ข้อเสนอ ๔ จุดที่ต้องดำเนินการเพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการของสำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน หรือ สสค


ข้อเสนอเล็กๆจากผู้เขียน ใน ๔ ประเด็น (๑) การกำหนดทิศทางหรือกรอบ “เบื้องต้น” ของคำว่า “นวัตกรรมสร้างสรรค์การเรียนรู้” (๒) สสค อาจต้องคำนึงถึงการสร้างนวัตกรรมในการสื่อสารกับครู และระบบการสนับสนุนการพัฒนาศักยภาพในการเสนอโครงการ ส่งผลต่อ วิธีการ (๓)รายละเอียดในโครงการที่น่าจะต้องคำนึงถึง (๔) การต่อยอดความรู้ ผ่านต้นทุนทางสังคม

หลังจากวันที่ ๒๐ ถึง ๒๑ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๕๔ ที่ผ่านมา ทาง สสค. ได้จัดประชุมเพื่อพิจารณากลั่นกรองโครงการในระดับประถมศึกษา ต่อมาในวันที่ ๒๗ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๕๔ จึงได้จัดประชุมผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อสรุปบทเรียนการเรียนรู้ด้านการพิจารณาโครงการส่งเสริมนวัตกรรมสร้างสรรค์การเรียนรู้ เพื่อเป็นแนวทางในการทำงานในครั้งต่อไป การถอดประสบการณ์ในการเรียนรู้ครั้งนี้ โดยส่วนตัวของผู้เขียนเองคิดว่ามีข้อควรคำนึงเพื่อนำไปสู่การต่อยอดความคิดใน ๔ เรื่อง

(๑)  การกำหนดทิศทางหรือกรอบ “เบื้องต้น” ของคำว่า “นวัตกรรมสร้างสรรค์การเรียนรู้” ว่าหมายถึงเรื่องอะไรบ้าง เช่น หมายถึง ความรู้ เครื่องมือ กิจกรรม เทคโนโลยี การบริหารจัดการ หรือ รูปแบบของการทำงานร่วมกับชุมชน หรือ บทบาทครู ในฐานะผู้สนับสนุน (facilitator) หรือ อื่นๆ ที่สนับสนุนให้เกิดผลสัมฤทธิ์ในการเรียนรู้ของเด็ก หมายถึง วัดการเปลี่ยนแปลงที่ผลการเรียนรู้ของเด็กเป็นสำคัญ โดยนวัตกรรมที่ว่านั้น อาจเป็นความรู้ หรือ เครื่องมือที่เกิดขึ้นจากการทำงานเชิงประสบการณ์ หรือพูดง่ายๆก็คือ เกิดขึ้นจากการทำงานประจำที่ทำอยู่แล้ว หรือ งานสร้างสรรค์ที่เกิดขึ้นนอกเหนือจากงานประจำก็ได้

(๒)  สสค อาจต้องคำนึงถึงการสร้างนวัตกรรมในการสื่อสารกับครู และะบบการสนับสนุนการพัฒนาศักยภาพในการเสนอโครงการ ส่งผลต่อ วิธีการ หมายถึง บทบาท ของ สสค กับการพัฒนาศักยภาพของครูที่จะเสนอโครงการเข้ามา หรือ โครงการที่ผ่านแบบมีเงื่อนไข หรือ ไม่ผ่านในรอบแรก เพื่อให้ได้ครูที่สามารถออกแบบกิจกรรม โครงการที่สามารถนำไปสู่การสร้างความรู้ หรือนวัตกรรมของการเรียนรู้ นั่นหมายความว่า หากทาง สสค อยากได้โครงการดี เราก็ต้องเติมศักยภาพให้ครูมากขึ้น พูดอีกนัยหนึ่งก็คือ อยากได้ผลลัพธ์ดี ก็ต้อง เติมต้นทุนให้เข้มข้น (input-output) และต้องมีกระบวนการเพื่อเติมต้นทุนที่ครูสามารถเรียนรู้และต่อยอดได้ (Input management) โดยอาจจะสื่อสารผ่านืทางช่องทางที่ครูสามารถเข้าถึงโดยไม่ยากลำบาก ทั้ง ผ่านจากตัวแทนของ สสค ในระดับพื้นที่ (ซึ่งดำเนินการอยู่แล้ว) หรืออาจสื่อสารผ่านทางช่องทางของ teacher TV หรือ โครงการทรูปลูกปัญญา โดยอาจสื่อสารลงลึกในส่วนของ เป้าหมายที่ต้องการเห็น หรือ อาจจะมีตัวอย่างโครงการหรือกิจกรรมที่น่าสนใจ เพื่อทำให้ครูสามารถพัฒนาข้อเสนอโครงการที่นำไปสู่ผลสัมฤทธิ์ของเด็กโดยกิจกรรมที่เป็นนวัตกรรมได้

(๓)  รายละเอียดในโครงการที่น่าจะต้องคำนึงถึง มองเป็น ๓ส่วนคือ (๑)ในแง่เป้าหมายของโครงการ เน้นที่การเปลี่ยนแปลงด้านการเรียนรู้ที่ตัวเด็กเป็นสำคัญ โดย การใช้ ความรู้ เครื่องมือ เทคโนโลยี หรือการบริหารจัดการ ฯลฯ อันเป็นเส้นทางของการพัฒนานวัตกรรม (๒) ส่วนในแง่ของวิธีการ น่าจะต้องมีการนำเสนอตัวอย่างกิจกรรรมเพื่อทำให้เห็นโอกาส หรือ ความเป็นไปได้ของการพัฒนาไปสู่การสร้างนวัตกรรม (๓) ในส่วนของการประเมินผล นอกจากจะใช้เครื่องมือในการประเมินเป็นระยะๆแล้ว อาจจะต้องคำนึงถึง กิจกรรมเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างครูด้วยกันในกลุ่มสาระเดียวกันหรือต่างสาระ และ ระหว่างผู้บริหาร เพื่อทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ในการทำงานร่วมกัน เพื่อ ทำให้เห็นถึง “ความรู้เชิงประสบการณ์ที่เกิดขึ้นร่วมกัน” และ อาจะมีการชักชวนเครือข่ายทางวิชาการหรือเครือข่ายในชุมชน มาช่วยมองถึง ความรู้เชิงลึกที่เกิดขึ้น และการแลกเปลี่ยนเรียนรู้หมายถึงการสร้างมีการส่วนร่วมและอาจนำไปสู่การต่อยอดโครงการในระดับโรงเรียน การสร้างความยั่งยืน  ไม่ได้ออกแบบกิจกรรม ไม่เห็นตัวอย่างกิจกรรม

(๔)  ความน่าสนใจของภารกิจของ สสค  ในการเชื่อมต้นทุนทางสังคมให้กับผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น โดยอาจจะต้อง (๑) จัดทำ “เครื่องมือ” ช่วยครูในการถอดบทเรียนของการเรียนรู้ระหว่างครูที่ทำงานในประเด็นเดียวกัน เครื่องมือที่ว่านั้น อาจจะอยู่ในรูปแบบของการจัดพื้นที่ในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ หรือ การอบรมให้ครูสามารถถอดบทเรียนของตนเองได้เป็นระยะๆ  (๒) การสนับสนุนการการสร้างเครือข่ายชุมชนนักปฏิบัติ (๓) การจัดทำเครื่องมือในการสร้างความเป็นไปได้ในการเชื่อมทุนทางสังคมในระดับพื้นที่ที่ครูทำงาน เช่น เครือข่ายทางสังคม เครือข่ายวิชาการ หรือเครือข่ายภาคเอกชน และ (๓) การต่อยอดผลสำเร็จจากครูที่สร้างนวัตกรรมในการเรียนรู้ (๔) การสื่อสารความสำเร็จของการทำงานของครูไปสู่สาธารณะผ่านเครือข่ายสื่อสาธารณะทั้งในระดับพื้นที่และในระดับส่วนกลาง

 

หมายเลขบันทึก: 441130เขียนเมื่อ 28 พฤษภาคม 2011 08:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 3 พฤษภาคม 2012 15:53 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท