รพ.หนองม่วง
รพ.หนองม่วง รพ.หนองม่วง รพ.หนองม่วง รพ.หนองม่วง

Telehealth ในระบบการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายเครือข่ายบริการสาธารณสุขอำเภอปัว จ.น่าน นางสุวิมล นุชมี


Pallitive care.End of life care .Telehealth การสาธารณสุขทางไกล .การดูแลแบบประคับประคอง.ผู้ป่วยระยะสุดท้าย

จากการที่ได้มีโอกาสไปร่วมศึกษาดูงาน การประชุม HA Nation forum ครั้งที่ 12 วันที่ 16 มีนาคม 2554 ที่เมืองทองธานี มีหัวข้อน่าสนใจจึงนำมาฝากเรื่อง Telehealth ในระบบการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายเครือข่ายบริการสาธารณสุขของอำเภอปัว จ.น่าน ดังนี้

ปัญหาและสาเหตุ

  • ระบบการส่งต่อผู้ป่วยสู่สถานีอนามัยในพื้นที่ไม่ทันการสำหรับการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย
  • การดำเนินดรคระยะสุดท้าย มีความก้าวหน้า กำเริบ รุนแรงได้ทุกขณะ
  • พบปัญหา"กรณีผู้ป่วยมะเร็งตับระยะสุดท้ายต้องทุกข์ทรมานจากการปวดจนเสียชีวิตที่บ้าน
  • การติดตามเยี่ยมบ้านไม่เพียงพอต่อความต้องการการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย

เป้าหมาย

เพื่อให้ผู้ป่วยระยะสุดท้ายและครอบครัวในการดูแลองเครือข่ายบริการสาธารรสุขอ.ปัว ได้รับการประสานการดูแลอย่างมีประสิทธิภาพ และต่อเนื่อง

กิจกรรมพัฒนา

  • โทรศัพท์ติดตามสอบถามอาการ สภาวะของผู้ป่วยและปัญหาต่างๆภายใน 2 วันทำการหลังจำหน่ายโดย Pallitive care APNs
  • โทรศัพท์แจ้งเตือนและประเมินสภาพผู้ป่วย ในช่วง 3 วันก่อนนัด
  • ให้คำปรึกษาทางโทรศัพท์ได้ตลอด 24 ชั่วโมง โดย pallitive care APNs และเครือข่าย
  • ส่งต่อข้อมูลการดุแลผู้ป่วยจากโรงพยาบาลสู่สถานบริการสาธารณสุขในพื้นที่โดยแนบไฟล์เอกสารการส่งต่อผู้ป่วยไปกับโปรแกรม Skype ซึ่งผู้รับบริการส่งต่อสามารถรับข้อมูลได้ทันที ทันต่อการดูแลต่อเนื่องเร่งด่วน
  • สถานบริการสาธารณสุขในพื้นที่ส่งข้อมูลผลการติดตามดูแลต่อเนื่องในชุมชน ทั้งแบบเป็นข้อความ ไฟล์เอกสาร และไฟล์ภาพแนบ Skype มายังผู้ประสานงานการดูแลของเครือข่าย
  • กรณีพบผู้ป่วยรายใหม่ในชุมชนสามารถแจ้งข้อมูล และสามารถใช้บริการการขอรับคำปรึกษาทางโทรศัพท์ได้

การวัดผลและผลของการเปลี่ยนแปลง

  • ผู้ป่วยระยะสุดท้ายที่ต้องการดูแลต่อเนื่องที่บ้านเร่งด่วนมีโอกาสได้รับการดูแลได้ทันการณ์
  • ผู้ป่วยและครอบครัวมีความมั่นใจในการกลับไปดูแลตนเองต่อเนื่องที่บ้าน เพราะมีระบบการให้คำปรึกษาทางโทรศัพท์
  • ผู้ดูแลหลังของผู้ป่วยมีความพึงพอใจต่อการติดตามสอบถามความก้าวหน้าของอาการสภาวะของผู้ป่วยและปัญหาต่างๆทางโทรศัพท์ในระดับมากขึ้นไปทั้งหมด
  • คำแนะนำที่ได้รับช่วยให้ผู้ป่วยและครอบครัวสามารถตัดสินใจเกี่ยวกับปัญหานั้นๆในระดับมากร้อยละ 80

บทเรียนที่ได้รับ

การโทรศัพท์ติดตามสอบถามปัญหาของผู้ป่วยและครอบครัวหลังจำหน่าย ทำให้ลดช่องว่างระหว่างผู้ให้และผู้รับบริการ ทำให้กล้าที่จะขอรับคำปรึกษาเมื่อมีปัญหามากขึ้น

ปัญหาจัดการความปวด การพาผู้ป่วยมารับการตรวจติดตามที่โรงพยาบาล และสภาวะของผู้ปวยเมื่อเข้าสู่ช่วงระยะเวลาสุดท้ายของชีวิต เป็นประเด็นสำคัญที่ผู้ดูแล ใช้บริการปรึกษาทางโทรศัพท์

การนำเทคโนโลยีการสื่อสาร ทั้งทางระบบโทรศัพท์ มาใช้ร่วมกับระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต สนับสนุนให้ระบบการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

 

 

หมายเลขบันทึก: 434525เขียนเมื่อ 7 เมษายน 2011 22:27 น. ()แก้ไขเมื่อ 26 เมษายน 2012 21:48 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท