ขนทรายเข้าวัด ภาคต่อจากบุญเดือนหก


ประเพณีขนทรายเข้าวัด

    ประเพณีขนทรายเข้าวัด การขนทรายเข้าวัดของหมู่บ้านมีมาแต่โบราณแล้ว การขนทรายอาจแตกต่างกันไปบ้าง เช่น จังหวัดเชียงใหม่ , เชียงราย , ลำพูน เป็นต้น นิยมขนทรายในวันเนาว์ หรือวันที่ ๑๔ เมษายน แต่ที่บ้านของผู้เขียนนิยมขนทรายในวันบุญเดือนหกหรือวันวิสาขบูชา ซึ่งปีนี้ตรงกับวันที่ ๑๗ พฤษภาคม พร้อมทั้งนำพระพุทธรูปขึ้นแท่นหลังจากนำลงมาให้ชาวบ้านได้สงน้ำกันในช่วงวันสงกรานต์ 

            สาเหตุของการขนทรายเข้าวัด

 วัด มีการก่อสร้างถาวรวัตถุ เช่น โบสถ์ วิหาร เป็นต้น สมภารจึงขอแรงชาวบ้านที่ยังหนุ่มและสาวช่วยกันขนทรายเข้ามากองไว้ในคราว เทศกาลสงกรานต์ซึ่งเป็นวันที่ชาวบ้านว่างงานการทั้งหลาย และน้ำในแม่น้ำแต่ละสายแห้งขอดเขินเนินทรายสามารถนำทรายขึ้นฝั่งได้ง่าย

  1. คน สมัยก่อนไม่นิยมสวมรองเท้าเข้าวัดทิ้งรองเท้าไว้นอกวัด ต้องเดินเท้าเปล่าเข้าวัด ขึ้นไปบนวิหาร วัดที่มีทรายมากย่อมไม่เปื้อนเท้าเพราะทรายมากย่อมไม่เปื้อนเท้าเพราะทราย เป็นเครื่องเช็ดถูเปอะตมได้เป็นอย่างดี

  2. ทำให้ภายในวัดวาอารามไม่เป็นเปอะตมเฉอะแฉะ ประชาชนสามารถเดินเข้าไปมาได้สะดวก ในคราวมาทำบุญ

  3. วัดเป็นสถานที่รื่นรมย์ที่เรียกกันว่าอาราม การมีทรายอยู่ในวัดมาก ทำให้วัดสะอาดน่าอยู่ ประชาชนจึงนิยมขนทรายเข้าไปในวัดกันเสมอมา

  4. วัด ที่มีทรายมากป้องกันไม่ให้หญ้าขึ้น หรือมีหญ้าขึ้นบ้างก็ถอนง่ายกว่าหญ้าที่ขึ้นบนดินล้วน ๆ วัดทุกวัดของล้านนาจึงนิยมนำทรายเข้าวัดเพื่อป้องกันหญ้าขึ้น

  5.  

     ประวัติและตำนานเกี่ยวกับเจดีย์ทราย
ในตำนานเมืองหริภุญชัยกล่าวถึงการที่พระพุทธเจ้าประทับรอยพระบาทไว้บนที่หาด ทรายเป็นวาลุกเจดีย์ ณ แม่น้ำมนที ในคัมภีร์ธรรมของล้านนาไทยกล่าวว่า “ในสมัยที่พระพุทธเจ้าเป็นชายสามัญมีนามว่า ติสสะ เป็นคนเข็ญใจยากไร้ หาเช้ากินค่ำ เลี้ยงชีวิตด้วยการรับจ้างตัดฟืนขาย แต่เป็นผู้มีศีลธรรมดี เป็นที่รักของประชาชนชาวบ้านมาก วันนี้ติสสกุมารเดินทางออกจากบ้านไปสู่กลางป่าแห่งหนึ่ง มีลำธารไหลผ่านมีหาดทรายขาวงดงามนัก มีจิตปสาทะอยากจะทำบุญจึงได้เอาทรายมาก่อเป็นเจดีย์ ฉีกเสื้อที่ตนสวมอยู่นั้นเป็นยอดธงปักลงบนพระเจดีย์ทรายนั้น และตั้งอธิษฐานว่า อิมินา ปุญญกมเมนาหํ วาลุกเจติยํ กตรา สุขีอตตานํ ปริหรนโต นิพพานปจจโยมหิ เม นิจจํ ด้วยอำนาจบุญกรรมกุศลการก่อพระเจดีย์ทรายนี้ขอให้ข้าพเจ้าได้บริหารตนให้มี ความสุขและเป็นปัจจัยแห่งพระนิพพานเจ้าเถิด และขอให้ข้าพเจ้านั้นได้เป็นพระพุทธเจ้าโปรดสัตว์โลก เมื่อพระโพธิสัตว์ติสสะบำเพ็ญบารมีเต็มที่เต็มถ้วนแล้ว ก็ได้มาเกิดเป็นพระพุทธเจ้าของเราทั้งหลาย
Author : มณี พยอมยงค์

ขอบคุณค่ะที่เข้าแวะมาดู

คำสำคัญ (Tags): #ขนทราย
หมายเลขบันทึก: 439885เขียนเมื่อ 19 พฤษภาคม 2011 20:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:43 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

ครูใหม่ครับ ตามมาอ่าน เด็กๆๆปั้นเป้นตัวอะไรครับ 555

ขอบคุณค่ะ ดร.ขจิต สมมุติปั้นเป็นรูปจระเข้กับเต่าค่ะ

สวัสดีค่ะน้องใหม่ที่คิดถึง

  • คำสอนของคนโบราณมักแฝงไว้ด้วยนัยสำคัญเสมอ บางทีก็เป็นกุศโลบายอันแยบยลที่อนุชนคนรุ่นหลังคาดไม่ถึง
  • สมัยนั้นที่บ้านคุณยาย คนเฒ่าคนแก่จะสอนว่า ใครนำสมบัติของวัดไปจะบาปหนามาก บางอย่างเราม่ได้ตั้งใจเช่นเรามาวัดแต่ละครั้งดินจะติดไปกับรองเท้า เราจึงต้องมีพิธีขนทรายเข้าวัดเพื่อไถ่บาปค่ะ ที่ทำไปเพราะอยากได้บุญและอยากเล่นด้วยเพราะสนุกดี
  • ขอบคุณสำหรับข้อคิดดีๆที่นำมาแบ่งปันนะคะ

สวัสดีค่ะคุณยายสบายดีนะคะ

ขอบคุณค่ะที่แวะมาเยี่ยม

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท