The legend of Yer Seaw Jun:ตำนานแห่ง เยอร์ เสี่ยว จื้น


ภู่กัน  เจ๊กไธสง

Yer Seaw Jun

The legend of Yer Seaw Jun

ตำนานแห่ง เยอร์ เสี่ยว จื้น

สวัสดีครับผมชื่อ ภู่กัน เจ๊กไธสง

หลายคนอาจสงสัยว่าทำไมต้องเยอร์ เสี่ยว จื้น

จุดเริ่มของเรื่องเกิดขึ้นมาตั้งแต่ปี ๒๕๒๙ มีชายหญิงคู่หนึ่งได้เข้าสู่พิธีวิวาห์ และให้กำเนิดทายาทหน้าตาหน้าเอ็นดู (รึเปล่า) นั่นคือผมเอง

เรื่องของผมเริ่มขึ้นที่หมู่บ้านเล็กๆ ในอำเภอพุทไธสง จังหวัดบุรีรัมย์ ชีวิตในวัยเด็กของผมเติบโตมาพร้อมกับศิลปะ ซึ่งสืบเนื่องมาจากพ่อแม่ของผม

หลายคนคงสงสัยว่าพ่อแม่ผมเป็นใคร?

ทำอะไรที่ไหน?

เกี่ยวข้องอะไรกับศิลปะ?

ก็คงจะเล่าประวัติย่อกันซักหน่อย พ่อผมชื่อ นพรัตน์ เจ๊กไธสง ซึ่งพ่อผมคนนี้ได้สร้างสรรค์งานศิลปะในทางสาขาประติมากรรม

  และนอกจากนั้นพ่อผมคนนี้แหละครับที่เป็นกลุ่มบุคคลกลุ่มแรกที่เริ่มตั้งกลุ่มศิลปินอิสาน หรือพูดกันอย่างเราก็คือหนึ่งในผู้ก่อตั้งกลุ่มศิลปินอิสาน

 

ผลงานของ นพรัตน์ เจ๊กไธสง

ส่วนผมแม่ของผม ท่านก็เป็นคุณครูสอนศิลปะที่โรงเรียนมัธยมแห่งหนึ่งในอำเภอของผมนั่นเองครับ

       ในช่วงวัยเด็กของผมนั้นของเล่นของมก็คือปูนพลาสเตอร์ แม่พิมพ์งานของพ่อ สีและพู่กัน ซึ่งความสนุกในตอนนั้นคือตอนที่แกะพิมพ์ออกมาแล้วพบว่าสิ่งที่ปรากฏต่อสายตานั้นสมบูรณ์ พูดง่ายๆคืองานไม่แตกนั่นเองครับ

      นี่แหละครับจึงทำให้ผมได้สัมผัสงานศิลปะ และพบปะกับศิลปิน สิ่งที่ผมเห็นตั้งแต่เด็กถูกบันทึกลงสู่ความจำ จากความเคยชินเปลี่ยนเป็นความช๊อบชอบ

และเป็นสิ่งที่ผมคิดว่านี่ควรจะเป็นทางเดินของผมในตอนที่จะต้องเข้าเรียนในระดับมหาวิทยาลัย ซึ่งในตอนนี้พ่อของผมถามผมว่า “มึงจะเรียนปั้นหรือจะเรียนเพ้นท์” ซึ่งตอนนั้นผมตัดสินใจเรียนปั้น และผมก็ได้สอบเข้าเรียนในรอบโควตาที่มหาวิทยาลัยขอนแก่นในสาขาวิชาประติมากรรม ที่นี่ผมได้รับชื่อใหม่ ในนามว่า เยอร์ เสี่ยว จื้น เนื่องจากเป็นประเพณีที่พึ่งปฏิบัติกันมาของการรับน้องคณะศิลปกรรมศาสตร์

 

ผลงานประติมากรรมนูนต่ำและนูนสูง

  

ผลงานองค์ประกอบศิลป์

   

ผลงานประติมากรรมสร้างสรรค์

 

  

การทำงานประติมากรรมระหว่างเรียน

  

และแล้วผมก็ได้เดินทางมาสู่ช่วงโค้งสุดท้ายในการศึกษาที่มหาวิทยาลัยขอนแก่น  ลองเดาดูครับว่าคืออะไร?  ถูกครับนั่นคือการทำ ศิลปนิพนธ์ หรือที่เรียกกันว่า Thesis ในตอนช่วงนั้นผมได้นำเรื่องของครอบครัวมาใช้ทำในงานศิลปนิพนธ์ของผม ซึ่งสร้างผลงานภายในคอนเซ็ปที่ว่า “สิ่งที่พ่อแม่มีให้ลูกอย่างท่วมท้น ตั้งแต่วินาทีที่ลูกน้อยลืมตาดูโลกก็คือ ความรักอันปราศจากเงื่อนไข เป้าหมายแห่งความสำเร็จของพ่อแม่ก็คือการที่ลูกเติบโตขึ้นเป็นคนดีมีความสุขความสำเร็จในชีวิต การได้สัมผัสและรู้สึกถึงความรักที่ได้รับจากพ่อแม่ ทำให้เกิดแรงบัลดาลใจในการสร้างสรรค์ผลงานอันสะท้อนถึงความสุขที่เกิดขึ้นภายในครอบครัว ที่มีพ่อแม่และลูกมอบความรักให้แก่กัน”

ผลงานศิลปนิพนธ์

 

และแล้วผมก็ได้เวลาที่ผมต้องจบการศึกษา ซึ่งบางทีก็รู้สึกงงๆเหมือนกันว่า

จบแล้วหรอ? 

แล้วจะไปไหนดี? 

ทำอะไรต่อล่ะ? 

แล้วงานจะมีไหม?

 

หลังจากที่จบผมก็ได้กลับมานั่งงงอยู่ที่บ้านว่าจะทำอะไรต่อดี? และระหว่างที่ผมนั่งงงอยู่นั้นผมก็ได้รับการหยิบยื่นโอกาสมาให้  ใช่แล้วครับผมได้งานผมได้ไปเป็นอาจารย์พิเศษที่โรงเรียนแห่งหนึ่งแถวบ้านผมนั่นแหละครับ

 

      ซึ่งในช่วงที่ทำงานก็ได้เดินสายแสดงงานบ้าง พานักเรียนไปแข่งที่ต่างๆบ้าง ตามประสาคนจบใหม่ไฟแรง(หรอ)

และแล้วหลังจากทำงานเป็นเวลา 1 ปี ด้วยเงินเดือนอันน้อยนิดของตำแหน่งอาจารย์พิเศษของผม  ผมจึงตระหนักว่า ผมจะอยู่แค่ตรงนี้ต่อไปหรือจะออกเดินทางอีกครั้งแล้วผมก็มานั่งคิดนอนคิดอีกที 

ไปเรียนต่อดีรึเปล่านะ?

ไปเรียนที่ไหนดีนะ?

ที่ไหนมีทัศนศิลป์ให้เราเรียนมั่งนะ?

ผมจึงไปทำการหาข้อมูลแหล่งศึกษาแล้วก็กลับมานั่งทบทวนอีกทีว่า

ทำไมต้องไปเรียนต่อปริญญาโท? 

และแล้วหลังจากการนั่งทบทวนก็ได้คำตอบมาว่า

แน่นอนผมได้ทำศิลปะต่อและได้ความรู้เพิ่มเติม

แต่นอกเหนือจากนั้นของแถมก็คือ

จะได้เป็นนักศึกษาอีกครั้ง ว๊าว!! ฟังดูดี

ได้เห็นน้องๆนักศึกษาสาวสวย ว๊าว แจ่มมาก!!!

ผมได้ตัดสินใจมาเรียนต่อปริญญาโท ที่มหาวิทยาลัยมหาสารคาม 

ซึ่งผลงานในช่วงแรกในการเรียนผมได้ทำงานเกี่ยวกับเรื่องของสมาธิ

สมาธิ ๑

สมาธิ ๒

สมาธิ ๓

ในระหว่างที่ทำงานชินสมาธิ ๓ ก็ได้เกิดอุบัติเหตุครั้งใหญ่ในชีวิตของผมทำเอาต้องนอนโรงพยาบาลไปหลายวันเลยทีเดียว

        อุบัติเหตุครั้งนี้ก็ทำให้เกิดจุดเปลี่ยนในการทำงานของผมอย่างมากเลยทีเดียวหลังจากเกิดอุบัติเหตุครั้งนี้ในส่วนตัวงานของผมก็เลยหันมาทำให้เรื่องของความเจ็บปวดที่เกิดขึ้น โดยนำเสนอรูปแบบผลงานในเทคนิคที่เกิดจากการหักของวัตถุที่มีความแข็งแต่ถูกกระทำจนเกิดการแตกหัก

 

เริ่มจากวิธีการทำงานเลยนะครับ

ผมขอนำเสนอเป็นภาพแบบย่อๆก็แล้วกัน

มีคนเคยถามผมว่านี่ไปเรียนศิลปะหรือไปเรียนก่อสร้างกันแน่ (ฮ่า)

ผมใช้แรงกดจากรถแบล็คโฮล(ต้องคันใหญ่ด้วยนะ ไม่งั้นไม่หัก)

กะเทาะเปลือกไม้ออกแล้วนำไปตากให้แห้ง

ประกอบงานทาสีเป็นเสร็จพิธี

 วิธีการทำงานขั้นต้นของผมก็จะประมาณนี้แหละครับ

ส่วนในด้านของตัวงานในชุดนี้ผมจะนำเสนอเกี่ยวกับความรู้สึกเจ็บปวดที่เกิดจากหัก การแตก

แตกหัก ๒

แตกหัก ๓

แตกหัก ๔

เมื่อเดินทางมาถึงจุดนี้ผมได้นำเอาสิ่งที่ทำมาหลายๆอย่างมาวิเคราะห์ และทบทวนกับความรู้สึกจริงๆที่เกิดกับงาน ซึ่งเมื่อลองทบทวนดูแล้วความรู้สึกที่เกิดมันน่าจะเป็นความรู้สึกของความกลัวซึ่งจะนำมาพัฒนากับผลงานในอนาคต โดยผมได้ทดลองวิธีการสร้างสรรค์ไว้คร่าวๆ และแนวโน้มของงานในอนาคตคาดว่าจะออกมาในรูปแบบที่อาจจะเป็นแนวที่เล่นกับความรู้สึกของผู้ชมมากขึ้น

ความน่ากลัว ๑


 

 

 

 


คำสำคัญ (Tags): #ศิลปะ
หมายเลขบันทึก: 443056เขียนเมื่อ 8 มิถุนายน 2011 18:03 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:46 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

เป็นครอบครัวศิลปินนี่เอง...คำบรรยายแต่ละรูป ...อดขำไม่ได้จริงๆ

ปล. ว่าแต่ เยอร์ เสี่ยว จิ้น ... หมายถึงอะไรครับ

เยอร์ เสี่ยวจื้น เป็นชื่อคณะตอนสมัยเรียนศิลปกรรม ม.ขอนแก่นครับ ส่วนความหมายผมไม่ทราบเหมือนกันเพราะรุ่นพี่ตั้งให้ครับ

กลับมาอ่านอีกครั้งครับผม (เนื่องมาจากอยากรู้วิธีการหัก และ การสร้างระเบียบ ที่เกิดขึ้น) แป้กนิดหน่อยตรงที่เน็ตผมช้าครับ เลยอดดูวิธีการที่คราวที่แล้วได้เห็น(ไว้เช้าๆมาลองใหม่) แต่กระนั้นก็ไม่ผิดหวังเมื่อได้เพ่งพินิจอีกที ว่าใบไม้แห้ง(ประติมากรรมสร้างสรรค์)ที่เข้าใจนั้น คือ "ก้านกล้วย" (ฮ่าๆ...รู้ละทำไมผมทำงานศิลป์ไม่เวิร์ค) และที่ยังชอบใจอยู่ทุกครั้งที่ได้เห็นคือ งานชุดครอบครัว ... ผมเป็นเด็กบ้านแตกมาก่อนนะครับ เลยอดหลงรักภาพฝันหรือครอบครัวในอุดมคติแบบนี้ไม่ได้

แวะมาให้กำลังใจนะคะ

ชอบมากเลยค่ะหน้านี้

ฮาดี 555+

มาให้กำลังใจครับด้วยคนครับ ชอบมากครับ นำเสนอได้ดีจริงๆ

เก่งๆๆจังคะ..^^

พี่เยอร์ เสี่ยว จิ้น..ชอบมากๆๆ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท