KM ที่รัก ตอนที่ 40 "การวิจัยแบบติดชึ่ง"


ถ้าเราไม่จัดการความรู้ ความไม่รู้ก็จะมาจัดการเรา
Action Research เป็นการวิจัยที่เรียกว่า "ตำตาตำใจ" Action แบบว่า "เต่ท่า" (ครูบาสุทธินัน์ )แต่ความหมายของ Action ที่ตรงใจที่สุด น่าจะเป็น "ติดชึ่ง" ชึ่งน่าจะมีความหมายว่าการไม่อยู่นิ่งมีการเคลื่อนไหว เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา เหมือนเราเต้นรำในสมัยก่อน ทำไมต้องมีการวิจัยแบบติดชึ่ง เนื่อง่จากประเทศไทยเราในปัจจุบันกำลังก้าวเข้าสู่สภาวะการล่มสลาย เราพัฒนาประเทศแบบหลงทาง ผู้นำไปเชื่อต่างชาติ เชื่อทฤษฏีทันสมัยนิยม ลืม "กำพืด" ตัวเองว่าเราเป็นประเทศเกษตรกรรมมีความเด่นทางความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติมากมาย ซึ่งประเทศตะวันตกหลายประเทศไม่มี เมื่อเขาไม่มีเขาจึงพยายาม หาจุดเด่นของเขาเพื่อพัฒนาประเทศ เช่นประเทศเยอรมันนี หลังแพ้สงครามโลก ประเทศเขาล่มสะลาย เขาพยายามหาวิธีการ ที่จะกอบกู้ประเทศให้กลับมาเจริญอีกครั้ง แต่เนื่องจากประเทศเขาเป็นเมืองหนาวที่ยาวนาน ทรัยพากรทางธรรมชาติมีน้อย (ที่เป็นอาหาร) แต่ตัวเยอรมันมีความเฉลี่ยวฉลาด มีระเบียบวินัยมากมีความผิดพลาดน้อยมาก และมีแร่เหล็กที่เป็นต้นทุนหลักของอุตสาหกรรม เยอรมันจึงเริ่มวางแผนการพัฒนาประเทศด้วยอุตสาหกรรมการผลิตรถยนต์และเครื่องจักรกล แต่ประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรม มีความหลากหลายทางชีวิภาพที่เป็นปัจจัยพื้นฐานของอาหารของมนุษย์อยู่แล้ว แต่เรากลับไปทำอุตสาหกรรมแข่งกับประเทศอื่น จึงทำให้เรามีแต่ตกเป็นเบี้ยล่างของการตลาด แสดงว่าเราไม่รู้จักตัวเองว่าเราเป็นใครมีน่าตาเป็นอย่างไร มีความสามารถอะไร เมื่อไม่รู้จักตัวเอง และไม่รูจักคนอื่น แล้วจะทำอะไรสำเร็จ ดังโปราณว่า "รู้เขารู้เรา รบร้อยครั้งชนะร้อยครั้ง" แสดงว่าการพัฒนาต้องเริ่มจากตัวเราเอง เมื่อพัฒนาตัวเองได้ดีแล้ว เข้าใจตัวเองแล้วจะสามารถเข้าใจคนอื่นและไปพัฒนาคนอื่นต่อไปได้ เพราะว่าคนที่ไม่รู้จักตัวเองย่อมไมรู้จัดคนอื่น "อย่าฝันว่าปลูกมะม่วงแล้วจะได้มะพร้าว" แต่ถ้าปลูกมะม่วงแล้วทำให้มะม่วงงามขึ้น จะดีมากครับ การวิจัยแบบ "ติดชึ่ง" ต้องเชื่อมโยงกับคนอื่นที่มีส่วนร่วมกับการทำงานเราเมื่อทำงานวิจัยแล้วต้องเกิดภาพรวมที่แท้จริง ซึ่งหลักการวิจัยแบบติดชึ่ง น่าจะสอดคล้องกับคำสอนของพระพุทธเจ้า คือ ไตรสิกขา ซึ่งได้แก่ ศิล สมาธิ และปัญญา ศิล คือการรับข้อมูล เห็นสัมผัส แบบปกติ ส่วนสมาธิ คือการกลั่นกรองและตกผลึก และปัญญา คือความสาว่างที่เกิดขึ้นหลักจากผ่าน ศิล สมาธิ มาแล้วก็คือ สามารถอธิบายเชิงเหตุผลได้อย่างลึกซึ่งนั่นเอง
หมายเลขบันทึก: 43892เขียนเมื่อ 9 สิงหาคม 2006 23:42 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 15:35 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท