"วิจัยสถาบัน" ของเจ้าหน้าที่ QAU


     การเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการ  การพัฒนางาน และการแก้ปัญหา  เป็นพันธกิจที่สำคัญของทุกๆองค์การ  ซึ่งต้องอาศัยความร่วมมือร่วมใจของผู้ที่เกี่ยวข้อง  ในการดำเนินงานอย่างจริงจังต่อเนื่อง และต้องปรับปรุงเปลี่ยนแปลงให้ทันต่อกระแสโลกาภิวัตน์อยู่ตลอดเวลา  ซึ่งการดำเนินตามพันธกิจดังกล่าว  จำเป็นต้องอาศัยกระบวนการและวิธีการต่างๆมากมาย  ทั้งในการรวบรวมข้อมูล  การวิเคราะห์ข้อมูลและสภาวการณ์ที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำไปสู่การตัดสินใจเลือกแนวทางและเลือกวิธีการในการพัฒนา  การดำเนินการพัฒนา  การติดตามดูแลควบคุมให้การดำเนินงานทั้งหลายเป็นไปในทิศทางที่ถูกต้องเหมาะสม และก่อให้เกิดการพัฒนาที่ต่อเนื่องและยั่งยืน  ทั้งหมดนี้  เข้ากันได้กับการวิจัยปฏิบัติการ (operation research) เพื่อการพัฒนางาน  โดยมุ่งเน้นการนำหลักการและกระบวนการวิจัยเข้ามาผสมผสานกับการทำงานที่ทำอยู่เป็นประจำ เพื่อช่วยให้การดำเนินงานของทุกๆหน่วยงานสามารถพัฒนาไปได้อย่างมีประสิทธิภาพสูง  รวดเร็ว  ราบรื่น และมั่นคงยิ่งๆขึ้น  มุ่งสู่การเป็นหน่วยงานคุณภาพ และสถาบันคุณภาพตลอดไป  ซึ่งที่ผ่านมามหาวิทยาลัยนเรศวรยังไม่มีงานวิจัยสถาบันที่สามารถนำมาใช้ในการกำหนดนโยบาย หรือแก้ปัญหาขององค์กรอย่างเป็นรูปธรรม เนื่องจากขาดบุคลากรทางด้านวิจัยสถาบันที่มีคุณภาพ  อีกทั้งยังขาดการส่งเสริมและสนับสนุนที่ชัดเจน
     จนเมื่อปี 2547 QAU ได้จัดโครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนานักวิจัยสถาบัน (Institutional  Researcher) มหาวิทยาลัยนเรศวร  ให้กับบุคลากรสายสนับสนุนสังกัดสำนักงานอธิการบดี และผู้สนใจของมหาวิทยาลัยนเรศวร  เพื่อพัฒนานักวิจัยสถาบัน (Institutional  Researcher) นำร่อง  และเพิ่มบุคลากรที่มีความรู้ความเข้าใจในกระบวนการในการจัดทำวิจัยสถาบันเพื่อนำองค์ความรู้ที่ได้ไปจัดทำวิจัยสถาบันโดยจัดเป็น 5 ระยะ คือ ระยะเวลาการฝึกอบรม รวม 9 เดือน เริ่มต้น  พฤศจิกายน 2547  ถึง  สิงหาคม  2548  โดยจำแนกเป็น 5 ระยะ  คือ

ระยะที่ 1  การเขียนโครงร่างการวิจัย (Research proposal) ในผู้ที่จะทำวิจัยเรื่องใหม่ และการเขียนผลงานวิจัย (Research paper) สำหรับผู้ที่ทำวิจัยเสร็จแล้วหรือเกือบเสร็จแล้ว  ได้แก่  ผู้ที่ทำงานอย่างมุ่งมั่นและมีผลการดำเนินงาน ว่า มีการพัฒนาเกิดขึ้นอย่างชัดเจนแล้ว
ระหว่างเดือนพฤศจิกายน 2547 ถึงเดือนธันวาคม 2547

ระยะที่ 2  การสร้างเครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัย (Research instrument) และการเก็บข้อมูลวิจัย (Data  collection) ในผู้ที่จะทำวิจัยเรื่องใหม่
ระหว่างเดือนธันวาคม 2547 ถึงเดือนมกราคม 2548 ในงานวิจัยชนิดไม่ทดลอง และ
ระหว่างเดือนธันวาคม 2547 ถึงเดือนกุมภาพันธ์ 2548 ในงานวิจัยชนิดทดลอง เป็นช่วง pre - test ก่อนนำรูปแบบใหม่ไปดำเนินการ

ระยะที่ 3  การประมวลผลและการวิเคราะห์ข้อมูลของงานวิจัย (Data  analysis ) และการรายงาน/ผลงานวิจัย
ระหว่างเดือนมกราคม 2548  ถึงเดือนพฤษภาคม 2548 ในงานวิจัยชนิดไม่ทดลอง และ
ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ 2548 ถึงเดือนกรกฎาคม 2548 ในงานวิจัยชนิดทดลอง โดยมีกิจกรรมที่สำคัญ คือ การปรับปรุงรูปแบบการทำงานใหม่  การนำรูปแบบใหม่ไปดำเนินการให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุด  และทำ post - test  รวมทั้งการประมวลผล  การวิเคราะห์ข้อมูลของการวิจัย และการเขียนรายงาน/ผลงานวิจัย

ระยะที่ 4  การนำเสนอผลงานวิจัยและการเขียนรายงานการวิจัยเพื่อลงตีพิมพ์
4.1  ในงานวิจัยที่ทำเสร็จแล้ว
4.2  ในงานวิจัยที่ทำขึ้นใหม่ ชนิดไม่ทดลอง
4.3  ในงานวิจัยที่ทำขึ้นใหม่ ชนิดทดลอง

ระยะที่ 5  การติดตาม  สร้างสรรค์  และขยายผลการทำวิจัยอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน ในเดือนสิงหาคม 2548 (งานนเรศวรวิจัย)
โดยได้เรียนเชิญท่าน รศ.นพ.สมชาติ โตรักษา มาเป็นวิทยากรโดยท่านอาจารย์หมอได้ให้ความเมตตากับพวกเรามากท่านพยายามอธิบาย และให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคลเพื่อให้งานวิจัยสถาบันของแต่ละคนสำเร็จออกมาเป็นรูปเล่ม  มีบุคลากรหลายๆ ท่านรวมทั้งตัวดิฉันเองที่ได้ร่วมทำวิจัยแต่เนื่องด้วยเหตุผลบางประการจึงทำให้งานวิจัยไม่สำเร็จออกเป็นรูปเล่มจึงทำให้พลาดโอกาสดีดีครั้งนั้นไป  โดยหลังจากนั้นในช่วงวันที่ 28 - 29 ก.ค. 48 ที่ มน. ได้มีการจัดงานนเรศวรวิจัย ครั้งที่ 1 ขึ้น และมีเวทีให้กับนักวิจัยสถาบันได้นำงานวิจัยของตนเองเข้านำเสนอ  ซึ่งในปีแรกมีงานวิจัยสถาบันที่เป็นผลที่ได้จากโครงการดังกล่าวและที่เข้าร่วมจำนวน 9 ผลงาน ได้แก่

1. การพัฒนาระบบสำนักงานอิเล็กทรอนิกส์ (E-Office) งานวิจัย มหาวิทยาลัยนเรศวร
โดย  : คุณสิริกร  ชูแก้ว   งานวิจัย กองบริการการศึกษา

2. ความพึงพอใจของนิสิตต่อปัจจัยเกื้อหนุนของคณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ปีการศึกษา 2547
โดย  : คุณภาวินี  บุตระ  คณะสหเวชศาสตร์

3. การศึกษาความสนใจในการมีบ้านของบุคลากร มหาวิทยาลัยนเรศวร
โดย  : คุณณัฐพงษ์  อิ่มหิรัญ งานการเจ้าหน้าที่  กองกลาง

4. การพัฒนาฐานข้อมูลการประกันคุณภาพการศึกษาของมหาวิทยาลัยนเรศวร (NUQADB) พ.ศ.2545
โดย  : คุณเอกภาคย์  วรรณกูล   ศูนย์ฝึกอบรมและควบคุมระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์

5. ผลการดำเนินงานและประเมินโครงการมอบศูนย์เรียนรู้โรงเรียนตำรวจตระเวณชายแดน
โดย  : รศ.เทียมจันทร์  พานิชผลินไชย   คณะศึกษาศาสตร์ 

7. ความพึงพอใจของนายจ้างผู้ประกอบการที่มีต่อคุณลักษณะบัณฑิต มหาบัณฑิต  ดุษฎีบัณฑิต คณะศึกษาศาสตร์
โดย  : คุณปราณี  ศิริวัฒน์ และ นางสาวสุธาสินี  วงษ์บา  คณะศึกษาศาสตร์

8. การประเมินหลักสูตรโดยนิสิตระดับบัณฑิตศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
โดย  : คุณนิษวัน  วรานุสาสน์   คณะศึกษาศาสตร์

9. วิเคราะห์บริการยืมระหว่างห้องสมุดสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยนเรศวร ปีงบประมาณ 2547
โดย  : คุณวันเพ็ญ  ตันจันทร์กูล สำนักหอสมุด

และสำหรับงานนเรศวรวิจัยครั้งที่ 2 ซึ่งพึ่งผ่านไปเมื่อวันที่ 28 – 29 ก.ค. นี้ก็มีผลงานวิจัยสถาบันเข้านำเสนอจำนวน 10 ผลงาน ได้แก่

1. การติดตามคุณภาพบัณฑิตและความพึงพอใจในหลักสูตรโดยผู้ใช้บัณฑิตที่สำเร็จการศึกษา  ประจำปีการศึกษา 2547
โดย  : คุณภาวินี  บุตระ   คณะสหเวชศาสตร์

2.  การศึกษาผลการจัดสรรเงินทุนอุดหนุนการวิจัยจากงบประมาณเงินรายได้ที่มีต่อการพัฒนางานวิจัยของบัณฑิตวิทยาลัย
โดย  : คุณสินีนาฏ พุ่มสอาด  บัณฑิตวิทยาลัย

3.  การศึกษาผลการดำเนินงานวิจัยในโครงการต่างๆ ที่ใช้งบประมาณจากกองทุนอุดหนุนการวิจัย งบประมาณเงินรายได้คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวรปีงบประมาณ 2546 - 2548
โดย  : คุณนิษวัน  วรานุสาสน์  คณะศึกษาศาสตร์

4.  การประเมินหลักสูตรโดยนิสิตระดับบัณฑิตศึกษาระบบไตรภาค ปีการศึกษา 2548
โดย  : คุณวันทนา  มาเตียง  คณะศึกษาศาสตร์

5.  รายงานการติดตามคุณภาพบัณฑิตระดับปริญญาตรี คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
โดย  : คุณปราณี  ศิริวัฒน์ คณะศึกษาศาสตร์

6.  การศึกษาผลการดำเนินงานทุนอุดหนุนการวิจัยงบประมาณรายได้ ปีงบประมาณ 2547 - 2548
โดย  : คุณปราการ สำเร็จดี คณะวิทยาการจัดการและสารสนเทศ

7.  การประเมินความพึงพอใจของนิสิตที่มีต่อการให้บริการห้องปฏิบัติการการเรียนรู้ด้วยตนเองคณะศึกษามหาวิทยาลัยนเรศวร
โดย  : คุณพันธ์ดี ทับทิม คณะศึกษาศาสตร์

8.  การศึกษาผลการดำเนินงานทุนอุดหนุนวิจัยงบประมาณรายได้ คณะพยาบาลศาสตร์ปีงบประมาณ 2549 -2548
โดย  : คุณธัญลักษณ์ ทองสอาด คณะศึกษาศาสตร์

9.  ความคิดเห็นของบุคลากรคณะพยาบาลศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร เกี่ยวกับปัญหาอุปสรรคการดำเนินงานด้านการประกันคุณภาพการศึกษา
โดย  : คุณนฤมล  อินทหอม คณะศึกษาศาสตร์

10. การศึกษาการจัดสรรเงินทุนอุดหนุนการวิจัยจากงบประมาณแผ่นดิน ประจำปีงบประมาณ 2546 – 2548
โดย  : คุณสาทิตย์  สุทธิ  งานวิจัย

     ดิฉันเกริ่นมาค่อนข้างยาวเพื่อให้ทุกท่านเห็นว่าใน ม.น. มีการตื่นตัวในการทำวิจัยของบุคลากรสายสนับสนุนค่อนข้างมาก  ดิฉันเชื่อว่ายังมีงานวิจัยอีกหลายๆ ผลงานที่ยังไม่ได้นำมานำเสนอ  ดิฉันเองคิดว่างานวิจัยสถาบันเป็นงานที่เราทำอยู่ทุกวันเพียงแต่เราทำสรุปอย่างเป็นขั้นตอน  และนำผลงานดังกล่าวเสนอต่อผู้บริหารเพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการตัดสินใจและบริหารจัดการหน่วยงาน  ซึ่งหัวข้อที่จะทำน่าจะเป็นเรื่องที่สำคัญและจะสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้จริง  (ส่วนหนึ่งน่าจะเป็นเรื่องที่ผู้บริหารสนใจใคร่รู้ด้วย)

     เมื่อวันศุกร์ที่ 4 ส.ค. ท่านอาจารย์วิบูลย์ได้พูดคุยกับดิฉันเพื่อถ่ายทอดต่อเจ้าหน้าที่ QAU ต่อไปถึงเรื่องที่อาจารย์สนใจในเรื่องต่างๆ ซึ่งอาจออกมาในรูปวิจัยสถาบัน โดยมีเจ้าภาพในแต่ละหัวข้อและให้ข้อมูลมาดังนี้

ตูน ทำ KM แล้วเกิดการ ปป. อะไรบ้าง ?  (ทั้ง มน., รวมถึงในหน่วยประกันคุณภาพฯ)

โอ ICT blog คืออะไร สถานภาพการใช้ KnowledgeVolution  (พัฒนาการมาอย่างไรจนถึงปัจจุบัน) ทำให้เกิดการ ปป. อะไรบ้าง (ใน มน.) อิทธิพล (ผลต่อ) KM implementation - LO

กอล์ฟ River + Stair Diagram  แสดงให้เห็นว่าทำ QA แล้วเกิดการ ปป. อะไรบ้างในมน. และของแต่ละคณะ

พัช ประเมินทุกโครงการที่มีในแผน  เสร็จแล้วสรุปเป็นภาพรวมว่า  QAU ทำอะไรบ้างในรอบปีตามแผน น้อยกว่าหรือเกินแผน  โดยมีคำถามที่สำคัญ คือ QAU ทำให้เกิดการ ปป. อะไรบ้างใน มน. ใช้เงินไปคุ้มไหม ? (มีมิติด้านการเงินด้วย)

อ้อย 
วิเคราะห์ค่าใช้จ่ายในแต่ละหน่วยงาน  แต่ละหน่วยงานอื่น ๆ ได้รับเงินกันกี่ % หน่วยงานใดสูงสุด ต่ำสุด (ในแต่ละด้าน)

     โดยในการทำวิจัยเราจะช่วยกันทำทั้ง 5 เรื่อง 5 คน แต่ด้วยความที่เรายึดหลักการทำงานต้องมีเจ้าภาพ  จึงต้องกำหนดเจ้าภาพงานวิจัยแต่ละเรื่อง  ซึ่งท่านอาจารย์วิบูลย์ได้ตั้งเป้าไว้ให้กับพวกเราว่า  เป้าหมายหลักหลังจากงานวิจัยเสร็จ คือ การนำเสนอผลงานในงานนเรศวรวิจัย ครั้งที่ 3 และระหว่างการดำเนินการทำวิจัยเราทั้ง 5 จะพยายามนำมาเล่าให้ทุกท่านได้รับทราบไปพร้อมๆ กันทาง Gotoknow ต่อไปนะคะ

หมายเลขบันทึก: 43529เขียนเมื่อ 9 สิงหาคม 2006 08:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 พฤษภาคม 2012 13:29 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)
  • แวะมาให้กำลังใจครับ
  • เป็นบันทึกที่ดีมากเลยครับ
  • ขอบคุณครับ
นี่เป็นงานวิจัย ที่เกี่ยวข้องกับองค์การแห่งการเรียนรู้รึป่าวค่ะ ช่วยตอบทีนะค่ะ

     คิดว่าใช่นะคะเพราะการทำวิจัยสถาบันเป้าหมายหนึ่งก็เพื่อพัฒนาและแก้ปัญหาในองค์กร  และบุคลากรในองค์กรที่ได้ร่วมกันทำวิจัยก็จะได้เรียนรู้ไปด้วยและร่วมกันก้าวสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้ค่ะ

คุณตูนคะ...

กะปุ๋มตามรอยมาจาก...บันทึกของ อ.หมอวิจารณ์ถามถึง r2r ใน มน. คะ.... อ่านแล้วใช่เลย

เป็นไปได้ไหมคะที่คุณตูนอาจจะเป็นแกนนำในการเล่าเรื่องให้เราได้เรียนรู้ร่วมไปด้วย ...

อาจจะทั้งที่ผ่านมาหรือกำลังดำเนินการ...โดยเฉพาะการเรียนรู้เรื่องกระบวนการทำ R2R ใน มน. และให้คุณตูนเพิ่มป้าย R2R ใส่เข้าไปด้วยในบันทึกคะ...หรือจะแยก blog ต่างหากเฉพาะเรื่องนี้ก็ได้นะคะ...

ขอบคุณคะ

*^__^*

กะปุ๋ม

 

เรียน คุณกะปุ๋ม

  • ขอบคุณคุณกะปุ๋มค่ะ 
  • ตูนได้ใส่ R2R ไว้ในป้ายของบันทึกนี้เพื่อเป็นการเริ่มต้นก่อนนะคะ  และจะดำเนินการต่อตามที่คุณกะปุ๋มแนะนำต่อไปค่ะ

 

ขอบคุณคะ...คุณตูน..

ชักชวน R2R คน มน. มาเล่าสู่กันฟังเยอะๆ นะคะ

*^__^*

กะปุ๋ม

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท