น้ำกับชีวิต


น้ำมีความสำคัญต่อสิ่งมีชีวิต เพราะละลายน้ำได้ดี จุดเดือดสูงและขยายตัวเมื่อเป็นน้ำแข็ง

น้ำกับชีวิต

น้ำเป็นสารที่มีแรงดึงดูดระหว่างโมเลกุลสูงกว่าสารอื่น ๆ ที่มีลักษณะโครงสร้างใกล้เคียงกัน เพราะน้ำเกิดพันธะไฮโดรเจนได้

พันธะไฮโดรเจน ทำให้น้ำมีสมบัติดังนี้

- ละลายสารต่าง ๆ ได้ดี สารที่ละลายน้ำได้เรียกว่า สารมีขั้ว หรือสาร hydrophilic

- มีจุดเดือดสูง เป็นของเหลวที่อุณหภูมิห้อง

- ขยายตัวเมื่อเป็นน้ำแข็ง ทำให้น้ำแข็งลอยน้ำ สาเหตุที่ขยายตัวเพราะ เมื่ออยู่ในสถานะของแข็ง ต้องรักษาระยะห่างระหว่างโมเลกุล

 


 

เปรียบเทียบน้ำกับสารที่ไม่มีพันธะไฮโดรเจน


 

สาร hydrophilic ได้แก่ สารที่แตกตัวเป็นไอออนได้ เช่น เกลือแกง และสารที่เกิดพันธะไฮโดรเจนกับน้ำได้ เช่น น้ำตาลทราย

สาร hydrophobic เรียกอีกอย่างว่า สารนอนโพลาร์ หรือสารไม่มีขั้ว ไม่ละลายน้ำ ได้แก่ ตัวทำละลายอินทรีย์ ไขมัน เป็นต้น

สาร amphipathic ได้แก่สารที่มีส่วน hydrophilic กับ hydrophobic อยู่ในโมเลกุลเดียวกัน เช่น กรดไขมัน และ detergents


หมายเลขบันทึก: 443866เขียนเมื่อ 13 มิถุนายน 2011 14:16 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 23:46 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท