KM พย.สสส. ครั้งที่ ๒ : ปัญญาปฏิบัติและเครือข่ายการสร้างเสริมสุขภาพ (๑)


Ba ยังมีอยู่ในตัวเราเองด้วย เป็นการเปิดพื้นที่ในสมอง ในใจของเราเอง

วันที่ ๒ พฤษภาคม ๒๕๕๔

หลังพิธีเปิดการประชุม ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช ประธานมูลนิธิสถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม (สคส.) และประธานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (กกอ.) ได้ให้เกียรติบรรยายพิเศษเรื่อง ขับเคลื่อนเครือข่ายการสร้างเสริมสุขภาพด้วยปัญญาปฏิบัติ

 

 

ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช

อาจารย์วิจารณ์ตีความว่าปัญญาปฏิบัติประกอบด้วย ๓ ส่วนคือ ความรู้ (ปริยัติ) การปฏิบัติ (ปฏิบัติ) การได้รับผลจากการปฏิบัติ (ปฏิเวธ) ต้องมีครบทั้ง ๓ ส่วนและเกื้อกูลกัน

ปัญญาปฏิบัติมองมุมหนึ่งเป็นเรื่องเฉพาะตน เรียนแทนกันไม่ได้ ถ้าพูดแรงกว่านั้นคือสอนกันไม่ได้ ต้องเรียนเอาเอง ไม่ใช่เรียนแค่จากฟังคนมาพูดหรือจากการอ่านหนังสือ ต้องลงมือปฏิบัติจึงจะลึกขึ้น อาจารย์ช่วยได้แต่เรียนแทนไม่ได้ (จัดทีมเรียนรู้ที่ดี โดยอาจารย์เป็น facilitator)

ปัญญาปฏิบัติเรียนรู้ร่วมกันได้ ยกระดับได้โดยกระบวนการรวมหมู่และ ลปรร. การทำ reflection หรือ AAR จะทำให้เข้าใจลึกขึ้น

ในการสร้างปัญญาสมัยใหม่ สร้างจากการปฏิบัติเยอะ จึงมี concept ความรู้ฝังอยู่ในตัวคน เรียก tacit knowledge บางคนไม่รู้ว่าตัวเองมี พูดไม่ได้ แต่ทำให้ดูได้ และอาจเล่าได้ด้วยว่าทำอย่างไร ถ้าจะรู้ว่าเขามี tacit knowledge หรือไม่ วิธีการที่จะรู้ว่ามีก็ให้เขาเล่าเรื่อง storytelling หรือ narrative เป็นวิธีที่จะทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้สิ่งที่เรียนรู้ยาก

ความรู้ที่อยู่ในคนหลายส่วนไม่ใช่วิธีการ แต่เป็นความเชื่อ กระบวนทัศน์ วิธีคิด ที่แต่ละคนไม่เหมือนกัน ดังนั้นการเรียนรู้เรื่องการปฏิบัติหลายๆ คน แล้วให้คนเล่าอย่างสบายใจ อย่างเปิดใจ เราจะได้ความรู้เยอะ

อาจารย์วิจารณ์เล่าว่าการทำงานที่ สคส.พอทำงานเสร็จแต่ละคนก็กลับมาเล่ากันว่าทำอะไร ได้ตระหนักว่าหลายอย่างเราทำไม่เป็น

ความรู้ที่เราคุ้นเคยคือ explicit knowledge ปัญหาคือเวลาเอาไปใช้ต้องใส่บริบทเข้าไปด้วย รู้กาละเทศะ ส่วนใหญ่จะใช้หลายทฤษฎี คนที่เอาไปใช้เก่ง จะต้องรู้จักปรับให้เข้ากับกาละเทศะ บางคนเรียนเก่ง แต่ทำงานได้ไม่ดีเพราะไม่รู้จักกาละเทศะ ต้องรู้จักผสมกลมกลืน ยิ่งทำงานไปยิ่งสั่งสมประสบการณ์ รู้จักผสมผสาน....

การตีความ tacit-explicit knowledge ไม่มีที่สิ้นสุด 

ปัญญาปฏิบัติเกิดจากการปฏิสัมพันธ์ระหว่างความรู้ ๒ ชนิดนี้และปฏิสัมพันธ์ระหว่างคนที่เข้ามาร่วมกัน

 

Concept ที่สำคัญเกี่ยวกับปัญญาปฏิบัติ เรียก SECI model

S (Socialization) ... การประชุมต้องเป็นแบบ socialization เป็นทางการน้อย ไม่ใช่การประชุมแบบแข็งๆ เพื่อให้เกิดปฏิสัมพันธ์ บรรยากาศที่เป็นกันเอง ความสัมพันธ์แนวราบ บรรยากาศสบายๆ แบบไม่กลัวถูกกลัวผิด...แต่ละคนจะตีความไม่เหมือนกัน ประเด็นสำคัญคือเราต้องการความแตกต่าง เป็นการ share tacit knowledge ที่ในสังคมไทยมักไม่กล้าพูดกัน บรรยากาศของ socialization ต้องทำให้ความไม่กล้าหายไป

E (Externalization) ... เอา tacit knowledge มาเป็นความรู้ที่ชัดเจน ที่เขียนออกได้ เกิดขึ้นในเวลาเดียวกัน ถ้าเราทำงานเป็น วงนี้จะหมุนวันละไม่รู้กี่รอบ ในวงย่อยๆ I=individual มาแลกเปลี่ยนกัน แล้วเขียนออกมาจะได้เป็นเอกสาร หรือ multimedia เป็น knowledge ที่ส่งต่อหรือถ่ายทอดกันได้ง่าย

C (Combination) เอา knowledge มาจัดหมวดหมู่ตามความต้องการการใช้งาน ไม่ใช่หมวดหมู่ลอยๆ

I (Internalization) เอา knowledge ไปใช้งาน ใส่เข้าไปในวิธีทำงาน ถ้าในธุรกิจก็ใส่ไปในสินค้า การบริการลูกค้า

กระบวนการนี้จะหมุนอยู่เรื่อยไป ในองค์กรที่มีความสามารถมีการใช้เครื่องมือง่ายๆ วันละหลายรอบ อย่างเป็นธรรมชาติ เราสามารถใช้ความเข้าใจนี้ไปทำกระบวนการให้เข้มแข็งยิ่งขึ้น

Ba, Prof.Nonaka อธิบายว่า ba คือพื้นที่สำหรับปฏิสัมพันธ์ที่ดีและเกิดการ ลปรร. อย่างมีประสิทธิภาพ เกิด ณ ทุกจุดของการทำงาน... ในองค์กรทั่วไปซึ่งเป็นองค์กรที่เน้นการบังคับบัญชา ต้องทำอะไรทุกอย่างไปตามที่กำหนดไว้ เรารู้สึกว่าไม่ดีก็ไม่กล้า ลปรร. กับใคร เพราะกังวลว่าจะไม่ตรงกับมาตรฐาน ทั้งๆ ที่มองว่าน่าจะดีกว่า แสดงว่าในที่นั้นไม่มี Ba หรือมีก็เหมือนไม่มี

Ba ยังมีอยู่ในตัวเราเองด้วย เป็นการเปิดพื้นที่ในสมอง ในใจของเราเอง

พื้นที่สำหรับการ ลปรร. เป็นเรื่องสำคัญมาก ในองค์กรที่ประสบความสำเร็จสูง ต้องหาวิธีที่จะทำสิ่งต่างๆ ให้ดีกว่าเดิมตลอดเวลาและดีกว่าคู่แข่งด้วย

Ba มีหลายแบบ ตั้งแต่กินกาแฟด้วยกัน (คนไทยมีความสุขกว่าคนญี่ปุ่น ซึ่งต้อง drinking เมา แต่เมาแล้วน่ารัก ไม่ระราน) project team จนถึงการใช้ virtual space ตั้งแต่ไม่เป็นทางการอย่างยิ่ง นี่คือพื้นที่แลกเปลี่ยนเรียนรู้ แล้วแต่ว่าเราจะใช้คุยกันเรื่องอะไร เป็นความสุข

วัลลา ตันตโยทัย

หมายเลขบันทึก: 438890เขียนเมื่อ 10 พฤษภาคม 2011 22:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:43 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท