ดูหนังดูละคร...แล้วมาย้อนดูตัว


การเปลี่ยนจากหนอนเป็นผีเสื้อ

เมื่อคืน ฉัน ไปเช่าหนังมาดู พอไปถึงร้านเช่า เห็น หนังเรื่องอภินิหาร ตำนานแห่งนาเนียร์ ตอน ผจญภัยโพ้นทะเล  ก็นึกสนุก อยากดู เพราะหนังเรื่องนี้เข้าโรง แล้วฉันยังไม่ได้ไปดูเลย  จำได้ว่าดูแต่ภาคแรก พอจะรู้เรื่องเดิมอยู่บ้าง พอ ละครมนต์รักแม่น้ำมูลอวสาน ฉันก็ดูนาเนียร์ ต่อเลย สนุกมากค่ะ  เรื่องนี้ ให้ข้อคิดกับฉัน 2 หลักใหญ่ ๆ คือ ในเรื่อง เมื่อตัวเอกต้องไปอาศัยอยู่บ้านญาติ ซึ่งเขาก็ไม่ค่อยเป็นมิตร และมองฝ่ายตัวเอกว่า แปลกแยก พูดถึงแต่เรื่องเพ้อเจ้อ ดินแดนนาเนียร์  แต่เมื่อเหตุการณ์จู่โจมให้เขา เข้าไปในโลกนิยายนั้นด้วย เมื่อแรก เขายังไม่เชื่อ แม้จะเห็นด้วยตาแล้วก็ตาม เขายังทำตัวเป็นตัวถ่วงตลอดเวลา แต่เมื่อ ญาติคนนี้ต้องกลายเป็นมังกร ถูกคนเข้าใจผิด และได้รับความรักจากหนูพูดได้ ซึ่งเดิมเขาไม่ชอบเลย  นั่นแหละ เขาต้องเปลี่ยนความคิดและการแสดงตัวตนของเขาเพื่อความอยู่รอดของเขาและกองทัพ เรียกได้ว่า เขาเปลี่ยนอย่างสิ้นเชิง  จากคนไม่เชื่อและไม่ให้ความร่วมมือ กลายเป็นมังกรที่มีส่วนสำคัญอย่างยิ่งให้การรบครั้งนี้ ได้รับชัยชนะ สุดท้ายญาติคนนี้ บอกกับตัวเอง และ เพื่อน ๆ ว่า เขาเป็นมังกร ได้ดีกว่าเป็นมนุษย์  และทุกคนรักกันได้แบบไม่ต้องอธิบายใด ๆ บทเรียนแบบนี้ เกิดขึ้นในชีวิตจริงในหลายแง่มุม  เมื่อเรายืนอยู่นอกวง เราไม่สามารถสัมผัสสิ่งต่าง ๆ ได้ดีเท่าลองทำมันด้วยตัวเองเลย การเรียนรู้แบบนี้ มักจะได้ผลในเชิงปรับเปลี่ยนพฤติกรรมได้เป็นอย่างดี

ฉันชอบมากเลยค่ะ 

รอบหน้าจะเล่าตอนอื่น เพิ่มนะคะ

ใครที่มีเรื่องการเรียนรู้แบบเปลี่ยนผ่านแบบนี้ เล่าให้อ่านบ้างนะคะ

หมายเลขบันทึก: 441784เขียนเมื่อ 1 มิถุนายน 2011 16:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:45 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

อีกอย่างคือ ช่วงสุดท้ายของเรื่อง พระเอกต้องล่องเรือไปเอาดาบอัศวิน แต่ทะเลที่เขาไปเป็นทะเลต้องคำสาป พระเอกนึกกลัวสัตว์ประหลาด ที่น่ากลัวที่สุดเกินจะบรรยาย โดยที่เขาไม่รู้ว่า ที่ทะเลต้องคำสาปนี้ ความกลัวของใครที่น่ากลัวที่สุดนั้น จะกลายเป็นเรื่องจริง !! แต่เมื่อเขารู้ว่ากำลังจะเผชิญกับอะไร เขากล่าวขอโทษ ทุกคนบนเรือโดยไม่ลังเลที่จะพูด และเป็นผู้นำในการรบด้วยตัวเอง

ตรงนี้ ฉันจึงนึกถึงคำว่า จงระวังความคิดของตัวเองให้ดี เจ้าค่ะ

ติดตามมาอ่านครับ เรื่องการเปลี่ยนจากไม่เชื่อมาเป็นเชื่อ และต้อง "เชื่อจากใจจริง" หรืออย่างสนิทใจนั้น เป็นปัญหาใหญ่สุดเลยครับ เพราะถ้าจริงใจต่อกันแล้ว สิ่งที่เราเชื่ออาจคลีคลายผสมผสสานกับสิ่งที่เพื่อนเราเชื่อ เกิดเป็น "ความเชื่อร่วม" แล้วนำมาซึ่ง "ความร่วมมือ"

มีข้อคิดมาฝาก มาจาก นพ.บุญญงค์ วงศ์รักมิตร ที่ปรึกษาศูนย์ประสานงานประชาคมจังหวัดน่าน ท่ามีโมเดล ชอบ-เชื่อ-ทำตาม คนจะเชื่อเมื่อชื่นชอบและทำตาม แต่ต้องให้เขาเชื่อมั่นศรัทธาอย่างที่เป็นเราจริง มิใช่แค่สร้างภาพ หรือหลอกให้หลงรัก หลงเชื่อ โดยไม่ลืมหูลืมตา ถ้าผมจะเปรียบเหมือนความคลั่งไคล้ของกลุ่มแม่ยก ก็ประมาณนั้นแหล่ะครับ จะตามอ่านต่อครับ

ขอพระคุณ คุณหมอชาตรีเป็นอย่างยิ่ง ค่ะ ตอนนี้ฉันลยกำลังคิดถึงกิจกรรมหรือ กระบวนการอะไร ที่จะดึงใจ เปิดโอกาสให้คนในพื้นที่แสดงความร่วมมือ ร่วมใจและมองอนาคตร่วมกันค่ะ

มาอีกเรื่องแล้วค่ะ กังฟู แพนด้า ภาคสอง ใครหลายคนที่ไปดูคงได้รับความสุข สนุกสนานกันเต็มที่ ฉันว่าเรื่องนี้ ฮา.. สุด ๆ เลยค่ะ

แต่ฉันก็ได้ข้อคิดที่สำคัญจากเรื่องนี้(อีกแล้ว) ความไว้วางใจเพื่อนในทีม ไว้ใจจนไม่ต้องพูดอะไรเลย เพียงแค่ทำ เพื่อน ๆ ก็รู้แล้วว่า

แต่ละคนจะมีหน้าที่อะไร มีฉากนึงที่ แพนด้า กระโดดลงเหว เพื่อช่วยชาวบ้านที่ตกลงมาจากฟ้า แพนด้า เห็นปุ๊บ กระโดดคว้าปั๊บเลย โดยทั้งคู่ดิ่งลงเหวพร้อม ๆ กัน ฉันนั่งดูไปก็คิดว่า อ้าวเดี๋ยวก็ตายหรอก หรือ เขาจะขึ้นจากเหวกันยังไง... ขณะที่ฉันคิดอยู่ ตัวละครในเรื่อง ซึ่งเป็นทีมของแพนด้า ก็ กรูกันวิ่งตามมา คว้าตัวแพนด้าไว้ได้ โดยทีมของแพนด้าต่อตัวดึงกันถึง 5 ตัว ช่างน่าดื่นเต้นเหลือเกิน เด็ก ๆ ในโรงหนัง หัวเราะชอบใจกันมาก ขณะที่ฉันหัวเราะกับการ์ตูน ฉันก็คิดถึงทีมงานในชีวิตจริงไปด้วย ขอแค่มีทีมที่วางใจกันได้

งานไหน ๆ ก็คงผ่านได้สบายค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท