การพัฒนาจริยธรรมต่อสิ่งแวดล้อมด้วยอนาคตร่วมกัน บทที่ 2


จริยธรรม, FSC, สิ่งแวดล้อม, การศึกษา, มจร, ธรรมชาติ, มนุษย์, พระ

 

 

บทที่  2

 

เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

 

                การศึกษาวิจัยครั้งนี้  เป็นการวิจัยชั้นเรียนที่เลือกใช้เทคนิควิจัยกึ่งทดลองและเพื่อให้การศึกษาวิจัยครั้งนี้ มีความชัดเจนในกรอบแนวคิดกระบวนการวิจัยและสามารถอภิปรายข้อค้นพบได้อย่างครอบคลุม ผู้วิจัยจึงได้ใช้แนวคิดทฤษฎีต่อไปนี้

ก.   แนวคิดกระบวนการสอนแบบสร้างอนาคตร่วมกัน (Future  Search Conference)

ข.   แนวคิดรูปแบบการสอนเพื่อพัฒนาจริยธรรม

ค.      แนวคิดการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

ง.       แนวคิดการพัฒนาจริยธรรมต่อสิ่งแวดล้อม

จ.      งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

 

ก. แนวคิดกระบวนการสร้างอนาคตร่วมกัน  (Future Search Conference)

 

                กระบวนการสร้างอนาคตร่วมกัน (Future Search Conference) หรือเรียกย่อๆ ว่า F.S.C เป็นเทคนิคการประชุมเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมที่พัฒนามาจากหลักการทางสังคมจิตวิทยา โดยภาคธุรกิจในอังกฤษและสหรัฐอเมริกาซึ่งพัฒนาเทคนิคดังกล่าวมาตลอดระยะเวลา 20 ปีเศษ องค์กรอื่น ๆ นอกภาคธุรกิจในประเทศต่าง ๆ ได้นำเทคนิค F.S.C ไปใช้อย่างแพร่หลาย สำหรับประเทศไทยเทคนิค F.S.C เริ่มเข้ามามีบทบาทตั้งแต่ปี 2539

                ความหมายของกระบวนการสร้างอนาคตร่วมกัน (F.S.C)

                ทวีศักดิ์ นพเกษร (2542 หน้า 25-27) กล่าวว่า F.S.C เป็นกระบวนการประชุมเชิงปฏิบัติการของผู้แทนกลุ่มหลายประเภท หลายระดับ ซึ่งต่างก็มีส่วนร่วมเกี่ยวข้องในเรื่องนั้นมาร่วมกันทำงาน โดยนำประสบการณ์ของแต่ละคนมาสร้างวิสัยทัศน์ร่วมกันในเรื่องนั้น และได้แผนหรือแนวทางปฏิบัติให้ไปถึงวิสัยทัศน์ร่วมของกลุ่ม โดยมีจิตสำนึก พันธะสัญญาร่วมกันเป็นกระบวนการที่ใช้อนาคตเป็นจุดประสงค์ที่เต็มไปด้วยความหวังในการทำงาน (สนิท สัตโยภาส . 2544 . หน้า 7 -11)

 

 

            วัตถุประสงค์ของการใช้เทคนิค F.S.C

  1. ร่วมกันทำความเข้าใจสถานการณ์ในอดีตและปัจจุบัน ที่มีความเชื่อมโยงซึ่งจะมีผลกระทบในอนาคต
  2. เพื่อเสนอภาพรวมของสถานการณ์ปัจจุบัน
  3. เพื่อลงมติและสร้างพันธะสัญญาในการมีวิสัยทัศน์ของอนาคตร่วมกัน
  4. เพื่อรวบรวมแนวคิด ความเข้าใจ ข้อมูลพื้นฐาน แผนปฏิบัติการ ที่จะใช้ในการสร้างอนาคตร่วมกัน

          ผลลัพธ์ของการใช้กระบวนการ F.S.C

  1. เข้าใจ ปัจจัย องค์ประกอบ เหตุการณ์ในอดีตที่มีผลต่อสภาพปัจจุบันและแนวโน้มที่มีผลกระทบต่ออนาคต
  2. ทุกคนเห็นภาพรวมเป็นภาพเดียวกัน เกิดวิสัยทัศน์ในอนาคตร่วมกันที่เต็มไปด้วยความหวังและพันธะสัญญาร่วมกัน
  3. ทุกคนเกิดความตระหนัก ได้แลกเปลี่ยนแนวคิดใหม่ ๆ ร่วมกัน เป็นการขยายเครือข่ายมีสัมพันธภาพที่ดี เข้าใจและเห็นคุณค่าซึ่งกันและกัน ความคิดทุกอย่างอยู่ในสมองของทุกคนและตระหนักว่าทุกคนลงเรือลำเดียวกัน มีจุดมุ่งหมายปลายทางร่วมกัน มีแผนที่ชัดเจน ร่วมกัน

          บทบาทของผู้เข้าร่วมกิจกรรม  F.S.C

  1. เป็นผู้ค้นหาข้อมูล ให้ข้อมูล / ประสบการณ์  วิเคราะห์ข้อมูล / ประสบการณ์
  2. ช่วยกันทำงานภายในกลุ่มตามที่ได้รับมอบให้ทันเวลาที่กำหนด
  3. ช่วยกันสร้างภาพของอนาคตที่พึงปรารถนา
  4. ค้นหา “ความคิดเห็นร่วม” ของกลุ่ม
  5. ช่วยกันกำหนดกิจกรรมที่จะนำ “ความคิดเห็นร่วม” ไปสู่การปฏิบัติ
  6. ในกลุ่มย่อยให้มีการแบ่งหน้าที่เป็นผู้นำสนทนา ผู้บันทึก ผู้ควบคุมเวลา ผู้ควบคุมแผ่นพลิกโฆษก และให้หมุนเวียนสับเปลี่ยนหน้าที่กันในแต่ละกิจกรรม

           

องค์ประกอบของกิจกรรม  F.S.C

1)      วิเคราะห์เหตุการณ์ในอดีตเพื่อเชื่อมโยงสถานการณ์และแนวโน้มในปัจจุบัน

2)      วิเคราะห์และสังเคราะห์สถานการณ์ปัจจุบัน เพื่อทำความเข้าใจทิศทาง ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประเด็นการประชุม

3)   การสร้างจินตนาการถึงอนาคตที่พึงปรารถนาโดยร่วมกันคิดแล้วร่วมกันสร้างแผนปฏิบัติการไปสู่อนาคตร่วมกัน

13.แผนปฏิบัติการกลุ่มผู้เกี่ยวข้อง     กลุ่มเฉพาะ

    (Action Plan Stakeholder Group)

ทั้งนี้ ทวีศักดิ์ นพเกษร (2540 หน้า 30) ได้เสนอกิจกรรมแต่ละขั้นตอนของการดำเนินกิจกรรมเชิงปฏิบัติการเพื่อสร้างอนาคตร่วมกัน (F.S.C) จำนวน  13  ขั้น  ดังแผนภูมิต่อไปนี้

 

 

12.แผนปฏิบัติการกลุ่มสนใจ                        กลุ่มสนใจ

    (Action Plan Self – Selected Group)

อนาคต

11.แผนปฏิบัติการส่วนบุคคล                                รายบุคคล

    (Action Plan - Individuals)

10.ความคิดเห็นร่วมและความคิดเห็นที่เป็นไปได้       กลุ่มผสม

    (Common and Promising Ideas)

9.การนำเสนอละคร (Presentation of Dramatizations)   กลุ่มเฉพาะ

8.การทำเป็นละคร (Dramatization)                                   กลุ่มเฉพาะ

7.การสังเคราะห์ (Synthesis)                                               ประชุมรวม

6.ความภูมิใจ – ความเสียใจ (Prouds and Sorries)                   กลุ่มเฉพาะ

5. มุมมองของผู้เกี่ยวข้อง (Stakeholder Perspectives)                กลุ่มเฉพาะ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

4. การสร้างแผนที่ความคิด (Mind Mapping)                                  ประชุมรวม

ปัจจุบัน

3.การหยั่งเห็น (Insight)                                                                    ประชุมรวม

2.เข้าใจอดีต (Understanding the Past)                                               กลุ่มผสม

 

 

 

อดีต

1.เส้นแบ่งเวลา (Timeline)                                                                      กลุ่มผสม

 

 

 

                ทั้งนี้แต่ละกิจกรรมมีวิธีการพอสังเขป คือ

             อดีต

1.เส้นแบ่งเวลา

วัตถุประสงค์  :   เพื่อให้สมาชิกทุกคนสะท้อนประสบการณ์ในอดีตของตน

วิธีการ : ให้สมาชิกนั่งรวมกันเป็นกลุ่ม ๆ ละไม่เกิน 10 คนแต่ละคนจะนั่งคิดทบทวนความรู้ ประสบการณ์หรือเหตุการณ์ที่สำคัญ ๆ ที่ผ่านมาตามกำหนด แล้วนำสิ่งที่ทบทวนได้ไปเขียนลงช่องกระดาษที่ปิดไว้ที่ผนังห้องประชุม วิธีนี้ทำให้ได้ข้อมูลจากสมองของสมาชิกทุกคนมาสร้างภาพร่วมกัน

2.เข้าใจอดีต

            วัตถุประสงค์  : เพื่อให้สมาชิกนำข้อมูลจากเส้นแบ่งเวลามาวิเคราะห์หาความ

สัมพันธ์เชื่อมโยงเพื่อตอบคำถาม

วิธีการ : ให้สมาชิกทุกคนเดินอ่านข้อมูลที่เพื่อน ๆ เขียนไว้ในกิจกรรมข้อ 1 พร้อมกับนำข้อมูลมาตอบคำถามที่วิทยาถาม

3.การหยั่งเห็น

วัตถุประสงค์  : เพื่อให้สมาชิกได้มีโอกาสเสนอความคิดเห็นวิพากษ์วิจารณ์การทำกิจกรรมที่เกิดในอดีต

วิธีการ  : ให้สมาชิกเสนอข้อคิดเห็นเพิ่มเติมจากการนำเสนอผลการวิเคราะห์อดีตและปัจจุบันของกลุ่มต่าง ๆ

 

            ปัจจุบัน

4. แผนที่ความคิด

วัตถุประสงค์  :  เพื่อสร้างภาพรวม ทิศทาง แนวโน้ม และปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อสถานการณ์ปัจจุบัน

วิธีการ  : ให้สมาชิกทุกคนเสนอความคิดเห็นและอธิบายความคิดของตนให้ชัดเจนเพื่อให้กลุ่มทราบ วิทยากรสรุปบันทึกทุกความคิดลงบนกระดาษแผ่นใหญ่ด้วยคำสั้น ๆ แล้วลากเส้นแสดงความเชื่อมโยง ประเด็นหลัก ประเด็นรอง ประเด็นย่อย และประเด็นเสริม ท้ายสุดจึงให้สมาชิกนำสติกเกอร์ไปติดที่ประเด็นที่ตนเห็นว่าสำคัญที่สุด วิทยากรจะนำคะแนน จัดลำดับแล้วนำเสนอที่ประชุม

5.มุมมองของผู้เกี่ยวข้อง

วัตถุประสงค์  : เพื่อให้สมาชิกรับรู้มองของกลุ่ม ทำให้พิจารณาได้ลึกซึ้ง

วิธีการ  : จัดกลุ่มเฉพาะต่าง ๆ แล้วให้ร่วมกันจัดลำดับความสำคัญของประเด็นเสียใหม่แล้วนำเสนอในที่ประชุม

6.ความภูมิใจ เสียใจ

วัตถุประสงค์ : เพื่อเปิดโอกาสให้สมาชิกคิดทบทวนผลงานและภาระงานของตนในอดีตและปัจจุบันทำให้แต่ละคนเข้าใจสภาวะความสามารถและข้อจำกัดกันและกันทำให้มีกำลังใจ

วิธีการ  : ให้สมาชิกนั่งเป็นวงกลม แต่ละคนแจงผลงานที่ทำให้ตนมีความภาคภูมิ

ใจและเสียใจ แล้วเลือกความภาคภูมิใจ 3 ลำดับ ความเสียใจ 3 ลำดับ เสนอในที่ประชุมรวม

7.การสังเคราะห์

วัตถุประสงค์  : เพื่อให้สมาชิกสะท้อนความรู้สึกสิ่งที่ตนเสียใจ เป็นการเปิดใจและยอมรับกันและกันเพื่อเตรียมให้ทุกคนเข้าสู่อนาคตที่สวยงามร่วมกัน

วิธีการ  :ให้สมาชิกแต่ละคนแสดงความรู้สึกหลังจากทำกิจกรรมภูมิใจ/เสียใจจบลง

 

            อนาคต

8. การทำเป็นละคร

วัตถุประสงค์  : เพื่อให้สมาชิกร่วมจินตนาการถึงอนาคตที่พึงปรารถนาร่วมกัน

วิธีการ  : ให้สมาชิกเข้ากลุ่มร่วมกันจินตนาการด้วยการวาดภาพแล้วนำภาพมาหลอมรวมเป็นจินตนาการของกลุ่ม แล้วช่วยกันถ่ายทอดออกไปในรูปของละครไม้ ละครหุ่น บทเพลง บทกวี บทสัมภาษณ์ รายการวิทยุ รายการโทรทัศน์ ข่าว หรือละครพูด ที่มีเนื้อหาพร้อมที่จะนำเสนอความฝันที่อยากให้มีให้เป็นเมื่อคิดแล้วก็ให้ฝึกซ้อม

9.การนำเสนอละคร

ให้แต่ละกลุ่มนำเสนอละคร เพื่อให้ผู้ชมจับประเด็นแล้วบันทึกเป็นข้อมูลเก็บไว้ใช้วางแผนทำงานในช่วงต่อไป

(10) ความคิดเห็นร่วม

วัตถุประสงค์ : เพื่อให้สมาชิกแลกเปลี่ยนและค้นหาอนาคตที่พึงปรารถนาร่วมกัน

วิธีการ : สมาชิกทุกคนร่วมกันพิจารณาค้นหา “ความคิดเห็นร่วม” (ความคิดที่ทุกคนเห็นเป็นเอกฉันท์ว่าสำคัญ) และ “ความคิดที่เป็นไปได้” (ความคิดเห็นที่บางคนเท่านั้นที่มีความเห็นด้วย) แล้วให้สมาชิกลงคะแนนอีกครั้งหนึ่ง

(11) แผนปฏิบัติการส่วนบุคคล

ให้สมาชิกแต่ละคนเลือกประเด็นที่ตนสนใจและให้ความสำคัญมา 1 ประเด็น แล้วตอบคำถามว่าตนและองค์กรที่สังกัดและมีส่วนร่วมในประเด็นที่เลือกอย่างไร

(12) แผนปฏิบัติการกลุ่มสนใจ

ให้สมาชิกที่สนใจประเด็นเดียวกันมารวมกลุ่มเป็นกลุ่มสนใจ เพื่อพิจารณาสภาพที่เป็นอยู่ กลยุทธ์และกิจกรรม พร้อมทั้งปัญหาที่มีอยู่เขียนแผนปฏิบัติการแล้วนำเสนอในที่ประชุมรวม

(13) แผนปฏิบัติการกลุ่มเฉพาะ

ให้กลุ่มเฉพาะมาร่วมกันค้นหาและวางแผนกลยุทธ์ที่จะนำไปสู่วิสัยทัศน์ที่กลุ่มพึงปรารถนาในอนาคตร่วมกัน

สำหรับขั้นตอนของการจัดกิจกรรมประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อสร้างอนาคตร่วมกันดังกล่าว  สนิท   สัตโยภาส  (2544 . หน้า 10) ได้สรุปให้เห็นว่า  มีลักษณะขั้นตอนและกระบวนการในทำนองเดียวกับการสอนโดยยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ ซึ่งมีลักษณะดังนี้

1. ผู้เรียนสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง = Construct

2. ผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์ ช่วยกันเรียนรู้ = Interaction

3. ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการวางแผนการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน  = Participatory

4. ผู้เรียนได้เรียนรู้กระบวนการไปพร้อมกับการสรุปข้อความรู้และได้ผลงาน = Process/ Product

5. ผู้เรียนนำความรู้ไปใช้จริง = Application

ด้วยเหตุผลต่าง ๆ  ข้างต้น ทำให้คณะผู้วิจัยนำเอาแนวคิดการพัฒนากระบวนการมีส่วนร่วมเพื่อ “สร้างอนาคตร่วมกัน” (F.S.C) และใช้เป็นกระบวนการพัฒนาจริยธรรมต่อสิ่งแวดล้อม  ซึ่งเน้นย้ำบทบาทของนิสิตในการเป็นผู้คิด วิเคราะห์  วาดหวัง  วางแผน  ออกแบบ  ดำเนินงานและประเมินเพื่อสรุปบทเรียนร่วมกัน  โดยคาดหวังจะสร้างให้นิสิต เป็นผู้มีวิธีคิด  การปฏิบัติต่อสิ่งแวดล้อมอย่างตระหนักรู้คุณค่า ทั้งในระดับบุคคลและสาธารณะ  

 

ข. แนวคิดรูปแบบการสอนเพื่อพัฒนาจริยธรรม 

 

            สำหรับแนวคิดเกี่ยวกับการสอนเพื่อการพัฒนาจริยธรรมที่นำมาอธิบายสนับสนุนรูปแบบการจัดกิจกรรมการพัฒนาจริยธรรมต่อสิ่งแวดล้อม เน้นกระบวนการที่มีการผสมผสานแนวคิด และเทคนิควิธีที่หลากหลาย  ภายใต้บรรยากาศของการเชื่อมั่นว่า  ทุกคนสามารถพัฒนาได้  หากมีปัจจัยที่เหมาะสม และการให้โอกาสผู้เรียนในการคิด เลือกและตัดสินใจในการกระทำด้วยตนเอง 

โดยนัยนี้การพัฒนาจริยธรรมต่อสิ่งแวดล้อม จึงสามารถดำเนินการดังนี้

1. การพัฒนาจริยธรรมด้วยการกระจ่างค่านิยม(Value Clarification : VC)

Raths , Harmin  and Simon (1966 อ้างในชัยพร  วิชชาวุธและคณะ . 2544 . หน้า  120

24)   ได้กล่าวว่า การกระจ่างค่านิยม คือ   การทำค่านิยมให้กระจ่าง (Value  Clarification)  ซึ่งเป็นวิธีการสอนจริยธรรมที่ใช้กันอย่างกว้างขวางแนวคิดพื้นฐานของกระบวนการนี้ถือว่าค่านิยมคือหลักการประพฤติปฏิบัติตนต่อสิ่งต่างๆที่บุคคลถือว่า ดีงาม ถูกต้องและควรแก่การยึดถือ  กระบวนการกระจ่างค่านิยมนี้มีจุดมุ่งหมายให้ผู้เรียนค้นพบตนเองว่า  หลักการประพฤติปฏิบัติของตนเองต่อสิ่งต่าง ๆ เป็นอย่างไร  และหลักการที่ดีที่ถูกที่ควรตามทรรศนะของตนควรเป็นอย่างไร    ในทรรศนะเช่นนี้  ค่านิยมที่เกิดจากการเรียนรู้ของแต่ละบุคคลจะแสดงออกมาในรูปของความเชื่อ  ทัศนคติ พฤติกรรม และความรู้สึกของแต่ละบุคคลทั้งนี้ความเชื่อทัศนคติ  พฤติกรรมและความรู้สึกที่บุคคลแสดงออกมาในชีวิตประจำวันมีมากมาย   แต่จะเพียงบางส่วนเท่านั้นที่เชื่อว่า  เป็นการแสดงค่านิยม  ซึ่งสามารถตัดสินได้ด้วยเกณฑ์  7  ประการดังนี้ 

  1. การเลือกกระทำอย่างอิสระ  ไม่มีการบังคับ
  2. การเลือกจากทางเลือกหลาย ๆ ทาง
  3. การเลือกที่เกิดจากการพิจารณาผลของทางเลือกแต่ละทางแล้ว
  4. การรู้สึกภูมิใจและมีความยินดีที่ได้เลือกกระทำสิ่งนั้น
  5. ยืนยันการตัดสินใจเลือกของตนอย่างเปิดเผย
  6. การกระทำตามที่ตนตัดสินใจเลือก
  7. การกระทำพฤติกรรมนั้นซ้ำอีก

สำหรับวิธีการพัฒนาพฤติกรรมจริยธรรมด้วยวิธีการกระจ่างค่านิยมเชื่อว่า  เป็นหน้าที่ของ

ผู้สอนในการชี้นำหรือจัดการให้มีการชี้นำ  เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการคิดได้ ความเชื่อ  ทัศนคติ และพฤติกรรมต่อสิ่งหนึ่ง ๆ  ในที่นี้กระบวนการของค่านิยมประกอบด้วย

  1. เกิดจากการเลือกของตนอย่างอิสระ
  2. การได้พิจารณาทางเลือกอื่น ๆ
  3. การได้พิจารณาผลของทางเลือกอื่น ๆ
  4. การมีความภูมิใจหรือยินดีในสิ่งที่ตนเองเลือก
  5. การยืนยันการตัดสินใจเลือกของตนเองอย่างเปิดเผย
  6. การกระทำตามสิ่งที่ตนเองเลือก
  7. การกระทำซ้ำในสิ่งที่เลือก

2.การพัฒนาจริยธรรมด้วยการปรับพฤติกรรม  (Behavior  Modification : BM)

การปรับพฤติกรรมเป็นการประยุกต์หลักการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของ

บุคคลซึ่งจะใช้ได้ผลดีในการสร้างและรักษาพฤติกรรมที่พึงปรารถนา  รวมทั้งการลดพฤติกรรมที่ไม่พึงปรารถนา   สำหรับแนวคิดสำคัญของวิธีการพัฒนาจริยธรรมแบบปรับพฤติกรรมนั้น ตั้งอยู่บนรากฐานความเชื่อที่ว่า    พฤติกรรมของคนเราถูกควบคุมโดยเงื่อนไขการเสริมแรงและการลงโทษ  ดังนั้นการพัฒนาจริยธรรมตามแนววิธีนี้คือ  การจัดเงื่อนไขเพื่อให้ผู้กระทำได้รับการเสริมแรงและไม่ได้รับการเสริมแรง หรืออาจโดยการลงโทษ  แต่อย่างไรก็ตามแนวคิดนี้ก็ยังคงให้ความสำคัญต่อเงื่อนไขการเสริมแรงมากกว่าการลงโทษ  เพราะการลงโทษอาจทำให้เกิดผลเสียเช่น  การต่อต้าน  การหลีกเลี่ยงหรือการลักลอบ ฯลฯ สำหรับขั้นตอนของการพัฒนาจริยธรรมด้วยการปรับพฤติกรรม สามารถทำได้ดังนี้

  1. กำหนดพฤติกรรมที่พึงปรารถนา และ//หรือ พฤติกรรมที่ไม่พึงปรารถนา
  2. กำหนดผลการแสดงพฤติกรรมที่ผู้แสดงพฤติกรรมจะได้รับ โดยเน้นผลบวกมากที่สุด
  3. นำพฤติกรรมในข้อ 1 และผลการกระทำในข้อ  2 มาสัมพันธ์กันอย่างเป็นระบบ เพื่อสร้างเงื่อนไขในการเสริมแรงให้เกิดพฤติกรรม
  4.   ให้และระงับพฤติกรรมการเสริมแรงในข้อ  3 และสังเกตการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม
  5. ประเมินผลและปรับปรุงแก้ไข

             จะเห็นได้ว่า  วิธีการพัฒนาจริยธรรมแบบการปรับพฤติกรรม    มีความแตกต่างจากแบบ

กระจ่างค่านิยมคือ  แบบกระจ่างค่านิยมจะเน้นความเข้าใจของบุคคลเกี่ยวกับกฎเกณฑ์การตัดสินความถูกต้องของพฤติกรรม  แต่แบบการปรับพฤติกรรมจะเน้นที่การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่ต้องการด้วยการสร้างเงื่อนไขการเสริมแรงและการลงโทษ   

3. การพัฒนาจริยธรรมด้วยการเรียนรู้ทางสังคม  (Social  Learning : SL)

Bandura (1977 อ้างในชัยพร  วิชชาวุธและคณะ , 2544 . หน้า  131 – 134)ได้กล่าวถึง

แนวคิดพื้นฐานของการพัฒนาจริยธรรมด้วยการเรียนรู้ทางสังคมว่า  การเรียนรู้ของมนุษย์เกิดจากประสบการณ์ตรงของตนเอง  และการสังเกตพฤติกรรมของผู้อื่น รวมทั้งการเรียนรู้จากการฟังคำบอกเล่าและการอ่านสารบันทึกของผู้อื่น  ซึ่งการเรียนรู้ด้วยการอ่านนี้ทำให้เกิดการเรียนรู้อย่างรวดเร็วและกว้างขวาง  ทั้งนี้ผลจากการเรียนรู้จะอยู่ในรูปแบบของความเชื่อว่า สิ่งใดสัมพันธ์กับสิ่งใด อย่างไร และมีอานุภาพในการกำหนดพฤติกรรมของบุคคล  

            สำหรับการพัฒนาจริยธรรมตามแนวของการเรียนรู้ทางสังคม  คือ  การจัดประสบการณ์ทั้งทางตรงและทางอ้อม  ได้แก่  ตัวอย่าง คำบอกเล่า เพื่อให้ผู้เรียนเกิดความเชื่อ อันจะนำไปสู่การแสดงพฤติกรรม  รวมทั้งการจัดเงื่อนไขสภาพแวดล้อมทางสังคมเพื่อให้เกิดการเรียนรู้  ดังจะสามารถสรุปถึงแนวทางการพัฒนาจริยธรรมให้แก่ผู้เรียนได้ดังนี้

  1. การจัดเงื่อนไขการเสริมแรงและการลงโทษ
  2. การจัดอภิปรายเพื่อให้นักเรียนได้เรียนรู้จากความเห็นของบุคคลต่าง ๆ
  3. การจัดให้นักเรียนได้เห็นตัวอย่างการปฏิบัติที่สอดคล้องกัน
  4. การสร้างเงื่อนไขให้มีการนิยมยกย่องผู้กระทำดีและลงโทษผู้กระทำไม่ดี

โดยสรุป  ทฤษฎีนี้เชื่อว่า  การพัฒนาจริยธรรมขึ้นอยู่กับเงื่อนไขทางสังคมและต้นแบบทาง

สังคมเป็นสำคัญ   เพราะจริยธรรมเกิดจากการเลียนแบบหรือเอาแบบอย่าง ดังนั้นตัวแบบจึงมีความสำคัญ  ในที่นี้ตัวแบบหมายถึง  พ่อแม่คนในครอบครัว คนที่มีชื่อเสียงน่าเคารพ ครูอาจารย์ เพื่อนสนิท ฯลฯ

                สำหรับทฤษฎีเกี่ยวกับการพัฒนาจริยธรรมนี้   ได้นำมาใช้อธิบายการพัฒฬนาจริยธรรมต่อสิ่งแวดล้อมในประเด็นที่ว่า   จริยธรรมไม่ใช่สิ่งที่ติดมาแต่กำเนิด  แต่เกิดจากสิ่งแวดล้อมเป็นสำคัญ ดังนั้นคุณภาพการเรียนรู้และสั่งสมจริยธรรมของแต่ละบุคคลจึงแตกต่างกันเป็นผลจากการปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคลกับสิ่งแวดล้อม  ซึ่งได้แก่ ความถี่และความเข้มข้นของประสบการณ์แวดล้อมต้นแบบในสังคมและผลอันเนื่องจากการแสดงออกทางจริยธรรมในสิ่งแวดล้อมนั้น   

 

ค. แนวคิดการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ 

การที่ระบบการศึกษาจะสามารถสร้างคนเก่ง  คนดี และมีความสุขได้นั้น  จะต้องมีการปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้ใหม่  โดยเปลี่ยนจากการเรียนที่เน้นการท่องจำและเน้นเนื้อหาวิชาในหลักสูตรเป็นหลักไปเป็นการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ซึ่งการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญมีลักษณะดังนี้ (ไสว  ฟักขาว , 2542 , หน้า 10)

  1. ผู้สอนจัดการเรียนการสอนโดยให้ผู้เรียนสร้างความรู้เอง
  2. ผู้สอนใช้ทักษะกระบวนการคือ  กระบวนการคิด  กระบวนการกลุ่ม เพื่อให้ผู้เรียนสร้าง

ความรู้ด้วยตนเอง

            2. ผู้สอนให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนรู้อย่างแท้จริงด้วยการลงมือคิด สรุปความรู้ด้วยตนเอง  รวมทั้งให้ผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์ทั้งสมาชิกในกลุ่มและสมาชิกระหว่างกลุ่ม  และปฏิสัมพันธ์กับครู

  1. ผู้สอนสร้างบรรยากาศเอื้อต่อการเรียนรู้ ทั้งบรรยากาศทางการและจิตเพื่อให้ผู้เรียน

เรียนรู้อย่างมีความสุข

            4. ผู้สอนมีการวัดและประเมินผลทั้งทักษะกระบวนการและเนื้อหาสาระซึ่งเป็นการประเมินตามสภาพจริง

5. ผู้สอนพัฒนาให้ผู้เรียนนำความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวัน

  1. ผู้สอนเปลี่ยนบทบาทเป็นผู้อำนวยความสะดวก

นอกจากนี้คณะผู้เชี่ยวชาญสภาการศึกษาแห่งชาติ (2542 , หน้า 10) ได้เสนอองค์

ประกอบของการเรียนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ  15  ด้านดังนี้

  1. ผู้สอนรัก  สนใจเข้าใจผู้เรียน
  2. สื่อการเรียนปลุกเร้าให้เรียนรู้
  3. บรรยากาศร่มรื่นจูงใจ
  4. ปฏิสัมพันธ์ทำงานกลุ่ม ฝึกปรับตน
  5. กิจกรรมการเรียนรู้หลากหลาย  จัดได้ทุกเวลา
  6. พัฒนารอบด้าน  ประเมินผลรอบด้าน
  7. ธรรมชาติและชีวิตช่วยให้เกิดการเรียนรู้
  8. แก่นแท้ของการสอนคือ  การเรียนรู้ของผู้เรียน
  9. เผชิญสถานการณ์ แก้ปัญหาด้วยตนเอง
  10. ฝึกสติ  กิริยา วาจา พัฒนาปัญญา ปลูกฝังคุณธรรม
  11. ฝึกชี้นำแนวทาง  สร้างนิสัย  กล่อมเกลาจิตใจ
  12. เลียนแบบ ริเริ่ม สร้างสรรค์  จินตนาการ
  13. บทเรียนฝึกทักษะ  ลักษณะ กระบวนการคิด
  14. ผู้เรียนมีส่วนร่วมและได้รับการยอมรับ
  15. สร้างจุดเด่น  ซ่อมเสริมจุดด้อย

                สำหรับแนวคิดการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ  ได้นำมาใช้เป็นกรอบอธิบายการจัดกระบวนการเรียนรู้เพื่อพัฒนาจริยธรรมแก่นิสิต  โดยคำนึงถึงการมีส่วนร่วมสูงสุดในการร่วมคิด  ร่วมวางแผนปฏิบัติและประเมินผล ภายใต้บรรยากาศการเรียนรู้ที่เอื้ออำนวย

 

.แนวคิดการพัฒนาจริยธรรมต่อสิ่งแวดล้อม

 

          การพัฒนาจริยธรรม (Development หรือ  Educate) มีความหมายว่า  เป็นการสร้างแนวทางความประพฤติและความนึกคิดที่ดีงามเหมาะสมให้กับบุคคล  เพื่อให้เข้าสามารถอยู่ได้อย่างร่มเย็นในสังคมจริยธรรม  โดยมุ่งเน้นให้เกิดผลของการสร้างจริยธรรมที่ต้องการในระยะยาวนานและแนบแน่นเป็นคุณสมบัติประจำตัวติดไปกับบุคคล โดยนัยนี้ จึงมีความแตกต่างจากการปลูกฝังจริยธรรม (Indoctrinate)  กล่าวคือ  การปลูกฝังจริยธรรม  เป็นการกระทำโดยวิธีการต่าง ๆ เพื่อให้ได้ผลอย่างรวดเร็ว   หากแต่มักจะขาดความซาบซึ้งทางปัญญา  การวิเคราะห์โดยใช้เหตุผล  ทำให้จริยธรรมที่ได้รับการปลูกฝังมักจะไม่ยั่งยืนคงทน

            สำหรับแนวทางในการพัฒนาจริยธรรมทางด้านสิ่งแวดล้อมนั้น  ในสังคมไทยได้รับอิทธิพลทางแนวคิดและวิถีปฏิบัติมาจากคำสอนของหลักธรรมทางพุทธศาสนา   ดังที่ปริญญา  นุตาลัยและคณะ (2535 .หน้า 305)  ได้กล่าวว่า   พุทธศาสนิกชนที่ประพฤติปฏิบัติตามคำสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า  จะเป็นนักสิ่งแวดล้อมที่ดีที่สุดของโลกเสมอมาและตลอดไป    เช่นเดียวกับพระเทพเวที (ประยุทธ์   ปยุตโต .2535 . หน้า 87 – 91) ซึ่งได้กล่าวถึง  หลักธรรมพื้นฐานในพุทธศาสนา  3  ประการที่เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมดังนี้

  1. การถือหลักกฎธรรมชาติ  ที่กล่าวว่า

“ อุปปาทา  วา  ภิกขะเว  ตถาคตานัง   อนุปปาทา   วาตถาคตานัง”  ซึ่งหมายความถึงว่า 

พระพุทธเจ้าทั้งหลายจะอุบัติขึ้นหรือไม่ก็ตาม   มันก็เป็นหลักยืนตัวอยู่ตามธรรมดา  เป็นกฎธรรมชาติว่า  สิ่งทั้งหลายที่เกิดจากเหตุปัจจัยล้วนแต่ไม่คงที่  ไม่คงตัวและไม่เป็นตัว

  1. หลักความเป็นเป็นผลหรือปฏิจจาสมุปบาท  ที่กล่าวว่า

“อิมสังมิ   สะติ  อิทัง  โหติ                                   อิมสังมิ   อะสะติ  อิทัง นะโหติ

  อิมสังสุปปาทา  อิทัง  อุปปัปชัชชะติ                    อิมสังสะ   นิโรธา   อิหัง   นิรุชชังชะติ”

ซึ่งมีความหมายว่า  เมื่ออันนี้มีอันนี้จึงมี                  เมื่ออันนี้ไม่มีอันนี้จึงไม่มี

เมื่ออันนี้เกิด  อันนี้จึงเกิด                                      เมื่ออันนี้ดับ  อันนี้จึงดับ

3. หลักศรัทธาตามหลักกาลามสูตร   ที่กล่าวว่า        

อย่าเชื่อเพียงเพราะได้ฟังตามกันมา                       อย่าเชื่อเพียงเพราะได้เรียมตามกันมาอย่าอย่าเชื่อเพียงเพราะได้ถือปฏิบัติสืบต่อกันมา       อย่าเชื่อเพียงเพราะเสียงเล่าลือ

อย่าเชื่อเพียงเพราะอ้างตำรา                                 อย่าเชื่อเพียงเพราะตรรก

อย่าเชื่อเพียงเพราะอนุมานบอก              อย่าเชื่อเพียงเพราะคิดตรองตามแนวเหตุผล

อย่าเชื่อเพียงเพราะเข้ากันได้กับทฤษฎีของตน         อย่าเชื่อเพียงเพราะมีรูปน่าเชื่อถือ

อย่าเชื่อเพียงเพราะเห็นว่า  ท่านสมณนี้เป็นครูอาจารย์เรา

ซึ่งหลักธรรมพื้นฐานทั้งสามประการดังกล่าว   หากนำมาใช้เป็นหลักปฏิบัติในการ

ดำรงชีวิตก็จะสามารถนำมาประยุกต์ใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาจริยธรรมในเรื่องสิ่งแวดล้อมได้เป็นอย่างดี  นอกจากนี้   ปริญญา   นุตาลัยและคณะ (2535 .หน้า  303 – 304 )  ยังได้เสนอหลักธรรมที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาจริยธรรมต่อสิ่งแวดล้อม  อีก  5  ประการ  ดังนี้

  1. การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมหรือปธาน  4  ซึ่งประกอบด้วย

1.1.    สังวรปธาน คือ  การระวังป้องกันไม่ให้เกิดมลพิษและความเสื่อมโทรมขึ้น

1.2.    ปนานปธาน คือ  การทำลายมลพิษและกำจัดความเสื่อมโทรมที่มีอยู่แล้วให้หมดไป

1.3.    ภาวนาปธานคือ การสร้างและปรับปรุงคุณภาพสิ่งแวดล้อมที่ดีให้เกิดขึ้น

1.4.    อนุรักขนาปธาน คือ การบำรุงรักษาสิ่งแวดล้อมที่ดีอยู่แล้วไม่ให้เสื่อมลง

  1. ความไม่เบียดเบียน  คือ  อัพยา  ปัชฌัง  สุขัง  โลเก  คือ  ความไม่เบียดเบียนเป็นสุข

ในโลก  ซึ่งหมายถึง   การไม่ทิ้งขยะ  สารพิษ  ลงสู่สาธารณะย่อมแสดงถึงการไม่เบียดเบียนผู้อื่น

  1. ศีล  5  โดยเฉพาะข้อที่  1 และข้อที่  2  ได้แก่

ข้อที่  1  ปาณาติปาตา  เวรมณี  สิกขา  ปทัง  สมาทิยามิ ซึ่งหมายถึง การเว้นจากการฆ่าสัตว์

ข้อที่  2  อทินนา  ทานา  เวรมณี  สิกขา  ปทัง สมาทิยามิ  ซึ่งหมายถึง  การเว้นจากการถือเอสิ่งเขาที่เจ้าของมิได้ให้  โดยนัยนี้  สัตว์ป่าจะไม่สูญพันธุ์  ถ้าทุกคนเว้นจากการฆ่าสัตว์  ป่าไม้จะบริบูรณ์ถ้าทุกคนไม่ขโมยตัดไม้ทำลายป่า

  1. เมตตา  ซึ่งประกอบด้วย

มาตา  ยถา  นิยัง  ปุตตัง                          อายุสา   เอกปุตตมนุรักเข

เอวัมปิ  สัพพภูเตสุ                                  มานสัมภาวเย   อปริมาณัง

เมตตัญจ   สัพพโลกสมิง                         มานสัมภาวเย   อปริมาณัง

            ซึ่งหมายความได้ว่า  มารดาถนอมลูกคนเดียว  ผู้เกิดในตนย่อมได้พร่าชีวิตได้ฉันใด   พึงเจริญเมตตา มีน้ำใจ   ไม่มีประมาณในสัตว์ทั้งปวง  แม้ฉันนั้น  บุคคลพึงเจริญเมตตา  มีในใจ  ไม่มีประมาณไปในโลกทั้งสิ้น  โลกจะมีแต่สันติสุข  ถ้าทุกคนมีเมตตา

  1. สันโดษ  คือ  ความพอใจเท่าที่ตนมีอยู่ ด้วยความไม่โลภ  ประกอบด้วย

สันตุฏฐ

หมายเลขบันทึก: 435710เขียนเมื่อ 17 เมษายน 2011 22:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 10:29 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท