รพ.หนองม่วง
รพ.หนองม่วง รพ.หนองม่วง รพ.หนองม่วง รพ.หนองม่วง

การพัฒนาเครือข่ายคลินิกผู้สูงอายุและการดูแลรักษาผู้สูงอายุในโรงพยาบาล


คลินิกผู้สูงอายุ
                                การประชุมเชิงปฏิบัติการการพัฒนาเครือข่ายคลินิกผู้สูงอายุและการดูแลรักษาผู้สูงอายุในโรงพยาบาล
                                             ระหว่างวันที่ 25-26 เมษายน 2554 ณ โรงแรมริชมอนด์ นนทบุรี
                             โดย สถาบันเวชศาสตร์สมเด็จพระสังฆราชญาณสังวรเพื่อผู้สูงอายุ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข
  ปัจจุบันจำนวนประชากรโลกกำลังก้าวเข้าสู่วัยชรามากขึ้นเรื่อยๆ ส่งผลให้โครงสร้างของอายุประชากรก็เปลี่ยนไปอย่างมากด้วย ซึ่งคาดการณ์ว่าประมาณปี พ.ศ. 
2563-2564 จะเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ประชากรไทย ที่มีสัดส่วนประชากรวัยสูงอายุมากกว่าประชากรวัยเด็ก นำมาซึ่งการเกิดภาวะเสี่ยงและปัญหาด้านสุขภาพ 
โดยเฉพาะการเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรัง เนื่องจากวัยสูงอายุมีธรรมชาติการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่เสื่อมลงทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจและสังคม จึงสะท้อนให้เห็นถึงความจำเป็น
ที่จะต้องมีการเตรียมความพร้อมในระบบบริการสังคมและสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุ
 
ลักษณะเฉพาะของผู้สูงอายุ   RAMPS
                ♥Reduced body reserve (heterogeneous)
                ♥Atypical presentation
                                ♦Instability (Fall)
                                ♦Immobility
                                ♦Intellectual impairment
                                ♦Incontinence
                                ♦Insomnia
                                ♦Inanition
                                ♦Iatrogenesis
                ♥Multiple pathology
                ♥Polypharmacy
                ♥Social adversity
บทบาทของสถานพยาบาลในแต่ละระดับ ควรจัดให้มีบริการผู้สูงอายุครอบคลุม ดังต่อไปนี้
                ♥การประเมินผู้สูงอายุแบบครบวงจร
                ♥การสร้างเสริมสุขภาพและการป้องกันโรค
                ♥แนวทางการคัดกรองและการตรวจเช็คสุขภาพ
                ♥การดูแลรักษาแบบครบองค์รวม
แนวทางในการดำเนินงานผู้สูงอายุ
วัตถุประสงค์
                1.มีทีม/ผู้รับผิดชอบการดำเนินงานที่ชัดเจน
                2.มีสถานที่ในการให้บริการ/มีป้ายระบุชัดเจน
                3.มีระยะเวลาในการดำเนินงาน อย่างน้อย 1 วัน/สัปดาห์
                4.มีวัตถุประสงค์ในการดำเนินงานที่ชัดเจน/มีงบประมาณสนับสนุน
                5.มีการจัดระบบข้อมูล/วิเคราะห์ข้อมูล
การดำเนินงาน
                1.บุคลากร
                                -ใช้บุคลากรที่มีอยู่ →ส่งอบรมฯ
                                -สร้างทีมสหสาขาวิชาชีพ ร่วมมือกันทำ
                                -สร้างเครือข่ายในท้องถิ่น เช่น รพสต., อสม.,อบต.,จิตอาสาฯ
                                -กำหนดสมรรถนะและหน้าที่ของบุคลากรให้ชัดเจน
                2.การค้นหาสมาชิก อาจแบ่งเป็นกลุ่มสุขภาพดี/กลุ่มที่มีปัญหาสุขภาพ
                                - ผู้ป่วยเดิมที่คลินิกทั่วไป คลินิกโรคอายุรกรรมฯลฯ
                                - ผู้ป่วย Walk in
                                - ผู้ป่วยที่คัดกรองจากเครือข่ายในท้องถิ่น
                                - ผู้สูงอายุจากสมาชิกในชมรมต่างๆ
                3.การบริการ
                                           -จัดให้มีช่องทางด่วน/ช่องทางพิเศษ
                                -จัดสิ่งอำนวยความสะดวก เช่น ทำบัตรคิวที่มีตัวเลขขนาดใหญ่
                                -จัดบริการแบบ One Stop Service
                                -บริการส่งต่อคลินิกพิเศษตามสภาพปัญหาที่พบ เช่น คลินิกความจำฯลฯ
                4.การสรุปประเมินผลข้อมูล  กรณีไม่สามารถดูแลได้ → ส่งต่อ?!?
                                การประสานงาน → เครือข่ายในชุมชน
                                               → ส่งผู้สูงอายุป่วยกลับสู่ชุมชน
                                               → รพท./รพศ.
                                               → ส่งปรึกษากรณีไม่มีผู้เชี่ยวชาญ ผ่านช่องทางการปรึกษาต่างๆเช่น Teleconferrence, Internet
 การดูแลต่อเนื่อง
                ♥จากชุมชน→รพสต.→รพช.→รพท./รพศ.
            ♥จากรพท./รพศ.→รพช.→รพสต.→ชุมชน
            ♥การให้ความรู้แก่ผู้ดูแล
            ♥ส่งต่อจาก Clinic→Clinic กรณีมีหลากหลายปัญหา
ระบบการส่งต่อและการเชื่อมโยงข้อมูล
                -มีการจัดเก็บข้อมูลจากทุกเครือข่ายอย่างเป็นระบบ
            -มีแบบฟอร์มการเก็บข้อมูลที่ชัดเจน
ปัญหาในการดำเนินงานผู้สูงอายุ
                1. บุคลากร ได้แก่
                                -ไม่มีแพทย์/พยาบาลเฉพาะทางด้านผู้สูงอายุ
                                -พยาบาลด้านผู้สูงอายุ ไม่ได้ทำงานเฉพาะด้าน
                                -บุคลากรน้อย ไม่เพียงพอ ภาระงานมาก
                2. ขาดองค์ความรู้
                                - การอบรมเกี่ยวกับงานผู้สูงอายุ
                                - การใช้แบบประเมินเฉพาะงานผู้สูงอายุ
                3.งบประมาณสนับสนุน
                                - ไม่มีงบประมาณฯเนื่องจากไม่มีผลลัพธ์ในการดำเนินงาน
                4.สถานที่
                                -ไม่มีสถานที่ให้บริการ/ห้องตรวจที่ชัดเจน
                5.นโยบาย
                                -ไม่ชัดเจนเรื่องการดำเนินงาน/บุคลากร
                                -นโยบายมากเกินไป
กำหนดให้โรงพยาบาลในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข มีการจัดตั้งและดำเนินการคลินิกผู้สูงอายุ เป็นตัวกำกับของจังหวัดตามแผนการตรวจราชการกรณีปกติของกระทรวง
สาธารณสุข ซึ่งกำหนดตัวชี้วัด โดยกรมการแพทย์ คณะที่ 3 (ตัวชี้วัด 0308): คลินิกผู้สูงอายุ 1 อำเภอ 1 คลินิก และมี Geriatric Model 1 เขต 
1 โรงพยาบาล โดยในส่วนของโรงพยาบาลชุมชน จะต้องมีการดำเนินกิจกรรม 4 ข้อดังต่อไปนี้ คือ
   1. มีบุคลากรทางการแพทย์ ซึ่งมีหน้าที่หลักในการดำเนินการคลินิกผู้สูงอายุ
   2. มีป้าย “คลินิกผู้สูงอายุหรือหน่วย/ศูนย์บริการสุขภาพผู้สูงอายุ” มีสถานที่เพื่อดำเนินการคลินิกผู้สูงอายุอย่างชัดเจน และประชาสัมพันธ์ให้ผู้สูงอายุทราบ
   3. มีจำนวนวันที่ให้บริการอย่างน้อย 1 วัน/สัปดาห์
   4. จัดให้มีบริการทางการแพทย์ โดยใช้หลัก Geriatric Medicine มีการประเมินสุขภาพ/คัดกรอง (Geriatric Assessment) ได้แก่ 
BMI, Nutrition, ADL, Fall, Incontinence, Dementia, Insomniaฯลฯตามปัญหาท้องถิ่นอย่างน้อย 1 แบบประเมิน
หมายเลขบันทึก: 439484เขียนเมื่อ 16 พฤษภาคม 2011 02:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:43 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท