ชาวนาวันหยุด ตอนที่ 2 : เเผ่นกล้า สำหรับการปักดำด้วยเครืื่่อง


กล้าที่ใช้ปักดำ เป็นกล้าสาว (อายุไม่เกิน 30 ) พอต้นกล้า ออกใบที่ 5 จะเริ่มกินอาหารทางราก ใบที่ 6 ก็เริ่มแตกกอ ....



บันทึกนี้เป็นตอนที่ 2 ของ "ชาวนาวันหยุด" 

มาชมการอนุบาล ต้นกล้า-เเผ่นกล้า เพื่อใ้ช้สำหรับเครื่องปักดำ กันครับ  เป็นเทคนิค ที่ต้องทำความเข้าใจเบื้องต้น กับต้นกล้า แผ่นกล้า  

เพื่อให้สะดวกต่อการวางเเผนการทำงาน การจัดการทั้งในและนอกเเปลงนาครับ


1.ต้นกล้า สามารถเลี้ยงตัวเองได้จากอาหารในเมล็ด 25 วันหลังการงอก 


2.ทุก ๆ 5 วัน ต้นกล้า จะมี 1 ใบ จะใช้ต้นกล้าที่ 3-5 ใบสำหรับการปักดำ 15-25 วัน 


3.กล้าที่ใช้ปักดำ เป็นกล้าสาว (อายุไม่เกิน 30 ) พอต้นกล้า ออกใบที่ 5 จะเริ่มกินอาหารทางราก  ใบที่ 6 ก็เริ่มแตกกอ .... 


4.ถ้าใช้กล้า อายุ 18 วันปักดำ จะมี 3 ใบครึ่ง ปักดำไป 1 สัปดาห์ ต้นกล้าเริ่มมีใบที่ 5 เริ่มให้ปุ๋ยอินทรีย์บำรุง "ราก" กลุ่ม P (ฟอสฟอรัส) 

  

5.พอได้อายุ 30 วัน มีใบที่ 6 หลังจากสร้างรากใหม่ ครานี้ถึงเวลา แตกกอ ... 

ให้ปุ๋ยบำรุง "ลำ-ช่วยการแตกกอ"

ให้ปุ๋ยอินทรีย์กลุ่ม N (ไนโตรเจน)


6.ช่วงการอนุบาลต้นกล้า ไม่ต้องใช้ปุ๋ยใดๆทั้งสิ้น  (ในระยะเวลา 25 วัน) ถ้าให้ปุ๋ยจะทำให้ต้นกล้า อ่อนแอ เมื่อลงนาไปจะหากินเองไม่เป็น เพราะโดนสปอย  (เหมือนการเลี้ยงลูก อย่าไปดูแลมันดีเกินไป เช่นกันครับ)


7.กระตุ้นและสร้างความเเข็งแรงต้นกล้า เเผ่นกล้า ด้วย"ระบบเปียก-สลับเเห้ง"  

รากต้นกล้าจะขาว ยาว สานกันเป็นเเผ่น ขนย้ายง่าย ม้วนได้ ไม่ช้ำ 


8.วัสดุการเพาะกล้า เป็น "แกลบดำ" -> นอกจากช่วยอนุบาลต้นกล้าในกะบะเพาะแล้ว ยังเป็นการเติมอินทรีย์วัตถุ บำรุงดินด้วย (แกลบดำมี ซิลิกาสูง เลือกแกลบดำ มาเพาะต้นกล้าเนื่องจากมีคุณสมบัติการเก็บความชื้นและระบายน้ำได้ดี
มีการยุบตัวน้อย  มีสภาพเป็นกลาง หาได้ง่าย เผาเองก็ได้ เป็นการเวียนอินทรีย์วัตถุกลับมาปรับปรุง บำรุงดินในนาข้าว 
 (ไว้มาขยายความเรื่องแกลบดำ ในตอนต่อๆไป ซัก 1 บท) "ข้าวก็ข้าวของเรา นาก็ของเรา ข้าวเปลือกของเรา แกลบดำของเรา ทำเองได้ครับ "   


9.ทุกครั้งที่ปักดำ จะมีการเิติมแกลบดำ ลงนา ครา ละ 200 ลิตร (ถาดละ 5 ลิตร จำนวน 40 ถาด) เพิ่มความพรุน และร่วนซุยให้กับดินนาข้าว 


10.ไม่ต้องถอนรากต้นกล้า  ไม่ต้องฟาดดินออก รากข้าวไม่ช้ำ หลังปักดำ ฟื้นตัวได้ไว ข้าวรัด ติดกอไว 

 


 ข้อดี : การอนุบาลกล้า 

1.จำกัดพื้นที่การดูแลระยะกล้าได้สะดวก ก่อนย้ายลงเเปลงปลูก

2.กำจัดข้าวปน ด้วยการคัดเมล็ดด้วยน้ำเกลือก่อนการเพาะลงถาด

3.กำไร อายุ- ความสูงต้นกล้า โตก่อนลงนา สูงไปแล้ว 1 คืบ หนีหญ้าได้ก่อน (คุมหน้าดินด้วยน้ำ ไม่ต้องใช้ยาคุม) 


 


 

"หลังเลือกตั้งไม่ว่าใครจะมาเป็นรัฐบาลค่าครองชีพต้องสูงขึ้นอย่างแน่นอน  อาหารจะเเพงขึ้น การมีอาหาร อย่าง "ข้าว" กิน เป็นความมั่นคงสูงสุดของชีวิต ครับ"


          เมื่อค่าครองชีพสูงขึ้น จะส่งผลต่อแรงงานหนุ่มสาว ในภาคอุตสาหกรรมและการบริการ กลับบ้าน ไปทำนา ทำการเกษตรกัน ไว้บริโภคในครัวเรือน มากขึ้น ...เนื่องจาก รายได้ ไม่พอรายจ่าย (ค่าของเงินลดลง) 

ก็จะได้ประจักษ์ชัด อย่างที่เราๆท่านได้ ยินกันมา

"เงินทองเป็นของมายา ข้าวปลาเป็นของจริง"

 

ส่วนว่าใครถนัดเพาะปลูกแบบไหนก็ขึ้นอยู่กับ ภูมิสังคม ความชอบ ความขยัน ของแต่ละท่าน ครับ

 

เเต่ผมเลือกที่จะทำนาดำ เพราะเป็นระเบียบ ดูแลง่าย ต้นข้าวแข็งแรง ได้รับแสงเเดดเต็มที่ ไม่ค่อยมีแมลงมากวน ครับ 



 


 

ประวัติศาสตร์เศรษฐกิจเทียบเคียง ครับ ...


"...พลังของความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจในทศวรรษ 2520 ก็ได้ดึงเอาคนหนุ่มสาวญี่ปุ่นในรุ่นต่อมา ให้พากันออกมาสู่การทำงานเป็น “ซารารีแมน” หรือคนทำงานรับเงินเดือนจนเกือบหมดทุกคน แต่ถึงกระนั้นก็ตาม ภาคการเกษตรของญี่ปุ่นก็ไม่ได้เสื่อมสลายลงไป การดำรงอยู่ของภาคเกษตรกรรมญี่ปุ่นนี้ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขหลายประการด้วยกัน

เงื่อนไขแรกได้แก่ การปรับตัวในการใช้เครื่องยนต์ในกระบวนการผลิต สิ่งที่น่าสนใจ ได้แก่ การสร้างเครื่องยนต์ในการเกษตรนั้นเป็นการสร้างจากความรู้เดิมของชาวนา เช่น รถปลูกข้าว ซึ่งวางจังหวะเครื่องว่าจะทำการปลูกข้าวแต่ละกอห่างกันเท่าไรนั้น ก็ได้มาจากความรู้เดิมของชาวนาญี่ปุ่นที่เคยใช้เชือกขึงตัดขวางกันเป็นตารางหมากรุกเพื่อจะได้จุดปลูกข้าวที่เหมาะสม หรือการปรับปรุงรถทำลายหญ้าที่สามารถเดินไปตามเส้นทางหมากรุกระหว่างข้าวแต่ละกอ ก็มาจากความรู้เดิมเช่นกัน ความต่อเนื่องของความรู้เช่นนี้ทำให้ชาวนาญี่ปุ่นไม่เคยรู้สึกยุ่งยากในการใช้เครื่องจักรในการทำนา และเอื้อให้สามารถปรับตัวในการผลิตได้ดีขึ้น

การปรับตัวในความสัมพันธ์ทางสังคมก็เป็นอีกพลังหนึ่งที่สำคัญมาก กล่าวคือ ชาวนาที่ถูกบีบให้ลดพื้นที่การทำนาในเวลานั้นมีอายุเฉลี่ย 20-30 ปี พวกเขาเป็นกลุ่มที่เติบโตมาในสังคมที่มีลักษณะเป็น “ชุมชนชาวนา” อย่างเข้มข้น ดังนั้น แม้ว่าจะถูกรัฐเบียดขับออกจากไร่นา พวกเขาก็ไม่ได้หลุดออกมาจากสังคมจนกลายเป็นคนไร้ราก บรรดา “ชาวนาวันหยุด”ทั้งหลายก็ยังคงใช้ชีวิตทางสังคมของตนอยู่ในชุมชนเช่นเดิม ไม่ได้อพยพทิ้งบ้านเกิดไม่ว่าจะเป็นแบบชั่วคราวหรือถาวร..."

 จากบทความ มองชนบทญี่ปุ่น

 


 

 

หมายเลขบันทึก: 439594เขียนเมื่อ 17 พฤษภาคม 2011 14:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:43 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (17)

ขอบคุณ GotoKnow ที่สอนให้รู้จัก คำว่า อดทน และใจเย็นครับ วันนี้ บทเรียนดี ๆ ที่ได้มากกว่า การเป็นชาวนาวันหยุด ครับ ...

ขอให้ระบบหายป่วย กลับเป็นปกติโดยไวครับ มีอีกหลายบันทึก ที่ข้อมูลพร้อมแล้วที่จะลง แต่ต้องรอ ต่อไป ครับ

สวัสดีค่ะ

บันทึกนี้ยาวนะคะ  ภาพประกอบชัดเจนกว่า  เพราะมีขั้นตอนการทำนา

แวะมาชวนไปเที่ยวพังงา ๑ ถึง ๕ มิย. หนานเกียรติ และบังพร้อมแล้วค่ะ

Ico48 เพิ่งรู้ว่าพี่คิมเลิกใช้โทรศัพท์ เป็นความสุขอย่างยิ่ง ครับ 

บันทึกนี้ยาวครับ ตั้งแต่เตรียมดิน เพาะกล้า ปักดำ ดูแลรักษา ยันเกี่ยว ถึงแปรรูปเลยครับ ....จะจองข้าว ล่วงหน้าได้นะครับ จัดส่งฟรี ..(ฮ่าๆๆ) 

พังงา โอ้ทะเลแสนงาม ...ขอให้ทุกท่าน มีความสุขในการเดินทางครั้งนี้ครับ 

ผมติดภารกิจ ดูแลเเปลงนาครับ ... 

มาดูอีกครั้ง ผมก็ยังขอชื่นชมในแนวทางที่มุ่งมั่นของคุณต้นกล้าดังเดิม ขอปรบมือให้ดังๆอีกครั้งครับ

Ico48 ขอบคุณมากครับ คุณ Peter P 

ตอนนี้ได้คิด ได้ลงมือทำ ได้ติดตามผล หวังใจว่าจะเป็นประโยชน์ต่อส่วนร่วม ต่อทุกท่านๆครับ 

 

แวะมาขอบคุณที่ไปให้ดอกไม้กำลังใจให้กันนะคะ

อ่านบันทึกแล้วรู้สึกทึ่งกับการดูแลและอนุบาลต้นกล้า

คงพอๆกับการประคบประหงมดูแลเด็กเล็กนั่นเอง

ถ้าดูแลดีก็จะได้ต้นข้าวที่ดีและได้คนดีของชาติต่อไป.....

Ico48 ขอบคุณคุณครูครับ ดูแลแบบเข้าใจพฤติกรรมมากกว่าครับ ปล่อยให้ช่วยตัวเอง จะได้แข็งแรง ดูแลตัวเองได้ไวครับ 

ขอบคุณสาระดีๆมีประโยชน์มากมาย..อยากให้เผยแพร่ออกสู่การปฏิบัติแก่ชาวนาทั่วประเทศนะคะ..

Ico48 ขอบคุณครับพี่ใหญ่ 

หากบันทึกนี้เป็นประโยชน์ กับทุกท่าน ผมก็ยินดีครับ ...

 

สวัสดีค่ะ

มาเยี่ยมชมขั้นตอนการทำนา ละเอียดมากๆ ฝนนี้จะทำนาเช่นกันค่ะ

ขอบคุณมากๆค่ะ

ต้นกล้าสวยงามมากๆ มีการบอกกล่าวให้ไปดำนากันทางสื่อไหนบ้างหรือเปล่า ประชาสัมพันธ์จังหวัดบอกกล่าว ให้หรือเปล่าค่ะ  กิจกรรมเรียนรู้ที่ดีมากๆ 

 

Ico48 ขอบคุณคุณครู มีนาครับ

รอติดตามชมบันทึกของครูมีนา ตอนต่อไป นะครับ 

เป็นกำลังใจให้นะครับ

 

Ico48 รูปแบบการทำนาดำ เป็นการเรียนรู้ และปฏิบัิติ แบบต่อยอดครับ ส่วนว่าพืื้้้้นที่ไหนเหมาะสมแบบใด ก็ให้พิจารณาตามเหตุและผลไปครับ

ขอบคุณที่มาเยี่ยมชมครับ    

เปิดสารบัญกลับไปตามอ่านอย่างกระชั้นชิดค่ะ

Ico48 สวัสดีครับ แม่ใหญ่

รอติดตามผลงานเด็กๆในเเปลงนา เช่นกันครับ

..มันยอดมากเลยค่ะ คุณต้นกล้า..

จะติดตามอ่านตอนต่อไป..เผื่อว่าจะได้นำไปใช้ในแปลงนาตัวเอง..

Ico48 แนะนำให้คุณบัวชมพู นอกจากเป็นนักเรียนรู้แล้ว น่าจะเขียนบันทึกมาเเลกเปลี่ยน กับเพื่อนใน ชุมชนบ้างครับ จะได้เห็นภาพ และได้รับคำแนะนำที่ดีๆ จากพี่ๆ ใน Gotoknow  ครับ เป็นกำลังใจให้ครับ

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท