การจัดการเรียนการสอนบนเว็บ (Web-Based Instruction)


การสอนบนเว็ป
การเรียนการสอนบนเว็บ หมายถึง การเรียนการสอนที่ใช้สื่อหลายมิติ เช่น ไฮเปอร์มีเดีย รวมทั้ง การนำโปรแกรมมัลติมีเดียมาเป็นส่วนหนึ่งของการจัดการเรียนการสอน โดยใช้คุณลักษณะและทรัพยากรบน อินเทอร์เน็ต และ เวิลด์ ไวด์ เว็บ ในการจัดสภาพแวดล้อมการเรียนการสอน นักเรียนและครูผู้สอนสามารถปฏิบัติการในด้านการเรียนการสอนได้ทุกที่ทุกเวลาส่งผลให้ไม่เกิดข้อจำกัดในการเรียนรู้เหมือนการเรียนแบบห้องเรียนปกติ การเรียนการสอนบนเว็บใช้ในการเรียนการสอนได้กับนักเรียนในทุกระดับความสามารถด้านความรู้ ไม่ว่านักเรียนจะเรียนเก่ง ปานกลาง หรือว่าอ่อน เพราะการสอนถูกออกแบบบนพื้นฐานการออกแบบการเรียนรู้ ครูผู้สอนและนักเรียนมีปฏิสัมพันธ์กันผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์หรือระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตทำให้เป็นสภาพการเรียนรู้ร่วมกันรวมถึงการเรียนการสอนบนเว็บเป็นการเรียนที่ถือได้ว่าทันสมัยเนื่องจากบทเรียนสามารถปรับพัฒนาเนื้อหาสาระได้รวดเร็วและทันสมัยอยู่ตลอดเวลา
ลักษณะของการเรียนการสอนบนเว็บ 
การเรียนการสอนบนเว็บว่า การใช้โปรแกรมการเรียนการสอนบนเว็บยังไม่เป็นที่เข้าใจถึงคุณลักษณะของการกำหนดว่า ลักษณะใดจึงจะเป็นโปรแกรมการเรียนการสอนบนเว็บ ลักษณะของการเรียนการสอนโดยการใช้ระบบอินเทอร์เน็ต ถ้าแบ่งตามรูปแบบของเครื่องมือที่ใช้บนอินเทอร์เน็ต จะแบ่งเป็น 2 ลักษณะ คือ
1. แบบที่เป็นข้อมูลอย่างเดียว (text-only) เป็นลักษณะของการเรียนการสอนโดยอาศัยอินเทอร์เน็ต ซึ่งมีข้อจำกัดบางอย่างในการเข้าถึงข้อมูล โดยมีลักษณะที่เป็นข้อความอย่างเดียวเช่น
     1.1 ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (electronic mail: e-mail)
     1.2 กระดานข่าว (bulletin board)
     1.3 ห้องสนทนา (chat room)
     1.4 โปรแกรมดาวน์โหลด (software downloading)
ทั้งหมดนี้ป็นเครื่องมือที่อยู่ภายในระบบอินเทอร์เน็ต ที่สามารถนำมาใช้ในการเรียนการสอนได้โดยที่ไม่ต้องใช้ความสามารถของเครื่องคอมพิวเตอร์มากนัก
2. แบบที่เป็นมัลติมีเดีย (multimedia) เป็นแบบที_สองของอินเทอร์เน็ตที่สามารถนำมาใช้
  ในการเรียนการสอนที่มีโครงสร้างลักษณะเป็นกราฟิก การสืบค้นโดยใช้ภาพในรูปแบบของเว็บการเรียนการสอนบนเว็บจะต้องอาศัยบทบาทของระบบอินเทอร์เน็ตเป็นสำคัญ การใช้อินเทอร์เน็ตในลักษณะของโปรแกรมการเรียนการสอนบนเว็บ จะมีวิธีการใช้ใน 3 ลักษณะ
           1. การนำเสนอ (Presentation) เป็นไปในแบบเว็บไซต์ที่ประกอบไปด้วยข้อความภาพกราฟิกซึ่งสามารถนำเสนอได้อย่างเหมาะสมในลักษณะของสื่อ คือ
                 1.1 การนำเสนอแบบสื่อทางเดียว เช่น เป็นข้อความ
                 1.2 การนำเสนอแบบสื่อคู่ เช่น ข้อความกับภาพกราฟิก บางครั้ง จะอยู่ในรูปแบบ PDFนักเรียนสามารถดาวน์โหลดไฟล์ได้
                 1.3 การนำเสนอแบบมัลติมีเดีย คือ ประกอบด้วยข้อความ ภาพกราฟิกภาพเคลื่อนไหว เสียงและภาพยนตร์หรือวิดีโอ (แต่ความเร็วจะไม่เร็วเท่ากับวิดีโอเทป)
2. การสื่อสาร (Communication) การสื่อสารเป็นสิ่งจำเป็นที่จะต้องใช้ในทุกวันในชีวิตซึ่งเป็นลักษณะสำคัญของอินเทอร์เน็ต โดยมีการสื่อสารบนอินเทอร์เน็ตหลายแบบ เช่น
            2.1 การสื่อสารทางเดียว โดยดูจากเว็บเพจ
            2.2 การสื่อสารสองทาง เช่น การส่งไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์โต้ตอบกัน
            2.3 การสื่อสารแบบหนึ่งแหล่งไปหลายที่ เป็นการส่งข้อความจากแหล่งเดียวแพร่กระจายไปหลายแหล่ง เช่น การอภิปรายจากคนเดียวให้คนอื่นๆ ได้รับฟังด้วย หรือการประชุมทางคอมพิวเตอร์
             2.4 การสื่อสารหลายแหล่งไปสู่หลายแหล่ง เช่น การใช้กระบวนการกลุ่มในการสื่อสารบนเว็บ โดยมีคนใช้หลายคนและมีคนรับหลายคนเช่นกัน
3. การทำให้เกิดความสัมพันธ์ (Dynamic Interaction) เป็นคุณลักษณะที่สำคัญของอินเทอร์เน็ตและสำคัญที่สุด ซึ่งมี 3 ลักษณะ คือ
           3.1 การสืบค้น
           3.2 การหาวิธีการเข้าสู่เว็บ
           3.3 การตอบสนองของมนุษย์ในการใช้เว็บ 

 

 

   การนำเอาระบบอินเทอร์เน็ตมาเป็นสื่อสำหรับการเรียนการสอนในรูปแบบของการเรียนการสอนบนเว็บ หรือจะเรียกว่าโฮมเพจเพือการศึกษา ในการออกแบบการเรียนการสอนวิชาใดๆผู้เขียนควรจะตัดสินใจต่างๆ เพ ือการสอน ไม่มีเรื่องผลประโยชน์ในด้านอื่นๆเช่นการบริหาร การจัดการ การค้า สิ่งทิ่จะต้องใส่ใจ คือ การเรียนรู้ของนักเรียนการพัฒนาระบบ กระบวนการออกแบบเพื่อให้เป็นไปตามความต้องการในรายวิชา ข้อควรคำนึงคือ

 

 

  

 

        1. คุณลักษณะของกลุ่มเป้าหมาย

 

         2. กำหนดความต้องการผลการเรียนรู้

         3. กำหนดเนื้อหาที่เกี่ยวข้อและกิจกรรมที่ต้องการทำ

         4. พิจารณาการสอนที่เหมาะสมหรือกลวิธีการเรียนรู้

         5 . การกำหนดทรัพยากรเบื้องต้น การจัดเตรียมโดยยอมรับข้อจำกัดที่จะเกิดขึ้นจากเครื่องมือ
        6. การออกแบบการสอนในลักษณะนำร่องเป็นกรณีตัวอย่างเพื่อการศึกษา
        7. การปรับแก้ไขการออกแบบที่ทดสอบ
        8. การติดตั้งระบบและการให้การศึกษา
        9. การติดตามผลและการวิจารณ์ผล
กิจกรรมที่นำมาใช้ในการจัดการเรียนการสอนบนเว็บ

      ยุทธวิธีในการใช้การเรียนการสอนบนเว็บสามารถกระทำได้อย่างกว้างขวาง โดยทำให้เกิดปฏิสัมพันธ์และเป็นการสร้างความยืดหยุ่นในการเรียนการสอนระหว่างครูผู้สอนกับนักเรียน โดยผ่านกระบวนการท_ีสามารถกระทำได้บนเว็บ ดังนี้
         1. การแจ้งล่วงหน้า (notice) เป็นการใช้เว็บโดยกำหนดพื้น ที่เฉพาะที่เป็นบอร์ดในเว็บสำหรับอาจารย์กำหนดนัดหมายหรือสั่งงาน ซึ่งนักเรียนอาจจะได้รับการแจ้งล่วงหน้าผ่านไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์หรือการเผยแพร่ในกลุ่ม เป็นกิจจกรมสื่อสารกันระหว่างนักเรียนและนักเรียน
         2. การนำเสนอ (presentation) เป็นการนำเสนอด้วยเว็บที่ทำขึ้น ทั้ง ครูผู้สอนและนักเรียนโดยนำเสนองานที่ได้รับมอบหมาย จัดทำแบบสัมมนาหรือประชุม นำเสนอบนเว็บไซต์หรือโดยไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ หรือการเผยแพร่ในกลุ่มเป็นกิจกรรมสื่อสารกันระหว่างครูผู้สอนและนักเรียน
         3. การอภิปรายปกติ (formal discussion) เป็นการอภิปรายกันบนเว็บโดยการใช้ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ และการประชุมสนทนาแบบกลุ่ม ซึ่งเป็นเครื่องมือบนเว็บเหมือนประชุมสัมมนาซึ่งเป็นกลุ่มสนทนาที่แสดงเป็นรูปภาพแทนผู้ใช้หรือผู้แทนชื่อของผู้ใช้ก็ได้    
        4. การใช้คำถามโดยรอคำตอบ (questioning) เป็นการกำหนดคำถามขึ้น โดยครูผู้สอนใช้คำถามนำและให้นักเรียนหาคำตอบ โดยคำตอบที่ตอบมาถ้าตรงกับคำถามที่กำหนด ก็จะมีการป้อนกลับไปยังนักเรียนเพื่อการตอบสนองและประเมินผล
         5. การระดม (brainstorm) เป็นการออกแบบเพื่อให้เกิดการตอบสนองต่อคำถามโดยนักเรียนต้องร่วมกันค้นหาคำตอบ กระตุ้นให้เกิดการอภิปรายภายในเว็บจากคำถามที่กำหนดในกิจกรรมเดียวกัน
         6. การกำหนดสภาพงาน (task setting) เป็นการกำหนดกระบวนการในการทำงานส่งตามกิจกรรม ซึ่งอาจจะเป็นรายงานหรืองานกลุ่มย่อย ซึ่งอยู่ในรูปของเว็บไซต์หรือไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์
         7. แบบฝึกหัด (class quizze) เป็นการทดสอบผลทั้ง ชั้น เรียน หรือถามเพื่อประเมินผลของการเรียน ซึ่ง สามารถทำได้หลายวิธี เช่น เป็นแบบตัวเลือก หรือคำถามสั้น ๆ ที่จะมีการป้อนกลับตลอดเวลา และประเมินผลตามวัตถุประสงค์
        8. การอภิปรายรายคู่นอกระบบหรือการศึกษาเป็นกลุ่ม แบบการออแบบพื้นที่ของการเรียนการสอนบนเว็บให้มีพื้น ที่สำหรับการพบปะสนทนาอย่างไม่เป็นทางการ รายคู่หรือกลุ่มนอกเหนือจากขั้น ตอนปกติในการสอน ซึ่งสามารถทำเป็นสภากาแฟ ห้องสัมมนา ห้องพักผ่อนห้องสมุด ซึ่งผู้ใช้เว็บสามารถเข้าไปทำกิจกรรได้อิสระในเว็บไซต์ที่จัดไว้และสร้างความสัมพันธ์ระหว่างผู้ใช้อย่างอิสระ

 
หมายเลขบันทึก: 441529เขียนเมื่อ 30 พฤษภาคม 2011 21:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:44 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

บทความเกี่ยวกับเทคโนโลยีคอมพิวเตร์

หน้าที่ 1 - บทความเกี่ยวกับเทคโนโลยี

ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศในประเทศไทย ปัจจุบันพัฒนาการทางเทคโนโลยีสารสนเทศ ได้เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วตามตามยุคสมัย ซึ่งมีการนำมาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์มากมายทั่วโลก แต่ถ้าหากนำไปใช้ในทางมิชอบ ก็อาจก่อให้เกิดความเสียหายทางเศรษฐกิจอย่างรุนแรง ซึ่งอาจประเมินค่ามิได้ หรือส่งผลกระทบที่ร้ายแรงแก่ประชาคมโลก และได้เกิดรูปแบบใหม่ ของอาชญากรรมที่เกิดจากการใช้งานคอมพิวเตอร์ เป็นเครื่องมือในการกระทำความผิด หลายด้านเช่น หยุดการทำงาน (Interruption) ลักลอบข้อมูล (Interception) แก้ไขข้อมูล (Modification) และ สร้างข้อมูลปลอม (Fabrication) บนระบบเครือข่าย และการปล่อยไวรัสเข้าสู่ระบบ รวมไปถึง การสร้างความเสียหายแก่ผู้อื่น ไม่ว่าทางใดก็ตาม เป็นต้น จึงจำเป็นต้องมีการพัฒนา “กฎหมายอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ (Computer Crime Law)” หรือที่บางประเทศเรียกว่า “กฎหมายเกี่ยวกับการใช้คอมพิวเตอร์ในทางมิชอบ (Computer Misuse Law)” ขึ้น หรือต้องมีการปรับแก้ประมวลกฎหมายอาญา ที่ใช้บังคับอยู่ในปัจจุบันให้ทันสมัย เข้ากับการกำหนดฐานความผิด และบทลงโทษสำหรับการก่ออาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ หรือการใช้คอมพิวเตอร์ในทางมิชอบขึ้น ให้เหมาะสมและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยประเทศต่างๆ ที่พัฒนาและออกกฎหมายเกี่ยวกับอาชญากรรม ทางคอมพิวเตอร์ขึ้นใช้บังคับแล้ว เช่น สหรัฐอเมริกา แคนาดา อังกฤษ ฝรั่งเศส เยอรมัน อิตาลี ญี่ปุ่น สิงค์โปร มาเลเซีย และ Council of Europe ได้ออก Convention on Cyber-Crime เพื่อเป็นแนวทางให้ประเทศต่างๆใช้กฎหมายบังคับในทิศทางเดียวกัน ส่วนสำหรับในประเทศไทย กำลังอยู่ระหว่างการพัฒนาร่างกฎหมายขึ้น เพื่อใช้บังคับ โดยสืบเนื่องจากเมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2539 คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบต่อ นโยบายเทคโนโลยีสารสนเทศแห่งชาติ (ไอที 2000) เพื่อพัฒนาสังคม และเสริมสร้างความแข็งแกร่ง ทางด้านธุรกิจอุตสาหกรรม และการค้าระหว่างประเทศ ในการก้าวเข้าสู่ ยุคเศรษฐกิจใหม่ แห่งศตวรรษที่ 21 โดยหนึ่งในมาตรการสำคัญ ของนโยบายดังกล่าว คือ การปฏิรูปกฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศ ต่อมาเมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2541 คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบ ให้คณะกรรมการเทคโนโลยีสารสนเทศแห่งชาติ ดำเนินโครงการพัฒนากฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศ ที่เสนอโดยกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม และให้คณะกรรม-การฯ เป็นศูนย์กลางดำเนินการ และประสานงานระหว่างหน่วยงานต่างๆ ที่กำลังดำเนินการจัดทำ กฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศ และกฎหมายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องโดยมีศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์ และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยีแห่งชาติ ทำหน้าที่เป็น เลขานุการคณะกรรมการฯ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ โดยศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์ และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) ในฐานะสำนักงานเลขานุการคณะกรรมการ เทคโนโลยีสารสนเทศแห่งชาติ ได้ดำเนินโครงการพัฒนากฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศ ซึ่งประกอบด้วยกฎหมาย 6 ฉบับ ได้แก่ กฎหมายเกี่ยวกับ ธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (เดิมเรียกว่า “กฎหมายแลกเปลี่ยน ข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์”) กฎหมายเกี่ยวกับลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ (ต่อมาได้มีการรวมหลักการเข้ากับกฎหมายเกี่ยวกับธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ และรวมเรียกชื่อเดียวว่า “กฎหมายว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์”) กฎหมายเกี่ยวกับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศให้ทั่วถึงและ เท่าเทียมกัน (เดิมเรียกว่า “กฎหมายลำดับรองของรัฐธรรมนูญ มาตรา 78”) กฎหมายเกี่ยวกับการ คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล กฎหมายเกี่ยวกับอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ และกฎหมายเกี่ยวกับการโอนเงิน ทางอิเล็กทรอนิกส์ อนึ่ง เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์หลัก ในการดำเนินงานของโครงการ พัฒนากฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศ ในการยกร่าง กฎหมาย เทคโนโลยีสารสนเทศทั้ง 6 ฉบับข้างต้น คณะกรรมการเทคโนโลยีสารสนเทศแห่งชาติ จึงได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการ เฉพาะกิจขึ้นมา 6 ชุด ประกอบด้วยผู้แทนจากหน่วยงานต่างๆ ที่ เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและภาคเอกชน และผู้ทรงคุณวุฒิทั้งจาก สาขานิติศาสตร์ รัฐศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ วิทยาการคอมพิวเตอร์ การเงินการธนาคาร และอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อทำหน้าที่ใน การพิจารณายกร่างกฎหมายโดยมี ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์ และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ เป็นเลขานุการในการยกร่างกฎหมาย สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมของกฎหมายเทคโนโลยีในประเทศไทยได้

ความหมายของคำว่าเคโนโลยีสารสนเทศ

คำว่า"เทคโนโลยีสารสนเทศ" หรือ"Information Technology" ตรงกับคำศัพธ์ที่ว่า"Informatique" ซึ่งหมายถึง "การนำเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีอื่นๆ มาใช้ในงานที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจและสังคม" นอกจากนี้ยังมีความหมายที่ใกล้เคียงกันคือ"Telematioque"หมายถึง "การบูรณาการระหว่างคอมพิวเตอร์กับการสื่อสาร" และคำว่า "Burotique" หมายถึง สำนักงานอัตโนมัติ ดังนั้นเมื่อมีการนำคำศัพท์ภาษาอังกฤษทั้งสองคำมาใช้แทนคำว่าเทคโนโลยีสารสนเทศ จึงได้คำว่า "Informatic" ซึ่งมีความหมายเช่นเดียวกันกับ"Informatique" แต่คำเหล่านี้ไม่เป็นที่นิยมมากนัก ในสหรัฐอเมริการก็ได้มีการบัญญัติคำศัพท์ว่า "Teleputer" ขึ้นมาใช้แต่ก็ไม่เป็นที่นิยมเช่นกัน

คำว่า "สารสนเทศ" หรือ "สารนิเทศ" ตรงกับคำศัพท์ภาษาอังกฤษว่า "Information" ซึ่งราชบัณฑิตยสถานบัญญัติให้ใช้คำศัพท์ทั้งสองคำแทนคำว่า Information ได้ในวงการคอมพิวเตอร์การสื่อสาร และวงการธุรกิจ ส่วนใหญ่นิยมใช้คำว่าสารสนเทศมากกว่า

"สารนิเทศ" มีความหมายถึง ข้อมูล ข่าวสาร ความรู้ต่าง ๆ ที่มีการบันทึกอย่างเป็นระบบตามหลักวิชาการเพื่อนำมาเผยแพร่และใช้งานทุกสาขาทุกด้าน

ส่วนคำว่า "เทคโนโลยีสารสนเทศ" (Imformation Technology:IT) เรียกสั้นๆว่า "ไอที" มีความหมายเน้นถึงขั้นตอนการดำเนินงานและการจัดการในกระบวนการสารสนเทศหรือสารนิเทศ ตั้งแต่การเสาะแสวงหาการวิเคราะห์ การจัดเก็บ การจัดการ และการเผยแพร่ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ความถูกต้อง ความแม่นยำ และความรวดเร็วทันต่อการนำมาใช้ปประโยชน์

บีแฮนและโฮลัมส์ ให้ความหมายไว้ว่า "เทคโนโลยีสารสนเทศหมายถึง เทคโนโลยีที่ทำให้มนุษย์สามารถสร้างระบบสารสนเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ จนทำให้เกิดประสิทธิผลและประโยชน์อย่างมหาศาล ได้แก่ การใช้ทำเบียนข้อมูล การจัดเก็บ การประมวลผลการค้นคืน การส่งและรับสารสานเทศต่าง ๆ ด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่ต่าง ๆ เช่น คอมพิวเตอร์ โทรสาร โทรคมนาคม และไมโครอิเล็กทรอนิกส์ รวมทั้งเทคโนโลยีเดิมที่ใช้ในระบบจัดเรียงเอกสาร เครื่องทำบัญชีอัตโนมัติ เป็นต้น"

มหาวิทยาลัยสุโยทัยธรรมาธิราช ให้ความหมายว่า "เทคโนโลยีสารสนเทศ หมายถึง เทคโนโลยีทุกอย่างที่เกี่ยวข้องกับสารสนเทศ เมจากเทคโนโลยีเดิมที่ใข้ในการจัดเก็บ ประมวลผล แสดงผล และเผยแพร่สารสนเทศในรูปของข้อมูล ข้อความและเรื่อง โดยใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีโทรคมนาคม

สรุป "เทคโนโลยีสารสนเทศ คือ ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีที่ทำให้เกิดวิธีการใหม่ ๆ ในการจัดเก็บข้อมูล ข่าวสาร ความรู้ การส่งผ่าน การสื่อสารสารสนเทศ การเข้าถึงสารสนเทศ การรับสารสนเทศ รวมถึงการสร้างสังคมและอุตสาหกรรมด้านสารสเทศ และการจัดการสารสนเทศให้มีประสิทธิภาพ

*หมายเหตุ งานเขียนชิ้นนี้ ได้รับการคุ้มครองสิทธิตามพระราชบัญญัติคุ้มครองสิทธิทางปัญญา โดยลิขสิทธิเป็นของผู้เขียน ที่ให้เกียรตินำเผยแพร่ผ่าน วิชาการ.คอม เรามีความยินดีและอนุญาตให้ทำซ้ำหรือเผยแพร่ต่อเพื่อประโยชน์ทางการศึกษาเท่านั้น กรุณาให้เกียรติผู้เขียน โดยอ้างชื่อผู้เขียนและ วิชาการ.คอม (www.vcharkarn.com) ทุกครั้งที่ทำการเผยแพร่ต่อ ห้ามนำส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อในสื่อที่เอื้อประโยชน์ทางธุรกิจก่อนได้รับอนุญาต ขอขอบคุณที่ร่วมกันช่วยสร้างให้สังคมไทยเป็นสังคมแห่งปัญญา

เขียนโดย narintip ที่ 22:49

ส่งอีเมลข้อมูลนี้ BlogThis! แบ่งปันไปที่ Twitter แบ่งปันไปที่ Facebook แบ่งปันใน Google Buzz

ป้ายกำกับ: บทที่1

0 ความคิดเห็น:

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท