การแต่งกาพย์ยานี ๑๑


ประเพณีอีสาน

โครงสร้างรายวิชาเพิ่มเติม                 

รหัสวิชา ท16201 กาพย์ยานีประเพณีอีสาน                                 รายวิชาเพิ่มเติม

ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6        หน่วยการที่ 1 เรียนรู้กาพย์ยานี 11 เรื่อง “กาพย์ยานี  ประเพณี อีสาน”

กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย         เวลา  9 ชั่วโมง                    คะแนน 100 คะแนน

 

ลำดับหน่วยที่

ชื่อหน่วยการเรียนรู้

เรื่อง

เวลา (ชั่วโมง)

น้ำหนักคะแนน(100)

1

 

เรียนรู้กาพย์ยานี11

เรื่อง

“ประเพณี อีสาน”

 

ตอนที่ 1  คำคล้องจอง 1  พยางค์

 

ตอนที่  2  คำคล้องจอง  2 พยางค์

 

 ตอนที่ 3  คำคล้องจอง  3 พยางค์

 

 ตอนที่  4  คำคล้องจอง 4 พยางค์

 

 ตอนที่  5  คำสัมผัสสระ

 

 ตอนที่  6  คำสัมผัสอักษร

 

 ตอนที่  7  กาพย์ยานี 11

2

 

1

 

1

 

1

 

1

 

1

 

2

5

 

5

 

10

 

10

 

10

 

10

 

20

คะแนนระหว่างเรียน

 

9

70

สอบก่อนเรียน-หลังเรียน

 

-

30

รวมทั้งสิ้น

9

100

 

 

 

 

 

 

 

 

วิธีใช้

1.  ใช้ประกอบการเรียนการสอน รหัสวิชา ท16201 เรื่อง กาพย์ยานี  ประเพณีอีสาน      

      รายวิชาเพิ่มเติม กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

 

2.  อธิบายลักษณะคำคล้องจอง1 พยางค์  2 พยางค์  3 พยางค์  4 พยางค์  สัมผัสสระ สัมผัสอักษร

     การกาพย์ยานี 11 ให้นักเรียนเข้าใจก่อน

 

เนื้อหามีทั้งหมด 7 ตอน หรือ 7 กิจกรรม ประกอบด้วย

กิจกรรมที่  1  คำคล้องจอง 1  พยางค์ และแบบฝึกเสริมทักษะคำคล้องจอง 1 พยางค์

กิจกรรมที่  2  คำคล้องจอง  2 พยางค์และแบบฝึกเสริมทักษะคำคล้องจอง 2 พยางค์

กิจกรรมที่  3  คำคล้องจอง  3 พยางค์และแบบฝึกเสริมทักษะคำคล้องจอง 3 พยางค์

กิจกรรมที่  4  คำคล้องจอง 4 พยางค์และแบบฝึกเสริมทักษะคำคล้องจอง 4 พยางค์

กิจกรรมที่  5  สัมผัสสระและแบบฝึกเสริมทักษะสัมผัสสระ

กิจกรรมที่  6  สัมผัสอักษรและแบบฝึกเสริมทักษะสัมผัสอักษร

กิจกรรมที่  7  กาพย์ยานี 11และแบบฝึกเสริมทักษะการแต่งกาพย์ยานี11

 

                                 กิจกรรม 

แบบฝึกเสริมทักษะการการเขียนบทร้อยกรองเรื่องกาพย์ยานี ประเพณีอีสานนี้มีทั้งหมด 7  กิจกรรมหรือ 7 ตอน ดังนี้

แบบทดสอบก่อนเรียน จำนวน  30 ข้อ

กิจกรรมที่  1  คำคล้องจอง 1  พยางค์ และแบบฝึกเสริมทักษะคำคล้องจอง 1 พยางค์

กิจกรรมที่  2  คำคล้องจอง  2 พยางค์และแบบฝึกเสริมทักษะคำคล้องจอง 2 พยางค์

กิจกรรมที่  3  คำคล้องจอง  3 พยางค์และแบบฝึกเสริมทักษะคำคล้องจอง 3 พยางค์

กิจกรรมที่  4  คำคล้องจอง 4 พยางค์และแบบฝึกเสริมทักษะคำคล้องจอง 4 พยางค์

กิจกรรมที่  5  สัมผัสสระและแบบฝึกเสริมทักษะสัมผัสสระ

กิจกรรมที่  6  สัมผัสอักษรและแบบฝึกเสริมทักษะสัมผัสอักษร

กิจกรรมที่  7  กาพย์ยานี 11และแบบฝึกเสริมทักษะการแต่งกาพย์ยานี11

แบบทดสอบหลังเรียน จำนวน  30 ข้อ เป็นแบบทดสอบชุดเดียวกันกับก่อนเรียน

 

แผนการจัดการเรียนรู้

รายวิชาเพิ่มเติม            กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย                            ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

หน่วยการเรียนรู้ ที่ 1 เรื่อง กาพย์ยานี  ประเพณีอีสาน

หน่วยย่อยที่  1 เรื่อง  คำคล้องจอง 1 พยางค์                                            เวลา  2 ชั่วโมง

*********************************************************************

 

1.ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง

                1.1 นักเรียนสามารถบอกลักษณะและแยกประเภทคำคล้องจองได้

                1.2 นักเรียนอธิบายความหมายของคำคล้องจองได้ถูกต้อง

                1.3 นักเรียนสามารถยกตัวอย่างคำคล้องจองด้วยเสียงพยัญชนะได้ถูกต้อง

                1.4 นักเรียนมีความตั้งใจและให้ความร่วมมือในการเรียนเรื่องคำคล้องจอง

 

2. สาระสำคัญ

                คำคล้องจอง หมายถึง พยางค์ที่คล้องจองด้วยเสียงของสระ หรือเสียงของพยัญชนะ คำสัมผัส ไม่ขัดกัน, รับสัมผัสกัน คำที่ใช้สระเสียงเดียวกัน และตัวสะกดเป็นมาตราเดียวกัน แต่พยัญชนะต้นต่างกันก็ได้  เสียงวรรณยุกต์ต่างกันได้  คำคล้องจอง 1 พยางค์จะเปล่งเสียงออกมาเพียงหนึ่งครั้งเท่ากับ 1 พยางค์ หรือ 1  คำ

 

3. สาระการเรียนรู้

                 คำคล้องจอง

                               

4. กระบวนการการเรียนรู้

   ขั้นที่ 1  ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน

            ครูชี้แจงรายละเอียดพร้อมจุดประสงค์ของกิจกรรมการเรียนรู้ แบ่งกลุ่มนักเรียนโดยคละนักเรียน เก่ง ปานกลาง อ่อน จำนวน 3  กลุ่ม กลุ่มละ 4 – 5 คน แนะนำบทบาทหน้าที่ของนักเรียนแจก ชุดกิจกรรมให้นักเรียนแต่ละกลุ่ม ( ใช้เวลา 10 นาที )  แล้วปฏิบัติกิจกรรมขั้นต่อไป

 

  ขั้นที่ 2   ขั้นสอน

              ครูยกตัวอย่างคำคล้องจองให้นักเรียนสังเกต เช่น คำคล้องจองหนึ่งพยางค์  คำคล้องจองสองพยางค์  คำคล้องจองสามพยางค์ คำคล้องจองสี่พยางค์ โดยครูเสนอชุดบัตรคำคล้องจองให้นักเรียนสังเกต  และช่วยกันสรุปความรู้ที่นักเรียนสังเกตได้จากบัตรคำ

                ชุดที่ 1  กา    มา    นา    ตา   สา

ชุดที่ 2    เพื่อน     พาน       เพี้ย         พอง

ชุดที่ 3    สวยงาม   ถามข่าว  สาวสวย   กล้วยหอม

ชุดที่ 4    ชุมชนของเรา  เข้าเวรทุกคืน ถ้าใครฝ่าฝืน ถูกปืนยิงตาย

ครูให้นักเรียนสังเกตชุดบัตรคำคล้องจองแต่ละชุดแล้วช่วยกันบอกลักษณะที่สังเกตได้โดยให้อาสาสมัครที่ลายมือสวยมาเขียนลักษณะต่างๆบนกระดานดำเช่น

                - คำคล้องจองใช้สระตัวเดียวกัน

                - คำคล้องจองใช้พยัญชนะต้นตัวเดียวกัน

                - คำคล้องจองอาจมีหนึ่งพยางค์ หรือหลายพยางค์

                ครูทดสอบความเข้าใจของนักเรียนโดยให้แต่ละกลุ่มช่วยกันบอกคำคล้องจองต่อกันโดยครูกำหนดว่าจะให้นักเรียนต่อคำคล้องจองกี่พยางค์  โดยใช้เวลาในการนำเสนอคำคล้องจองตามความต้องการแล้วนำเสนอผลงาน ใช้เวลา 20 นาที

                เมื่อนักเรียนเข้าใจลักษณะของคำคล้องจองแล้ว ครูเสนอสาระความรู้ที่เกี่ยวกับคำคล้องจองเพิ่มเติมโดยใช้สื่อบัตรความรู้ของชุดกิจกรรม เพื่อให้นักเรียนได้ค้นคว้าความรู้และเน้นให้นักเรียนใช้กระบวนการเรียนแบบร่วมมือ ให้สมาชิกแต่ละกลุ่มปฏิบัติตามชุดกิจกรรมที่ได้รับโดยประธานกลุ่มนำเสนอความรู้จากบัตรความรู้ต่อกลุ่ม และสมาชิกร่วมกันศึกษาค้นคว้าความรู้จากบัตรความรู้เรื่องคำคล้องจองด้วยเสียงสระ  และคล้องจองด้วยเสียงพยัญชนะ หรือสัมผัสอักษรหรือสัมผัสพยัญชนะ จากบัตรความรู้ของชุดกิจกรรมที่ 1.1  โดยครูคอยแนะนำให้นักเรียนเรียนรู้จากชุดกิจกรรมให้ได้มากที่สุด

ใช้เวลา 15 นาที แล้วปฏิบัติกิจกรรมขั้นต่อไป

ขั้นที่ 3

                ขั้นปฏิบัติกิจกรรม และ รายงานผล นักเรียนแต่ละกลุ่มนำความรู้ที่ได้ศึกษาร่วมกันมาช่วยกันมาช่วยกันทำแบบฝึกหัดประจำชุดกิจกรรม โดยใช้การเรียนแบบร่วมมือ ( ใช้เวลาในการทำแบบฝึกหัด 20 นาที ) และให้แต่ละกลุ่มตรวจสอบความถูกต้องจากเฉลย โดยครูเป็นผู้ดูแลให้คำแนะนำในข้อสงสัยของนักเรียน เมื่อเสร็จแล้วแต่ละกลุ่มรายงานผลการปฏิบัติกิจกรรมอีก 10 นาที

ขั้นที่ 4   

                สรุปบทเรียนและประเมินผลการทำงานกลุ่ม  โดยให้นักเรียนร่วมมือกัน  อภิปรายความรู้

ครูซักถามความเข้าใจของนักเรียนเกี่ยวกับเรื่องคำคล้องจอง ร่วมกันซักถามและสรุปความรู้เรื่องคำคล้องจองว่า คำคล้องจอง หรือคำสัมผัสประกอบด้วย สัมผัสสระ และสัมผัสอักษร หรือ สัมผัสพยัญชนะ แจ้งคะแนนของกลุ่มให้ผู้เรียนทราบ แสดงผลงานโดยนำผลงานติดป้ายนิเทศ (ใช้เวลา 15 นาที) แล้วให้นักเรียนปฏิบัติกิจกรรมขั้นต่อไป

ขั้นที่ 5

                ทดสอบหลังเรียน ให้นักเรียนทำแบบทดสอบประจำชุดกิจกรรมด้วยตนเอง โดยไม่ปรึกษากัน ( ใช้เวลา 30 นาที ) เมื่อเสร็จแล้วครูบันทึกผล

 

5. สื่อ/แหล่งเรียนรู้

ชุดกิจกรรมย่อยที่ 1.1   เรื่อง คำคล้องจอง

               

6. การวัดและประเมินผล

                6.1 วิธีการวัด

                      - สังเกตจากการร่วมกิจกรรมการเรียนรู้

                      - ตรวจแบบทดสอบ

                     -  ตรวจแบบฝึกหัดกิจกรรมและแบบฝึกหัด

6.2 เครื่องมือที่ใช้วัด

   -   แบบบันทึกคะแนนและสังเกตพฤติกรรม

                   -   แบบทดสอบ

                  -   แบบฝึกหัดกิจกรรมย่อยและแบบฝึกหัด

                6.3 เกณฑ์การวัดและประเมินผล

                 - แบบทดสอบก่อนเรียนจำนวน 30 ข้อ ตอบถูก ข้อละ 1 คะแนน คะแนนเต็ม 30 คะแนน

ตอบผิดได้  0 คะแนน

-                   แบบฝึกกิจกรรมย่อยและแบบฝึกหัด  ตอบถูก ข้อละ 1 คะแนน ตอบผิด 0 คะแนน

-                   จำนวน   5 ข้อ  คะแนนเต็ม  5 คะแนน

-                   ข้อละ 1 คะแนน

-                   เกณฑ์การตอบ   ตอบถูกทุกคำ                 1             คะแนน

ตอบถูกบางส่วน       0.5         คะแนน

ตอบไม่ถูกเลย               0             คะแนน

-                    

                                ลงชื่อ........................................................ผู้สอน

                                                 (...................................................)

วันที่...............เดือน................................พ.ศ. .............

  

                                       บัตรความรู้1.1 (1)

                                        เรื่อง คำคล้องจอง

         คำคล้องจอง หมายถึง พยางค์ที่คล้องจองด้วยเสียงของสระหรือเสียงของพยัญชนะถ้าคำ

คำนั้นคล้องจองด้วยเสียงสระ  เรียกว่า สัมผัสสระ  ถ้าคำคำนั้นคล้องจองด้วยเสียงพยัญชนะ

         เรียกว่า สัมผัสอักษร หรือ สัมผัสพยัญชนะ ใช้เมื่อเป็นคำในบทร้อยกรองต่างๆ

 

        คำคล้องจองด้วยเสียงสระ  ประกอบด้วยคำที่หลากหลาย  ดังตัวอย่างต่อไปนี้

1.คำคล้องจองด้วยเสียงสัมผัสสระที่ไม่มีตัวสะกด

           หมายถึง คำทุกคำที่มีความหมาย อยู่ในมาตราแม่ ก กา  คือคำที่มีรูปสระทุกคำ

รวมทั้งคำควบกล้ำแต่ไม่มีตัวสะกด

           ตัวอย่างคำคล้องจองด้วยเสียงสัมผัสสระที่ไม่มีตัวสะกด

เสียงสระอา      ได้แก่  ตา  จ้า  ลา  ป่า  ถ้า  น้า  ข้า  ช้า  ระย้า  จ๋า  สา  หา  ฯลฯ

เสียงสระอี        ได้แก่  ระวี  สี  ปี  ชี้  หนี  พี่  ขจี  วลี  วจี  ฯลฯ

เสียงสระเอ       ได้แก่  เท  เก  ทะเล  เร่  เห  จระเข้  ฯลฯ

เสียงสระอู        ได้แก่  งู  ชู้  ผู้  หนู  หู  ชู  อู้  หมู  ฯลฯ

เสียงสระเอือ     ได้แก่  เรือ  เหลือ  เชื่อ  เหงื่อ  เบื่อ  เถือ  มะเขือ  เพรื่อ  เนื้อ  ฯลฯ

เสียงเอาะ          ได้แก่  เฉาะ  เงาะ  เหมาะ  เสนาะ  เลาะ  เหาะ  หัวเราะ  ฯลฯ

เสียงสระเอา       ได้แก่  เขา  เขลา  เยาว์  เศร้า  เบา เข้า  เฝ้า  เร้า  เสา  ฯลฯ

และคำที่ประสมเสียงสระอื่นๆที่ไม่มีตัวสะกด

 

                 ข้อยกเว้น  เสียงสระต่อไปนี้ คือ เสียงสระไอ  ใอ  และ เสียงสระ อำ เสียงสระทั้ง

3 นี้ ถือว่าเป็นเสียงสระที่มีเสียงตัวสะกดข้างท้าย  สามารถออกเสียงคล้องจองกับคำที่มี

ตัวสะกดได้  ไม่จำเป็นต้องคล้องจองกับคำที่มีรูปสระไอ  ใอ  หรือ อำ เท่านั้น  ดังตัวอย่าง

ต่อไปนี้

           เสียงสระไอ  ใอ  คล้องจองกับคำที่ประสมกับ สระ – ะ + ย สะกด

เช่น        ใจ   ไอ  ไส  ใคร คล้องจองกับ  อุทัย  ชัย  สมัย  พระทัย  เป็นต้น

                เสียงสระ อำ คล้องจองกับ  คำที่ประสมกับ สระ – ะ +  ม สะกด หรือ รร + ม

เช่น        ดำ    คลำ   จำ   คล้องจองกับ สัม   คัม  ธรรม  กรรม  เป็นต้น 

บัตรความรู้ 1.1 ( 2 )

เรื่อง  คำคล้องจอง

2. คำคล้องจองด้วยเสียงสัมผัสสระที่มีตัวสะกด

                หมายถึง  คำทุกคำ และ คำควบกล้ำที่ประกอบด้วยมาตราตัวสะกด ทั้ง 8 มาตรา ( กง กน กม เกย  เกอว  กก  กด กบ )  เป็นตัวสะกด และรวมถึงคำที่สะกดด้วยตัวสะกด

 

ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง

 

                1. นักเรียนสามารถบอกความหมายของคำคล้องจองได้

                2. นักเรียนสามารถบอกความหมายของคำคล้องจอง 1 พยางค์ได้

                3. เมื่อกำหนดคำให้ 1  คู่ นักเรียนสามารถชี้บ่งว่าคำคู่ใดเป็นคำคล้องจอง หรือไม่ใช่คำคล้อง-จองอย่างน้อย 8 ข้อ จาก 10 ข้อ

                4. เมื่อกำหนดคำให้ 2 กลุ่ม นักเรียนสามารถจับคู่คำที่มีเสียงคล้องจองกันได้ถูกต้อง อย่างน้อย 8 คู่  จาก 10 คู่             

 

คำคล้องจอง คือ คำที่มีมีสระเสียงเดียวกัน และตัวสะกดเป็นมาตราเดียวกัน แต่พยัญชนะต้นต่างกันก็ได้  เสียงวรรณยุกต์ต่างกันได้  เช่น

 

                                เขียน      คล้องจองกับ         เรียน

                                หนาว     คล้องจองกับ         ขาว                         เป็นต้น

 

เพื่อความเข้าใจ    ให้นักเรียนเติมคำที่คล้องจองกับคำต่อไปนี้

 

                                กา           คล้องจองกับ         .........................................

 

                                ขำ           คล้องจองกับ         .........................................

 

                                ไถ           คล้องจองกับ         .........................................

 

                                ปู             คล้องจองกับ         .........................................

 

                                เสือ         คล้องจองกับ         .........................................

 

                                เส            คล้องจองกับ         .........................................

 

                                ริน          คล้องจองกับ         .........................................

 

                                ครัว         คล้องจองกับ         .........................................

                            

 

ตัวอย่างเฉลยแบบฝึกกิจกรรมย่อย  ( ขึ้นอยู่กับดุลพินิจของครูผู้สอน)

 

                                กา           คล้องจองกับ         ................ปา.........................

 

                                ขำ           คล้องจองกับ         ..................รำ.......................

 

                                ไถ           คล้องจองกับ         ...................ไป......................

 

                                ปู             คล้องจองกับ         ....................รู.....................

 

                                เสือ         คล้องจองกับ         ...................เรือ......................

 

                                เส            คล้องจองกับ         ....................เก.....................

 

                                ริน          คล้องจองกับ         ................สิน.........................

 

                                ครัว         คล้องจองกับ         ................กลัว.........................

 

 

                               

หมายเลขบันทึก: 434977เขียนเมื่อ 11 เมษายน 2011 16:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 16:19 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
  • สวัสดีค่ะพี่สถิตย์ สบายดีนะค่ะ
  • ขอชื่นชมผลงานนะคะ
  • ขอบคุณสำหรับการต้อนรับและการดูแล ขณะที่มาอบรมมอนเทสซอรี ที่อำเภอพล จังหวัดขอนแก่นไม่อย่างนั้นคงเคว้งคว้างแน่ๆเลย เหมือนมาเยี่ยมญาติพี่น้องจริงๆ ค่ะ

ขอบคุณด้วยความซาบซึ้งใจ

ครูรส

เห็นผลงานของคุณครูแล้วอยากทำเรื่องท้องถิ่นมากเลยค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท