ผลไม้
    10. การใช้ความร้อน อบ นึ่ง ปิ้ง ย่าง หมก จี่ ตาก (ใช้พลังความร้อน จากแสงอาทิตย์)
    11. ผักที่มีลักษณะเป็นหัว ผล หรือผลไม้ ที่กินทั้งเปลือก เช่นองุ่น ต้องล้างด้วยน้ำก่อน แล้วลอกเปลือกทิ้ง

 

 

     การลดสารพิษในผัก ผลไม้ ในฐานะผู้บริโภค นอกจากล้างผัก ผลไม้ได้หลายวิธีแล้ว ควรเลือกแนวทางในการเลือกบริโภคผัก ผลไม้

  1. อย่ากินผัก ผลไม้ ชนิดใดชนิดหนึ่งซ้ำซาก เพราะจะทำให้เรามีโอกาสรับสารเคมี จากผัก ผลไม้ชนิดนั้นมากขึ้น
  2. ควรกินผัก ผลไม้ตามฤดูกาล
  3. หันไปกินผัก ผลไม้ พื้นบ้านสลับบ้าง เพราะผัก ผลไม้ พื้นบ้านไม่ค่อยมีโรคหรือหนอนแมลงรบกวน จึงไม่จำเป็นต้องพ่นสารเคมีในการปลูก นอกจากนี้ยังให้คุณค่าทางอาหารสูงอีกด้วย
  4. เลือกชื้อผัก ผลไม้ ปลอดสารพิษ หรือผัก ผลไม้เกษตรอินทรีย์
  5. ปลูกผัก ผลไม้ กินเองหากทำได้
หมายเลขบันทึก: 443972เขียนเมื่อ 14 มิถุนายน 2011 07:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:46 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท