ชาวนาวันหยุด ตอนที่ 4.7 ของขวัญ ให้กับเเปลงนา ต้อนรับสมาชิกใหม่ "น้องเป็ด"


ช่วงที่ต้นกล้ากำลังเติบโต ก็มาทำการอนุบาลเป็ดควบคู่ไปด้วย พอได้ระยะข้าวรัด เริ่มแตกกอแล้ว ก็ปล่อยลงนาไปช่วยดูแลกันและกัน

ในระหว่างที่ต้นข้าวกำลัง ปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อมใหม่ในเเปลงนา คงต้องใช้เวลาประมาณ 2-3 สัปดาห์ ในระหว่างนี้ ผมและทีมงานลุงมี ก็ไปจัดหา เป็ดอนุบาล เพิ่งออกจากไข่ มาอนุบาลต่อ เพื่อให้พร้อมสำหรับการลงไปดูแล เเปลงนา อย่างใกล้ชิดติดโคนกอข้าว 

วิธีการนี้ "ไม่ใช่เป็ดไล่ทุ่ง" (เลี้ยงเป็ดหลังการเก็บเกี่ยว กินข้าวร่วงหล่น ประมาณ 50-80 กก./ไร่ )  

 

ในทางวิชาการ เรียกว่า Rice-Duck Farming 

 

เป็นการเลี้ยงเป็ด ควบคู่ไปกับการปลูกข้าว

 

-ข้าว กับเป็ด โตไปด้วยกัน ดูแลกันและกัน

 

-เพราะในเเปลงนามีห่วงโซ่อาหาร สำหรับเป็ด ไม่ว่าจะเป็น วัชพืช หอย และแมลง

(วางเเผนว่าครั้งหน้าจะ เลี้ยงเเหนเเดงคลุมหน้าดิน -ลดวัชพืช หลังปักดำ สำหรับเป็นอาหารเป็ดต่อไปด้วย)


-ต้นข้าวก็ได้ "ไนโตรเจน" จากขี้เป็ด


-จากการศึกษา พบว่านอกจากเป็ดจะให้มูล เป็นปุ๋ยกับข้าวแล้ว การที่เป็ด "ไซโคนกอข้าว ในระยะการแตกกอ" ก็ทำให้ต้นข้าว ออกแรงต้าน พัฒนาลำต้นให้มีความเเข็งแรงมากขึ้น  


-มีการศึกษาและส่งเสริมการเลี้ยงเป็ดในเเปลงนาข้าว  หลายประเทศด้วยกัน ทั้งจีน ญี่ปุ่น ไต้หวัน   บังคลาเทศ ฟิลิปปินส์ และอื่นๆ ... ตามไปชมได้จากวีดีโอนี้ครับ และชมย้อนหลังได้  ที่นี่

          

          

 

 

 

       โดยเริ่มต้น  ผมค้นหาข้อมูล โดยใช้ Keyword ค้นหาข้อมูลทางวิชาการ และเป็น Best Practices เกี่ยวกับการเลี้ยงเป็ดในนาข้าว ทั้งจาก Google และ Youtube

และไปพบกับ  

 

 Effect of Integrated Rice-Duck Farming on Rice Yield, Farm Productivity, and Rice-Provisioning Ability of Farmers

  ที่ตีพิมพ์ลงใน Asian Journal of Agriculture and Development, Vol. 2, No. 1

(ตามไปศึกษาต่อได้นะครับ) 

 

  จึงได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนข้อมูลกับทาง Dr.Shaikh Tanveer Hossain ทางอีเมลล์ 

กับภาษาอังกฤษ เเบบเป็ด ๆ ของผมครับ 

Dear Mr. SUP,
Thank you very much for your mail and nice rice-duck field photographs. It is really nice to know that you are practicing this technology.
It will be nice if I have any opportunity to visit your farm and see the effect of mighty ducks. Would you tell me the location of your farm and something more detail. For your information, the 7 th International rice-duck farming conference was held in Bangladesh in March 05-08, 2011 and delegates from Japan, Philippinnes, IRRI and some others were attended.

Thanks again for your mail.

Kinds regards,
Dr. Shaikh Tanveer Hossain
Bangladesh

 

 

Dear Mr. SUP,
Thank you very much for your reply and the information.
The photographs itself explaining that the community peoples are very energetic and are enjoying the farming. You are correctly mentioned the advantages of rice-duck farming and we should retain our globe and safe it for the future generation. 
Here I am working with some other sustainable safe agricultural techniques. We also find AWD  as good water saving technique though mostly applicable for large farm or block basis.
If I have any opportunity I will visit your area and field and like to share the experiences.
By the way, Nakornsawan Province is how far from Bangkok ?

Please keep stay in touch.

Kind regards,
Shaikh Tanveer Hossain
Dhaka, Bangladesh

ผมก็เลยรู้ว่า เรื่องเป็ดฝูง เล็ก ๆในเเปลงนาของลุงมี มัน "Small is beautiful"  เป็นเทคโนโลยีราคาประหยัด ช่วยรักษาสิ่งเเวดล้อม เเละความยั่งยืนในระบบการผลิต -(หาอ่านต่อได้จาก wikipedia ครับ) จริง ครับ 


- จัดมาทั้งหมด 40 ตัว ตัวละ 23 บาท เป็นเงิน 920 บาท พร้อมกับอาหารสูตรเป็ดเล็ก อีก 1 ลูก 360 บาท รวมเป็นเงิน 1,280 ครับ

- ก็ต้องเตรียมคอก ไว้อนุบาล ข้างเเปลงนา ครับ จัดไฟ+แกลบดิบ ให้ความอบอุ่นยามค่ำคืน

- เตรียมกะละมังใส่น้ำ ถาดอาหาร 


 

ตามไปชมภาพกันครับ 

              

 

 

 

 

ภาพนี้

เป็นเป็ดไข่ตัวใหญ่ รุ่นแรกของเเปลงนานี้ ตอนนี้มีอาหารโปรตีน(ไข่เป็ดให้เจ้าของนาแล้วครับ  

การเลี้ยงก็ต้องระวัง สุนัข ครับ มันชอบมางับเล่น ตกกะใจตายไปหลายตัวเหมือนกัน ครับ...

 

หมายเลขบันทึก: 443437เขียนเมื่อ 11 มิถุนายน 2011 11:13 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:46 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)
  • มาชื่นชม กับบันทึกสวยๆ ได้สาระนะคะคุณต้นกล้า

Ico48 -ขอบคุณครับพี่อุ้มบุญ สบายดีนะครับ ผมไม่ได้แวะไปทักทายเลยต้องขอโทษด้วยครับ  บ้านสวนพี่อุ้มบุญ ตอนนี้เป็นอย่างไรบ้าง ครับ

น้องเป็ด..น่าสนใจอีกเช่นเคยนะค่ะคุณต้นกล้า

จะศึกษาเพื่อต่อยอดดูค่ะ ว่าทุ่งนาดิฉันพอจะทำได้ใหม

..ชอบมาก ตรงที่เราก็จะได้กินไข่เป็ดด้วยนะค่ะ

................

ที่นาดิฉันเลี้ยงหมูไว้ 1 ตัว ค่ะ ชื่อ น้องมีบุญ..(เป็นน้องหมูที่มีบุญจริงๆ นะค่ะ เพราะจะไม่ถูกฆ่าและถูกขายค่ะ ปล่อยให้ตายไปตามอายุไขเองค่ะ) ขอบคุณกับความรู้ดีๆ ค่ะ

Ico48 เริ่มต้น เลี้ยงแบบว่า ให้มันดูแลตัวเองได้ ครับ 

ไม่ต้องเยอะมาก ลองศึกษาดูพฤติกรรมก่อน ...

  สวัสดีค่ะ

  • มาทักทายเพราะสนใจค่ะ  แต่ไม่มีแปลงนาให้เลี้ยงเป็ด  เพราะถมที่ปลูกยางพาราหมดแล้ว
  • กำลังหากิจกรรมไว้คลายเคลียดยามว่างงานค่ะ
  • ชอบกิจกรรมนี้   ต้องดัดแปลงหาสัตว์ที่เลี้ยงควบคู่กับสวนผลไม้ได้
  • ขอบคุณที่นำเสนอกิจกรรมดีดีค่ะ

สวัสดีค่ะน้องต้นกล้า

  • ทีมงานดูแลนาข้าว ช่างน่ารักจริง ๆ นะคะ
  • คิด ๆ แล้วเสียดายนาข้าวที่บ้านครูอิงจังเลยค่ะ ไม่มีคนทำนา ปล่อยให้เป็นนาร้าง
  • นี่พี่สาวก็โทรมาว่า วันที่ 20-21 นี้ ให้ครูอิงกลับบ้านที่สงขลา เพราะต้องทำนิติกรรมแบ่งที่นากัน เนื่องจาก คุณพ่อเสียแล้ว เหลือคุณแม่คนเดียว
  • ยังไม่ทราบด้วยซ้ำว่า ที่นาอยู่ตรงไหนบ้าง พี่ ๆ น้อง ๆ ทางบ้านเขาก็ไม่ทำกัน เนื่องจากมีกิจการร้านค้ากันเป็นส่วนใหญ่
  • ชมบันทึกของน้องต้นกล้าแล้ว  สายเลือดชาวนามันก็กำเริบอยู่หล่ะนะ
  • แต่ก็หมดปัญญาที่จะพลิกฟื้นผืนนา  ฮือ...........
  • ขอบคุณน้องต้นกล้านะคะ ที่นำบันทึกงดงามมาให้ชม  ได้ความรู้มากมาย

Ico48 สวัสดีครับพี่อิง 

เมือวานไปบ้านเกษตรกร เจอน้องหมา บางแก้ว ชื่อ "ต้นกล้า" เหมือนกัน เจ้าของเรียกที ผมตกใจเลย ฮ่าๆ 

ไม่สะดวกที่จะทำนา ก็ปลูกป่า ปลูกสมุนไพร ครับ ไว้ให้ ฟ้า เทวดาเลี้ยง ไม่ต้องดูแลมากครับ ...

ขอบคุณมากๆครับพี่อิง

 

อยากได้ rotary weeder ไว้ใช้สัก 1 ตัว จะหาซื้อได้ที่ใหนช่วยบอกทีครับ ที่สุวัฒ 086-8847808 ขอบคุณอย่างสูงๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท