(ทำไม) เด็ก (จึง) คิดวิเคราะห์ ไม่ได้


บทความก่อนได้กล่าวถึงองค์การจัดการตนเอง
หรือ ธรรมชาติของสรรพสิ่งในโลกล้วนแต่เติบโตได้เอง
แต่ได้ถูกโหมดบางโหมดของการเรียนรู้คือโหมดปกป้อง
ได้แก่ สภาวะอารมณ์ที่เครียด ไม่อยากเรียนรู้ ซึ่งก็ทำลาย
องค์กรจัดการตนเองที่เป็นโหมดปกติ พัฒนาได้

ก็คงไม่ต้องกล่าวถึงสถานศึกษาแบบอุตสาหกรรมเท่าไรกันนัก
เพราะชอบสร้างทุกสิ่งให้เป็นโหมดปกป้อง รวมทั้งการคิดวิเคราะห์ด้วย
การคิดนั้นสิ่งสำคัญที่สุดคือ การกล้าคิด

ความปลอดภัยในการกล้าคิดเป็นเรื่องสำคัญที่สุด
ของกระบวนการคิด ความเครียดเป็นศรัตรูของความคิด
หากยังไม่มีพื้นที่ปลอดภัยในการแสดงความคิด ความเห็น
ก็ยากที่จะเกิดการกล้าคิด

ความผิดพลาดที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน เป็นผลมาจากอดีต
เหตุปัจจัยต่าง ๆ ที่ไม่เอื้อ จำเป็นต้องเยียวยานั้นมีมากมาย
รวมทั้งเรื่องของสังคมและวัฒนธรรมที่ถ่ายทอดผ่านครอบครัว
และรวมทั้งระบบโรงเรียนด้วย เพราะวัฒนธรรมการเรียนรู้
ของเรานั้นยัดเยียด รวมทั้งไม่สร้างพื้นที่ความปลอดภัย
ให้ได้เรียนรู้ให้เกิดการกล้าคิด

เมื่อไม่มีการกล้าคิด ก็ไม่มีการกล้าทำ โหมดปกป้องทำงานอย่างได้ผล
ความคิดทีดีต่าง ๆ ก็ไม่เกิด เราก็จะได้เด็กคนที่ทำงานเพื่อโรงงานอุตสาหกรรม
ที่พูดแต่คำว่า ครับและก้มหน้าทำทำงานเป็นอย่างเดียว

หมายเลขบันทึก: 435726เขียนเมื่อ 18 เมษายน 2011 00:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:41 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

So, we are stymied by conditions in our culture.

A culture that places people into ranks (classes) by money and status.

Yet we are Buddhist -- free to think, act and receive our kamma -- to shape our own destiny.

Perhaps, a first step is to consider (ทำไม) "เรา" (จึง) คิดวิเคราะห์ ไม่ได้.

Once we have answer to this, we may be able to apply our solutions to "เด็ก" ;-)

ลองจัดเวทีให้ครู "คิดวิเคราะห์"  กันบ้างล่ะ..เป็นไร..???

สวัสดีค่ะ

"...เมื่อไม่มีการกล้าคิด ก็ไม่มีการกล้าทำ โหมดปกป้องทำงานอย่างได้ผล

ความคิดทีดีต่าง ๆ ก็ไม่เกิด เราก็จะได้เด็กคนที่ทำงานเพื่อโรงงานอุตสาหกรรม

ที่พูดแต่คำว่า ครับและก้มหน้าทำทำงานเป็นอย่างเดียว...."

เห็นด้วยกับข้อความนี้ เเพราะจากเดิมเรามักห้ามพูดขัดแย้ง...

การเห็นไม่ตรง...คือขัดแย้ง คือการเถียง....การคิดจึงไม่เกิดค่ะ

ขอบคุณค่ะ

บรรยากาศในการเรียนรู้...เอื้อต่อการคิดได้ดี ไม่เครียดก็คิดอะไรออกได้มากมาย....

ครูมีเงื่อนไขในการสอนเยอะเกินไปหรือเปล่า...หรือ....อะไรบ้าง....มาช่วยกันคิดดีมั่ยค่ะ

Dear Sr.

Back to childhood. Analysis of why we think things can not we use repetition like others to do everything it is not safe for us. When I enrolled in higher education institutions, I see that many institutions are not safe for some institutions

I value the institution's only school. But if the university really has an open space. The purpose is to. That all students have the confidence to think and express their views. To eventually create their own knowledge. Because if we feel secure in ourself. We shall have the force of the really learning.

เห็นด้วยกับครู ป.1 ครับ

ขอบคุณคุณลำดวนครับ

คุณ noktalay ครับ หลักสูตรของเราเป็นหลักสูตรแบบอุตสาหกรรม

จงใจทำให้คนเป็นไปตามเป้าหมาย โดยใช้เวลายัดเยียดเป็นรายชั่วโมง

เพื่อสอบออกไป ดังนั้น การใคร่ครวญ จึงไม่เกิดขึ้น การคิดจึงไม่สามารถ

ได้กระทำในเวลาจำกัด คนออกแบบอย่างนี้เขาก็เชื่อว่าประสงค์ดี และสอดคล้อง

กับการนำคนเข้าสู่ระบบอุตสาหกรรม มากกว่าสร้างคนให้มนุษย์ที่สมบูรณ์

               คุณวัฒนา คุณประดิษฐ์ วิเคราะห์เรื่อง "การคิด" ได้ลุ่มลึกจริงๆ ดิฉันเองรับผิดชอบสอนนักศึกษาระดับปริญญาตรีทุกสาขาในรายวิชา "การพัฒนาทักษะการคิด" ก็ได้แต่ฝึกทักษะการคิดแบบต่างๆ ให้กับนักศึกษา ได้แก่ การคิดวิเคราะห์ (Analytical Thinking) การคิดอย่างมีวิจารณญาณ (Critical Thinking) และการคิดแบบอภิปัญญา (Metacognitive Thinking) ซึ่งเป็นการคิดด้วยสมองซีกซ้าย การคิดสังเคราะห์ (Synthetic Thinking) และการคิดสร้างสรรค์ (Creative Thinking) ซึ่งเป็นการคิดคิดด้วยสมองซีกขวา และการคิดแบบโยนิโสมนสิการ (Attentive Consideration) ซึ่งเป็นการคิดด้วยสมองสองซีก แต่ก็ไม่ได้เน้นประเด็นของ "การกล้าคิด" พอได้อ่านบันทึกของคุณวัฒนา ก็ได้คิดว่า จะต้องเน้นประเด็นดังกล่าวเพิ่มขึ้น

              ดิฉันเองเป็นคน "ชอบคิดต่าง" ไม่ใช่ไม่ยอมรับในความคิดของคนอื่น แต่เวลาเรียนเมื่อทฤษฎีเขาว่ามาเช่นนั้นๆ ดิฉันก็จะทำความเข้าใจ แล้วไม่จบแค่นั้น แต่จะคิดต่อว่า แล้วมันมีโอกาสจะเป็นแบบอื่นได้ไหม แล้วก็ถามอาจารย์ จนเพื่อนผู้ชายชื่อนายสุริยาตั้งฉายาให้ว่า "ยายฝ่ายค้าน" ทั้งที่เราไม่ได้ค้าน ลักษณะดังกล่าวอาจจะเริ่มมาจากการเรียนวิชาโทวิทยาศาสตร์ในระดับอนุปริญญา ที่ชอบศึกษาประวัติชีวิตของนักประดิษฐ์คิดค้น และภายหลังเมื่อได้สอนวิชา "ความคิดสร้างสรรค์" ก็ชอบศึกษาประวัติของบุคคลสร้างสรรค์ในวงการต่างๆ ก็พบว่า "บุคคลสร้างสรรค์ล้วนเป็นคนกล้าคิดต่างทั้งนั้น" แต่ก็อย่างที่คุณวัฒนาว่า การเลี้ยงดูในครอบครัว การสอนในสถานศึกษา ประสบการณ์การทำงาน (โดยเฉพาะอย่างยิ่งในหน่วยงานราชการ) และแบบอย่างที่ได้สัมผัสในสังคม ล้วนทำให้คนเรียนรู้ว่า ผู้ที่ยอมตามผู้มีอำนาจเหนือกว่าเท่านั้นจึงจะอยู่รอดปลอดภัย เมื่อดิฉันเองเป็นคนคิดต่างและกล้าแสดงความคิดโดยไม่คำนึงถึงความปลอดภัย จึงอยู่แทบจะไม่รอด

ขอบคุณ ผศ.วิไล แพงศรี ที่ให้เกียรติในการให้คอมเมนท์ครับ

ปัญหาของระบบการศึกษาทั้งระบบที่เกี่ยวข้องกับการคิดก็คือ

เวลา และ ความพร้อม เท่านั้น

เวลาในระบบทุนนิยม วิถีการผลิตปัญญาในห้องเรียนรายชั่วโมง

ไม่ได้ก่ออะไรให้เกิดผลอะไรในการคิดเท่าไรนัก เพราะหลักสูตรต่าง ๆ

ก็พยายามเร่งให้จบตามเป้าหมายหลักสูตร ทำให้ขาดการไคร่ครวญ

วิถีอย่างนี้ การจดจำมโนทัศน์ เรื่องการคิดเพื่อให้รู้แล้วนำไปสอบ

ให้ได้คะแนนเยอะ ๆ ก็สามารถทำได้

ส่วนความพร้อมนั้น คนที่มีความพร้อมในการคิด เช่นมีความโล่งโปร่ง

ปราศจากความเครียด มีชีวิตในโหมดปกติมาแล้ว ก็เชื่อว่าจะคิดได้เอง

โดยไม่ต้องเทศน์ ต้องสอน ถึงแม้จะสอนมโนทัศน์เกี่ยวกับการคิด

ก็จะนำไปใช้ได้ทันที หลังออกจากห้องที่เป็นวิชาชีวิตเขาก็จะประยุกต์

นำไปใช้ได้ทั้งหมด และมีพลังในการเรียนรู้อย่างมีชีวิตชีวา อย่างเหลือเฟือ

ปัญหาสำคัญของการศึกษาในบ้านเราไ่ม่ใช่การศึกษาตลอดชีวิต

คือ หลังจากก้าวออกจากห้องเีรียนที่เป็นการศึกษาในระบบแล้ว

ก็ส่งคืนความรู้ หรือไม่ก็สอบออกไป ก็ส่งคืนความรู้ไปทั้งหมด

ไม่เิกิดสิ่งที่เรียกว่าการศึกษาต่อเนื่อง เพราะว่าการศึกษาในระบบ

นั้นทำลายระบบชีวิตให้ไปสู่โหมดปกป้อง ซึ่งจำเป็นต้องเยียวยา

เมื่อเยียวยาจนพลังชีวิต สดใหม่ ซ่อมแซมตนเองได้ ก็จะกลับมา

คิดได้เองโดยไม่ต้องสอน เพราะจะเกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิตขึ้นมาเอง

และสังคมเราถ้ามีคนชนิดนี้มาก ๆ มีพลังชีวิต สด ใหม่ สามารถเรียนรู้ได้

อยู่ในโหมดปกติ เศรษฐกิจก็เปลี่ยน สังคมก็เปลี่ยน การเมืองก็ยิ่งเปลี่ยน

เพราะยิ่งคนคิดได้เอง รู้เท่าทัน ระบบโครงสร้างจะเปลี่ยนโดยอัตโนมัติ

แต่วันนี้จะต้องเยียวยา จากโหมดปกป้อง เพื่อเข้าสู่โหมดปกติก่อน

ด้วยการสร้างพื้นที่ปลอดภัย สร้างความสัมพันธ์(ฺBonding) แนวราบ

ให้ระบบชีวิตได้ฟื้นตัว และผมไม่เห็นทางไหนที่จะทำได้ในสถานศึกษา

นอกจากการศึกษาอีกสองระบบที่ทับซ้อนกับการศึกษาในระบบ นั่นแหละ

คือคำตอบ ที่จะก้าวไปสู่การศึกษาตลอดชีวิต การศึกษาต่อเนื่อง ที่ไม่มีวันจบ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท