339. ทำไงดีครับ พอผมไม่อยู่เขาก็ไม่ทำต่อ


ห้องเรียนกระบวนกร AI ตอนที่ 339

เป็นปัญหาโลกแตก ของทุกระบบความคิดที่มนุษย์พยายามสรรสร้างขึ้นมา ไม่ว่าดีแค่ไหน หลายครั้ง พอคนริเริ่มไม่อยู่แล้ว ก็ไม่มีการสานต่อ...หลายโครงการดีๆ จึงจบลง ณ.วันปิดโครงการนั่นเอง..

..............

ครับไม่ว่าคุณจะทำ OD แนว Advance  แค่ไหน ไม่ว่าจะเป็น AI, KM, LO ครับ..คุณจะเจอปัญหานี้แน่นอน...ทำอย่างไรครับ..

....

คำตอบคือ..คุณต้องคิดอยู่เสมอ..ถ้าคุณไม่อยู่แล้ว ไม่มีงบประมาณ ไม่มีการสนับสนุนอย่างขึงขังจริงจัง "ระยะสั้น" ในอยู่แล้ว..สิ่งที่คุณคิดริเริ่ม จะคงอยู่และเติบโตขึ้นอย่างไร..การคิดแบบนี้ ชาว OD เรียกว่า Institutionalization...

......

Institutionalization นี้ทำอย่างไรครับ..

มีสี่ขั้นตอนครับ..

1. สร้างทุนมนุษย์ดีๆ (Human Capital) แนะนำว่า..หาคนมีแววที่ "อิน" กับเรื่องที่คุณทำ แล้วพยายามดึงเขามามีส่วนร่วม หรือ Coach เขาซะเลย ชอบทำเรื่องอะไร สนับสนุนอย่างสุดๆ..ให้ทดลองมากๆ..คุณจะได้คนทำงานแทนคุณ มีแรงบันดาลใจ แม้ขาดงบประมาณ ขาดแรงหนุึน แต่ก็ยังสร้างการเปลี่ยนแปลงต่อไปได้..

2. พัฒนาทุนทางสังคมดีๆ (Social Capital) หาวิธีการทำงานร่วมกับคนมีแวว...ทำอย่างไร จะสนับสนุนเขาได้โดยไม่อึดอัด และสิ่งที่ทำอยู่ในงาน...อันนี้การนัดเจอ การหาโอกาสเข้าไปคุยธรรมดาๆ นี่แหละครับ..เกิดการพลิกผันดีๆมาแล้วหลายครั้ง แค่แวะเข้าไปคุยอย่างไม่เป็นทางการ กลายเป็นการเปิดพื้นที่ให้มีการสอบถาม และปรับความเข้าใจ...เกิดการยกระดับโครงการให้ดีขึ้นอย่างหน้ามือเป็นหลังมือมามากต่อมากครับ..

3. พัฒนาขั้นตอน กระบวนการทำงานดีๆ (Structural Capital) ระหว่างทำโครงการ ในกลุ่ม AI Thailand ของเรา ถ้าผมค้นพบว่า ถ้าคนถามคำถามดีๆ กับคนซักสามสิบคน แล้ว เอาเรื่องดีๆ ไปขยายผลซัก 5 เรื่องเขาจะมีทักษะ ในการทำ AI ได้ด้วยตนเอง แถมไปคิดงานเองได้ ไม่ต้องให้อาจารย์ช่วย..เพราะฉะนั้น กลุ่ม AI Thailand (www.aithailand.org) ของเรา จึงมีคนจำนวนมากที่สามารถไปขยายผลเองได้..โดยผมไม่ต้องอยู่ตรงนั้น...เราเลยมีเรื่องเล่า มีชุมชนที่เติบโตอย่างน่าชื่นใจให้มาเรียนรู้กันได้อีก..

4. เรื่องนี้ถ้าเป็นไปได้ คุยกันเองในองค์กร เป็น KM ไปเลย เพื่อพัฒนาวิธีการทำสามอย่างขั้นต้นให้ดีขึ้นเรื่อยๆ..AAR/BAR ไปด้วยก็ได้..

...

สำคัญมากๆครับ...ไม่งั้นลงทุนลงแรงอะไรไว้ ดีแค่ไหนก็ตาม ก็สูญเปล่า อย่างน่าเสียดาย..

 

 

หมายเลขบันทึก: 436895เขียนเมื่อ 25 เมษายน 2011 09:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:41 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

เป็นเรื่องที่ตรงใจมากๆ ครับ

ในส่วนของผม ก็คือการสนับสนุน ให้กำลังใจ กับ "เกษตรกร ที่เป็นตัวอย่างที่ดี(อายุ 35-50 ปี)" และเชิญเป็นวิทยากร เพื่อสร้างแนวร่วมในแต่ละเวที ที่มีโอกาส เพื่อการสร้างเครือข่าย และการดูงานจริง ในพื้นที่ ครับ

การสร้างสื่อ ทำด้วยการ ดึง "รุ่นลูก(อายุ 15-25ปี)" (อยู่ในวัยเรียน) มาช่วยพ่อ แม่ทำสื่อ(จะเป็น Powerpoint ,video ,เอกสาร) ตั้งแต่ วางสคริป การเก็บรูปภาพกิจกรรมในเเปลงนา  ต้นทุน รายได้ มาประมวลผล เป็นงานนำเสนอ ใส่ Handy drive ไว้สำหรับไปเผยเเพร่ ในเวทีต่างๆ (เอาให้คนทำ เป็นคนนำเสนอ )

รุ่นลูก ก็จะมีความคุ้นเคยกับสิ่งที่มี ได้มีความภาคภูมิใจอาชีพของพ่อแม่ และองค์ความรู้ไม่สูญหาย เป็นประโยชน์ต่อคนอื่นๆ ต่อไป

อีกช่องทางหนึ่งที่ย้ำ กับรุ่นลูก(มีโอกาสเข้าถึงเทคโนโลยี) ก็คือ ให้ลูกเอา ผลผลิต ของพ่อแม่ ช่วยขายผ่านช่อง ทาง e-commerce ครับ ขายตรงถึงตลาด

เมื่อ รุ่นลูกเห็น ทั้งวงจร มีความสนุกกับที่ทำแล้ว ก็จะรัก และต่อยอด จากฐานทรัพยากรเดิม ไม่ต้องออก มาเป็นเจ้าคน นายคน (ลูกจ้างกินเงินเดือน) ครับ

  • สวัสดีจ้ะท่าน ดร.ภิญโญ
  • "ถ้าเราไม่อยู่..ก็ไม่มีคนสานต่อ"
  • เป็นความจริงล้านเปอร์เซ็นต์เลยจ้ะท่าน ดร.
  • และคนที่มีแววอย่างที่ท่านกล่าวถึงก็หายากหาเย็นเหลือเกิน
  • กับคำว่า " ไม่รู้ หรือ รู้ แต่/และ ไม่กล้า" จะมาปิดบังแววของเขาจนหมด
  • กลัวไปหมดทุกอย่าง  ที่สำคัญ " กลัวที่จะกล้า"
  • ขนาดมีงบประมาณ  มีโครงการมาให้ถึงมือ  ถ้าไม่กระตุ้น ก็..ไม่ขยับ
  • ต้องบอกว่า " ถ้าไม่ดำเนินการ จะคืนงบประมาณให้หลวงแล้ว" 
  • น่ะแหละจึงจะขยับ
  • เฮ้อ........! อีกเมื่อไรเมืองไทยจะเดินหน้าได้อย่าง...กล้าประจัญ...ล่ะจ๊ะ..!

ขอบคุณมากๆครับ..คุณต้นกล้า..

จับจุดได้คือ "ความสนุกครับ" และ "การมีส่วนร่วม"

ผมจะเขียนเพิ่มประเด็นนี้ครับ..

น่าสนใจมากๆ ขอบคุณมากๆครับ

ตอบคุณมะเดื่อ..

จับจุดได้คือ การบริหารความกล้า..

ผมจะเขียนเรื่องนี้ต่อเลยครับ

ขอบพระคุณสำหรับการจุดประกายนะครับ..

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท