ลูกศิษย์คือกระจกเงาของครูอาจารย์


เราจะสอนธรรมะให้ลูก หรือลูกศิษย์ตอนไหน

คุณพ่อคุณแม่ และคุณครูทั้งหลายครับ

ใกล้จะเปิดเทอมแล้ว ผมอยากชักชวนคุณพ่อคุณแม่และคุณครูหาวิธีการสอนธรรมะให้ลูก/ลูกศิษย์ของเรา ผมได้อ่านบทความของว.วชิรเมธีท่านบอกว่า "การสอนธรรมะให้ลูกนั้น พ่อแม่ต้องเริ่มตั้งแต่ลูกอยู่ในครรภ์ ระหว่างที่ตั้งครรภ์พ่อแม่ก็ควรดำเนินชีวิตให้อยู่ในศีลธรรม ก็จะเป็นการปลูกฝังเมล็ดพันธุ์แห่งความดีงามที่จะเติบโตขึ้นในวันพรุ่ง"

การดำเนินงานและกิจกรรมไม่ควรเกิดขึ้นภายในเพียงสถาบันการศึกษาแห่งใดแห่งหนึ่งเท่านั้น ควรเกิดขึ้นอย่างทั่วถึง เพื่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ดี จะได้เกิดขึ้นกับเด็กและเยาวชน ซึ่งเป็นลูกหลานในสังคมเรา การที่จะพัฒนาเด็กและเยาวชนให้เจริญก้าวหน้า จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเน้นด้านคุณธรรมและจริยธรรม เพื่อให้ลูกหลานของเรามีจิตใจที่งดงาม มีความประพฤติที่ดี การที่ให้เด็กและเยาวชนมีทั้งความรู้และความประพฤติที่ดีจึงเป็นสุดยอดของการจัดการศึกษา ตราบใดที่พวกเขาได้รับเพียงความรู้ความเข้าใจเท่านั้น ยังไม่เพียงพอ จำเป็นจะต้องเน้นทางด้านความประพฤติให้เป็นไปในทางที่ดีควบคู่กันไปจึงจะถือว่าได้ผล

ที่ผ่านมาเราเน้นเรื่องความเป็นเลิศทางด้านความรู้หรือทางด้านสติปัญญาเพียงด้านเดียว โดยมองข้ามด้านจริยธรรมไป

ท่านจะเอาอะไรใส่มือให้ลูก/ลูกศิษย์สุดที่รักของท่าน

หากนำดอกไม้ใส่มือเด็ก เขาจะกลายเป็นคนที่จิตใจดีงาม

หากนำเอาความรักใส่มือเด็ก เขาจะกลายเป็นคนที่เปี่ยมด้วยเมตตา

หากนำเหตุผลใส่มือเด็ก เขาจะกลายเป็นนักวิทยาศาสตร์

หากนำหนังสือใส่มือเด็ก เขาจะกลายเป็นปัญญาชน

หากนำนิสัยแห่งการให้ใส่มือเด็ก เขาจะกลายเป็นคนที่มีจิตสำนึกสาธารณะ

หากนำธรรมะใส่มือเด็ก เขาจะกลายเป็นคนดี

หากนำสมบัติผู้ดีใส่มือเด็ก เขาจะกลายเป็นสุภาพชน

หากนำดนตรีใส่มือเด็ก เขาจะกลายเป็นคนอารมณ์ดี

หากนำธรรมชาติใส่มือเด็ก เขาจะกลายเป็นคนสงบสุข

หากนำความก้าวร้าวใส่มือเด็ก เขาจะกลายเป็นอันธพาล

หากนำความตามใจใส่มือเด็ก เขาจะกลายเป็นจอมบงการ

หากนำเงินใส่มือเด็ก เขาจะกลายเป็นคนมักง่าย

หากนำปืนใส่มือเด็ก เขาจะกลายเป็นฆาตกร

หากนำวัตถุแพงๆใส่มือเด็ก เขาจะกลายเป็นคนบ้าวัตถุ

หากนำความรักสบายใส่มือเด็ก เขาจะกลายเป็นคนหยิบโหย่งอ่อนแอ

หากนำความไม่รับผิดชอบใส่มือเด็ก เขาจะกลายเป็นคนที่สูญเสียสามัญสำนึก

หากนำความริษยาใส่มือเด็ก เขาจะกลายเป็นคนขาดความสุขของชีวิต

หากนำแต่วิชาชีพใส่มือเด็ก เขาจะกลายเป็นคนสมองโตแต่ใจตีบ

ท่านเองในฐานะพ่อแม่ ครูอาจารย์ วันนี้ท่านเอาอะไรใส่มือลูกๆของท่าน

หม่อมหลวงปิ่น มาลากุลได้เขียนกลอนไว้บทหนึ่งว่า

"ฝรั่งเขาหัวเราะเยาะเราว่า เสียแรงมีรัตนาจำนวนสาม

แต่เหมือนไก่ไม่นิยมชมของงาม มักตะกละตะกลามหาของกิน

หมายความว่าการศึกษาที่จัดอยู่ พาไปสู่อาชีพเสียทั้งสิ้น

ปริญญาท้วมท้นล้นแผ่นดิน แต่ขาดศีลขาดธรรมประจำตัว"

เราอิจฉาคนญี่ปุ่นใช่ไหมครับ...หลังจากเกิดเหตุการแผ่นดินไหว แล้วทำไมเราไม่ปลูกฝังให้คนไทยเป็นเช่นนั้นบ้างเล่า   เป็นคำถามจากลุงเก ถามคุณพ่อคุณแม่และคุณครูทั้งหลายนะครับ

อาจารย์เก

 

หมายเลขบันทึก: 438032เขียนเมื่อ 4 พฤษภาคม 2011 11:03 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:42 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

สวัสดีค่ะ

ชอบข้อความนี้ ค่ะ

"....ปริญญาท้วมท้นล้นแผ่นดิน แต่ขาดศีลขาดธรรมประจำตัว"

เราต้องเติมศิลธรรมประจำตัวให้เกิดกับเด็กนะคะ

ขอบคุณค่ะ

  • สวัสดีครับ อาจารย์เก
  • ชอบบทความนี้มากเลยครับ
  • สามารถใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาวิชาชีพได้เป็นอย่างดี

สวัสดีครับอาจารย์เก

ขอแบ่งปันความรู้บ้างนะครับ

ผมคนรู้น้อยและไม่ค่อยได้อ่านหนังสือ

เห็นด้วยว่าทุกวันนี้บ้านเมืองเรามีคนที่รู้มาก

...แต่ก็ขาดธรรมกันมาก เห็นแก่ตัวกันมากเช่นกัน

คุณลำดวน คุณฐานิศวร์ และคุณ phnan ที่นับถือ

ขอบคุณมากครับสำหรับความเห็น ผมนำมาฝากด้วยความจริงใจอยากให้คุณครูและพ่อแม่ สอนลูกเอาใจใส่ลูกให้ถูกทางเท่านั้น ผมเป็นห่วงประเทศไทยของเรา เพราะดูเหมือนว่าพลเมืองของเราจะตำ ด้อยเรื่องศีลธรรม จริยธรรมไปทุกที

ขอบคุณอีกครั้งครับ

อาจารย์เก

ใกล้งานปอยส่างลองเข้ามาแล้ว ผมคิดว่า ปอยส่างลองของแม่ฮ่องสอน เป็นกระบวนการหนึ่งของการปลูกฝังสิ่งที่ดีงามให้แก่เด็กในสังคมไต เด็กในช่วง 9-10 ขวบ ข่ามส่างลอง (บวชเณร) ในอดีตคนไตที่เป็นผู้ชายทุกคนจะต้องบวชเณร เพื่อเรียนรู้ธรรมะ รู้จักสวดมนต์ บิณฆบาตร ให้ศีลให้พร สามเณรบวชด้วยกัน อยู่ด้วยกัน ทำงานด้วยกันแบบเป็นหมู่คณะ บางคนเป็นครั้งแรกที่ออกจากบ้านไปนอนนอกบ้าน สามเณรได้เรียนรู้การอยู่ร่วมกัน ต้องไปบิณฑบาตร ไม่ไปก็อด ทำให้รู้จักทำงาน และรู้จักการให้ของผู้มีจิตศรัทธาที่มาใส่บาตร  แต่ระยะหลังการบวชเณร เป็นแค่พิธี ไม่ได้เคร่งครัดในการปฏิบัติ เจ้าอาวาสไม่ได้เอาใจใส่อบรมสามเณร ทำให้การบวชนั้น สูญเปล่า  สำหรับในเขตเทศบาล เราจัดทำเป็นหลักสูตรอบรม หลายปีมาแล้ว สามเณรจะต้องเข้ารับการอบรมตามหลักสูตรประมาณ 20 วัน ให้ได้เรียนรู้ในสิ่งที่จะเป็นประโยชน์ต่อการดำรงชีวิต  ถ้าประชาชนเข้ามาช่วยกันก็จะดีขึ้นก่ว่าที่ปล่อยให้พระดำเนินการเองในแต่ละวัด เราคงต้องสื่อไปยังผู้ปกครองตามหมู่บ้านต่างๆ ที่จะนำรูปแบบของการอบรมสามเณรในเมืองไปปรับใช้ในท้องที่  อย่าวางใจว่าพระท่านจะอบรมสั่งสอนให้ พระเด๊๋ยวนี้ไม่ได้ให้การอบรมที่ดีดังที่เราคาดหวัง

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท