3G กับการเรียนการสอน


3G การเรียนการสอน

ตามที่จังหวัดอุบลราชธานีโดยท่านผู้ว่าราชการจังหวัด (นายสุรพล สายพันธ์) ได้ลงนาม MOU กับ TOT เมื่อวันที่ 18 พ.ค. 2554  ในการพัฒนาระบบสื่อสารเชื่อมต่อข้อมูลข่าวสารอินเทอร์เน็ตโดยเฉพาะอย่างยิ่งการกำหนดให้มีการพัฒนาระบบ 3G ใช้ในพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานี  ซึ่งเป็นเรื่องที่ดีมากสำหรับนักเรียน นักศึกษาและประชาชนอย่างที่ผู้เขียนได้กล่าวถึงในบทความก่อนหน้านี้มาแล้ว หลายๆ ท่านอาจจะสงสัยว่า “G” มันคืออะไรกันแน่

G มาจาก Generation หรือ รุ่น  ซึ่งมีผู้รู้ผู้ที่เชี่ยวชาญได้กล่าวถึงระบบ 3G อย่างมากมาย แต่อย่างไรก็ตาม ผู้เขียนขออนุญาตสรุปสั้นเกี่ยวกับความเป็นมาของ 3G พอเป็นสังเขปประกอบ ดังนี้

1G เป็นการสื่อสารรุ่นแรกที่สื่อสารผ่านระบบโทรศัพท์ที่มีระบบเสียงเท่านั้นระหว่างผู้รับและผู้ส่ง

2G เป็นการสื่อสารรุ่นสองที่สื่อผ่านผ่านระบบโทรศัพท์เหมือนรุ่นแรกเพียงแต่มีความสามารถประสิทธิภาพสูงขึ้นในการเพิ่มในประเด็นของข้อความสั้นหรือที่เราเรียกว่าSMS และ รูปภาพทั้งชนิดนิ่งและเคลื่อนไหว ที่เรียกว่า MMS

3G เป็นการสื่อสารรุ่นที่สามที่เพิ่มประสิทธิภาพจากรุ่นที่สองโดยเพิ่มระดับความสามารถในการส่งข้อมูลที่มีความเร็วที่สูงขึ้นสามารถที่สื่อสารทั้งเสียงทั้งภาพพร้อมกันในลักษณะที่อาจจะเรียกว่า Real Time

ดังนั้น จะเห็นว่า 3G จะทำให้การสื่อสารระหว่างผู้รับผู้ส่ง (ซึ่งอาจจะมีมากกว่า 2 คน ทั้งสองฝั่งในเวลาเดียวกัน) สามารถที่จะติดต่อกันด้วยการที่เห็นหน้าเห็นตาพูดคุยกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งการสื่อสารระบบ 3G จะหลีกหนีอินเทอร์เน็ตทั้งระบบสายและไร้สายไม่ได้เลย โดยเฉพาะอย่างยิ่งระบบไร้สายที่ทำให้เราไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนก็สามารถที่จะเชื่อมต่อติดต่อสื่อสารกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ

กล่าวสำหรับคำถามที่ว่า "แล้ว3G มีประโยชน์ของต่อการเรียนการสอนจริงหรือไม่" นั้นเป็นสิ่งที่เราทุกคนในมหาวิทยาลัยอุบลราชธานีควรที่จะมาแลกเปลี่ยนทัศนคติความคิดเห็นเพื่อจะทำให้เกิดประโยชน์สูงสุด ก่อนอื่นเราทุกคนคงจะยอมรับว่าทุกวันนี้และอนาคตเราไม่สามารถที่จะหนีพ้นการใช้อินเทอร์เน็ตอย่างแน่นอน (เพราะอะไรท่านก็คงจะทราบดี) ที่นี้เรามาลองดูข้อดีประโยชน์ของ 3G ในด้านต่างๆ

ด้านการสอน

สมมติว่าอาจารย์ผู้สอนมีความจำเป็นจะต้องไปราชการต่างจังหวัดโดยด่วนไม่สามารถที่จะเข้าสอนในช่วงเวลาปกติได้ แต่อาจารย์ท่านดังกล่าวอยู่ในพื้นที่ที่รองรับการใช้งาน 3G และอาจารย์ก็มีอุปกรณ์ที่จำเป็นในการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต เช่น SmartPhone Tablet Notebook เป็นต้น และในอุปกรณ์นั้นมีโปรแกรมสำหรับการเชื่อมต่อซึ่งอาจจะเป็น Skype โดยอาจารย์อาจจะส่งข้อความถึงหัวหน้าห้องผ่าน Facebook (เนื่องจากนักศึกษาทุกคนก็มีอุปกรณ์ในการสื่อสารและการเรียนอาจจะเป็น Notebook หรือ โทรศัพท์ที่รองรับ Facebook   ให้หัวหน้าห้องเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ที่อยู่หน้าห้องเรียน (ซึ่งหัวหน้าห้องก็จะต้องมี Account ของ Skype เช่นกัน) ดังนั้น อาจารย์ก็สามารถที่บรรยายสอนได้เสมือนปกติ ประการสำคัญคือ คอมพิวเตอร์ที่อยู่หน้าห้องเรียนจะต้องมีกล้อง (Web Cam) ด้วยเพื่อจะได้เห็นภาพเห็นหน้ากันทั้งสองฝ่ายทั้งผู้เรียนและผู้สอน

ด้านการเรียน

นักศึกษาสามารถใช้อุปกรณ์เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตที่รองรับ 3G (SmartPhone Tablet Notebook) ในการสืบค้นข้อมูลด้วยความเร็วสูงได้ทุกสถานที่ไม่ว่าจะเป็นโรงอาหาร ห้องนั่งเล่น ใต้ถุนอาคารเรียน หรือที่ไหนก็แล้ว สามารถที่ดูและฟังการสอนของอาจารย์ที่สอนไปแล้ว (ในกรณีที่ห้องเรียนนั้นมีการบันทึกภาพเคลื่อนไหวการสอนของอาจารย์และบันทึกลงในเครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่ายกลางของมหาวิทยาลัย) ทำให้นักเรียนสามารถทบทวนบทเรียนการสอนของอาจารย์และทำความเข้าใจได้ดียิ่งขึ้น หากนักศึกษามีปัญหาหรือข้อสงสัยในการเรียนก็สามารถที่แลกเปลี่ยนสอบถามอาจารย์ผู้สอนได้ทันทีโดยอาจจะผ่าน Facebook ของรายวิชานั้นๆ  ซึ่งจะทำให้นักศึกษาในกลุ่มที่เรียนได้เรียนรู้ได้รับทราบไปด้วยกันพร้อมที่แลกเปลี่ยนความคิดเห็นเพิ่มเติมได้

ด้านการเรียนการสอน

อย่างที่กล่าวไปแล้วว่าการใช้ 3G นั้นทั้งอาจารย์และนักศึกษาสามารถที่จะได้รับประโยชน์อย่างมาก และสิ่งหนึ่งที่สะดวกต่ออาจารย์ผู้สอน คือ ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนอาจารย์สามารถตรวจงานของนักศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยอาจารย์อาจจะตั้งคำถามไว้ใน twitter ของรายวิชา แล้วให้นักศึกษาตอบคำถามให้ Blog แล้วอาจารย์ก็กำหนดว่าเมื่อทำเสร็จแล้วให้นำ Link ของ blog ไป post ที่กลุ่มรายวิขาใน Facebook ซึ่งจะทำให้ทราบว่านักศึกษาคนใดส่งงานก่อนเพื่อนๆ และเพื่อนนักศึกษาในกลุ่มก็สามารถที่แลกเปลี่ยนองค์ความรู้ของเพื่อนๆ ผ่าน blog และ Facebook ของกลุ่มรายวิชา นอกจากนั้น อาจจะให้นักศึกษานำเสนอผลงานผ่าน Youtube อาจารย์ก็สามารถตรวจผลงานของนักศึกษาได้ทุกที่ทุกเวลาที่มีอินเทอร์เน็ตผ่าน 3G และสามารถมอบหมายให้นักศึกษาทุกคนในกลุ่มรายวิชา comment ผลงานของเพื่อนๆ ซึ่งจะทำให้เกิดการพัฒนาร่วมกันอย่างสร้างสรรค์

ครับกล่าวได้ว่า 3G กับการเรียนการสอนนั้นผู้เขียนคิดว่าเราสามารถประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดทั้งต่ออาจารย์ผู้สอนและนักศึกษาโดยเฉพาะมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี หากว่าเราต้องการให้นักศึกษามีความสามารถในการเรียนรู้ด้วยตนเองด้วยการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศแล้ว จำเป็นอย่างยิ่งที่จะเริ่มเรียนรู้การใช้ประโยชน์ของระบบ 3G อย่างไรก็ดี ผู้เขียนขออนุญาตนำเสนอความหมายของ 3G สำหรับนักศึกษามหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ดังนี้

G ตัวที่ 1 คือ Growth การเจริญเติบโต หมายถึง นักศึกษามหาวิทยาลัยอุบลราชธานีมีการเจริญเติบโตมีความพร้อมที่จะเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพออกไปรับใช้สังคมและประเทศชาติ

G ตัวที่ 2 คือ Good ความดี หมายถึง นักศึกษามหาวิทยาลัยอุบลราชธานีสร้างความดีให้กับตัวเองและสังคม พร้อมทั้งสัญญาว่าจะทำความดีให้กับประเทศชาติและสถาบันพระมหากษัตริย์

G ตัวที่ 3 คือ  Globalisation  โลกาภิวัตน์ หมายถึง นักศึกษามหาวิทยาลัยอุบลราชธานีเป็นผู้ที่รู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงของโลกในด้านต่างๆ อันจะสามารถปรับตัวได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ดังนั้น ผู้เขียนคิดว่าหากนักศึกษามหาวิทยาลัยอุบลราชธานีนำ 3G ข้างต้นไปใช้ในการเรียน เชื่อได้ว่าจะสามารถพัฒนาตัวเองจนเป็น 4G ในที่สุด สำหรับ G ตัวที่ 4 คอยติดตามในบทความครั้งต่อๆ ไป นะครับ

หมายเลขบันทึก: 441874เขียนเมื่อ 2 มิถุนายน 2011 09:00 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:45 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท