ขี้วัว...ฟื้นความทรงจำเรื่องขี้ควาย


หน้าที่เกี่ยวหญ้าเป็นหน้าที่ของสตรี ซึ่งทำงานสารพัด ไหนจะต้องตักน้ำ หาฟืน หุงข้าว งานหนักตลอดวัน กว่าจะได้พักก็ดึกดื่น...บ่อหมักนั้น "ได้ใจ" สตรีสุดๆ เพราะสะดวกสบายกว่าการเดินหลายกิโลเมตรไปตัดฟืน แค่เอาขี้ควายก้อนสองก้อนผสมน้ำ กวนๆ เทลงช่องก็เรียบร้อย ได้ก๊าซพอหุงข้าวสองมื้อทุกวัน

จากขี้วัว ทำให้นึกถึงประสบการ์ณกับขี้ควาย ระหว่างผม เพื่อนชาวญี่ปุ่น และพี่น้องชาวเนปาล ซึ่ง ลปรร.กันโดยมี "ขี้ควายเป็นศูนย์กลาง" เมื่อปลายปี 2551

ผมและเพื่อนญี่ปุ่นกลุ่ม Japan Asian Friendship Society-JAFS ออกค่าใช้จ่ายของใครของเรา ไปเยี่ยมกิจกรรมซึ่ง JAFS สนับสนุนหมู่บ้านห่างไกลในเนปาลให้ใช้ Biogas แทนการตัดฟืนจากป่าเพื่อลดภาวะโลกร้อน เรากว่ายี่สิบชีวิต แปดประเทศ ไปเนปาล ลงพื้นที่ชนบทห่างจากกาฏมัณฑุ 9 ชั่วโมง และคลุกคลีที่นั้นเก้าวัน

ผมจำชื่อหมู่บ้านไม่ได้ แต่จำแม่นว่าทุกหลังคาเรือน เลี้ยงควาย 4- 5 ตัว แบบเลี้ยงในคอก เจ้าของเกี่ยวหญ้ามาให้กิน

หน้าที่เกี่ยวหญ้าเป็นหน้าที่ของสตรี ซึ่งทำงานสารพัด ไหนจะต้องตักน้ำ หาฟืน หุงข้าว งานหนักตลอดวัน กว่าจะได้พักก็ดึกดื่น

หมู่บ้านนี้มี 127 หลังคาเรือน กลุ่ม JAFS ไปสร้างบ่อหมักก๊าซทุกหลังคาเรือน รวม 127 บ่อ

บ่อหมักนั้น "ได้ใจ" สตรีสุดๆ เพราะสะดวกสบายกว่าการเดินหลายกิโลเมตรไปตัดฟืน แค่เอาขี้ควายก้อนสองก้อนผสมน้ำ กวนๆ เทลงช่องก็เรียบร้อย ได้ก๊าซพอหุงข้าวสองมื้อทุกวัน คนชนบทเนปาลกินข้าววันละสองมื้อครับ

รัฐบาลเนปาลเห็นการณ์ไกล จึงทำโครงการขายคาร์บอนเครดิต เพื่อสร้างบ่อหมักแบบ fixed dome คล้ายแบบนี้ สี่แสนบ่อกระจายในชนบททั่วประเทศ โดยเฉพาะพื้นที่ต้นน้ำ เพื่อลดการทำลายป่า

เทียบกับบ้านห้วยบง บ้านห้วยบง ผศ.ดร.เจษฎา มิ่งฉาย มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ ได้รับทุนสนับสนุนจาก สสส. โครงการพลังงานทางเลือกเพื่อสุขภาพที่ดีกว่า ไปปรึกษาขอความรู้จาก รศ.ดร.สุชน ตั้งทวีวิพัฒน์ รองศาสตราจารย์ ระดับ 9 หัวหน้าภาควิชาสัตวศาสตร์ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ นักสัตวบาลดีเด่นระดับชาติ ผู้รู้จริงเรื่องการหมักมูลสัตว์ในถุงพีวีซีเพื่อผลิตไบโอแกส เทคโนโลยีและราคาเหมาะกับชนบทไทย และนำมาประยุกต์สร้างบ่อหมักบ่อแรกของบ้านห้วยบง เมื่อ พ.ศ. 2553 ชุมชนเห็นประโยชน์จึงออกทุนก่อสร้างเพิ่มอีก ขณะนี้มี 18 บ่อ

ท่านที่สนใจ ลองแวะเยี่ยมเว๊บของโครงการผลิตก๊าซชีวภาพด้วยถุงพีวีซีสำหรับเกษตรกรรายย่อยเพื่อลดมลภาวะและเป็นพลังงานสำหรับใช้ในครัวเรือน สนง.ปศุสัตว์อำเภอเวียงเชียงรุ้ง จังหวัดเชียงราย ได้ที่http://waingchaingroungbiogas.blogspot.com/2010/09/blog-post.html

มีรายละเอียดและคลิ๊ปที่ดูแล้ว อยากทำ+ทำได้ทันทีครับ

 

คำสำคัญ (Tags): #biogas#ขี้ควาย
หมายเลขบันทึก: 441578เขียนเมื่อ 31 พฤษภาคม 2011 10:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:45 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
  • แสดงว่าใช้ขี้วัวได้
  • เย้ๆๆๆ
  • มีเรื่องสนุกๆๆได้ทำอีกแล้ว
  • ขอบคุณคุณหมอมากครับ
  • ขอตามไปดูที่ link ก่อนนะครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท