Innovative Thinking


Innovative Thinking

 

Innovative Thinking

 

ครูสามารถพัฒนาทักษะการคิดและสอนให้ผู้เรียนรู้จักวิธีคิดได้ถึง 3 วิธี คือ

1. การสอนเพื่อให้คิด (Teaching for thinking) เป็นการสอนเนื้อหาวิชาการ โดยมีการปรับเปลี่ยนเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในด้านการคิดของผู้เรียน โดยครูต้องสร้างบรรยากาศ การเรียนรู้ที่ยั่วยุให้ผู้เรียนรู้จักใช้ความคิด เช่น การถกเถียงเรื่องการโต้วาที ในหัวข้อเรื่องใดเรื่องหนึ่ง เช่น เรื่องเกี่ยวกับจริยธรรม ความดีความชั่ว เป็นต้น การแก้ปัญหา โดยสร้างตัวอย่างปัญหาขึ้นมาให้ช่วยกันแก้ปัญหา เช่น การหนีโรงเรียน การไม่เชื่อฟังพ่อแม่ ยาเสพติด การพนัน เป็นต้น การเขียนรายงาน อาจเขียนเป็นใบปลิวโฆษณา ข่าวสั้นประจำวัน จดหมาย ข้อเสนอแนะเพื่อการขอรับทุนช่วยเหลือ เป็นต้น การทดลอง เพื่อดูผลของวิธีการที่ใช้แก้ปัญหาพฤติกรรมต่างๆ การเผชิญสถานการณ์จำลอง เพื่อให้ได้ประสบการณ์ใกล้เคียงกับประสบการณ์จริง เป็นต้น

 2. การสอนการคิด (Teaching of thinking) เป็นการสอนที่เน้นเกี่ยวกับกระบวนการทางสมองที่นำมาใช้ในการคิด โดยเฉพาะเป็นการ ปลูกฝังทักษะการคิดโดยตรง ลักษณะของงานที่นำมาใช้สอน จะไม่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาวิชาการที่เรียนในโรงเรียน แนวทางการสอนก็จะแตกต่างกันไปตามทฤษฎีและความเชื่อพื้นฐานของแต่ละคนที่นำมาพัฒนา สิ่งเหล่านี้จะช่วยพัฒนาความสามารถทางการคิดของผู้ เรียนไปในตัว นอกจากนี้ ครูยังสามารถนำรูปแบบการสอนต่างๆ ที่เน้นกระบวนการคิดมาใช้เป็นกระบวนการสอนได้เป็นอย่างดี วิธีนี้จะช่วยให้ครู สามารถพัฒนาผู้เรียนได้ทั้งทางด้านเนื้อหาสาระและการคิดไปพร้อมๆกันทีเดียว

3. การสอนเกี่ยวกับการคิด (Teaching about thinking) เป็นการสอนที่เน้นการใช้ทักษะการ คิดเป็นเนื้อหาสาระของการสอน โดยการช่วยเหลือให้ผู้เรียนได้รู้และเข้าใจกระบวนการคิดของตนเองเพื่อให้เกิดทักษะการคิดที่เรียกว่า metacognition คือ รู้ว่าตนเองรู้อะไร ต้องการรู้อะไร และยังไม่รู้อะไร ตลอดจนสามารถควบคุมและตรวจสอบการคิดของตนเองได้ ครูจึงต้องพยายามส่งเสริมให้ผู้เรียนพัฒนาลักษณะการคิดแบบต่างๆ รวมทั้งทักษะการคิดทั้งทักษะย่อย และทักษะผสมผสานในกิจกรรมการเรียนการสอนนั้นๆ

การพัฒนาทักษะการคิดและสอนเพื่อให้ผู้เรียนรู้จักวิธีคิดทั้ง 3 วิธีนี้ น่าจะเป็นแนวทางที่ครูสามารถทำได้มากที่สุดและสะดวกที่สุด เนื่องจากครูมีการสอนเนื้อหาสาระที่จะสอนและมีกิจกรรมที่จะใช้สอนอยู่แล้ว ดังนั้น ถ้าครูนำความเข้าใจเหล่านี้มา ใช้ในการปรับกิจกรรมการสอนที่มีอยู่แล้ว โดยการให้โอกาสแก่ผู้เรียนได้พัฒนาทักษะการคิด ลักษณะการคิด และกระบวนการคิดที่หลากหลาย ก็จะทำให้ผู้เรียนได้มีการฝึกการใช้ความคิดอย่างสร้างสรรค์ได้แต่เราก็มักจะพบว่า เด็กไทยของเรามักจะประสบปัญหาเรื่องการคิด เนื่องจากเราสอนให้เด็กไทยคิดน้อย อันนี้สังเกตได้จากการที่เด็กไทยไปเรียนต่างประเทศ จะคิดไม่ค่อยออก หรือไม่กล้าแสดงออกว่ากำลังคิดอะไร เพราะกลัวจะผิด ซึ่งต่างจากเด็กฝรั่ง ที่มักกล้าแสดงออก และยังชอบที่จะแสดงความเห็นด้วย โดยไม่กังวลว่า ความคิดนั้น จะถูกหรือไม่ นี่เป็นเพราะกระบวนการจัดการเรียนการสอนของเขา มุ่งให้ผู้เรียนได้คิด คิด และคิด โดยครูจะทำหน้าที่เป็นเพียงผู้ชี้แนะ เด็กฝรั่งจึงมีความสามารถในการคิดแก้ปัญหาได้มากกว่าเด็กไทย และบางครั้งสามารถคิดแตกต่างได้อย่างอัศจรรย์ทีเดียว

 

ที่มา    ดร.วิลาวัลย์ มาคุ้ม จาก www.ksp.or.th

โดย    นายไชโย  จันทร์วิน

         สาขางานคอมพิวเตอร์ธุรกิจ

คำสำคัญ (Tags): #kmanw
หมายเลขบันทึก: 443137เขียนเมื่อ 9 มิถุนายน 2011 10:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 พฤษภาคม 2012 21:33 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

"...ปัญหาเรื่องการคิด เนื่องจากเราสอนให้เด็กไทยคิดน้อย อันนี้สังเกตได้จากการที่เด็กไทยไปเรียนต่างประเทศ จะคิดไม่ค่อยออก หรือไม่กล้าแสดงออกว่ากำลังคิดอะไร เพราะกลัวจะผิด ซึ่งต่างจากเด็กฝรั่ง ที่มักกล้าแสดงออก และยังชอบที่จะแสดงความเห็นด้วย โดยไม่กังวลว่า ความคิดนั้น จะถูกหรือไม่ นี่เป็นเพราะกระบวนการจัดการเรียนการสอนของเขา มุ่งให้ผู้เรียนได้คิด คิด และคิด โดยครูจะทำหน้าที่เป็นเพียงผู้ชี้แนะ เด็กฝรั่งจึงมีความสามารถในการคิดแก้ปัญหาได้มากกว่าเด็กไทย และบางครั้งสามารถคิดแตกต่างได้อย่างอัศจรรย์ทีเดียว..."

Most Thai students are conditioned to produce success -- even the success is from memory or from 'illegal means'.

Some Western students have been adapting to 'real world' conditions early -- some have to work and study part-time.

Our teachers have 'no time' to go through 'diversity of knowledge presentation' -- thus 'multiple choice exams'.

And as a result, graduates are trained to memorise -- not to think 'differently'.

Innovation comes from 'strong needs' to solve problems with little resources (time, money, energy, tools, etc.). When a solution is needed badly. Innovative thinking emerges.

Sadly, in our society, 'cheating, corruption, frauds and the like' (that our politicians and businessmen are quick to come up) are acceptable innovation.

;-)

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท