สรุปงานชิ้นที่ 5 จากการศึกษาวิจัย การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน


จากการศึกษาวิจัย การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน

         จากการวิจัยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง คำศัพท์ภาษาอังกฤษ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนมวกเหล็กวิทยา ของสุภาวดี  อัคนิจ ที่ได้วิจัยไว้นั้น มีผู้วิจารณ์ไว้ว่าผู้วิจัยได้คำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคลของผู้เรียนทั้งทางด้าน สติปัญญา สติปัญญา บุคลิกภาพ ความสนใจ พื้นฐานความรู้ที่แตกต่างกันและจากการสังเกตพฤติกรรมการเรียนในห้องเรียน ทำให้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนมีความยืดหยุ่นที่ผู้เรียนสามารถควบคุม บทเรียนได้ด้วยตนเอง นอกจากนั้นยังออกแบบให้บทเรียนมีปฏิสัมพันธ์กับผู้เรียน มีผลป้อนกลับไปยัง ผู้เรียนเพื่อเป็นการเสริมแรงซึ่งสามารถดึงดูดและกระตุ้นความสนใจและทำให้ผู้เรียนเกิดความสนุกและ มีกำลังใจในการเรียนรู้ โดยนำภาพคำศัพท์ที่นักเรียนพบเห็นในชีวิตประจำวันออกแบบเป็นเนื้อหา บทเรียน มีขั้นตอนการสร้างและพัฒนาโดยมีการวางแผนและออกแบบบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนตามหลัก 9 ขั้นของกาเย่

           และจากการสังเกตพฤติกรรมหลังจากที่นักเรียนทดลองใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน พบว่านักเรียนให้ความสนใจและกระตือรือร้นต่อการเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ซึ่งเป็นการเรียน โดยมีการโต้ตอบและทำแบบฝึกหัดในบทเรียนจากการที่ผู้วิจัยได้สอบถามว่าการนำบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนมาเพิ่มทักษะภาษาอังกฤษในการเรียนการสอนเช่นนี้ดีหรือไม่ นักเรียนมีความพึงพอใจ ต้องการเพิ่มทักษะความรู้ในวิชาภาษาอังกฤษด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนและการเรียน คำศัพท์จากภาพ สีสัน ตัวอักษรและเสียง เป็นจุดสนใจที่ทำให้นักเรียนอยากเรียนสามารถฝึกหัดออกเสียงคำศัพท์ได้ตามความพอใจ จนสามารถออกเสียงคำศัพท์ได้ใกล้เคียง สามารถเรียนรู้คำศัพท์ กลับไปกลับมาได้ จนเข้าใจและนำไปใช้ได้ การเรียนโดยใช้คอมพิวเตอร์ยึดหลักการสำคัญ ได้แก่ ความง่ายความสะดวกในการใช้งาน ความสวยงาม ความน่าสนใจและส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง เพื่อให้ผู้เรียนประสบผลสำเร็จด้วยวิธีการของตนเอง

            นอกจากนี้ผู้วิจัยได้ออกแบบกำหนดเนื้อหาบทเรียนและสามารถทำแบบฝึกหัดได้ในทันทีที่เรียนเนื้อหาในบทเรียนเสร็จ ซึ่งเมื่อนักเรียนเข้าใจ จดจำได้ดีโดยทำแบบฝึกหัดจากง่ายไปสู่แบบฝึกหัดที่ยาก เป็นการกระตุ้นให้นักเรียนเกิดความสนใจที่จะเรียนในบทเรียนและทำแบบฝึกหัดต่อไป มีการเปรียบเทียบคะแนนทดสอบก่อนและหลังการเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเรื่องคำศัพท์ภาษาอังกฤษ พบว่า คะแนนทดสอบหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน เนื่องจากว่าในการเรียนเนื้อหานั้น นักเรียนสามารถเรียนซํ้าหรือทบทวนเนื้อหาในบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนก่อนที่จะทำแบบทดสอบหลังเรียน การที่นักเรียนได้ทบทวนเนื้อหาซํ้าอีกครั้ง ทำให้นักเรียนเกิดความเข้าใจมากยิ่งขึ้น เมื่อได้ทำแบบฝึกหัดและแบบทดสอบจึงทำให้ได้คะแนนมากกว่าการทำแบบทดสอบก่อนเรียน ซึ่งสอดคล้องกับหลักจิตวิทยาการเรียนรู้กับการออกแบบคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ควรคำนึงถึงหลักจิตวิทยาการเรียนรู้ในด้านความแตกต่างระหว่างบุคคลเนื่องจากผู้เรียนแต่ละคนมีความสามารถในการเรียนรู้แตกต่างกันไป จึงควรออกแบบคอมพิวเตอร์ช่วยสอนให้สะดวกในการย้อนกลับไปมา ถ้านักเรียนไม่เข้าใจเนื้อหาในตอนใดก็สามารถย้อนกลับไปทบทวนได้ทันที นอกจากนี้การที่ผู้เรียนได้รับผลป้อนกลับจากบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเช่น ได้รับคำชมเชยเมื่อตอบคำถามถูกต้อง ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของคุณลักษณะที่สำคัญของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่สมบูรณ์ มี 4 ประการ คือ 4 I’s ได้แก่

1. Information (สารสนเทศ)

2. Individual (ความแตกต่างระหว่างบุคคล)

3. Interaction (การโต้ตอบ)

4. Immediate Feedback (ผลป้อนกลับโดยทันที)

             ดิฉันคิดว่าจากการที่มีผู้วิจารณ์งานวิจัยของสุภาวดี อัคนิจ เกี่ยวกับบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนนั้น มีข้อเสนอแนะหลายเรื่องที่ควรนำไปศึกษาต่อยอด เพื่อจะได้มีบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนผลการจัดการเรียนการสอนที่เกิดจากการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอนมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลได้มากขึ้น

หมายเลขบันทึก: 441950เขียนเมื่อ 2 มิถุนายน 2011 17:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:45 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท