ประเพณีถวายพระเพลิงพระบรมศพจำลอง


อัฐมีบูชารำลึก เมืองทุ่งยั้ง

ประเพณีการถวายพระเพลิงพระบรมศพจำลอง

ในประเทศไทย พบประเพณีการถวายพระเพลิงพระบรมศพจำลองที่ วัดบรมธาตุทุ่งยั้ง อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์ โดยประเพณีนี้มีมาแต่เมื่อใดไม่ปรากฏ ในปัจจุบันประเพณีนี้ได้รับการสนับสนุนจากทางหน่วยงานภาครัฐ และเอกชน โดยจัดเป็นงาน "วันอัฏฐมีบูชารำลีก เมืองทุ่งยั้ง" ณ วัดบรมธาตุทุ่งยั้ง อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์เป็นประจำทุกปี โดยกำหนดจัดงานในวันวิสาขบูชา คือวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ถึงวันแรม 8 ค่ำ เดือน 6 รวม 9 วัน กิจกรรมภายในงานมีการแสดง แสง สี เสียง ตั้งแต่พระพุทธเจ้าเสด็จปรินิพพาน จนถึงพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระพุทธเจ้า(จำลอง) มีประชาชนชาวจังหวัดอุตรดิตถ์และจังหวัดใกล้เคียงเข้าชมเป็นจำนวนมาก

 

 วัดพระบรมธาตุทุ่งยั้ง หรือ วัดพระบรมธาตุ

 ตั้งอยู่ที่กลางเทศบาลตำบลทุ่งยั้ง ตำบลทุ่งยั้ง อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์ เป็นวัดโบราณประดิษฐานพระมหาธาตุประจำเมืองทุ่งยั้ง เมืองโบราณตั้งแต่สมัยก่อนสุโขทัย

ตามตำนานการสร้างพระบรมธาตุกล่าว ว่า สมเด็จพระมหาธรรมราชาลิไท ผู้ครองเมืองสุโขทัย ได้เชิญพระบรมสารีริกธาตุของ สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า มาบรรจุไว้ในถ้ำใต้ดินโดยขุดลงไปเป็นถ้ำแล้วก่อพระธาตุไว้ โดยลักษณะเดิมของพระบรมธาตุเมืองทุ่งยั้งคงเป็นรูปเจดีย์พุ่มข้าวบิณฑ์ แต่ต่อมามีการบูรณะเพิ่มเติมโดยพญาตะก่าพ่อค้าไม้ชาวพม่าในสมัยรัตนโกสินทร์ ช่วงก่อนปี พ.ศ. 2444 เป็นลักษณะเจดีย์อย่างพม่า จนใน พ.ศ. 2451 ได้เกิดแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ทำให้ยอดพระบรมธาตุเจดีย์หักพังลงมา หลวงพ่อแก้วสมภารวัดพระบรมธาตุในขณะนั้นได้เป็นหัวหน้าปฏิสังขรณ์ซ่อมเพิ่ม เติมดังรูปแบบที่ปรากฏในปัจจุบัน

วัดพระบรมธาตุทุ่งยั้งในปัจจุบันได้ รับการบูรณะซ่อมแซมบำรุงอยู่เสมอใน ฐานะวัดสำคัญประจำเมืองทุ่งยั้ง ซึ่งเมืองทุ่งยั้งในปัจจุบันถือได้ว่าเป็นเมืองที่มีผู้คนอาศัยติดต่อกันมา อย่างยาวนานตั้งแต่สมัยก่อนการสถาปนาอาณาจักรสุโขทัยซึ่ง พิจารณาได้จากสำเนียงการพูดของคนทุ่งยั้งเทียบกับกลุ่มคนในชุมชนชาวสุโขทัย เดิม ที่อาศัยอยู่ในแถว หมู่ที่ 10 และหลายๆ หมู่บ้านในเขตตำบลทุ่งยั้ง ที่มีประวัติชุมชนว่าเป็นกลุ่มคนที่อพยพไปตั้งบ้านเรือนที่อื่นได้

วัดพระบรมธาตุทุ่งยั้ง จะมีการจัดให้มีงานประเพณีสลากภัต ซึ่งเป็นประเพณีของชาว ล้านนา ในวันแรม 8 ค่ำ เดือน 6 ของทุกปี ในวันนี้มีการจัดแสดงพุทธประวัติตอนถวายพระเพลิงพระบรมศพด้วย หรือที่เรีกยว่า วัน อัฐมีบูชา โดยทางวัดจะจัดให้มีการจำลองเหตุการณ์ย้อนไปเมื่อครั้งที่องค์สมเด็จพระ สัมมาสัมพุทธเจ้า พระบรมศาสดา เสด็จดับขันธ์ปรินิพพาน ณ เมืองกุสินารา ประเทศอินเดีย โดนจะมีการสร้างพระบรมศพจำลอง ประทับนอนในปางปรินิพพาน อยู่ในโลงแก้ว โดยจะจัดประดิษฐานไว้บนศาลาการเปริยญ ตั้งแต่วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ให้พุทธศาสนิกชนได้ร่วมถวายสักการะพระบรมศพ จนถึงวัน แรม 8 ค่ำ เดือน 6 จึงได้จัดพิธีจำลองเหตุการณ์ การถวายพระเพลิง พระพุทธสรีระ จำลอง จัดสร้างจิตกาธาน พระเมรุมาศ เหมือนจริง และมีการถวายพระเพลิงจริง ซึ่งพุทธศาสนิกชนหลายๆ คนที่เข้าร่วมพิธี ต่างก็ร้องให้เสียใจกับการจากไปของพระบรมศาสดา ดุจเหมือนได้เข้าเฝ้าพระบรมศพของพระบรมศาสดาจริงๆ ซึ่งถือว่าเป็นพิธีที่ยิ่งใหญ่และมีการจัดพิธีแบบนี้แห่งเดียวในโลก

 

พระวิหารหลวง ก่ออิฐถือปูน เป็นศิลปะแบบ เชียงแสนล้านนา เนื่องจากเมืองทุ่งยั้งเคยเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักร ล้านนา ในรัชสมัยของพระเจ้าติโลกราช นั่นเอง ลักษณะพระวิหารมีทรงหลังคาซ้อนสามชั้น ลาดต่ำ และด้านในพระวิหารหลวง มีภาพวาดตำนานเรื่องพระสังข์ทอง ซึ่งเกี่ยวโยงไปถึงสถานที่ศักดิ์สืทธิ์ คือ เวียงเจ้าเงาะ และบ่อน้ำทิพย์ ที่อยู่เยื้องไปทางใต้ตรงกันข้ามกับตัววัด และลักษณะของพระวิหารหลวงนี้ มีการก่อสร้างแบบศิลปะ ล้านนา อย่างชัดเจน คือ ที่ตัวพระวิหารหลวงมีประตูด้านหลังสามารถเดินทะลุออกไปแล้วพบกับ องค์พระบรมธาตุเจดีย์ ซึ่งจะพบเห็นศิลปะการสร้างพระวิหารแบบนี้ได้ในเขต ล้านนา ทั่วไป

  • พระอุโบสถ ประดิษฐานอยู่ด้านซ้ายของพระวิหารหลวง เป็นศิลปะการก่อสร้างแบบ ล้านนา คือ มีทรงหลังคาซ้อนสามชั้น ลาดต่ำลงมา และไม่มีประตูออกด้านหลังของพระอุโบสถ
  • หลวงพ่อประธานเฒ่า พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ปางมารวิชัย ศิลปะเชียงแสน เป็นที่เคารพและศรัทธา ชาวอุตรดิตถ์นับถือกันมาก ประดิษฐานอยู่ในพระวิหารหลวง

ข้อมูล wikipedia 

เรื่องวันอัฐมีบูชา

เรื่องวัดพระบรมธาตุทุ่งยั้ง

 

คำสำคัญ (Tags): #อัฐมีบูชา
หมายเลขบันทึก: 441201เขียนเมื่อ 28 พฤษภาคม 2011 19:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 21:03 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท