การเรียนรู้ ดำรงอยู่ด้วยปัญญา


ปัญญา คือทรัพย์อันประเสริฐ

ปัญญา

         ปัญญา ความรู้  ความฉลาด คือความจริง รู้อะไรคือเหตุ รู้อะไรคือผล รู้อะไรคือบาป รู้อะไรคือบุญ รู้อะไรคือคุณ รู้อะไรคือโทษ รู้อนิจจัง ทุกขัง อนันตา ถ้ารู้แล้วย่อมทำแต่สิ่งที่ดีงาม และเว้นจากการประพฤติที่ไม่ดีไม่งาม นำความสุขมาสู่ตน บาปกรรมไม่ทำ ทำแต่บุญอย่างเดียว หนี้สินมีเท่าไรก็ชดใช้หมด เมื่อหมดหนี้สินแล้วก็สบายใจ ผู้ที่มีหนี้สินรุงรังมีแต่ความทุกข์ใจ ถ้าแก้ปัญหาไม่ได้ ก็คิดหนี้ด้วยการฆ่าตัวตาย ซึ่งเป็นวิธีที่ไม่ถูกต้องเพราะไม่ได้ฆ่าที่ตัวต้นเหตุของการมีหนี้สิน คือตัวฟุ้งเฟ้อเห่อเหิม ตัวโลภ ตัวอยากต่างหาก ที่ทำให้มีหนี้สิน ต้องฆ่าด้วยการประหยัด มักน้อย สันโดด

        ถ้ามีการประหยัด มักน้อย สันโดดแล้ว ก็จะใช้จ่ายอยู่ในกรอบของรายได้ มีเงินมีทองเท่าไรก็จะมีพอใช้ เพราะได้ควบคุมตัณหาความอยากความฟุ้งเฟ้อเห่อเหิมไม่ให้ออกมาเพ่นพ่าน ถ้าไม่แก้ตรงนี้ไม่ว่าจะกลับมาเกิดเป็นมนุษย์อีกกี่ภพกี่ชาติ ก็จะต้องมีหนี้สินอยู่อย่างนี้ไปเรื่อยๆ เมื่อหาหนทางแก้ไขปัญหาเรื่องหนี้สินไม่ได้ ก็ต้องฆ่าตัวตายไปเรื่อยๆเพราะติดเป็นนิสัย จึงต้องแก้ปัญหาที่ต้นเหตุคือการเอาชนะความฟุ้งเฟ็อเห่อเหิมความอยาก ความโลภทั้งหลายด้วยการประหยัดมัธยัสถ์ และความมักน้อยสันโดด

         เพื่อความร่มเย็นเป็นสุขทั้งในปัจจุบันและในภพหน้าชาติหน้า จึงควรสะสมอริยทรัพย์ทั้ง7 ประการ ด้วยปัญญา คือ

1.ศรัทธา(ความเชื่อ)ให้เชื่อเรื่องกรรม คือการกระทำทางกาย วาจา ใจ เป็นเหตุที่นำมาซึ่งความสุขหรือความทุกข์

2.ศีล(ความประพฤติดีทางกาย ทางวาจา)ไม่สร้างความเดือดร้อนให้แก่ผู้อื่น ไม่สร้างความทุกข์ให้แก่ผู้อื่น ไม่เบียดเบียนผู้อื่น ฯลฯ

3.หิริ(ความอายต่อบาป) เพราะบุญกุศลที่ได้นั้น ให้คิดว่ามีคุณค่ามากยิ่งกว่าเงินทอง

4.โอตัปปะ(ความกลัวบาป)เมื่อเห็นว่าการทำบาปเป็นสิ่งไม่ดี จึงละเว้น

5.พาหุสัจจะ(ความเป็นผู้ได้เรียนรู้มาก)การได้ยินได้ฟังธรรมอย่างสม่ำเสมอจะทำให้เป็นผู้คงแก่เรียน เป็นผู้รู้มาก เป็นผู้ศึกษามาก การที่ได้ศึกษามากต้องอาศัยการได้ยินได้ฟังจากผู้ที่มีความรู้ โดยเฉพาะรู้ทางธรรม เพราะธรรมเป็นแสงสว่างนำชีวิต

6.จาคะ(การเสียสละ)เสียสละประโยชน์สุขส่วนตนให้แก่ผู้อื่นเป็นการลดละความเห็นแก่ตัว ความหลงในตัวตน โดยเห็นว่าสมบัติเงินทองที่มีอยู่เป็นสมบัติผลักกันชม ไม่ช้าก็เร็วก็ต้องพลัดพรากจากัน ไม่ใช้ของๆตน

7.ปัญญา(ความรู้ ความฉลาด คือรู้ความจริง รู้อะไรเหตุ รู้อะไรผล รู้อะไรบาป รู้อะไรบุญ รู้อะไรคุณ รู้อะไรโทษ รู้อะไรอนิจจัง ทุกขัง อนันตา ถ้ารู้แล้วย่อมทำแต่สิ่งที่ดีงาม

    

กาลเวลาไม่เคยรอไคร

 

หมายเลขบันทึก: 440253เขียนเมื่อ 22 พฤษภาคม 2011 11:34 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:44 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ภาพสวย นึกถึงกาลเวลาที่ผ่านเลย เสียดาย ต้องกลับมาคิดใหม่ว่ากาลเวลา มีมาให้เท่าๆกัน บริหารจัดการกันเอาเองเด้อ

Ico48 ขอบคุณครับ สำหรับเวลาที่แบ่งปันให้ประโยชน์กันและกัน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท