"ต้นทุนของการเหลวไหล ต้นทุนมหาศาลที่มองไม่เห็น" ของขวัญแก่เยาวชนในวันปีใหม่ของคนไทย 13 เม.ย.54


ต้นทุนมหาศาลที่มองไม่เห็น

      ได้หนังสือเล่มหนึ่งชื่อ เงินทองของ(ไม่)หมู ของท่านอาจารย์ วรากรณ์ สามโกเศศ ราคาจริง 125 บาท แต่เนื่องจากเดินตามตลาดนัดที่นครนายก คนขายขายให้25 บาท รีบคว้าใส่ถุง แต่คุณค่าที่ได้รับนั้นมากมายนัก เป็นเนื้อหาเกี่ยวกับเรื่องเงินทอง จริงๆเรื่องเงินทองนี้สำคัญควรจะมีการเรียนการสอนในโรงเรียนหรือสถาบันระดับอุดมศึกษา โดยเฉพาะสถาบันผลิตครูอย่างพวกเราด้วย อ่านบรรทัดไหนก็เห็นเป็นเรื่องใหม่ ที่ตนเองไม่เคยคิดถึง เหมือนตนเองโดนตบหน้า เราเป็นอย่างนั้นเลย(ที่ไม่ถูก) อ่านจบเล่มแก้มทั้งสองต้องแดงกล่ำแน่เลยครับ

     แต่ที่จะขอบันทึกเอาไว้จะเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับเยาวชน เพราะได้เห็นคะแนนโอเน็ตวิชาหลักแล้วตัวด้านชาไปทั้งร่าง ยิ่งเห็นวิชาคณิตศาสตร์วิชาที่ตัวเองสอนแล้วยิ่งหนักแทบล้มลงไปทั้งๆที่ยืนอยู่  คะแนนเฉลี่ยวิชาคณิตศาสตร์ได้ 14% หา! จากคะแนนเต็ม100 คะแนน นักเรียนทุกคนเฉลี่ยทั่วทั้งประเทศไทยทำกันได้ 14 คะแนน ครูอย่างพวกเราจะต้องทำอย่างไรกันดีครับ เอาหละครับไม่บ่นแล้วเข้าเรื่องดีกว่า

     ท่านอาจารย์ วรากรณ์ สามโกเศศ เขียนไว้อย่างน่าคิดว่า "ถ้าบุคคลหนึ่งเถลไถล ไม่เรียนหนังสือในวัยเด็กอยู่หลายปี ปล่อยให้ช่วงเวลาที่มีค่ายิ่งของชีวิตผ่านเลยไปอย่างไร้ประโยชน์ ก็จะเกิดต้นทุนมหาศาลที่มองไม่เห็น ความสูญเสียของการเถลไถลไม่ปรากฏเป็นตัวเลขให้เห็นในที่ใดทั้งสิ้น ต่อมา แม้บุคคลนั้นจะกลับใจอยากเรียนหนังสือ แต่การเริ่มต้นในวัยผู้ใหญ่นั้นไม่สามารถเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพได้เหมือนช่วงอายุที่สมองกำลังเติบโต ถึงเรียนอย่างไรก็ไม่อาจสู้ความสามารถของเด็กได้ ข้อแตกต่างระหว่างผลพวงจากสองสถานการณ์ คือ ความสูญเสียอันเกิดจากการเหลวไหล หรือพูดอีกอย่างหนึ่งก็คือ ต้นทุนของการเหลวไหล และถ้าไม่กลับมาเรียนอีกเลย ข้อแตกต่างนี้จะยิ่งสูงยิ่งขึ้น คนรักเรียนอาจได้เป็นผู้ว่าราชการจังหวัดที่บ้านเกิด(พัฒนาบ้านเกิดเมืองนอนของตน ปวงชนมีความสุข ทุกยุคสมัยเจริญรุ่งเรือง ในวงเล็บนี่พูดเองครับ) ส่วนคนเกเรอาจเป็นได้แค่คนขี่สามล้อ (หรืออาจเป็นนักเลงโต เล่นการพนันร่ำรวย กลับมาลงส.ส.ได้เป็นส.ส.ส.หลายสมัยใช้เงินซื้อเสียง ได้เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวง เข้ามาทวงผลประโยชน์คืน บ้านเมืองฉิบหาย ในวงเล็บนี่ก็พูดเองครับ) ถึงแม้ตอนเกเร ต้นทุนจะไม่ปรากฏให้เห็น แต่ในที่สุดมันก็ตามมาคิดบัญชีเอาจนได้

     ต้นทุนแอบซ่อนเหล่านี้น่ากลัวยิ่งนัก กล่าวคือ ประการแรก หลายคนไม่รู้ว่ามันมีตัวตนจริง เพราะไม่ปรากฏเป็นตัวเลขให้เห็นอย่างชัดเจน และประการที่สอง ถึงตระหนักว่ามีตัวตน ก็ไม่อาจประเมินได้ว่าต้นทุนสูงเพียงใด

     มนุษย์จำนวนมากต้องเจ็บปวดในบั้นปลายชีวิต เพราะใช้ชีวิตเปลืองเกินไปในวัยเด็ก วัยหนุ่มสาว และวัยกลางคน ไม่ว่าในเรื่อง การดื่มเหล้า สูบบุหรี่ หรือเสพยาจนร่างกายทรุดโทรม หรือใช้ชีวิตที่ขาดความรับผิดชอบต่อครอบครัว จนขาดความรักและศรัทธาอย่างแท้จริง ถ้าต้นทุนเหล่านี้ปรากฏเป็นตัวเลขให้เห็นชัดเจนทันทีเมื่อกระทำ คงจะไม่ต้องมานั่งเสียดายวันเวลาที่ผ่านไปกระมัง สิ่งที่น่าเศร้าของชีวิตเราก็คือ ต้นทุนแอบแฝงเช่นนีัเกิดขึ้นตลอดเวลากับทุกคน แต่คนส่วนมากมักไม่ตระหนักถึง

     และวันเวลาของอดีตก็มิอาจหวนกลับมาให้เราแก้ตัวได้อีก"

                                                           มอบแก่นักเรียนที่ยังเหลวไหลอยู่

หมายเลขบันทึก: 435255เขียนเมื่อ 13 เมษายน 2011 12:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:41 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

สวัสดีค่ะ

อ่านบันทึกนี้แล้วได้เห็นแนวคิดที่ทำให้ชุกคิดอะไรมากมาย อยากจะหาหนังสือเล่มนี้มาอ่านบ้างจังเลยค่ะ ขอบคุณค่ะ

I agree -- time and opportunity never wait for anyone. It is silly to waste time waiting for opportunity.

There more than two parties in education. Teachers and children are at the interaction front (the coal face). There are more than two reasons for O-Net results (2552 and 2553). Two possible factors show mismatching of objectives. Children come to school expecting to be taught. Teachers go to school expecting monthly salary.

We should not be quick to blame children, especially children in rural areas - who contributed poorly to O-Net results.

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท