หลักการแปล งานวิชาการ และหนังสือประเภทกลอน


การแปลงานวิชาการ

การแปลงานวิชาการเพื่อถ่ายทอดความคิด ความรู้ และเทคโนโลยี ยังไม่แพร่หลายมากนัก ทั้งนี้เนื่องจาก นักแปลหนังสือทางวิชาการมีน้อย ประกอบกับนักแปลรุ่นใหม่ที่เป็นนักวิชาการ ครูและอาจารย์ จากสถาบันการศึกษาระดับการศึกษาต่าง ๆ ยังคาดความสันทัดมั่นใจในผลงานแปลของตนเอง ไม่ว่าจะเป็นด้านวิธีการแปล การใช้สำนวนภาษาในการแปล หนังสือทางวิชาการ ตลอดจนกฏเกณฑ์การถอดอักษร การแปลศัพท์เฉพาะวิชาการหรือการทับศัพท์

เอกสารทางวิชาการมีลักษณะที่ต้องเสนอ ความจริงที่ชัดเจน ซึ่งผู้อ่านหรือผู้ใช้งานมีจุดประสงค์อ่านเพื่อนำความรู้ ข้อเท็จจริง ข้อมูล และอื่น ๆ ไปใช้ประโยชน์โดยตรง เช่น วิทยาการสาขาต่าง ๆ เอกสารทางกฏหมาย ซึ่งอาจอยู่ในรูปของ ตำราวิชาการ หนังสือ งานวิจัย รายงานการประชุมทางวิชาการ จึงต้องเลือกใช้วิธีการแปลตามตัวอักษร โดยคำนึงถึงการเรียบเรียงถ้อยคำให้สอดคล้องกับภาษาต้นฉบับ และบางครั้งต้องการอธิบายเพิ่มเติมและเพื่อความเข้าใจยังต้องทำเชิงอรรถด้วย

ลักษณะภาษา 4 ประการของการแปลเอกสารวิชาการ

1. มีความชัดเจน กระชับ ไม่ใช้คำที่ไม่จำเป็น รูปประโยคสั้น ๆ ใช้ข้อความที่แสดงความคิดเห็นแจ่มแจ้ง ไม่กำกวม หรือชวนให้ตีความหมายได้หลายอย่างหลายมุม

2. ใช้คำศัพท์เทคนิค หรือคำศัพท์เฉพาะด้าน ทับศัพท์หากไม่มีศัพท์บัญญํติ

3. ใช้ภาษาเรียบง่าย ไม่ใช้สำนวนโวหาร และต้องตรงตามต้นฉบับ

4. มีความสมเหตุสมผล เท่า ๆ กับภาษาต้นฉบับมี

อนึ่ง ผู้แปลต้องเรียกใช้โครงสร้างของประโยคให้เหมาะสมกับผู้รับสารในภาษาของตน มิฉะนั้นการแปลจะไม่สื่อความหมายที่แท้จริงออกมาอย่างมีประสิทธิภาพ

การแปลหนังสือประเภทโคลงกลอน (ร้อยกรอง)

1. แปลบทร้อยกรองต่างชาติออกเป็นบทร้อยกรองไทย แบบประโยคต่อประโยคหรือแบบคำต่อคำ

ให้เนื้อความตรงกัน เทียบกันได้ในแต่ละบรรทัดหรือแต่ละประโยคผู้แปลต้องเลือกฉันทลักษ์ของไทย ที่เข้ากันได้กับบทร้อยกรองต้นฉบับ โดยต้องมีการรักษา เนื้อความ รส อารมณ์ และความคิดไว้ให้เหมือนกับในบทเดิมมากที่สุด การแปลร้อยกรองแบบนี้ประณีตมาก

 

 

 

 

 

 

2. แปลบทร้อยกรองต่างชาติออกเป็นความเรียงแบบประณีต

บทร้อยกรองเดิมนั้นอาจเป็นบทโครง บทละครคลาสสิก ความกรอง ( Poetic Prose) ฯลฯ ความเรียงที่ใช้แปลนั้นเป็นสำนวนโวหาร ประณีตทางภาษาศิลปะใช้สำนวนชั้นสูง ผู้แปลควรระมัดระวังเรื่องการรักษาเนื้อความ รสของคำ ตลอดความคิดของบทเดิมให้ครบถ้วนมากที่สุด

3. แปลบทร้อยกรองต่างชาติเป็นความเรียงอย่างง่าย

อาจใช้กับบทกวีที่มีหัวข้อและเนื้อหา ทางศีลธรรม ผู้แปลควรใช้คำง่าย ชัดเจน ความรัดกุม ตรงตามความของบทกวี ซึ่งผู้อ่านจะได้เข้าใจได้ง่ายและพิจารณาหรือคิดตามคติธรรมที่ผู้แต่ง อาจแสดงข้อคิดไว้ หรือซ่อนไว้ให้ผู้อ่านค้นหาเอง

4. แปลร้อยแก้วหรือความเรียงที่มีบทร้อยกรองแทรกอยู่เป็นบางตอนตลอดเล่ม

ผู้แปลอาจแปลตามต้นฉบับ คือตอนที่เป็นความเรียงให้แปลเป็นความเรียง ตอนที่แปลเป็นร้อยกรองให้แปลเป็นร้อยกรอง การแปลแบบนี้มักใช้ถ้อยคำสำนวนประณีตและควรรักษาเนื้อความหรืออรรถรสเดิมให้มากที่สุด

5. การแปลร้อยกรองสำหรับเด็ก

เช่น โครงสั้น ๆ บทกล่อม บทร้องเล่นสนุก ๆ หรือบทเพลงสำหรับเด็ก ผู้แปลควรแปลเป็นบทร้อยกรองง่าย ๆ หรือกำหนดสัมผัสเอาเอง ตามแบบของบทโครงต้นฉบับ คำที่ใช้ควรเป็นภาษาสำหรับเด็ก ซึ่งจะทำให้เด็กจำได้ง่ายและสนุกกับเสียงสัมผัส

ที่มา  http://academic.obec.go.th

หมายเลขบันทึก: 442419เขียนเมื่อ 4 มิถุนายน 2011 19:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 21:26 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท