พยาน


พยาน

สิ่งที่มีบทบาทสำคัญต่อการสอบสวนทางวินัยเป็นอย่างมากที่สุด และมีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องโดยตรงกับกระบวนการสอบสวน ได้แก่ พยาน นั่นเอง และเมื่อพูดถึงคำคำนี้ หลายๆ คนก็คงจะได้ยินได้ฟังกันอยู่โดยทั่วไปแล้ว แต่ความหมายที่ถูกต้องจะเป็นอย่างไร บทบาทหน้าที่ของพยานเป็นอยู่ อย่างไร และมีส่วนเกี่ยวข้องกับกระบวนการสอบสวนประการใด นั้น ก็คงจะมีอยู่อีกเป็นจำนวนมากที่ยังไม่ทราบอย่างชัดเจน ฉะนั้น จึงเห็นเป็นสิ่งที่น่าจะมีประโยชน์ ที่จะได้กล่าวถึงไว้ ซึ่งก็เชื่อว่าน่าจะทำให้หลายๆคน ได้มีความรู้และความเข้าใจบ้างตามสมควร

คำว่า พยาน ตามพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 ได้ให้ความหมายไว้ 2 ลักษณะ คือ “1) เป็นคำนามคือพยานหลักฐาน เครื่องพิสูจน์ข้อเท็จจริง , ผู้ที่รู้เห็นเหตุการณ์หรือข้อเท็จจริงที่ใข้เป็นพยานหลักฐานเครื่องพิสูจน์ได้ และ 2) เป็นคำที่ใช้ในกฎหมาย คือ บุคคล หลักฐาน หรือวัตถุที่ใช้ในการยืนยันหรือพิสูจน์ข้อเท็จจริง”

และในความหมายที่เกี่ยวกับกฎหมายนี้ คือ “เป็นคำที่ถูกพูดถึงในวิชาที่ว่าด้วย กฎหมายลักษณะพยาน ซึ่งก็หมายถึงกฎหมายที่วางหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการพิสูจน์ข้อเท็จจริงโดยพยานหลักฐานว่า ในคดีแต่ละคดีนั้นมีข้อเท็จจริงใดบ้างที่จะต้องมีการพิสูจน์ ใครเป็นผู้มีหน้าที่ต้องพิสูจน์ พยานหลักฐานชนิดใดบ้างซึ่งอาจเสนอต่อศาลและศาลรับฟังได้ กระบวนพิจารณาในการนำพยาน หลักฐานเข้าสู่ศาล และการชั่งน้ำหนักพยานหลักฐาน และกฎหมายลักษณะพยานจัดอยู่ในประเภทของกฎหมายวิธีสบัญญัติ”

จาก 2 ย่อหน้าที่ข้างต้น คงจะพอทำให้เกิดมีความเข้าใจในความหมายของคำว่า พยาน เป็นพื้นฐานไว้มากขึ้นบ้าง แต่อย่างไรก็ตาม ก็ควรที่จะได้เข้าใจถึงความหมายที่มีความเกี่ยวข้องกับคำว่า การสอบสวนทางวินัย ไว้ด้วยว่า มีความเป็นอย่างไร ซึ่งก็จะหมายถึง “การรวบรวมพยานหลักฐาน หรือการดำเนินการอื่นใดในการที่จะทำให้ได้ทราบข้อเท็จจริงและพฤติการณ์ต่างๆ หรือพิสูจน์เกี่ยวกับเรื่องที่กล่าวหาว่าบุคคลใดกระทำผิดวินัย เพื่อให้ได้ความจริงและความยุติธรรม ในการที่จะพิจารณาว่าผู้ถูกกล่าวหา ได้กระทำผิดวินัยจริงหรือไม่ อย่างไร และถ้ากระทำผิดวินัยแล้ว ควรจะได้รับโทษสถานใด” ประกอบกับสิ่งสำคัญที่เห็นได้จาก กฎ ก.พ. ฉบับที่ 18 (พ.ศ. 2540) ที่ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2535 ว่าด้วยการสอบสวนพิจารณา ในข้อ 12 ซึ่งเป็นการกำหนดหน้าที่หลักๆ และระยะเวลาของการทำหน้าที่ไว้ ก็คือ การรวบรวมพยานหลักฐานนั่นเอง

ฉะนั้น จากที่กล่าวมาแล้ว จึงน่าที่จะทำให้เห็นได้ว่าพยานมีความสำคัญต่อกระบวนการสอบสวน หรือการดำเนินการทางวินัยเป็นอย่างมาก เพราะพยานมีบทบาทสำคัญต่อการพิสูจน์ ข้อเท็จจริงและพฤติการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้น ซึ่งไม่ว่าพยานหลักฐานจะเป็นของฝ่ายกล่าวหาและหรือฝ่าย ที่ถูกกล่าวหาก็ตาม ซึ่งเมื่อได้มีการพิสูจน์แล้วในที่สุดก็จะนำไปสู่การพิจารณาวินิจฉัยความผิด และการลงโทษนั่นเอง

นอกจากนี้ ในฐานะที่ผู้เขียนทำงานทางด้านวินัยอยู่ด้วยแล้ว ผู้เขียนก็อยากที่จะเสนอเป็นข้อสังเกตให้ไว้บ้างบางประการ ซึ่งจะเป็นสิ่งที่เกี่ยวกับการทำงานของผู้ที่เกี่ยวข้องในการดำเนินการทางวินัยในส่วนของการรับฟังพยานที่เห็นว่าจะน่าเชื่อถือนั้น เป็นอย่างไร โดยควรพิจารณาจาก สิ่งดังต่อไปนี้

    1. ในกรณีที่เป็นพยานบุคคล
    2.  

      - เกี่ยวกับข้อเท็จจริง

        1. ข้อเท็จจริงที่ทราบมานั้น พยานทราบมาได้อย่างไร และหากทราบมาด้วย ตนเอง ก็จะมีความน่าเชื่อถือมากกว่า ได้รับทราบมาโดยการบอกเล่าจากผู้อื่น
        2.  

        3. ข้อเท็จจริงที่รับฟังต้องเป็นข้อเท็จจริงจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นมิใช่เกิดจาก ความคิดเห็นของพยานเอง
        4.  

        5. การให้ข้อเท็จจริงของพยาน ควรพิจารณาระยะเวลาของการทราบข้อเท็จจริงนั้นมาด้วยว่า เป็นเวลานานมากน้อยเพียงใด เพราะความจดจำอาจจะคลาดเคลื่อนไปได้ เว้นแต่จะมีการจดบันทึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษร
        6.  

- เกี่ยวกับตัวบุคคล

    1. อายุ โดยควรคำนึงอายุที่แตกต่างกันด้วย เพราะย่อมที่จะส่งผลต่อวัยของคน ในอันที่จะทำให้สมองและร่างกาย มีการรับทราบและเข้าใจพฤติการณ์ต่างๆ ได้ไม่เหมือนกัน รวมถึงการถ่ายทอดก็ย่อมที่จะแตกต่างกันไปด้วย
    2.  

    3. สิ่งแวดล้อมต่างๆ ก็มีส่วนสำคัญเพราะเป็นปัจจัยที่จะช่วยส่งเสริมการรับทราบข้อเท็จจริง ตามพฤติการณ์ที่เกิดขึ้นได้อย่างถูกต้อง เช่น แสงสว่าง จะเป็นปัจจัยที่ส่งเสริมการเห็น ความเงียบจะเป็นปัจจัยที่ส่งเสริมการได้ยิน ระยะเวลาและโอกาสก็จะเป็นปัจจัยที่จะส่งเสริมให้มีการ จดจำเหตุการณ์ได้อย่างชัดเจน เป็นต้น
    4.  

    5. ความไม่เป็นกลางหรือความมีอคติ เช่น การมีสาเหตุโกรธเคือง การติดสินบน หรือแม้แต่การข่มขู่ ก็จะทำให้การให้ข้อเท็จจริงนั้นไม่ถูกต้องตามความเป็นจริง หรือไม่เป็นไปตามที่ควรจะเป็นได้
    6.  

    7. สถานะหรือฐานะของบุคคล ก็มีส่วนสำคัญด้วยเช่นกัน เช่น ญาติ พระภิกษุ หรือผู้มีตำแหน่งหน้าที่ในส่วนราชการ เช่น นายอำเภอ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน เป็นต้น
    8.  

    9. ความมั่นใจ ก็นับว่ามีความสำคัญเช่นกันด้วย เพราะการให้การหรือการให้ ข้อเท็จจริงที่ถูกต้อง ละเอียด ไม่มีความสับสน หรือตื่นเต้น หรือประหม่า แต่อย่างใดแล้ว ก็จะทำให้ผู้รับทราบข้อเท็จจริงมั่นใจและเชื่อถือข้อเท็จจริงนั้นๆ ว่าเป็นความจริงด้วยนั่นเอง
    10.  

    1. ในกรณีที่เป็นพยานเอกสาร
    2.  

        1. ต้องเป็นเอกสารที่แท้จริงและถูกต้อง และหากเป็นเอกสารในทางราชการ จะน่าเชื่อถือมากที่สุด เพราะผู้ทำเอกสารเป็นเจ้าหน้าของรัฐ ซึ่งปกติจะไม่มีส่วนได้เสีย และที่สำคัญเอกสารราชการมักจะมีการตรวจสอบหลายขั้น ตามสายการบังคับบัญชา จึงมีความเป็นกลางและมีโอกาสผิดพลาดน้อยมาก
        2.  

        3. ต้องเป็นต้นฉบับของเอกสาร
        4.  

    1. ในกรณีที่เป็นพยานวัตถุ
    2.  

มักเป็นไปตามดุลพินิจของผู้พิจารณาเป็นเรื่องๆ ไป ไม่มีกฎเกณฑ์ที่อาจวางไว้ ตายตัวได้ โดยส่วนมากจะเป็นไปตามหลักตรรกศาสตร์ หรือตามสามัญสำนึกของผู้พิจารณาเอง

สุดท้าย จากทั้งหมดที่กล่าวมานี้ ผู้เขียนหวังว่าคงจะทำให้ผู้อ่านได้มีความเข้าใจคำว่า พยาน มากขึ้น รวมทั้งการที่พยานมีความเกี่ยวข้องและสัมพันธ์กับการสอบสวนทางวินัยอย่างไรบ้างพอสมควร และสำหรับข้อสังเกตบางประการที่เกี่ยวกับพยานนั้น ผู้เขียนได้สรุปไว้เป็นหลักกว้างๆ ตามที่ได้ศึกษามา ซึ่งในการทำงานหรือการปฏิบัติหน้าที่ของผู้เกี่ยวข้องกับการสอบสวนทางวินัยนั้น พยานหลักฐานจะเป็นลักษณะใดก็ตาม ไม่ว่าจะเป็นพยานบุคคล พยานเอกสาร หรือพยานวัตถุใด ๆ ก็จะขอให้ผู้อ่านได้พิจารณาใช้ดุลพินิจถึงความเป็นไปได้ หรือความน่าเชื่อถือของพยานอย่างเต็มที่ โดยยึดหลักเหตุผลเป็นแนวทางไว้ด้วย เนื่องจากมิใช่หลักเกณฑ์ที่ตายตัว เพื่อให้เกิดความน่าเชื่อถืออย่างมากที่สุดต่อไปด้วยนั่นเอง

 

************************

เอกสารอ้างอิง

กฎ ก.พ. ฉบับที่ 18 (พ.ศ. 2540) ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2535 ว่าด้วยการสอบสวนพิจารณา

เข็มชัย ชุติวงศ์ คำอธิบายกฎหมายลักษณะพยาน พิมพ์ครั้งที่ 5 พ.ศ. 2538 นิติบรรณาการ กรุงเทพฯ

คู่มือการดำเนินการทางวินัย กองวินัย สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน กันยายน 2531

พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2535 พิมพ์ครั้งที่ 6 พ.ศ. 2539 อักษรเจริญทัศน์ กรุงเทพฯ

คำสำคัญ (Tags): #อิศรา#รัตตศิริ
หมายเลขบันทึก: 43780เขียนเมื่อ 9 สิงหาคม 2006 15:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 มิถุนายน 2012 23:33 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท