Diglossia - สังคมที่มีภาษา 2 รูปแบบ


สังคมที่มีภาษา 2 รูปแบบในหนึ่งภาษา (two distinct codes or varieties of the same language) โดยเรียกว่ารูปแบบที่เป็นทางการ (high form) และรูปแบบทั่วไป (low form)

Diglossia

 

Diglossia หมายถึงสังคมที่มีภาษา 2 รูปแบบในหนึ่งภาษา (two distinct codes or varieties of the same language) โดยเรียกว่ารูปแบบที่เป็นทางการ (high form) และรูปแบบทั่วไป (low form) โดยที่ทั้งสองรูปแบบจะทำหน้าที่แตกต่างกัน รูปแบบที่เป็นทางการนั้นจะถูกใช้เป็นภาษาราชการ เป็นภาษาที่มีเกียรติ ใช้ในสถานที่ราชการ ในงานพิธีการ หรือในศาล ส่วนรูปแบบทั่วไป เป็นภาษาที่คนทั่วไปใช้พูดคุยกัน เช่น คนทั่วไปเวลาพูดคุยกับเพื่อนหรือครอบครัวจะใช้รูปแบบ low form ส่วนเวลาติดต่อราชการ หรือพูดแบบเป็นพิธีการก็จะใช้รูปแบบ high form ซึ่งภายในคนเดียวกันสามารถพูดทั้งสองรูปแบบ สลับกันไปมาได้ อย่างไรก็ตามการใช้งานในรูปแบบ high form (H) และ low form (L) ในแต่ละประเทศก็มีตวามแตกต่างกันไป โดยหน้าที่ของภาษาในรูปแบบทั้งสองนั้นถูกกำหนดโดยตัวภาษาเอง ไม่ได้กำหนดโดยผู้พูด ยกเว้น สถานการณ์ diglossic กลุ่มประเทศอาหรับที่ใช้ diglossia ในการแบ่งชนชั้น และประเทศกรีซ ที่ใช้ diglossia แบ่งความคิดทางการเมือง   

สถานการณ์ diglossic ในกลุ่มประเทศอาหรับ จะแบ่งรูปแบบของภาษาเป็น classical Arab (H) ซึ่งถือว่าเป็น high form และ colloquial varieties (L) ที่เป็น low form โดยที่ classical Arab (H) จะถูกใช้เป็นภาษามาตรฐานในทุกประเทศของอาหรับ ใช้พูดคุยกันในสังคมชนชั้นสูง เป็นภาษาที่ใช้ในพระคำภีร์ ใช้เขียนวรรณกรรมชั้นสูงที่เกี่ยวกับศาสนา ส่วน colloquial varieties (L) เป็นภาษาที่ชาวบ้านใช้ทั่วๆไป และใช้เขียนวรรณกรรมพื้นบ้าน ในการณีที่วรรณกรรมพื้นบ้านเรื่องใดเป็นที่น่าสนใจหรือได้รับความนิยมก็จะถูกแปลเป็นภาษา classical Arab (H) แต่ในทางกลับกัน ถ้าวรรณกรรมชั้นสูงที่เป็น classical Arab (H) อยู่แล้วจะไม่สามารถแปลเป็นภาษา colloquial varieties (L) ได้

ในประเทศกรีซ diglossia ใช้ในการแบ่งทัศนะคติทางการเมือง โดย Katharevousa (H) ใช้เป็น high form สำหรับพรรคอนุรักษ์นิยม ส่วน Dhimotiki (L) ใช้เป็น low form ของพรรคเสรีนิยม โดยที่พรรคอนุรักษ์นิยม เป็นรัฐบาลมาก่อนและมีการบังคับใช้ภาษาอย่างเข้มงวดมาก โดยกำหนดให้ประชาชนต้องใช้ Katharevousa (H) เป็นภาษาทางการเท่านั้น แต่ภายหลังการเลือกตั้งเมื่อปี 1960 พรรคเสรีนิยมได้ขึ้นเป็นรัฐบาลก็มีการใช้ภาษา Dhimotiki (L) มากขึ้น แต่ภายหลังปี 1967 ก็ถูกปกครองโดยพรรคคอมมิวนิส ภาษาจึงถูกแบ่งออกเป็น ฝ่ายซ้าย และ ฝ่ายขวา อย่างชัดเจน

ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ใช้ภาษา German (H) เป็นภาษาทางการ ส่วนในการใช้ชีวิตประจำวันจะใช้ภาษา Swiss-German (L) เด็กๆจะเรียนรู้ภาษา Swiss-German (L) ที่บ้านจากพ่อแม่ แต่พอเข้าเรียน ในโรงเรียนจะสอนด้วยภาษา Standard German (H) ทำให้สามารถเข้าถึงสื่อสิ่งพิมพิ์ต่างๆที่เป็นภาษา German ได้ แต่ชาว German ในประเทศสวิตเซอร์แลนด์ นิยมพูดคุยกันด้วยภาษา Swiss-German (L) เพื่อแสดงความเป็นหนึ่งเดียวและแสดงภาคภูมิใจเฉพาะกลุ่ม

 

 

ในสังคม diglossic ที่มี 2 codes เช่นนี้ ย่อมหนีไม่พ้นการพูดสลับกันไปมาระหว่างสองรูปแบบนี้ ทั้งที่ตั้งใจและไม่ได้ตั้งใจ โดยการพูดที่มีการสลับไปมาระหว่าง high form และ low form นี้เรียกว่า Code-Switching เช่น การบรรยายของอาจารย์ในห้องเรียนโดยใช้ high form แล้วเปลี่ยนมาพูดคุยแบบเป็นกันเองกับนักเรียนในระหว่างพัก โดยใช้ low form เป็นต้น เหตุผลที่ผู้พูดต้องพูดสลับไปมานั้น ก็เพื่อแสดงความเป็นกันเองและเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน (solidarity) หรือเพื่อแสดงทัศนะคติทางการเมือง หรือแสดงความสนิทสนมกลมกลืนกับผู้ฟัง หรือเพื่อให้สอดคล้องกับหัวข้อที่กำลังสนทนา และเพื่อให้สอดคล้องและลดช่องว่างของสังคมและวัฒนธรรม นั้นๆ

ประเภทของ Code-Switching นั้นแบ่งได้เป็น 2 ประเภท โดยประเภทแรกคือ Situational code-switching ซึ่งเป็นการปรับเปลี่ยนภาษาสลับไปมาตามสถานการณ์ ซึ่งจะง่ายในการคาดเดาและเป็นที่รู้กัน ว่าสถานการณ์แบบไหนควรพูดด้วย high form หรือ low form ส่วนประเภทที่สองคือ Metaphorical code-switching เป็นการปรับเปลี่ยนการพูดตามหัวข้อการสนทนา ซึ่งบางครั้งก็ต้องพูดด้วยภาษาที่เข้าใจง่าย หรือต้องพูดด้วยภาษาที่แสดงออกถึงอารมณ์ได้ดีกว่า และบางครั้งก็อาจต้องปรับภาษาตามความเหมาะสมอีกด้วย ซึ่งข้อดีของการปรับเปลี่ยนภาษาตามสถานการณ์และตามหัวข้อของสนทนานี้ จะทำให้ภาษาที่ใช้ในการสนทนามีความราบลื่น คู่สนทนารู้สึกดี รับรู้ถึงความเป็นพวกเดียวกัน โดยไม่มีช่องว่างทางภาษาเข้าเป็นอุปสรรคของการพูดคุย อีกทั้งยังทำให้ทั้งผู้พูดและผู้ฟังรับรู้ถึงการมีส่วนร่วมในหัวข้อสนทนานั้นๆด้วย

 

 

 

หมายเหตุ: บทความนี้เขียนขึ้นเพื่อเป็นการทบทวนการเรียนรายวิชาภาษาศาสตร์เชิงสังคม เรื่อง ภาษากับระดับชั้นในสังคม (Language and Social Class) หากมีข้อผิดพลาดประการใด ขอความกรุณา ท่านผู้รู้ทั้งหลาย โปรดชี้แนะ แนวทางที่ถูกต้องด้วยครับ ขอขอบคุณครับ

 

Name: Parinya Thongprapha

Student Code: 51922806

Lecturer: Dr. Ubon Dhanesschaiyakupa

Course Title: 227532 : Sociolinguistics

Graduate School, Burapha University, 2010

 

References

Trudgill, P. (2000). Sociolinguistics: an introduction to language and society. Suffolk: Clays Ltd.

Wardhaugh, R. (2002), an introduction to Sociolinguistics. Massachusetts: Blackwell Publishers Ltd

หมายเลขบันทึก: 438896เขียนเมื่อ 10 พฤษภาคม 2011 22:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:43 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

So, we have "high form of Language" and Plain and Simple form of Language.

We call one a "high class/society language" and the other a "common(ers') language" -- don't we?

I wish we can have only form of language -- a Plain and Simple form that we can understand ;-)

Many thanks for you comment krubbb.

"Plain and Simple form of Language" looks better than "Low form of Language", I agree krubbb :)

ขอบคุณท่านอาจารย์ขจิต ฝอยทอง ที่แวะมาให้กำลังใจครับบบ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท