เรียนรู้จากการเป็นวิทยากรครั้งแรก


เป็นเพียงแค่การเริ่มต้นเรียนรู้ในการเป็นวิทยากร...เหมือนเด็กคลาน..เพิ่งตั้งไข่เดินเตาะแตะ.....มีล้มบ้างกว่าจะลุกได้...ต้องมีพี่เลี้ยงคอยแนะ...และเมื่อไม่ล้มจึงเดินต่อไปอย่างมั่นใจ.

ในที่ทำงาน....เวลาบ่ายแก่....ของวันหนึ่งคุณวรรณา....หนึ่งใน PO ของสคส. ที่เรารู้จักดีในนาม อ้อ ถามขึ้นว่า ใครสนใจงานนี้....และก็เดินมาหา....จ๊ะจ๋า....และบอกว่างานนี้ที่น่าสนใจ เป็นวิทยากรนำกระบวนการ...จ๋าอยากลองทำดูไหม.....อ้อได้พูดคุยถึงรายละเอียดเบื้องต้นกับคนที่ติดต่อแล้ว...และเมื่อพิจารณาแล้วเป็นหน่วยงานที่น่าสนใจ....ศูนย์วิจัยและฝึกอบรมด้านสิ่งแวดล้อม กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม ที่สนใจตั้งแต่แรกเพราะเป็นหน่วยงานด้านสิ่งแวดล้อม...ประกอบกับมีกลุ่มคนที่สมัครใจที่จะดำเนินงานด้านการจัดการความรู้ในองค์กรถึง 33 คนและคิดว่าเมืองไทยน่าจะมีหน่วยงานที่ทำ KM ด้านสิ่งแวดล้อม....พร้อมกันนั้นอ้อได้ให้เอกสาร 1 แผ่นซึ่งเป็นกำหนดการของ การประชุมครั้งนี้ เมื่อพิจารณาดูแล้วและคิดว่า...เป็นโอกาสที่เราจะฝึกฝนตัวเองในการเป็นวิทยากร ซึ่งให้เวลาเพียงแค่  3 ชม. ก็น่าจะพอสำหรับวิทยากรฝึกหัดอย่างเรา โดยการสัมมนาครั้งนี้จัดขึ้นในวันที่ 7-8 สิงหาคม 2549 ณ ไร่ อรุณวิทย์ รีสอร์ท จ. สระบุรี  

เส้นทางการวางแผนก็ได้เริ่มขึ้น จากการที่อ้อได้จุดประกายให้จ๊ะจ๋า.......หลังจากนั้นก็เริ่มดำเนินการสอบถามกับคุณธนาวุธ ผู้ประสานงานการจัดการสัมมนาของศูนย์วิจัยและฝึกอบรมด้านสิ่งแวดล้อมคือ เป้าหมายของการจัดสัมมนาครั้งนี้คืออะไร เพื่ออะไร  มีใครเป็นผู้เข้าร่วม มีความเข้าใจ KM อย่างไร และมีการดำเนินการหรือวางแผนขั้นตอน KM อย่างไร มีการจัดเก็บข้อมูลหรือไม่  ......ทั้งหมดล้วนเป็นคำถามที่เราจะต้องได้รับคำตอบที่ชัดก่อนดำเนินการขั้นต่อไป....เสมือนหัวปลา ตัวปลาและหางปลาต้องชัด เพื่อจะนำพากลุ่มคนเหล่านี้ให้ข้ามผ่านเส้นทาง KM ได้อย่างไม่หลงทาง .......และที่สำคัญเพื่อในการออกแบบกระบวนการที่ตรงกับความต้องการ&ช่วงเวลา เปรียบดังถามความต้องการของลูกค้าเพื่อจะนำสินค้าที่ถูกต้องส่งให้ย่อมสร้างความพึงพอใจให้ลูกค้า 

การซักซ้อมก็เป็นส่วนสำคัญของมือใหม่เช่นเรา.....รู้สึกตื้นตันใจเป็นที่สุดที่พี่ๆ ในสคส. ให้ความใส่ใจและเอาใจช่วยเราตลอดเวลา....มีข้อเสนอแนะดีๆ ในการปรับปรุง  ทำให้เรารู้สึกว่า...เราต้องเรียนรู้กับการเป็นวิทยากรมั๊กมาก...ใส่ใจและกระตือรือร้นอย่างเข้มข้น...และมากขึ้น.....เพิ่มเติมบางสิ่งที่ไม่สมบูรณ์....นับว่าเป็นการฝึกทักษะหลายๆ ด้าน..การพูด..การฟัง...การนำเสนอ..เพื่อการสื่อสารให้ผู้ฟังได้รับข้อมูลที่ชัดเจนและแม่นยำ.....และผลสำคัญที่ได้จากการรับงานครั้งนี้คือ...การทำงานเป็นทีมของสคส. การสร้างบรรยากาศเชิงบวก....สร้างกำลังใจ.....มีความช่วยเหลือซึ่งกันและกัน. การแลกเปลี่ยนประสบการณ์ซึ่งกันและกัน.....เป็นวัฒนธรรมขององค์กรที่นี่เลยจริง ๆ  

สำหรับกำหนดการที่ได้เปลี่ยนไปจากเดิมคือการให้ผู้เข้าร่วมสัมมนามีส่วนร่วมและได้ทดลองปฏิบัติจริงแทนการบรรยาย....เพราะต้องการออกแบบกระบวนการให้พวกเขาได้ใช้ประโยชน์จากการมา workshop ครั้งนี้...และเป็นเครื่องมือในการทำงานครั้งต่อไป...ไม่ใช่การเข้าร่วมและก็จบๆไปอย่างที่หลายคนเคยไป.....เริ่มจากการใช้กิจกรรมสานสัมพันธ์..สร้างบรรยากาศให้คนเป็นมิตรต่อกัน บรรยากาศเชิงบวก มีการแซวกันบ้างเป็นระยะๆ  เสียงหัวเราะจากกิจกรรมแรกทำให้เกิดความผ่อนคลายทั้งผู้เข้าร่วมและตัววิทยากรอย่างจ๊ะจ๋าเอง....จากนั้นก็เป็นการนำเสนอ 2 ส่วนที่สำคัญ นั่นคือ การชี้ให้เห็นความแตกต่างของความรู้ 2 ประเภทคือความรู้ชัดแจ้ง (Explicit knowledge) และความรู้ซ่อนเร้น (Tacit knowledge) และการดึงความรู้ซ่อนเร้นด้วยกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้...และโมเดลปลาทู ซึ่งต้องเข้าใจ 3 ส่วนหลักคือ หัวปลา ตัวปลา หางปลา....สื่อให้เห็นถึงเป้าหมายการดำเนินการจัดการความรู้ต้องชัด ...การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างผู้ปฏิบัติอย่างตลอดเวลา...การจัดเก็บขุมความรู้ที่ได้จากกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่สามารถเข้าถึงได้ เป็นการดึงความรู้ซ่อนเร้นเผยออกมาเป็นความรู้เด่นชัด....ทั้งหลายทั้งปวงต้องอาศัยบรรยากาศในการ share ร่วมกัน การเปิดใจ มีใจในการแลกเปลี่ยน การชื่นชม ความเท่าเทียมกันของคนในวงสนทนา........ จริงๆ แล้วถ้ามีเป้าหมายร่วมกันที่สอดคล้องกับเป้าหมายหลักขององค์กร ..และมีการสนทนาด้วยบรรยาการเชิงบวกจะสามารถดึงพลังที่อยู่ในตัวตนของทุกคนออกมาเผยแพร่ให้คนอื่นรับรู้...เป็นการเรียนรู้ร่วมกันแบบ win win ซึ่ง พลังแห่งการแลกเปลี่ยนจะหมุนไปอย่างไม่หยุดนิ่ง......การทำงานจะก็จะคล่องตัวและเกิดประสิทธิภาพตามมา..... และเราได้ให้ผู้เข้าร่วมสัมมนาทดลองปฏิบัติเล่าเรื่อง...เรื่องเล่าเร้าพลัง...เพื่อให้เกิดความเข้าใจในโมเดลปลาทูที่เราสื่อให้จากการนำเสนอช่วงต้น และให้เข้าใจในปัจจัยที่สำคัญของเครื่องมือเรืองเล่าเร้าพลังนั่นคือ บรรยากาศ ผู้ฟัง ผู้เล่า ผู้จดบันทึก ล้วนเป็นสิ่งที่สำคัญ....และช่วงสุดท้ายก็ให้ทุกคนได้ทดลองใช้เครื่องมือที่สำคัญอีกอย่างคือ AAR การเรียนรู้ระหว่างปฏิบัติงาน ....แหละนี่คือผลการออกแบบกระบวนการ 3 ชม. ให้กับศูนย์วิจัยและฝึกอบรมด้านสิ่งแวดล้อม 

สำหรับตัวเองมีความรู้สึกหลายอย่าง ตั้งแต่การซักซ้อม... มีความเข้มข้นมาก...ฝึกซ้อมและปรับอยู่หลายรอบ......และแล้วก็ถึงเวลาของการนำเสนอจริง..เหมือนกับขึ้นโชว์เวทีถึงแม้ว่าจะขลุกขลักบ้างแต่ก็พยายามกับเวทีนี้อย่างมาก...จากการเป็นคนพูดเร็ว...ต้องฝึกพูดให้ช้าลง..สอดส่ายสายตากับผู้ฟัง.....และที่สำคัญต้องตั้งสติให้มั่น....พูดให้คนทั่วไปที่ไม่เคยรับทราบ KM เข้าใจ...ว่าเราต้องการสื่ออะไรให้เค้ารับรู้และเพื่อเป็นหนทางให้คนเหล่านั้นดำเนินงานต่อไปได้อย่างไม่ติดขัดนัก....ซึ่งครั้งนี้ได้เปลี่ยนแปลงกำหนดการจากเดิมคือ....จากบรรยาย..เป็น...การปฏิบัติ โดยให้ทุกคนได้มีโอกาสปฏิบัติจริง เพื่อผลการทำงานต่อไป........เสียงสะท้อนในกิจกรรม AAR ทำให้ จ๊ะจ๋าใจชื้นขึ้นมา..และเรียกกำลังใจของเราได้มากพอสมควร....แต่ในความรู้สึกลึกๆ คือเป็นเพียงแค่การเริ่มต้นเรียนรู้ในการเป็นวิทยากร...เหมือนเด็กคลาน..เพิ่งตั้งไข่เดินเตาะแตะ.....มีล้มบ้างกว่าจะลุกได้...ต้องมีพี่เลี้ยงคอยแนะ...และเมื่อลุกได้แล้วจึงจะเดินต่อไปได้อย่างมั่นใจ.....  

หมายเลขบันทึก: 43757เขียนเมื่อ 9 สิงหาคม 2006 14:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 4 มิถุนายน 2012 16:28 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)
 อ่านแล้วได้ประโยชน์มากเลย ทางรพ กำลังดำเนินการทำองค์การแห่งการเรียนรู้อยู่  ได้มีการฝึกให้เจ้าหน้าที่ได้มีกิจกรรมการสนทนาอย่างมีสุนทรีย การStory - Telling ให้รู้จักTuna- Model` , Mind-Mapping` คงขออนุญาตCoppy`เนื้อหาเพื่อไปใช้ในการเรียนรู้ร่วมกันที่โรงพยาบาลต่อไป

ยินดีเป็นอย่างมากคะคุณหนองม่วงไข่ ถ้าการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ครั้งนี้เป็นประโยชน์แก่คุณ องค์กร และทุกคน...

เป็นประโยชน์สำหรับมือใหม่อย่างผมเช่นกันครับ ต้องขอบคุณ คุณจ๊ะจ๋ามากครับ 
ขอเป็นกำลังใจให้สำหรับวิทยากรมือใหม่ ซึ่งรายละเอียดเป็นประโยชน์มาก แต่คงต้องขอความช่วยเหลือ เนื่องจากกำลังจะทำหัวข้องานวิจัยเกี่ยวกับ KM ด้านการตัดเย็บเสื้อของกลุ่มแม่บ้าน ขอแทนตัวเองว่าพี่แล้วกันนะค่ะ น้องจ๊ะจ๋า ไม่ทราบว่ามีหน่วยงานใดพอมีงานเอกสารเกี่ยวกับด้านนี้บ้างหรือไม่ ขอความกรุณาช่วยบอกด้วย จักเป็นพระคุณยิ่ง

พี่พิกุลคะที่สอบถามในเรื่องเอกสารนั้นนะเป็นเอกสารด้านไหน รบกวนช่วยเล่ารายละเอียดพอคราวๆ ถ้าเป็นในเรื่องการจัดการความรู้ เว็บไซต์ของสคส. มีรายละเอียดการจัดการความรู้อยู่มากพอสมควร เข้าไปที่ www.kmi.or.th  พี่สามารถโหลดอ่านได้เลยคะ

 

 

มีประโยชน์สำหรับการเริ่มต้นเป็นวิทยากรมากค่ะ ดิฉันจัดอบรมบ่อยมาก

และได้ฟังวิทยากรเยอะมาก มีหนึ่งท่านที่อยู่ในใจดิฉัน คือ อ.อุไรวรรณ อยู่ชา

ผู้อำนวยการศูนย์ฝึกอบรม Thaiskillplus อาจารย์มีรูปแบบการสอน

ที่น่าติดตามมาก ทำให้ผู้เรียนใฝ่ที่จะเรียนรู้ อาจารย์มีความเป็นกันเอง

สอนแบบสบาย ๆ แต่เนื้อหาได้ครบถ้วน ตอบคำถามได้ชัดเจน มีตัวอย่างให้เห็นภาพ

มีการให้กำลังใจผู้เรียน ใช้ศัพท์ง่าย ๆ เข้าใจง่าย ๆ รู้ลึกในเรื่องที่สอน และมีประสบการณ์ตรง รวมทั้งเปิดมุมมองให้ผู้เข้าอบรมได้เยี่ยมมาก เมื่อวานไป

ร้านซีเอ็ด เห็นหนังสือ "องค์กรนี้ต้องมีพี่เลี้ยง" เขียนโดย อาจารย์อุไรวรรณ อยู่ชา

ดิฉันซื้อทันที เพราะมั่นใจว่า อาจารย์จะเป็นนักวิชาการที่เขียนหนังสือ

ให้อ่านได้ง่าย ๆ สบาย ๆ ตามสไตล์ของอาจารย์ พอกลับมาอ่านขอบอกว่า

"ขอชื่นชมมากค่ะ" อาจารย์ถ่ายทอดเรื่องราวของ "พี่เลี้ยง" ได้ดีมาก ๆ

ก็เลยอยากบอกว่า การเป็นวิทยากรที่ดีนั้น สามารถเป็นได้ค่ะ

และที่สำคัญถ้าเรามีต้นแบบที่ดี หรือ มีพี่เลี้ยงที่ดี ยิ่งทำให้เป็นได้เร็วขึ้นค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท