การปฏิบัติเกี่ยวกับการจ้างซ่อมโดยมีความจำเป็นต้องถอดตรวจก่อน


การจ้างซ่อม

ทร. ได้มีหนังสือขอหารือกับสำนักนายกรัฐมนตรี เกี่ยวกับประเด็นตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ.๒๕๓๕ และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ ๒๔ (๒) ที่กำหนดการปฏิบัติเกี่ยวกับการจ้างซ่อมทำพัสดุโดยวิธีพิเศษ กรณีเป็นงานจ้างซ่อมทำพัสดุที่จำเป็นต้องถอดตรวจให้ทราบความชำรุดเสียหายเสียก่อน จึงจะประมาณค่าซ่อมได้ ยังมีความไม่ชัดเจนในการปฏิบัติโดยเฉพาะพัสดุสายอากาศยานที่จำเป็นต้องถอดตรวจและซ่อมทำในต่างประเทศ กรณีดังกล่าวผู้รับจ้างบางรายจะมีเงื่อนไขให้ผู้ว่าจ้างต้องเสียค่าใช้จ่ายในการถอดตรวจหากไม่มีการตกลงจ้าง เนื่องจากภายหลังจากการถอดตรวจแล้ว ปรากฏว่าวงเงินค่าจ้างซ่อมสูงจนไม่สามารถตกลงจ้างได้ ทำให้หน่วยที่รับผิดชอบเกิดปัญหาในการปฏิบัติ ดังนั้น เพื่อให้เกิดความชัดเจนในการปฏิบัติ จึงได้หารือว่าหน่วยจะสามารถจ้างบริษัท/เอกชนถอดตรวจความชำรุดเสียหายของพัสดุ เพื่อประมาณราคาก่อนที่จะตกลงจ้างซ่อมได้ หรือไม่อย่างไร ซึ่ง กรมบัญชีกลาง (คณะกรรมการว่าด้วยการพัสดุ)ได้มีหนังสือตอบข้อหารือให้ทราบ รายละเอียดตามหนังสือกรมบัญชีกลาง ด่วนที่สุด ที่ กค (กวพ) ๐๔๐๘.๔/๑๘๙๐๑ ลง ๓ ก.ค.๔๖ สรุปว่า หาก ทร.จะแยกดำเนินการจ้างซ่อมเป็น ๒ ระยะ จะต้องดำเนินการจ้างถอดตรวจความชำรุดเสียหายก่อน ที่จะดำเนินการจ้างซ่อม เจ้าหน้าที่พัสดุของกองทัพเรือส่วนราชการผู้ว่าจ้าง จะต้องจัดทำรายงานเสนอหัวหน้าส่วนราชการถึงเหตุผลและความจำเป็นรวมทั้งวงเงินที่ประมาณว่าจะต้องจ้างถอดตรวจให้ทราบความชำรุดเสียหายเป็นจำนวนเท่าใด ตามนัยระเบียบ ฯ ข้อ ๒๗ และแต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นดำเนินการหาตัวผู้รับจ้างต่อไป และเมื่อกองทัพเรือได้ทราบถึงรายการที่จะต้องจ้างซ่อมจริงแล้ว หากกองทัพเรือไม่ประสงค์จะจ้างซ่อมกับผู้รับจ้างรายเดิม กองทัพเรือก็ชอบที่จะต้องดำเนินการจ้างใหม่โดยวิธีตกลงราคา วิธีสอบราคา หรือวิธีประกวดราคา แล้วแต่กรณีต่อไปอีกครั้งหนึ่ง

คำสำคัญ (Tags): #การจ้างซ่อม
หมายเลขบันทึก: 435645เขียนเมื่อ 17 เมษายน 2011 14:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 พฤษภาคม 2012 09:59 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท