งานเกษตรกับนักเรียน


สวนตามใจเด็ก

วันนี้ได้พานักเรียนลงงานเกษตรในพื้นที่รับผิดชอบ

ตามนโยบายท่านผอ.ผผ.ว. กิจกรรมเกษตรแห่งชาติตาม

พระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียง  ครูและนักเรียนทุกห้องเรียน

ได้รับการจัดสรรพื้นที่รับผิดชอบ  ป.2/1 ก็เช่นเดียวกัน

ได้พื้นที่หน้าโรงเรียน  มีรั้วแปลงผักพร้อม เด็กๆต้องปีนเข้า

ในสมัยก่อนหน้านี้ถ้าชาวบ้านเห็นลูกหลานลงงานเกษตร

ถอนหญ้า ขุดดิน จะกล่าวโทษว่าครูไม่สอน  แล้วก็เลย

พาลพาลูกของตนไปทำไร่  ไปเลี้ยงน้องที่ไร่  หรือไปช่วยงานบ้าน

อื่นๆที่ไม่ต้องมาโรงเรียน  ในปีต่อต่อมา ก่อนที่โรงเรียนจะทำการพัฒนา

ผอ.ต้องกำชับให้ครูทำความเข้าใจกับนักเรียนและผู้ปกครองก่อนทุกครั้ง

ว่าการลงงานเกษตร  เป็นวิธีการสอนโดยการลงมือปฏิบัติและครูจะประเมิน

ผลการเรียนจากสภาพจริง  จากผลงานที่เกิดขึ้น  และที่สำคัญไม่ได้ทำทุกวัน

เมื่อผู้ปกครองเข้าใจก็ไม่มีปัญหา  แต่ช่วงปีสองปีที่ผ่านมาการศึกษาไทย

เน้นผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่สูงและวัดผลจากงานเอกสาร

ทำให้ทักษะการเลี้ยงชีพด้านการเกษตรลดลงไปมาก  โดยเฉพาะเด็กเมือง

แต่สำหรับที่ผาผึ้งผลสัมฤทธิ์ไม่สามารถนำมาเปรียบเทียบได้กับ

การหาเลี้ยงสมาชิกในครอบครัวที่บางบ้านมีไม่ต่ำกว่า 10 ปากท้อง

เพราะค่านิยมของชาวม้งจะเน้นการผลิตสมาชิกมาช่วยกันถางไร่

ทำมาหากิน  พี่ต้องเลี้ยงน้องได้ไม่ว่าจะมีอายุขนาดไหนเมื่ออยู่ในฐานะพี่

ซึ่งมีให้เห็นบ่อยมาก  นักเรียนอนุบาลผูกน้องใส่หลังมาเลี้ยงที่โรงเรียน

แต่การสอนงานเกษตรสำหรับที่นี่ไม่ใช่สอนให้ไปช่วยกันถางป่า

ขยายพื้นที่ทำกิน  แต่ครูทุกท่านจะพยายามสอนวิธีการที่จะทำให้

ผลผลิตเพิ่มเมื่อมีพื้นที่จำกัด  และทำไว้กินเพื่อลดค่าใช้จ่ายในครอบครัว

ซึ่งเด็กทุกคนจะมีทักษะด้านความอดทนเป็นเลิศจากการฝึกของ

พ่อแม่ตั้งแต่เด็กยังเล็กและต้องช่วยเหลือตนเองเมื่อก้าวสู่ฐานะ "พี่"

สวนที่เด็กป. 2/1 ทำในวันนี้จึงเน้นที่การให้ทุกคนมีใจร่วมที่จะปฏิบัติกิจกรรม

ลงงานเกษตร  โดยเริ่มจากไปหากล้าไม้  ปุ๋ยและอุปกรณ์การปลูก

และทำการถอนหญ้า  ปรับพื้นที่  เตรียมดิน  และลงมือปลูก

ตลอดจนการรดน้ำ  และดูแลจนได้ผลผลิต  ซึ่งต้องติดตามกันต่อไป

ต้นไม้ที่เด็กๆนำมาปลูกก็เป็นผักสวนครัวที่ดูแลไม่ยาก  เช่น  พริก ฟักทอง

บางคนก็นำดอกไม้มาปลูก  เพื่่อความร่มรื่นของชีวิต

เอ้า! เอาอะไรมาก็ดีทั้งนั้นแหละ  ครูสนับสนุนให้นักเรียนมีส่วนร่วม

เพราะคอนเซ็ปต์ครูจะเน้นการเรียนอย่างมีความสุข  เพราะสิ่งที่นักเรียนทำ

จะส่งผลให้นักเรียนมีทักษะและความรู้ในวันข้างหน้า  ซึ่งต้องใช้เวลาพอสมควร

ครูก็เลยคิดเล่นๆไปเองว่าจะตั้งชื่อให้สวนนี้ว่า  "สวนตามใจเด็ก"

คำสำคัญ (Tags): #สวนตามใจเด็ก
หมายเลขบันทึก: 440948เขียนเมื่อ 26 พฤษภาคม 2011 23:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 พฤษภาคม 2012 20:10 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท