ออกกำลังลดเสี่ยงสมองขาดเลือด


สำนักข่าว LA Times ตีพิมพ์เรื่อง 'Exercise may protect against silent stroke ' = "ออกกำลัง (อาจ) ป้องกันสโตรค (stroke = สโตรค / กลุ่มโรคหลอดเลือดสมองแตก-ตีบตัน อัมพฤกษ์ อัมพาต สมองเสื่อมจากการขาดเลือด) เงียบ", ผู้เขียนขอนำมาเล่าสู่กันฟังครับ 
.
การศึกษาใหม่พบว่า คนสูงอายุที่ออกแรง-ออกกำลังสม่ำเสมอ โดยเฉพาะชนิดที่ทำให้เหงื่อตกบ้าง (break a sweat) เสี่ยงสโตรคเงียบ (silent stroke) ลดลง เมื่อเทียบกับคนที่ไม่ออกแรง-ออกกำลัง
.
โรคหลอดเลือดสมองแตก-ตีบตันอาจมีอาการชัดเจน เช่น อัมพฤกษ์ อัมพาต แขนขาอ่อนแรง พูดไม่ได้-ไม่ชัด หมดสติ ถึงตาย ฯลฯ ได้...นั่นเป็นสโตรคแบบ "ไม่เงียบ" หรือสโตรคใหญ่ (major stroke)
.
ส่วน "สโตรคเงียบ (silent stroke / minor stroke)" เกิดจากหลอดเลือดสมองอุดตันขนาดเล็ก หรืออุดตันบางส่วน มักจะมีอาการไม่ชัดเจน เช่น ทำให้ความเสื่อมค่อยๆ เสื่อมลง การเคลื่อนไหวตะกุกตะกัก ฯลฯ
.
สโตรคอีกชนิดหนึ่ง คือ สโตรคแบบมินิ (mini-strokes) ซึ่งเป็นชั่วคราว อาจนานเป็นนาที หรือเป็นชั่วโมง แล้วบรรเทาเบาบาง หรือหายไปได้เอง
.
คนที่เป็นสโตรค หรือหลอดเลือดสมองแตก-ตีบตัน ไม่ว่าจะมากหรือน้อย ชั่วคราวหรือถาวร มีความเสี่ยงที่จะเป็นซ้ำมากกว่าประชากรทั่วไป
.
การศึกษาใหม่จากมหาวิทยาลัยโคลัมเบียและไมอามี สหรัฐฯ ทำในกลุ่มตัวอย่างอายุเฉลี่ย 70 ปี 1,238 คนที่ไม่มีอาการ นำไปตรวจด้วยเครื่องสแกนสมองชนิด MRI (สนามแม่เหล็ก-คลื่นวิทยุ)
.
ผลการศึกษา (ตีพิมพ์ใน Neurology) พบว่า คนที่ออกแรง-ออกกำลังปานกลางถึงหนัก มีความเสี่ยงสโตรคเงียบ หรือสมองขาดเลือดขนาดเล็ก ลดลง 40%
.
ตัวอย่างการออกกำลังหนักปานกลาง เช่น เดินเร็ว ฯลฯ ตัวอย่างการออกกำลังหนัก เช่น วิ่ง ขึ้นลงบันได แข่งจักรยาน แข่งว่ายน้ำ ฯลฯ
.
ผู้เชี่ยวชาญแนะนำวิธีป้องกันสโตรค หรือกลุ่มโรคหลอดเลือดสมองแตก-ตีบตันได้แก่ ให้ระวังเรื่องต่อไปนี้
.
(1). active
.
ออกแรง-ออกกำลังเป็นประจำ และไม่อยู่นิ่งนานเกิน 1-2 ชั่วโมง เช่น ไม่นั่งทำงานนานโดยไม่ลุกขึ้นยืน หรือไม่เดินไปมาสลับ ฯลฯ
.
(2). obese
.
ระวังน้ำหนักเกินหรืออ้วน, ถ้าอ้วนไปแล้ว ให้รีบเปลี่ยนเป็นอ้วนฟิต (แข็งแรง), หาทางลดน้ำหนักลงเท่าที่จะทำได้ หรืออย่างน้อยก็รักษาน้ำหนักไว้ อย่าให้เพิ่มขึ้นอีก
.
(3). high blood pressure
.
ระวังความดันเลือดสูง โดยการตรวจเช็คเป็นประจำ ถ้าสูงต้องรีบรักษาให้ต่อเนื่อง
.
(4). blood cholesterol
.
ตรวจเช็คโคเลสเตอรอล (คราบไข ไขมันในเลือด) ว่า สูงหรือไม่, ถ้าสูง ควรปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์ (แบบแผนการใช้ชีวิต) และ/หรือ ใช้ยาตามที่หมอแนะนำ
.
(5). diabetes
.
ตรวจเช็คระดับน้ำตาลในเลือดว่า สูงหรือไม่, ถ้าเป็นเบาหวานหรือระดับน้ำตาลสูง ควรปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์ (แบบแผนการใช้ชีวิต) และ/หรือ ใช้ยาตามที่หมอแนะนำ
.
(6). stroke
.
คนที่มีโรคหลอดเลือดสมองแตก-ตีบตันมาก่อน ไม่ว่าจะมากหรือน้อย ชั่วคราวหรือถาวร เพิ่มเสี่ยงต่อการเป็นครั้งใหม่มากกว่าประชากรทั่วไป จึงต้องใช้ทั้งยา และปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์ (แบบแผนการใช้ชีวิต) ใหม่
.
ท่านที่ไม่ค่อยมีเวลาออกแรง-ออกกำลังก็อย่าเพิ่งตกใจ... ให้ใช้วิธีเดินให้บ่อยขึ้น เร็วขึ้น, หาโอกาสขึ้นลงบันไดตามโอกาส สะสมเวลาให้ได้ 30 นาที/วัน (ถ้าเดินเร็วมาก) หรือ 40 นาที/วัน (ถ้าเดินไม่เร็ว)
.
ตัวอย่างเช่น ถ้าเราเดินเร็วไม่ไหว อาจจะเดิน 10 นาทีก่อนอาหาร 3 มื้อ, แบบนี้ (10 x 3 = 30) ได้ไปแล้ว 30 นาที, และเดินเพิ่มตอนว่างๆ อีก 10 นาที (30 + 10) = 40 นาที, หาโอกาสขึ้นลงบันไดอีก 4 นาที, สะสมต้นทุนสุขภาพไปก็นับว่า ดีมากแล้ว 
.
ถึงตรงนี้... ขอให้ท่านผู้อ่านมีสุขภาพดีไปนานๆ ครับ
.

 > [ Twitter ]

  • นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์ รพ.ห้างฉัตร ลำปาง. 11 มิถุนายน 2554.
  • ข้อมูลทั้งหมดเป็นไปเพื่อการส่งเสริมสุขภาพ ไม่ใช่วินิจฉัยหรือรักษาโรค; ท่านที่มีโรคประจำตัวหรือความเสี่ยงต่อโรคสูงจำเป็นต้องปรึกษาหมอที่ดูแลท่านก่อนนำข้อมูลไปใช้.
  • ยินดีให้ท่านนำบทความทั้งหมดไปใช้ได้ > CC: BY-NC-ND.
หมายเลขบันทึก: 443765เขียนเมื่อ 12 มิถุนายน 2011 22:14 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:46 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

แย่ค่ะ เมื่อวานพี่ชายเป็น stroke ครั้งที่สอง คาดว่าเพราะเหล้าค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท