ชาวนาวันหยุด ตอนที่ 4.2 การปักดำด้วยเครื่อง กับ "กล้าสาว อายุ 15 วัน"


เริ่มต้นปักดำ วันที่ 5 พ.ค.54 "ต้นกล้าสาว อายุ 15 วัน" พร้อม ออกรากหากินเลี้ยงตัวเองต่อไป...

บันทึกชาวนาวันหยุด ตอนที่ 4.2

เริ่มต้นปักดำ เมื่อวันที่ 5 พ.ค.54 ที่ผ่านมาครับ

วันนี้ปักดำ จำนวน 5 ไร่ จากทั้งหมดประมาณ 30 ไร่

(ที่เหลือปักดำต่อ วันที่ 9 พ.ค.54) ติดตามตอนต่อไป

-เพื่อนบ้านมาช่วย กัน "ลงแขก ลงแรงดำนา" 5 คน คนละผลัด ใช้เวลาตั้งแต่ 9 โมงเช้า พักเที่ยง 1 ชม. ปักดำเสร็จเวลา บ่าย สองโมง ไม่ต้องรีบมาก

-ใช้เเผ่นกล้า ไปทั้งหมด 200 เเผ่น ไร่ละ 40 เเผ่น (แผ่นละ 14 บาท) คิดเป็นน้ำหนักเมล็ดพันธุ์ข้าวปลูกรวม 40 กิโลกรัม ประหยัดจากเดิมๆที่เคยใช้กัน เฉลี่ย ไร่ละ 25-35 กิโลกรัมต่อไร่

- ใช้น้ำมันเบนซิน 5 ลิตร เฉลี่ยไร่ละ 1 ลิตร 


- เฉลี่ยต้นทุนปักดำ(ค่าแรง ค่ากล้า ค่าน้ำมัน) ไร่ละ 800 บาท

 


ขอประมวลภาพมาให้ชมบรรยากาศกันแบบใกล้ชิดติดริมคันนาครับ 

เริ่มตั้งแต่ตอนเช้า แบ่งงานกัน ม้วน "เเผ่นกล้า" ที่เเปลงอนุบาล ขนส่งมาเเปลงนา (ห้ามม้วนเเผ่นกล้าค้างคืน เพราะจะทำให้ต้นกล้าช้ำ และเฉาจากจากก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่ต้นกล้าปล่อยในตอนกลางคืน )

สิ่งที่สำคัญ ก่อนการปักดำ ก็คือ "การเตรียมเทือก" 

ถามว่าต้องแบบไหน ก็ลองเอานิ่วขีดเส้น ถ้าเลนกลบเส้นมิด ก็จะเละเกินไป

ต้องกลบร่องประมาณ ครึ่งนึงครับ ถือว่าใช้ได้ ...พร้อมปักดำแล้วครับ

มีน้ำท่วมได้ พอท่วมตอนคว่ำฝ่ามือครับ


   

                 

 


 

สิ่งแวดล้อม และธรรมชาติ รอบๆเเปลงนา ->

หมายเลขบันทึก: 442618เขียนเมื่อ 6 มิถุนายน 2011 08:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:45 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (17)

        ละเอียดดีมากค่ะ ชอบบันทึกของคุณต้นกล้าจริงๆ  ถ้าคุณต้นกล้าเป็นครู-อาจารย์ และสอน (ปัจจุบันจะใช้คำว่า จัดการเรียนรู้) แบบที่นำเสนอในบันทึกนี้ ผู้เรียนคงจะเข้าใจบทเรียนได้เป็นอย่างดี อ่านบันทึกทุกคำและดูทุกภาพด้วยความสนใจและประทับใจค่ะ นี่ถ้าอยู่ห่างอุบลฯ ซักไม่เกิน 300 กม. จะพาพ่อใหญ่สอขับรถมาดูเลยนะคะ โรล (Roll) ต้นกล้าเหมือนปอเปี๊ยะสดเมืองอุบลฯ เลยค่ะ แกงเขียวหวานก็ชอบทานนะคะ แต่จะทานเฉพาะน้ำแกงและมะเขือเพราะชอบทานผักมากโดยเฉพาะอย่างยิ่ง "มะเขือ" (มะเขือแบบในภาพจะทานสดทุกวันเลยค่ะ) เนื้อไก่หรือเนื้อหมูในแกงจะให้พ่อใหญ่สอทาน ถ้าไม่หมดก็จะเป็นอาหารของ "ข้าวเหนียว" สุนัขที่เป็นองครักษ์พิทักษ์พ่อใหญ่สอ ส่วนมะเขือไม่เคยเหลือค้างถ้วยเลยค่ะ ไม่ทราบมีผลไม้หลังอาหารกันหรือเปล่าคะ มะม่วงที่เคยเห็นนบนต้นตั้งแต่บันทึกก่อนๆ วายแล้วยังคะ ที่ฟาร์มไอดินฯ และที่บ้านเรือนขวัญยังอยู่เยอะเลยค่ะ ถ้าอยู่ไม่ไกลจะนำมาฝาก "มะม่วงงามเมืองย่า" ลูกละ 8 ขีดถึง กิโลครึ่งค่ะ 

 

    

  • สวัสดีครับ
  • เก็บละเอียดทุกขั้นตอน
  • เยี่ยมครับ
  • จะรอดูผลในบันทึกต่อๆ ไปนะครับ

ขออนุญาต SAVEข้อมูลไว้อ่านในเครื่องนะคะ ก็อย่างที่ท่านอาจารย์วิไลพูดว่า ละเอียดมากค่ะ ภาพก็น่ารัก แต่สงสัยว่ารากข้าวจะดึงแยกออกมายากไหม ไม่เคยเห็นมาก่อนเลย เคยถามชาวนามีนบุรี เขาว่า เคยเพาะกล้า แต่ปัญหาตอนดึงต้นกล้า เรื่องรากนี่แหละ งง เหมือนกันค่ะ ทุกวันนี้เลยหว่านมั่วไป ไม่ได้เรื่อง เหมือนทำงานฟรียังไงก็ไม่ทราบ ทุกวันนี้ดูท่าจะจนลงกว่าเดิมเพราะยังมีหนี้เป็นพันธนาการอยู่

มีความสุขค่ะ ได้เห็นวิถีธรรมชาติกับการได้ทำการเกษตรแบบธรรมชาติ

เอาใจช่วยค่ะ มาดูภาพและเก็บความรู้ไปพลาง หวังว่าจะได้มีโอกาสได้ทำบ้างนะค่ะ ^_^

กล้าข้าวของน้องต้นกล้า สวยและแข็งแรง วิธีของน้องต้นกล้า ยังใช้กล้าถึงสี่ต้นต่อหลุม ต้นทุนเมล็ดพันธุ์ยังสูงกว่าวิธีปลูกข้าวต้นเดี่ยว การปลูกข้าวนาดำในพื้นที่ขนาดใหญ่ ทำอย่างมีระเบียบด้วยเครื่องจักรช่วยปักดำ การกำจัดการวัชพืชก็ง่ายใช้เครื่องมือที่มีขนาดกว้างของร่องเท่ากัน จึงสะดวก แต่อาม่าสงสัย ที่น้องต้นกล้าบอกว่าไถ่พรวนสองครั้งก่อนข้าวตั้งท้อง แล้วข้าวแตกกอขยายออกทุกทิศทาง ไม่ทำให้ระยะแนวระร่องและแถว แคบลงหรือ เพราะเครื่องโรตารี่วีดเดอร์ มีระยะที่ตายตัว จะกระทบข้าวที่แตกกอพร้อมตั้งท้องหรือเปล่าค่ะ

เรียน ผศ.วิไล

ขอขอบคุณ อาจารย์ที่ติดตามอย่างต่อเนื่องครับ ผมก็จะพยายามนำเสนอ แบบที่เข้าใจง่าย สื่อสารด้วยภาพ

-แบบนี้ก็ได้ประสบการณ์ตรงจากการเป็นผู้เรียน จะชอบ อาจารย์ที่สอน ให้เกิดจินตนาการ และนำไปคิดต่อยอดได้ และเมื่อมาเป็น นักปฏิบัติ เป็นวิทยากร ถ่ายทอดให้กับกลุ่มเกษตรกร และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้วยแล้ว พบว่าการสื่อสารกับคนที่พื้นฐานต่างกัน ต้องทำให้ ง่ายที่สุด

-มะม่วงของอาจารย์ น่าทานมากๆครับ ส่วนที่เเปลงนาลุงมี เเปรรูปเป็นมะม่วงกวน ไปแจกจ่ายเพื่อนบ้านแล้วครับ

Ico48 สวัสดีครับ พี่สิงห์ ป่าสัก

พบกันได้ทุกวันเสาร์ที่กำเเพงเพชร ชัดเจน .. 

Ico48 สวัสดีครับ น้องมะปรางเปรี้ยว

ตอนนี้ยังมีแรง แนะนำให้รีบทำ ครับ เด๋วจะหมดแรงซะก่อน ฮ่าๆๆ

ขอบคุณสำหรับการติดตามครับ

สวัสดีครับ คุณดังใจ จาก FB 

"...แต่สงสัยว่ารากข้าวจะดึงแยกออกมายากไหม ไม่เคยเห็นมาก่อนเลย เคยถามชาวนามีนบุรี เขาว่า เคยเพาะกล้า แต่ปัญหาตอนดึงต้นกล้า เรื่องรากนี่แหละ งง เหมือนกันค่ะ..."

รากข้าวช่วงอนุบาลกล้า 15-25 วัน (กล้าสาว) เมื่อมาใช้ร่วมกับเครื่องปักดำ ก็จะโดนจับแยกโดย หัวซ่อมปักดำ เอาลงดิน รากจะไม่ช้ำ และลงไปหาอาหารกิน ในดิน ไม่ลอยหากินหน้าดิน เหมือนนาหว่านทั่วไป พื้นที่การหากินเพิ่มขึ้น 360 องศา ก็เป็นการลดต้นทุนปุ๋ย ครับ 

ต้นข้าวก็ไม่ค่อยล้ม เพราะมีระบบรากที่ดี มายึดลำต้น 

ยิ่งเอากล้ายิ่งเล็ก  ยิ่งดี จะสามารถปรับตัวกับสิ่งแวดล้อมใหม่ได้ไว (เหมือนพวก native speaker ) 

ต่างจาก แบบเดิมที่มีการถอนกล้าที่เพาะไว้ เอามาฟาดดินออก รากขาด เป็นกล้าแก่ อายุเกิน 30 เข้าสู่ระยะแตกกอแล้ว รากจะช้ำ ต้องไปพักฟื้นในเเปลงนาก่อนจะปรับสภาพได้ (สังเกตุจะเหลือง ไปประมาณ 1 สัปดาห์) จนกว่ารากใหม่จะเกิด 

ส่วนเรื่องหนี้สินภาคเกษตรรายย่อย ต้องแก้ไขด้วยการปรับเปลี่ยน ทัศนคติ ของตัวเกษตรกรเองเป็นเบื้องแรก เปลี่ยนได้ก็แก้ได้ ครับ


Ico48

-ขอขอบคุณอาม่าที่ติดตามอย่างต่อเนื่องครับ  ตามที่ศึกษา เรื่องข้าวต้นเดี่ยวแล้ว เป็นขั้นสุดของการใช้ ทรัพยากรการผลิตเเบบเข้มข้นที่ให้ผลผลิตที่ดีมาก เหมาะกับครัวเรือนที่มีทีดินน้อย มีแรงงานเพื่อการผลิตมาก อาศัยปลูกทานในครัวเรือน 

-การพรวนหญ้าในร่องนาดำ ด้วย rotary weeder 2 ครั้งระยะข้าวแตกกอ ก่อนข้าวตั้งท้อง เพื่อการเพิ่มออกซิเจนให้กับรากข้าว หากินเก่งขึ้น และกำจัดวัชพืชไปในตัว นั้นใช้ร่วมกับสูตรเปียกสลับเเห้งแกล้งข้าว 2 ครั้ง ไม่ทำให้มีผลกระทบทางลบใดๆต่อต้นข้าวครับ ส่งผลทางบวกให้ต้นข้าวเเข็งแรง แตกกอได้ดี ระบบรากดีมากๆ  (เหมือนคนออกกำลังกาย ต้องออกแรงต้าน จึงมีการสร้างกล้ามเนื้อประมาณนั้น) 

 

สวัสดีค่ะ

จ้างพี่คิม  มาช่วยนับตังค์นะคะ

รอทานข้าว...เจอร้านใหม่แล้วค่ะ

Ico48 เปลี่ยนจากจ้าง มาเป็นเอาแรง แลกข้าวดีกว่าครับ 

ชวน มานับ ราก นับ ลำ นับ รวง นับเมล็ด แทนดีกว่าครับ

วันศุกร์นี้เข้าพิษณุโลก ครับ ...ว่าแต่ร้านอะไรครับ ขอเป็นเมนูปลา แม่น้ำละกัน ..ช่วงนี้กำลังลดพุง .ฮ่าๆๆ 

สวัสดีค่ะ คุณต้นกล้า

......

ดิฉันเป็นชาวนามือใหม่...ทำนาแบบเก่าอยู่

แถวบ้านยังไม่เคยมีใครใช้วิธีนี้เลย

อยากลองดูบ้างค่ะ อบรมแบบเต็มๆ

ได้ที่ใหนค่ะ..ภาพสวย ข้อเขียนดี น่าติดตามมากค่ะ

;คุณบัวชมพู

ชาวนามือใหม่ เรียนรู้ และลงมือปฏิบัติ ก็เป็นชาวนามืออาชีพได้ครับ

อบรมฉบับเต็มก็สามารถติดตามได้จากบ้นทึกครับ

Ico48 คุณบัวชมพู 

ชาวนามือใหม่ เรียนรู้ และลงมือปฏิบัติ ก็เป็นชาวนามืออาชีพได้ครับ

อบรมฉบับเต็มก็สามารถติดตามได้จากบ้นทึกครับ

ผมกำลังจะเตรียมเป็นชาวนา ครับ จะขอแวะเข้าไปขอความรู้กับ ชาวนาวันหยุด ได้ริเปล่าครับ

อยากทราบว่าต้นกล้า1 ถาด สามารถเพาะได้กี่กอ

และใช้สูตรอะไรคำนวณ? ค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท