บทที่ ๕ การศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ


ความหมายของการศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ

กูดแมนและเลิฟ (Goodman & Love 1980) ให้ความหมายว่าเอกสารที่ประกอบด้วยข้อมูลต่าง ๆ ที่จำเป็นเพื่อการแสดงถึงเหตุผลที่จะสนับสนุน (justification) ถึงความเหมาะสม (soundness) ของโครงการและเมื่อโครงการสำเร็จจะให้ผลประโยชน์ตอบแทนคุ้มค่าต่อการลงทุน

ชูชีพ  พิพัฒน์ศิถิ(2544,หน้า 40)  ให้ความหมายว่าเป็นการวิเคราะห์โครงการ(Project  Analysis) โดยการจัดทำโครงการเมื่อถึงขั้นตอน  การออกแบบและกะประมาณต้นทุนในรายละเอียดเมื่อนำไปปฏิบัติโดยแสดงออกมาในรูปของการวิเคราะห์ทางด้านเทคนิค วิชาการ การเงิน เศรษฐกิจ สังคม สถาบัน และสิ่งแวดล้อม  เหตุผลที่จำเป็นในการตัดสินใจว่าจะรับหรือปฏิเสธโครงการเพื่อการลงทุน

สรุปได้ว่า การศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ  คือการศึกษาวิเคราะห์และจัดทำเอกสารประกอบด้วย ข้อมูลต่าง ๆที่จำเป็นเพื่อเป็นการแสดงถึงเหตุผลที่จะสนับสนุนถึงความเหมาะสมของโครงการ สามารถนำไปสู่การปฏิบัติได้จริงให้ผลประโยชน์ตอบแทนคุ้มค่าต่อการลงทุน

ขอบข่ายของการสึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ  จะมีความแตกต่างกันออกไปตามประเภทและลักษณะของโครงการดังนี้ (ปกรณ์ ปรียากร 2542,หน้า 44-50)       1. โครงการเดิมหรือเป็นโครงการประเภทเดียวกันที่ไม่เคยทำมาก่อน ไม่มีความจำเป็นต้องศึกษาในรายละเอียดทุกด้าน  2. โครงการใหม่หรือโครงการบุกเบิกนำร่อง (pilot progect) ควรศึกษารายละเอียดทุกด้าน  3. โครงการภาครัฐจุดสนใจของการวิเคราะห์จะอยู่ที่ความอยู่ดีมีสุขของประชาชน  4. โครงการภาคเอกชน จุดสนใจจะอยู่ที่ผลกำไรจากการลงทุนจึงอาจเน้นความสำคัญไปที่การวิเคราะห์ด้านการตลาด

การศึกษาด้านเทคนิค  เป็นการศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับขั้นตอนต่าง ๆเป็นในเชิงเทคนิคหรือวิชาความรู้ อันจำเป็นต่อการทำกงานในแต่ละกิจกรรมให้สมบูรณ์

การศึกษาด้านการจัดการ เป็นการศึกษาความเหมาะสม และความพร้อมด้านองค์การและการจัดการในประเด็นสำคัญของโครงการ การพิจารณากฏเกณฑ์ เงื่อนไข การวิเคราะห์ศํกยภาพ การวางแนวทางในการจัดองค์การ  และการจัดวางระบบบริหารงานบุคคล

การศึกษาด้านการตลาด  เป็นการศึกษาความเหมาะสมในอันที่จะตอบสนองความต้องการของลูกค้า และผู้รับบริการโดยอาศัยหลักการวิเคราะห์ด้านการตลาดมาประยุกต์

การศึกษาและวิเคราะห์การเงิน ถือเป็นเรื่องที่มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง  เพราะโครงการโดยแท้ที่จริง คือการลงทุน โดยโครงการต้องใช้งบประมาณหรือต้นทุน ต้องมีแหล่งที่มาของงบประมาณ มีการจัดวิเคราะห์โครงการกำหนดแบบแผนที่ เหมาะสม และการวิเคราะห์รายได้และผลประโยชน์

การศึกษาและวิเคราะห์ทางเศรษฐกิจ เป็นการวิเคราะห์ที่กระทำพร้อมกับการวิเคราะห์ทางการเงิน คือ เป็นการวิเคราะห์ตามความเหมาะสม ของการลงทุนและผลทางเศรษฐกิจที่จะมีต่อองค์การในการวิเคราะห์ที่ดีจะครอบคลุมทุกประเด็น

การศึกษาและวิเคราะห์ทางสังคมและการเมือง เป็นความพยายามที่จะตอบคำถามด้านต่าง ๆคือ 1.ผลลัพธ์และผลกระทบของโครงการที่มีต่อปัจจัยทางสังคม 2. ผลลัพธ์และผลกระทบที่โครงการจะพึงมีต่อภาวะทางการเมือง 3.การคาดหมายล่วงหน้าว่าโอกาสที่สังคมจะยอมรับหรือสนับสนุนโครงการรวมทั้งภาพของการคัดค้าน 4.การวิเคราะห์กฏเกณฑ์ กฏหมาย ระเบียบ และนโยบาย

การวิเคราะห์โครงการที่ไม่ใช่มูลค่าปัจจุบัน โดยวิธีการคำนวณแบบไม่ปรับค่าเวลา 1. ระยะเวลาคืนทุน (Payback Period : PB) 2.อัตราผลตอบแทนจาการลงทุน(Rate of return on : Investment : ROI) 3. จุดคุ้มทุน (Break Even Analysis)

การวิเคราะห์โครงการที่ใช้มูลค่าปัจจุบัน  โดยวิธีการคำนวณปบบปรับค่าเวลา 1.มูลค่าปัจจุบันของโครงการ เป็นการปรับค่าของเงิน เรียกว่า อัตราส่วนลด (Discountrate) 2.อัตราส่วนของผลประโยชน์ต่อต้นทุน(Beuefit Cost Rattio) 3. อัตราผลตอบแทนภายในของโครงการ (Inurternal Rate of Retn)

การวิเคราะห์โครงการที่มีความเสี่ยงหรือความไม่แน่นอน (เยาวเรศ ทับพันธ์ 2541 ,หน้า 104) การวิเคราะห์โครงการในอนาคตมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา  การวิเคราะห์โครงการจะเกี่ยวข้องกับการวิเคราะห์ความเสี่ยงและความไม่แน่นอน ความหมายของความเสี่ยงคือความไม่แน่นอน

สรุป  การศึกษาความเป็นได้ของโครงการ(FS) เน้นเรื่องที่สำคัญที่ผู้รับผิดชอบโครงการจะต้องจัดทำขึ้น  เพื่อให้ได้โครงการที่ดีมีประสิทธิภาพสามารถนำไปปฏิบัติได้จริง  บรรลุวัตถุประสงค์ภายใต้ข้อจำกัดในด้านงบประมาณ เวลา และลักษณะของผลผลิตของโครงการที่ต้องการโดยมีขอบข่ายการศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการในด้านเทคนิค  ด้านการจัดการ  ด้านการตลาด ด้านการเงิน  ด้านเศรษฐกิจ ด้านส้งคม และการเมือง และด้านสภาพแวดล้อมและสภาวะนิเวศน์

อ้างอิงมาจาก  หนังสือการบริหารและประเมินโครงการ ผู้ช่วยศาสตราจารย์           ดร.เจริญวิชญ์ สมพงษ์ธรรม 

 

 

หมายเลขบันทึก: 443645เขียนเมื่อ 12 มิถุนายน 2011 11:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:46 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

ขอบคุณมากครับ สำหรับข้อมูล

ธีรารัตน์ ลีลาเลิศสุระกุล

ขอบคุณมากสำหรับข้อมูล นำไปใช้เพื่อการศึกษา

อภิสิทธิ์ บุญตามทัน

ข้อมูลดีจังคัฟ

ขอบคุณมากๆเลยนะค่ะ ^^

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท