ชีวิตอินเทอร์น : ตอนจบของ AI ท้ายเล่ม


          บทความนี้เสนอว่าถ้อยคำแห่งความหวัง(Vocabularies of hope) เป็นบ่อเกิดของการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและองค์กร และคุณภาพที่สร้างความหวังให้มีพลังนั้นมีอยู่ด้วยกัน ๔ ประการ คือ


 ๑. เกิดขึ้นบนความสัมพันธ์
 ๒. ก่อให้เกิดความเชื่อมั่นว่าอนาคตคือสิ่งที่เปิดกว้าง และสามารถเข้าไปมีส่วนในการกำหนดได้
 ๓. ยั่งยืนได้ด้วยการสนทนาเกี่ยวกับเรื่องอุดมคติของมนุษย์
 ๔. สร้างและส่งผลต่ออารมณ์และการกระทำในเชิงบวก

           Kast (1991) แสดงให้เห็นว่าความหวังช่วยให้คนพัฒนาความรู้สึกในเรื่องของ "symbiotc connectedness" หรือความสัมพันธ์เกี่ยวเนื่องกันของสิ่งมีชีวิตที่มาอยู่รวมกันและมีความจำเป็นต่อกัน  ในความสัมพันธ์เช่นนี้ทุกคนจะรู้สึกว่ามีคนมาดูแลเอาใจใส่ ปลอดภัยจากการถูกทำร้ายและการว่าร้าย  ทำให้สามารถไปเสริมสร้างพลังชีวิตของผู้อื่นได้เต็มที่

           Dauenhauer (1986) เสนอว่าความหวังสร้างชุมชนได้เพราะ ตัวความหวังนี้สนับสนุนให้เกิดการค้นพบคุณค่า และความคิดที่คนทั่วไปจะแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันเป็นปกติ  และเมื่อคนเข้ามารวมกันด้วยความหวัง พวกเขาจะฝันและสร้างอนาคตอย่างสร้างสรรค์ ในวิถีเดียวกันกับที่พวกเขาสะท้อนความนึกคิดทั่วไป
 
           ความหวังจะเข้ามาหาชีวิตต่อเมื่อเขาเข้าใจว่า อนาคตไม่ใช่สิ่งที่ตายตัว และเปิดโอกาสให้มนุษย์เข้าไปมีอิทธิพลได้ ซึ่ง Polak(1973) เรียกความเข้าใจนี้ว่า "influence-optimism" หรืออิทธิพลของการมองโลกในแง่ดี

         อิทธิพลของการมองโลกในแง่ดีนี้มีความสำคัญ ๒ ประการในการนำไปปรับใช้กับองค์กร ประการแรก คือ ความหวังสามารถเติบโตได้ภายใต้เงื่อนไขทุกชนิด ประการที่สองคือ ความหวังเป็นความเข้าใจด้านบวกที่เกียวโยงกับภาพฝันของอนาคต

           ความหวังเป็นส่วนผสมที่สำคัญในการเปลี่ยนแปลงของสังคมและองค์กร เพราะความหวังก่อให้เกิดการกระทำมากมาย  Tillich (1957) อ้างว่าสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น ไม่ว่าจะเป็นผลงานเพลง วรรณกรรม งานศิลปะ และสถาปัตยกรรม ไปจนถึงการจัดแบบแผนขององค์กร ล้วนตีความได้ว่าเป็นการแสดงออกทางสัญลักษณ์ของความสนใจในสิ่งสูงสุด (ultimate concern) ทั้งสิ้น ซึ่งความสนใจในสิ่งสูงสุดนี้เองที่ทำให้มนุษย์อยู่เหนือความไม่ยั่งยืนที่พบอยู่ในชีวิตประจำวันได้


           Bloch (1986) ได้เขียนหนังสือ The Principle of Hope ขึ้น เพื่อยืนยันว่าความฝันเป็นบ่อเกิดของมวลมนุษย์และวัฒนธรรมทั้งปวง

           ความสัมพันธ์ระหว่างถ้อยคำแห่งความหวัง กับการสร้างตัวใหม่ของสังคมและองค์กร มีอยู่ ๖ ประการด้วยกันคือ

 ๑. การจัดตั้ง และเลือกหาประเด็นที่เป็นด้านศักยภาพ

 ๒. การกระตุ้นให้ชุมชนสร้างถ้อยคำแห่งความหวัง ด้วยการค้นหา best practice ที่มีอยู่ในสังคม และในองค์กร

 ๓. การซึมซ่านถ้อยคำเหล่านั้นเข้าไปในระบบค่านิยม ระบบศีลธรรมของคนในองค์กร

 ๔. การกระจายถ้อยคำเหล่านั้นสู่สาธารณะ ผ่านช่องทางที่หลากหลาย

 ๕. องค์กร และสังคมเริ่มเรียนรู้ว่าจะอยู่อย่างเปี่ยมไปด้วยความหวังอย่างไร และเริ่มมีนวัตกรรมใหม่ๆเกิดขึ้น

 ๖. ถ้อยคำแห่งความหวังเหล่านั้นได้กลายเป็นเชื้อเพลิงให้กับการสร้างตัว หรือการกลายร่างใหม่ของสังคมและองค์กร

           ข้อสรุปที่สำคัญของบทความนี้คือ การเชื่อมหลักการของ AI ทั้ง ๘ ข้อ เข้ากับคุณภาพของความหวังทั้ง ๔ ประการ ดังนี้

             8 AI    =    4 Hope

 constructive principle
 collaborative principle

 born and sustained in relationship

 anticipatory principle
 provocative principle

 inspired by conviction that the future is open and can be influence

 poetic principle
 positive principle

 sustained by dialogue about high human ideals

 simultaneous principle
 pragmatic principle

 generative of positive affect and action


 

หมายเลขบันทึก: 43846เขียนเมื่อ 9 สิงหาคม 2006 18:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 3 มิถุนายน 2012 00:02 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

"หากความหวังยังคงอยู่..จงรับรู้ค่าของคนนั้นมีมากอนันต์.. หากความตั้งใจยังคงอยู่ จงยืนหยัดด้วยคำมั่นว่า " เราจะจริงใจเสมอ เพื่อวันใหม่ ช่องทางใหม่ แห่งทางเดินที่เราก้าวย่าง และมั่นใจว่า เส้นทางนี้ เส้นทางเดินและแนวทางของเรา "  กำลังใจมีให้เสมอกับคุณครูทั่วประเทศ ผู้มากด้วย " พหูสูตร" ทั้งหลาย และหลากหลายอาชีพ....บนเส้นทางที่เลือกเดิน

 

ขอบพระคุณสำหรับความหวัง และกำลังใจที่ได้รับกลับมาค่ะ

ถ้าสังคมไทยสร้างความหวังร่วมกันโดยยึดหลักความถูกต้อง และเดินทางไปด้วยกันในบริบทของตนเองคงจะดีไม่ใช้น้อย

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท