รางวัลนักวิจัย


ประชุมกรมวิชาการเกษตรปีนี้งานเกี่ยวกับเพลี้ยแป้งมันสำปะหลังสีชมพูได้รับรางวัลชมเลย 2 รางวัล คือการนำเข้าแตนเบียนเพลี้ยแป้งมันสำปะหลังสีชมพูของ ดร. อัมพร และการควบคุมเพลี้ยแป้งของคุณสุเทพ แต่เราก็ยังประสบปัญหาเพลี้ยแป้งอยู่ในปีนี้ หลายแห่งเกิดเพราะความชะล่าใจไม่ทำให้ท่อนพันธุ์สะอาดก่อนปลูก พอปลูกได้ก็หงิกและแห้งตาย ตัวฉันเองเคยประเมินว่าปีนี้ไม่น่าจะรุนแรงก็ระดับการระบาดก็อยู่สูงกว่าที่คาดการณ์ ปัญหาสำคัญคือการทำความเข้าใจให้เกษตรกรทราบถึงความเสียหายและการควบคุมที่ได้ผล กรมวิชาการเกษตรแนะนำให้แช่ท่อนพันธุ์ก่อนปลูก ซึ่งจะควบคุมในระยะแรก ๆ ท่อนพันธุ์เหล่านี้จะแตกยอดดีไม่หงิก และเขาจะแข็งแรงพอที่จะสู้กับเพลี้ยแป้งได้และปล่อยแตนเบียนเมื่อเริ่มพบเพลี้ยแป้งสีชมพูตั้งแต่จำนวนน้อย ๆ แต่มาตรการที่หน่วยงานของรัฐนำไปใช้มักใช้สารเคมีเป็นหลักซึ่งการใช้สารเคมีหาไม่ถูกวิธีจะทำให้เกิดการดื้อยา แต่ควรใช้วิธีการผสมผสาน ทำอย่างไรดูที่ http://at.doa.go.th/cleancass

หมายเลขบันทึก: 439030เขียนเมื่อ 12 พฤษภาคม 2011 08:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มกราคม 2019 16:11 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

อยากเลี้ยงแตนเบียนต้องทำอย่างไรบ้าง และมีขั้นตอนอย่างไร

ต้องมีเพลี้ยแป้งมันสำปะหลังสีชมพู จะเลี้ยงบนต้นมันสำปะหลัง หรือฟักทอง หรือเลี้ยงไว้ในแปลงต้องพิจารณาสถานการณ์ หน้าฝนจะหาเพลี้ยแป้งยาก ต้องเลี้ยงในโรงเรือน ศึกษาวงชีวิตเขาก่อน การเลี้ยงที่ใกล้ที่สุดน่าจะอยู่ที่สวพ 4 ที่เล็ก ๆ แต่เลี้ยงได้มาก ถ้าไปแถวสว่างวีรวงศ์แวะไปดูเพื่อเพิ่มความมั่นใจ นัดอาจารย์โสภิตาก่อนก็ได้ เบอร์ที่ทำงาน 0864657595

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท