เรียนรู้เพื่อจุดประกายเหนี่ยวนำเชื่อมโยงความรู้กับเพลง “ใจอัศจรรย์”


เป็นเพลงที่สามารถจุดประกายเหนี่ยวนำเชื่อมโยงความรู้และสร้างแรงบันดาลใจได้ดีมากๆ

 

"ใจอัศจรรย์"  ประพันธ์เนื้อร้อง-ทำนอง โดย ศักดิ์ศิริ มีสมสืบ และขับร้องโดย ศุ บุญเลี้ยง (http://www.youtube.com/watch?v=nvH9_LV5wX8 ) ผมได้มีโอกาสฟังและดู Music VDO ของเพลงนี้ผ่านทาง Facebook ของอาจารย์จตุพร วิศิษฏ์โชติอังกูร เมื่อวานนี้เอง (http://www.facebook.com/#!/jatupornw  / http://www.gotoknow.org/profiles/users/mhsresearch) อาจารย์บอกว่าเป็นเพลงที่อาจารย์มักใช้ทำ workshop กระบวนการเรียนรู้ ล่าสุดได้ข่าวว่าอาจารย์จะเตรียมไปทำ Workshop ให้กับ นศ.ทันตเเพทย์ครับ เเนว "ค้นหาใจ" ครับ หลังจากที่ได้ดูและฟังจนจบผมรู้สึกว่าเป็นเพลงที่สามารถจุดประกายเหนี่ยวนำเชื่อมโยงความรู้ได้ดีมากๆ และเป็นเพลงที่สร้างแรงบันดาลใจได้ดีมากๆ เลยทีเดียว เป็นเพลงที่ฟังแล้วเกิดความสบายใจเพราะแค่ฟังจังหวะทำนองเสียงร้องที่สื่อออกมาก็ให้ความรู้สึกที่อบอุ่นและนุ่มนวล  เนื้อเพลงที่สื่อออกมาฟังแล้วรู้สึกมีกำลังใจต่อสู้ชีวิตต่อไป เข้าใจตัวเองและคนรอบข้างมากขึ้น ยิ่งได้ดูภาพของ Music VDO ที่สื่อด้วยการ์ตูนแอนิเมชั่นแล้ว ก็ทำให้รู้สึกการจุดประกายเหนี่ยวเชื่อมโยงความรู้ไปได้ไปอย่างไม่รู้จบ รู้สึกได้ถึงความงดงามในพลังของเครือข่าย ทำให้นึกถึงทฤษฎีเกลียวพลวัต (Spiral Dynamic) ที่สอดประสานและระเบิดออกมาเป็นองค์ความรู้ใหม่ได้อย่างไม่รู้จบ คำว่า “องค์ความรู้” ในที่นี้ไม่ได้หมายความรู้ที่เป็นแค่ทฤษฎีเท่านั้น แต่เป็นสิ่งที่นำไปทำได้จริง คนที่นำไปปฏิบัติจะรู้ด้วยตัวเอง อาจเป็นความรู้เฉพาะตนที่คนอื่นอาจรู้จากต้นทางที่เหมือนกันแต่พอไปทำแล้วผลที่ได้อาจจะมีผลลัพท์ไม่เหมือนกัน การที่มีผลลัพท์ไม่เหมือนกันไม่ได้หมายความว่า ความรู้ที่ได้มานั้นไม่ถูกต้อง แต่อยู่การตีความแล้วนำเอาความรู้นั้นไปใช้ประโยชน์ตามบริบทที่เกี่ยวข้อง

 

 

ผมรู้สึกได้ถึงวิธีการคิดแบบนวัตกรรมจากการเชื่อมโยงสิ่งที่เคยประสบแล้วตีความไปสร้างสรรค์ในเรื่องใหม่ๆ ซึ่งต้องไม่จบแค่การคิดเท่านั้น แต่ต้องนำไปทำให้เป็นรูปธรรมอย่างชัดเจน ผมจึงอยากใช้ความว่า “การสร้างสรรค์” หรือ “การสร้างนวัตกรรม” มากกว่าการคิดสร้างสรรค์ หรือการคิดแบบนวัตกรรม เพราะอยากให้ความสำคัญกับการทำมากกว่าการคิด เพราะถ้ามัวแต่คิดก็ไม่ได้ทำอะไร เพราะมีการคาดการณ์ที่เราเชื่อว่าเป็นทฤษฎีที่เขาว่าไว้บังตา คอยขัดขวาง ไม่ให้นอกลู่นอกทาง เพื่อที่จะไปถึงเป้าหมายนั้นๆ ได้ เราก็มุ่งอยู่แต่เป้าหมาย แต่จากประวัติของนักประดิษฐ์พบว่าสิ่งประดิษฐ์หรือนวัตกรรมส่วนใหญ่ไม่ได้เกิดจากการตั้งใจคิด แต่จะเกิดจากความบังเอิญที่เขาสังเกตพบ (จากสัมผัสทั้งหกคือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ)  มีเรื่องเล่าจากบริษัททำชุดชั้นในแห่งหนึ่ง ที่ลงทุนทำชุดชั้นในยกทรงแบบตะขอหน้าจากความคิดของนักคิดนวัตกรรมที่กลั่นกรองออกมาอย่างดีแล้ว ปรากฎว่าทำออกมาแล้วขายได้ไม่ดีเท่าที่ควร ด้วยความโมโหจึงใช้มีดตัดแบ่งครึ่งซะ จากนั้นเขาก็สังเกตว่าเห็นว่าฟองน้ำของยกทรงนั้นดูหนาแต่ระบายอากาศได้ดี จึงได้ลองนำมาทำเป็นฝาครอบปากกันฝุ่นดู ปรากฎว่าได้ผลดีเกินคาด ขายดิบขายดีแทบผลิตไม่ทัน จึงเป็นที่มาของยกทรงฝาครอบปากของตำรวจจราจรตั้งแต่นั้นมา

 

 

ส่วนตัวผมเองในฐานะคนทำงานในวงการฝึกอบรม ผมคิดว่าน่าจะใช้เพลงนื้อบรมพนักงานได้  โดยใช้เป็นตัวจุดประกายในการทำ AAR (After Action Review) เพื่อ Sahre ประสบการณ์และตีความร่วมกันในมุมมองของ Safety / Service Mind /CustomerService  ต้องขอบคุณท่านอาจารย์จตุพร วิศิษฏ์โชติอังกูร เป็นอย่างยิ่งที่ทำให้ผมได้รู้จักกับเพลงนี้และสามารถนำไปใช้งานเพื่อการเรียนรู้ในมุมมองที่ลึกและกว้างขึ้นครับ

 

หมายเลขบันทึก: 441616เขียนเมื่อ 31 พฤษภาคม 2011 14:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:46 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท