การรับรู้และตอบสนองต่อสิ่งเร้าของสิ่งมีชีวิต


 

                                  หน่วยการเรียนรู้ที่  1

การรับรู้และตอบสนองต่อสิ่งเร้าของสิ่งมีชีวิต

เวลา   2  คาบ

จุดประสงค์การเรียนรู้

1. จุดประสงค์ปลายทาง 

หลังจากที่ได้ศึกษาหน่วยการเรียนนี้แล้ว  นักเรียนสามารถ

1.1 นักเรียนสามารถอธิบายพัฒนาการของระบบประสาทในสิ่งมีชีวิตในสายวิวัฒนาการได้

2. จุดประสงค์นำทาง 

หลังจากที่ได้ศึกษาหน่วยการเรียนนี้แล้ว  นักเรียนสามารถ 

2.1    ระบุโครงสร้างที่ใช้ในการรับรู้และตอบสนองต่อสิ่งเร้าของสัตว์ที่มีกระดูกสันหลัง  สัตว์ที่ไม่มีกระดูกสันหลังและโปรโตซัวในสายวิวัฒนาการได้

2.2    เปรียบเทียบประสิทธิภาพของการทำงานของโครงสร้างในสัตว์ที่มีกระดูกสันหลัง  สัตว์ที่ไม่มีกระดูกสันหลังและโปรติสต์ได้

สาระสำคัญ

        1.   สิ่งมีชีวิตทุกชนิดสามารถรับรู้และตอบสนองต่อสิ่งเร้าได้  แต่ความสามารถในการรับรู้ของสิ่งมีชีวิตแต่ละชนิดจะแตกต่างกันไป

        2.   การตอบสนองต่อสิ่งเร้าพบได้ในสิ่งมีชีวิตทุกชนิด  แต่ความสามารถในการตอบสนอง  (irritability) ของสิ่งมีชีวิตแต่ละชนิดจะแตกต่างกันไปตามลักษณะโครงสร้างของร่างกายและวิธีการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิตชนิดนั้นๆ  ในสิ่งมีชีวิตชั้นต่ำ  จะมีกลไกการตอบสนองต่อสิ่งเร้าเป็นแบบง่ายๆ  ไม่ซับซ้อน  เพราะยังไม่มีระบบประสาท  แต่ในสิ่งมีชีวิตชั้นสูงขึ้นไป  จะมีความสามารถในการตอบสนองต่อสิ่งเร้าด้วยกลไกที่ซับซ้อนขึ้น  เพราะมีการพัฒนาของระบบประสาท  (nervous system)  และระบบต่อมไร้ท่อ (endocrine gland)  มาทำงานร่วมกันเป็นระบบประสาท (co – ordinating  system)  คอยควบคุมให้การทำงานของอวัยวะภายในและส่วนต่างๆ  ของร่างกายให้ทำงานได้ตามปกติ

เนื้อหา

ตอนที่  1     การรับรู้และตอบสนองต่อสิ่งเร้าของโปรโตซัว

ตอนที่  2     การรับรู้และตอบสนองต่อสิ่งเร้าของสัตว์ที่ไม่มีกระดูกสันหลัง

ตอนที่  3     การรับรู้และตอบสนองต่อสิ่งเร้าของสัตว์ที่มีกระดูกสันหลัง

การรับรู้และตอบสนองต่อสิ่งเร้าของโปรโตซัว 

                สิ่งมีชีวิตขนาดเล็กพวกโปรโตซัวยังไม่มีเซลล์ประสาท  แต่สามารถรับรู้ได้เพราะมีโครงสร้างบางส่วนของเซลล์ที่ทำหน้าที่ตอบสนองต่อสิ่งเร้าต่างๆ  ไม่ว่าจะเป็นแสงสว่าง  อุณหภูมิ  สารเคมีและวัตถุที่มาสัมผัส  โดยการเคลื่อนที่เข้าหาหรือเคลื่อนที่หนี 

ตัวอย่างเช่น  พารามีเซียม  จะตอบสนองต่อแสงสว่าง  อุณหภูมิ  สารเคมี  โดยการเคลื่อนที่หนีหรือเคลื่อนที่เข้าหา    จากการศึกษาพบว่า   ที่ใต้เยื่อหุ้มเซลล์มีเส้นใยเชื่อมโยงระหว่างโคนซิเลีย   เราเรียกเส้นใยนี้ว่า  เส้นใยประสานงาน  (co – ordinating fiber)  ทำหน้าที่รับ  –  ส่งความรู้สึก  และควบคุมการเคลื่อนไหวของซิเลีย   ให้ประสานกันอย่างมีระเบียบระหว่างการเคลื่อนที่  และควบคุม       ให้ซิเลียพัดโบกไปมาได้

การรับรู้และตอบสนองต่อสิ่งเร้าของสัตว์ที่ไม่มีกระดูกสันหลัง

สัตว์ที่ไม่มีกระดูกสันหลังมีกลไกการรับรู้และตอบสนองต่อสิ่งเร้าแตกต่างไปตามความซับซ้อนของระบบประสาท  ตัวอย่างเช่น

                1.   สัตว์ในไฟลัมซีเลนเทอราตา   (Phylum  Coelenterata)   เช่น  ไฮดรา     แมงกะพรุน                      ซีแอนนีโมนี  ฯลฯ  พบว่ามีเส้นประสาทเชื่อมโยงคล้ายร่างแห  เรียกว่า  ร่างแหประสาท  (nerve net)  สามารถเชื่อมโยงได้ทุกทิศทาง  กล่าวคือ  เมื่อร่างกายส่วนใดส่วนหนึ่งถูกกระตุ้น  เช่น  ใช้เข็มแทงตรงปลายเทนตาเคิลของไฮดรา  จะพบว่าที่เทนตาเคิลและส่วนอื่นๆ  ของร่างกายหดสั้นลง  แสดงว่าจะต้องมีบางสิ่งบางอย่างเคลื่อนที่จากบริเวณที่ถูกกระตุ้นไปยังส่วนอื่นๆ  ของร่างกาย  อันมีผลทำให้ร่างกายของไฮดราหดสั้นลง  เนื่องจากไฮดราเป็นสัตว์ที่มีเนื้อเยื่อ  2  ชั้น  จึงมีเซลล์ประสาทแทรกกระจายอยู่ระหว่างเนื้อเยื่อ  2  ชั้น  โดยสานกันเป็นร่างแห  กระแสประสาทเคลื่อนที่ในอัตราที่ค่อนข้างช้ากว่าการเคลื่อนที่ของกระแสประสาทในสัตว์ชั้นสูงมาก    และกระแสประสาทกระจายออกไปมีทิศทางไม่แน่นอน

                ร่างแหประสาทของไฮดรามีประสิทธิภาพต่ำเพราะ

                1.   ขาดศูนย์กลางของระบบประสาท  เช่น  สมอง  ไขสันหลัง  ปมประสาท  เส้นประสาท  มาคอยควบคุมการทำงานของร่างกาย

                2.   กระแสประสาทเคลื่อนที่ในอัตราที่ช้ากว่าการเคลื่อนที่ของกระแสประสาทในสัตว์ชั้นสูงมาก

                3.   ทิศทางของกระแสประสาทตามใยประสาทยังไม่แน่นอน

                4.   เมื่อถูกกระตุ้น  จะตอบสนองทั้งอวัยวะหรือทั้งร่างกาย  ยังไม่สามารถตอบสนองเฉพาะจุดหรือบริเวณที่ถูกกระตุ้นได้

                ในสัตว์ที่มีกระดูกสันหลังเราพบร่างแหประสาทที่บริเวณผนังลำไส้ ทำหน้าที่ควบคุมกระบวนการเพอริสทัลซิส  ช่วยให้อาหารเคลื่อนที่ผ่านไปได้

                2.  สัตว์ในไฟลัมแพลตีเฮลมินเทส  (Phylum  Platyhelminthes)   เช่น  พลานาเรีย  พยาธิตัวตืด  พยาธิใบไม้  ฯลฯ  พบว่า  เริ่มมีการรวมตัวของเซลล์ประสาทเป็นกลุ่มที่ส่วนหัว  เรียกว่า  ปมประสาท  (nerve ganglion)  ซึ่งเป็นศูนย์รวมประสาทและมีเส้นประสาทแยกออกไป  2  ข้าง  ข้างละเส้นทอดยาวตลอดตัวทางด้านท้อง  (ventral nerve cord)  โดยมีเส้นประสาทเชื่อมโยงถึงกันเป็นระยะๆ  เป็นรูปขั้นบันได  จึงเรียกว่า  ระบบประสาทแบบขั้นบันได   และมีแขนงเล็กๆ  แยกออกไปด้านข้างๆ  เพื่อไปเลี้ยงกล้ามเนื้อบริเวณข้างๆ  ลำตัว 

                3.  สัตว์ในไฟลัมแอนนีลิดา  (Phylum Annelida)  เช่น  ไส้เดือนดิน  ปลิง  แม่เพรียง  ฯลฯ  พบว่ามีจำนวนปมประสาทที่บริเวณหัวเพิ่มมากขึ้นและเรียงต่อกันเป็นวงแหวน  (สมอง)  ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางของระบบประสาท  และเส้นประสาทยาวตลอดตัวทางด้านท้อง (ventral nerve cord)  เส้นประสาทอันนี้แท้จริงแล้วเป็น  2  เส้นคู่กันแต่เชื่อมกันจนดูคล้ายกับว่าเป็นเส้นเดียว  ตรงกลางปล้องแต่ละปล้องเส้นประสาทนี้จะพองออกเป็นปมประสาท  และมีแขนงประสาทแยกออกไปยังผนังลำตัวและอวัยวะที่อยู่ใกล้เคียง

                4.  สัตว์ในไฟลัมอาร์โทรโพดา  (Phylum Arthropoda)   เช่น  แมลง  กุ้ง  มด  ฯลฯ    พบว่า                   มีปมประสาทอยู่ที่ส่วนหัว (สมอง)  และลำตัว  ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางของระบบประสาทและเป็นศูนย์รวมอยู่เป็นระยะตามแนวกลางลำตัว  มีเส้นประสาททอดยาวตลอดลำตัว  (ventral nerve cord)  ของแต่ละปล้องก็จะมีปมประสาทและใยประสาทยื่นออกมา

5.  สัตว์ในไฟลัมมอลลัสกา  (Phylum  Mollusca)  เช่น  หอยต่างๆ  หมึกทะเล  ลิ่นทะเล  ฯลฯ  พบว่าตามปกติประกอบด้วยปมประสาท  3 คู่  เชื่อมกันโดยเส้นประสาทตามยาวและตามขวาง          นอกจากนั้นยังมีอวัยวะสำหรับการสัมผัส  ดมกลิ่นหรือลิ้มรส  และอวัยวะรับความรู้สึกในการทรงตัว

            6.  สัตว์ในไฟลัมเอไคโนเดอมาตา  (Phylum  Echinodermata) เช่น  ดาวทะเล  เม่นทะเล  ปลิงทะเล  ฯลฯ  พบว่าระบบประสาทเป็นแบบวงแหวน  (nerve ring)  อยู่รอบปากแล้วมีแขนงแยกออกไปตามส่วนต่างๆ  ตามแนวรัศมี

                จากตัวอย่างดังกล่าวจะเห็นได้ว่า  ระบบประสาทของสัตว์มีวิวัฒนาการโดยเริ่มจากระบบประสาทที่มีเซลล์กระจายอยู่ทั่วร่าง  มาเป็นระบบประสาทที่มีการรวมตัวของเซลล์ประสาทเป็นอวัยวะ  และพัฒนาศูนย์ควบคุมของระบบประสาทให้อยู่ที่ส่วนหัว

การรับรู้และตอบสนองต่อสิ่งเร้าของคน และสัตว์มีกระดูกสันหลัง 

                สัตว์ที่มีวิวัฒนาการสูงขึ้นจะมีจำนวนเซลล์ประสาทภายในร่างกายเพิ่มมากขึ้นตามลำดับ  และ           มีการเปลี่ยนตำแหน่งจากระบบประสาทที่อยู่ทางด้านท้อง (ventral) มาอยู่ทางด้านหลัง (dorsal) สำหรับคนและสัตว์มีกระดูกสันหลังจะมีระบบประสาทที่พัฒนามาก  จะมีศูนย์ควบคุมการทำงานอยู่ที่ระบบประสาทส่วนกลาง  ซึ่งประกอบด้วย  สมอง (brain)  และไขสันหลัง (spinal cord) อวัยวะเหล่านี้ประกอบด้วยเซลล์ประสาทจำนวนมาก  เซลล์ประสาทแต่ละเซลล์นั้นจะประกอบด้วยตัวเซลล์และใยประสาทที่แยกออกจากตัวเซลล์ (cell processes)  มีปมประสาท  และเส้นประสาทแยกออกจากสมองและไขสันหลัง

 

กิจกรรมการเรียนการสอน 

                                1.   กระบวนการเรียนรู้ 

1.1     กระบวนการสร้างความตระหนัก

 

                                2.   กิจกรรมการเรียนการสอน 

                                      2.1   การนำเข้าสู่บทเรียน 

                                                  2.1.1   สังเกต  ครูนำเข้าสู่บทเรียนโดยการยกรูปภาพเกี่ยวกับนักเรียนที่สอบเข้ามหาวิทยาลัยได้  บางคนสอบได้แสดงความดีใจ  บางคนสอบไม่ได้เสียใจ  ให้นักเรียนดู  1  นาทีหรือนักเรียนอาจจะโบกมือผ่านใบหน้าเพื่อนในระยะใกล้ ๆ  เพื่อนก็จะกะพริบตาและสนทนาซักถาม       นักเรียนตามแนวคำถามดังต่อไปนี้

                                                                1.  นักเรียนสังเกตพฤติกรรมของเพื่อน ๆ  ในรูปภาพเป็นอย่างไร   (บางคนดีใจ  บางคนเสียใจ   บางคนกะพริบตา)

                                                                2.  พฤติกรรมที่แสดงออกเป็นการเรียนรู้และตอบสนองต่อสิ่งมีชีวิตชนิดใด (สัตว์ที่มีกระดูกสันหลัง)

                                                                3.  เมื่อนักเรียนโบกมือผ่านใบหน้าเพื่อนในระยะใกล้ ๆ  เพื่อนจะ    กะพริบตา  พฤติกรรมดังกล่าวบอกให้เราทราบว่าอย่างไร  (การกะพริบตา  คือ การแสดงออกอาการตอบสนองต่อการโบกมือซึ่งเป็นสิ่งเร้า)

                                                                4.  นักเรียนคิดว่ามีสิ่งมีชีวิตชนิดนั้น ๆ   หรือไม่ที่สามารถตอบสนองต่อสิ่งเร้าได้  (คำตอบอาจตอบว่ามี)  ถ้ามีนักเรียนคิดว่าสิ่งมีชีวิตชนิดนั้น ๆ  ใช้โครงสร้างอะไรในการรับรู้และตอบสนอง

                                                                5.  สิ่งมีชีวิตแต่ละชนิดมีการรับรู้และตอบสนองต่อสิ่งเร้าอย่างไร     (สิ่งมีชีวิตทุกชนิด  สามารถรับรู้และตอบสนองต่อสิ่งเร้าได้แตกต่างกัน  โดยเฉพาะคนและสัตว์แสดงพฤติกรรมการรับรู้และตอบสนองได้ชัดเจนที่สุด)

                                       2.2   การดำเนินการสอน 

                                                   2.2.1   วิเคราะห์วิจารณ์  จากการศึกษาค้นคว้าพบว่าสิ่งมีชีวิตแต่ละชนิดมีการรับรู้และตอบสนองต่างกันนี้ ครู ให้นักเรียนคิดวิเคราะห์การรับรู้และตอบสนองของสิ่งมีชีวิตแต่ละประเภทโดยแบ่งนักเรียนเป็น  9   กลุ่ม  กลุ่มละ  5-6    คน  นักเรียนแต่ละกลุ่มมีความสามารถต่างกันทั้งเพศชายและหญิง  ครูชี้แจงให้นักเรียนในกลุ่มทราบว่าหน้าที่ของนักเรียนแต่ละคนในกลุ่มว่านักเรียนจะต้องช่วยเหลือเรียนร่วมกัน  อภิปรายร่วมกัน  ตรวจสอบคำถามของงานที่ได้รับมอบหมายและแก้ไข       คำตอบร่วมกัน  สมาชิกทุกคนในกลุ่มต้องทำงานให้ดีที่สุดเพื่อให้เกิดความรู้  ให้กำลังใจและทำงาน    ร่วมกัน  ให้นักเรียนศึกษาใบความรู้ที่ 1.1  และร่วมกันอภิปราย  ตามหัวข้อที่กำหนดให้โดยการจับฉลาก ดังนี้       

 

                                                             กลุ่มที่ 1     ศึกษาการรับรู้และตอบสนองของพวกโปรติสต์  (Protista)

                                                             กลุ่มที่ 2     ศึกษาการรับรู้และตอบสนองของสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง            ไฟลัมซีเลนเทอราตา  (Phylum  Coelenterata)

                                                             กลุ่มที่ 3     ศึกษาการรับรู้และตอบสนองของสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง        ไฟลัมแพลตีเฮลมินเทส  (Phylum  Platyhelminthes)

                                                             กลุ่มที่ 4      ศึกษาการรับรู้และตอบสนองของสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง        ไฟลัมแอนนีลิดา  (Phylum  Annelida)

                                                             กลุ่มที่ 5     ศึกษาการรับรู้และตอบสนองของสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง          ไฟลัมอาร์โทรโพดา  (Phylum  Arthropoda)

                                                             กลุ่มที่ 6     ศึกษาการรับรู้และตอบสนองของสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง        ไฟลัมมอลลัสกา  (Phylum  Mollusca)

                                                             กลุ่มที่ 7     ศึกษาการรับรู้และตอบสนองของสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง         ไฟลัมเอไคโนเดอมาตา  (Phylum  Echinodermata)

                                                             กลุ่มที่ 8     ศึกษาการรับรู้และตอบสนองของสัตว์มีกระดูกสันหลัง             

                                                2.2.2   ให้แต่ละกลุ่มศึกษาเนื้อหาจากใบความรู้ที่ครูแจกให้   และใช้สื่อ              ข้างล่างนี้ประกอบการศึกษา  แล้วสรุปเป็นความเห็นของกลุ่มใช้เวลาประมาณ 20 นาที 

1.      หนังสือเรียนวิชาชีววิทยา  เล่ม 5  ว 044  หน้า 3 – 6

2.      หนังสือเรียนวิชาชีววิทยา  ชั้น ม.6   ประณต   อักษรสุวรรณ     และคณะ   หน้า 47 - 49

3.      หนังสือเรียนวิชาชีววิทยา  เล่ม 1  ชั้น ม.6   พัชรี  พิพัฒวรรณกุล        หน้า 4 - 7

4.      หนังสือเรียนวิชาชีววิทยา 1  เชาวน์   ชิโนรักษ์,  พรรณี  ชิโนรักษ์        หน้า 599 – 601

5.      คู่มือชีววิทยา ม .6  เล่ม 5 ว 044  วีรวรรณ มหาวีโร หน้า 12-14

6.      คู่มือเตรียมสอบชีววิทยา  ม.6  เล่ม 5 ว 044  สมาน  แก้วไวยุทธ        หน้า 1 – 9

7.      คู่มือเตรียมสอบ  ชีววิทยา  ม.6  เล่ม 5 ว 044  เกษม  ศรีพงษ์             หน้า 5 - 7

8.      แผ่นใส  จำนวน 4 แผ่น  แสดงแผนภาพของระบบประสาทของสัตว์ชนิดต่าง ๆ

                                                2.2.3   ให้นักเรียนจดบันทึกสาระสำคัญที่ได้จากการศึกษาลงในสมุดจดบันทึกของนักเรียนแล้วนำส่งครูผู้สอน

                                                2.2.4   ครูตรวจสอบการปฏิบัติงานโดยการตรวจงานที่นักเรียนทำงาน และครูให้ความรู้เพิ่มเติม

                                                2.2.5  ตัวแทนนักเรียนแต่ละกลุ่มบันทึกลงในปฏิบัติงานออกมานำเสนอ     หัวข้อที่ได้รับมอบหมาย  หน้าชั้นเรียน  พร้อมทั้งใช้สื่อแผ่นใส  อธิบายประกอบ  การอภิปราย       ครูเสริมและให้การยกย่องนักเรียนเพื่อให้เกิดความภูมิใจในกลุ่ม

                                        2.3   การสรุปบทเรียน

                                               2.3.1   ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปการรับรู้และการตอบสนองของสิ่งมีชีวิตแต่ละชนิดว่ามีใครงสร้างอะไรบ้าง ในการรับรู้และตอบสนองต่อสิ่งเร้าของพวกโปรติสต์,  สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังและสัตว์ที่มีกระดูกหลังได้อย่างถูกต้อง

                                               2.3.2   ให้นักเรียนตอบคำถามในใบงานที่ 1.2 ได้ถูกต้อง

                                             2.3.3  นักเรียนสามารถระบุโครงสร้างและเปรียบเทียบประสิทธิภาพ                  การทำงานของโครงสร้างต่างๆ  ได้

 

ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ที่ปรากฏแก่นักเรียน

1.       ทักษะการสังเกต

2.       ทักษะการจำแนกประเภท

3.       ทักษะการแปลความหมายข้อมูลและลงข้อสรุป

4.       ทักษะการลงความเห็นจากข้อมูล

 

สื่อการเรียนการสอน

1.       รูปภาพนักเรียนที่แสดงความดีใจ  เสียใจในการสอบเข้ามหาวิทยาลัย

2.       ใบความรู้ที่  1.1  เรื่อง  การรับรู้และตอบสนองต่อสิ่งเร้าของสิ่งมีชีวิต

3.       ใบงานที่  1.1  เรื่อง  การรับรู้และตอบสนองต่อสิ่งเร้าของสิ่งมีชีวิต

4.       ใบงานที่  1.2  เรื่อง  การรับรู้และตอบสนองต่อสิ่งเร้าของสิ่งมีชีวิต

5.       ใบปฏิบัติงานที่  1.1  เรื่อง  การรับรู้และตอบสนองต่อสิ่งเร้าของสิ่งมีชีวิต

6.       หนังสือเรียนวิชาชีววิทยา  เล่ม 5  ว 044  หน้า 3 – 6

7.       หนังสือเรียนวิชาชีววิทยา   ม.6  ประณต  อักษรสุวรรณและคณะ  หน้า 47 - 49

8.       หนังสือเรียนวิชาชีววิทยา  เล่ม 1  ชั้น ม.6 (ว 044)  พัชรี   พิพัฒวรรณกุล  หน้า 4 – 7

9.       หนังสือเรียนวิชาชีววิทยา 1  เชาวน์   ชิโนรักษ์,  พรรณี  ชิโนรักษ์  หน้า 599 – 601

10.    คู่มือชีววิทยา ม .6  เล่ม 5 ว 044  วีรวรรณ มหาวีโร หน้า 12-14

11.    คู่มือเตรียมสอบชีววิทยา  ม.6  เล่ม 5 ว 044  สมาน  แก้วไวยุทธ  หน้า 1 – 9

12.    คู่มือเตรียมสอบ  ชีววิทยา  ม.6  เล่ม 5 ว 044  เกษม  ศรีพงษ์ หน้า 5-7

 

13.    แผ่นใส  จำนวน 4 แผ่น  แสดงแผนภาพของระบบประสาทตาม   รูปที่ 1.1 – 1.7 ดังนี้

แผ่นที่ 1   รูป  1.1      ก.   แสดงซิเลียและเส้นใยประสานงานรอบ ๆ เซลล์

   รูป  1.1      ข.  แสดงเส้นใยประสานงานของตัวพารามีเซียม

แผ่นที่ 2   รูป   1.2           แสดงเซลล์ประสาทที่ชั้นของเนื้อเยื่อและร่างแหประสาท      ของไฮดรา

แผ่นที่ 3   รูป   1.3           แสดงระบบประสาทของสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง ชนิดต่าง ๆ

ก.    พลานาเรีย

ข.      ไส้เดือนดิน

ค.      แมลง

แผ่นที่ 4   รูป  1.7           แสดงระบบประสาทของสมองและไขสันหลังและเส้นประสาท    ของคน

 14.  แบบทดสอบท้ายหน่วยที่ 1

 

แหล่งการเรียนรู้

                -   ห้องสมุดกาญจนาภิเษก

                -   ห้องสมุดศูนย์วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

                -   อินเตอร์เน็ต

 

การวัดผลและประเมินผล 

1.       วัดผลและประเมินผลตามจุดประสงค์การเรียนรู้ 

2.       วิธีการประเมินผล 

2.1    สังเกตการปฏิบัติงานกลุ่มเกี่ยวกับการศึกษาค้นคว้าข้อมูลที่ได้รับมอบหมาย

2.2    ประเมินผลงานที่ค้นคว้า

2.3    ตรวจใบงานที่ 1.2  และใบปฏิบัติงานที่ 1.1

2.4    ทดสอบความรู้ท้ายบทวัดจากการทำแบบทดสอบท้ายหน่วยการเรียน

3.     เครื่องมือในการประเมินผล 

3.1    แบบสังเกตพฤติกรรมการเข้าร่วมกิจกรรมกลุ่ม

3.2    แบบประเมินการเสนอผลงานของกลุ่ม

3.3    ใบปฏิบัติงานที่ 1.1  เรื่อง  การรับรู้และตอบสนองต่อสิ่งเร้าของสิ่งมีชีวิต

3.4    ใบงานที่  1.2  เรื่อง  การรับรู้และตอบสนองต่อสิ่งเร้าของสิ่งมีชีวิต

3.5    แบบทดสอบท้ายหน่วยการเรียนที่  1

 

4. เกณฑ์การวัดและประเมินผล 

4.1   นักเรียนได้คะแนนการประเมินพฤติกรรมการเข้าร่วมกิจกรรมกลุ่ม   เกณฑ์การให้คะแนน  4 = ดีมาก,  3 = ดี,   2 = ปานกลาง,   1 = ปรับปรุง  (ผ่านเกณฑ์   ร้อยละ 50)              เกณฑ์การตัดสินคุณภาพ  ช่วงคะแนน   16 – 20     =    ดี

             11– 15      =   พอใช้

                                                                                                                1 – 10    =   ปรับปรุง

4.2    นักเรียนได้คะแนนการประเมินการเสนอผลงานกลุ่ม เกณฑ์การให้คะแนน 

        4 = ดีมาก, 3 = ดี, 2 = ปานกลาง, 1 = ปรับปรุง  (ผ่านเกณฑ์   ร้อยละ 50)              

                                     เกณฑ์การตัดสินคุณภาพ  ช่วงคะแนน   15 – 20      =    ดี

  7 – 14    =    พอใช้

  1 –  6      =    ปรับปรุง

4.3    นักเรียนได้คะแนนจากใบปฏิบัติงาน ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 50

4.4    นักเรียนตอบคำถามในใบงานที่ 1.2 ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 50

4.5    นักเรียนได้คะแนนจากแบบทดสอบท้ายหน่วยการเรียน ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 50

 

 

 

คุณลักษณะอันพึงประสงค์ที่ปรากฏแก่นักเรียน

 

ข้อที่

คุณลักษณะอันพึงประสงค์

1

 

2

3

4

 

5

 

6

ขยัน  ซื่อสัตย์  เสียสละ  อดทน  สามัคคี  มีวินัย   มีความรับผิดชอบ  คำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวม

เห็นคุณค่าของตนเองและผู้อื่น  มีความมั่นคงทางอารมณ์

ใฝ่รู้  ใฝ่เรียน  รู้วิธีการเรียนรู้  รักการอ่าน  มีเจตคติที่ดีต่อการเรียนรู้

มีทักษะในการทำงาน  การจัดการ  รักการทำงาน  มีเจตคติที่ดี

ต่องานและอาชีพสุจริต

มีความรู้และทักษะด้านคณิตศาสตร์  วิทยาศาสตร์  เทคโนโลยีและวิทยาการด้านอื่น ๆ

มีความคิดเชิงระบบ  คิดอย่างมีวิจารณญาณและคิดอย่างสร้างสรรค์

 

 

 

 

ตำราและหนังสืออ่านประกอบ 

 

เกษม  ศิริพงษ์. คู่มือเตรียมสอบชีววิทยา ม.6 เล่ม 5 044. กรุงเทพฯ : ภูมิบัณฑิต, 2537.หน้า 5-7

เชาวน์  ชิโนรักษ์  และพรรณี  ชิโนรักษ์.  ชีววิทยา 1. พิมพ์ครั้งที่ 5.  กรุงเทพฯ: ศิลปบรรณาการ, 2540.

            หน้า  599 – 601

ประณต  อักษรสุวรรณและคณะ. ชีววิทยา ม.6.  กรุงเทพฯ : ภูมิบัณฑิต, ม.ป.ป. หน้า  47 – 49

พัชรี  พิพัฒวรรณกุล.  ชีววิทยา  ม. 6 เล่ม 1 044.  :  กรุงเทพฯ : ฟิสิกส์เซนเตอร์, 2538. หน้า  4 - 7.

วีรวรรณ  มหาวีโร.  คู่มือชีววิทยา  ม. 6 เล่ม 5  ว 044. : กรุงเทพฯ : เดอะบุ๊คส์ จำกัด, ม.ป.ป. หน้า  12 – 14

สมาน   แก้วไวยุทธ. Analytical  Biology ชีววิทยา ม. 6 เล่ม 5 044. กรุงเทพฯ : ไฮเอ็ดพับลิชชิ่ง,  2536. 

             หน้า 1 – 9

สุคนธ์  สินธพานนท์และคณะ. การจัดกระบวนการเรียนรู้เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ : กรุงเทพฯ :

             อักษรเจริญทัศน์, 2545.  หน้า  237

ส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี,  สถาบัน.  คู่มือครูวิชาชีววิทยา ว 044. พิมพ์ครั้งที่ 1. 

             กรุงเทพฯ  :  โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว,  2533.  หน้า  5 – 7

ส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี,  สถาบัน.  หนังสือเรียนวิชาชีววิทยา เล่ม 5  ว 044. พิมพ์

             ครั้งที่ 10.   กรุงเทพฯ  :  โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว,  2544.  หน้า  3 – 6

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

แบบทดสอบท้ายหน่วยการเรียนที่  1 

 

คำสั่ง    ให้นักเรียนทำเครื่องหมายกากบาท (X) ลงในข้อ  1, 2, 3 หรือ  4  ที่เห็นว่าถูกต้องที่สุดเพียง

ข้อเดียวในกระดาษคำตอบ

1.      ลักษณะระบบประสาทแบบ co - ordinating fiber  เป็นอย่างไร  พบในสัตว์จำพวกใด

1.      แบบร่างแหประสานกัน  พบในพารามีเซียม

2.      แบบเส้นใยประสานกัน  พบในพารามีเซียม

3.      เส้นประสาทรวมกันเป็นปมประสาท  พบในแมลง

4.      เส้นประสาทรวมกันเป็นสมอง  พบในไส้เดือนดิน

2.      สิ่งมีชีวิตชนิดใดที่พบระบบประสาทเป็นแบบปมประสาท  (nerve ganglion) 

1.      ไฮดรา

2.      อะมีบา

3.      พารามีเซียม

4.      พลานาเรีย

3.      ข้อใดกล่าวถูกต้องที่สุดเกี่ยวกับ co - ordinating fiber 

1.      เป็นระบบประสานงานของสัตว์และโปรติสต์

2.      เป็นระบบประสาทที่พบเฉพาะในโปรโตซัวพวกพารามีเซียม

3.      เป็นออร์แกเนลล์ของเซลล์ที่ทำหน้าที่ควบคุมประสานการโบกพัดของซิเลีย

4.      เป็นเส้นใยประสาท (nerve fiber) ที่เชื่อมโยงซิเลียแต่ละอัน

4.      ข้อใดกล่าวผิดเกี่ยวกับร่างแหประสาท (nerve net) 

1.      พบได้ในสัตว์จำพวกซีเลนเทอเรตทุกชนิดและผนังลำไส้ของสัตว์ที่มีกระดูกสันหลัง

2.      จัดเป็นระบบประสาทที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด

3.      ประกอบด้วยเซลล์ประสาทที่มีเดนไดรต์และแอกซอนเชื่อมโยงกันเป็นตาข่าย

4.      กระแสประสาทเคลื่อนที่ได้ทุกทิศทุกทาง  เป็นผลให้กระแสประสาทเคลื่อนที่ได้ช้า

5.    สิ่งมีชีวิตที่มีปมประสาท 2 ปมบริเวณหัว  จากปมประสาทมีเส้นประสาทใหญ่อยู่ 2 เส้นทอดขนานกันไปตลอดความยาวของลำตัว  ระหว่างเส้นประสาทข้างลำตัวมีเส้นประสาทตามขวางเชื่อมกันอยู่เป็นระยะๆ  เป็นรูปขั้นบันได  ได้แก่สิ่งมีชีวิตชนิดใด

1.       อะมีบา    พารามีเซียม

2.      ไฮดรา      แมงกะพรุน

3.       พลานาเรีย    พยาธิตัว

หมายเลขบันทึก: 438672เขียนเมื่อ 9 พฤษภาคม 2011 17:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 00:33 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท