"KM ฉบับเด็ก ป. 1"


ทำอย่างไรไม่ให้ KPI กลายเป็นความเครียด (K) ป่วน (P) และั อ่วม (I) ในที่สุด ตอน 2 และ ห้องเรียนกระบวนกร AI ตอนที่ 332

สองสามวันก่อนลูกสาววัย 7 ขวบ ของผมขอให้ซื้ออมยิ้ม..อมยิ้มยี่ห้อที่ว่าสร้างความปวดเศียรเวียนเกล้ากับผมครับ..เพราะนอกจากแม่ เป็นหมอฟันที่ห้ามนักห้ามหนา เจ้าอมยิ้มนี่ยังแกะยากมากมาย..ไม่เคยแกะได้..แต่หลังจากขออนุญาตแม่ว่ากินได้บ้าง..วันนั้นเธอก็ได้อมยิ้มโลกแตกนี่ไปสมใจ..แล้วเธอก็หันมาบอกพ่อว่า..."..คุณพ่อขา แกะให้หน่อยค่ะ.."

..เท่านั้น..ผมก็พยายามแกะ แกะเท่าไรก็ไม่ออก...เลยบอกลูกว่า..."เดี๋ยวพ่อจะไปหากรรไกรในบ้านมาแกะให้หนูนะ..." 

...

ลูกสาว ผมก็บอกทันทีว่า..."คุณพ่อคะ..ไม่ต้องก็ได้ค่ะ..เดี๋ยวหนูเต๊าะเอา..."

...

ผมก็งงๆ..สักพัก เธอก็หันไปหากองอิฐบล๊อก ที่เพื่อนบ้านจะเอาไปสร้างรั้ว แล้วเธอก็ปฏิบัติการเ๊ต๊าะ..เธอเอาอมยิ้มไปปัดๆ กับผนังอิฐบล๊อก..สักพัก มันก็เริ่มฉีก...ลูกสาวก็หยุด แล้วตรวจดู แล้วหันมาบอกพ่อว่า..."มันแตกหน่อย แต่ก็กินได้.." ว่าแล้วเธอก็ได้อมยิ้ม แล้วเธอก็ไปเล่นกับเพื่อน..

...

ผมถามเธอในวลาต่อมาว่าเธอรู้ได้ยังไง..เธอบอกว่า..."เห็นเพื่อนๆเขาทำกัน..เลยทำตาม..ที่ห้องป. 1 ของหนูใครๆก็ทำกันอย่างนี้.."

....

เป่ว...นี่มัน KM ชัดๆ ตามทฤษฎีของ Takeuchi และ Nonaka ในหนังสือ The Knowledge Creating Company นี่คือการ Socialization หรือการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ครับ.. ทำด้วยการสังเกต และถาม หรือกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ต่างๆ..

...

ชัดไหมครับ..เด็กๆก็ KM กันแล้ว...KM แล้วได้อะไรครับ...ได้กินอมยิ้ม.อร่อยๆ สมใจ..

...

KM ทำให้เกิดกระบวนการทำงานใหม่ๆ บางที่เราเรียกว่า Process Innovation ครับ..

...

ทำ KM เมื่อไหร่ได้วิธีการใหม่ๆ ทันที...

....

และนี่เราสามารถเสริมกิจกรรม KM เข้าไปได้ทั้งในกระบวนการการทำงานเป็นทีม (Team learning) และเรียนรู้เดี่ยว (Individual Learning) ซึ่งจะทำให้กระบวนการทำงาน หรือแม้กระทั่งทุกๆองค์กรประกอบของแผนกลยุทธ์ไม่ว่าจะเป็นด้านการเงินการตลาด การผลิต บุคคล learning Organization เลยครับ...

.....

ผมเลยขอเสนอว่า...เวลาทำ KPI ในทุกตัว...ทุกด้านของ Balanced Scorecard ควรเสริมด้วยตัว Performance Driver ก็คือ KM ครับ..

....

ทำเป็นไหม..ไม่ยากครับ..อยากแก้ปัญหาอะไรก็ KM อันนั้นครับ ไม่ถาม ก็สังเกตุ หรือในกระบวนการกลุ่มอะไรก็ได้...

...

ด้วย KM เป้าหมายขององค์กรคุณจะไม่เป็นแค่ความกดดัน (K) ที่ทำให้ปั่นป่วน (P) จนอ่วม (I) ไปหมด เพราะสิ้นหวังไม่มีตัวช่วยครับ..

....

คุณล่ะ คิดอย่างไร

คำสำคัญ (Tags): #appreciative inquiry
หมายเลขบันทึก: 434172เขียนเมื่อ 5 เมษายน 2011 10:25 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:40 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

เคเอ็มชัดๆ จริงๆ ด้วยครับ เด็กๆ เค้าใจกว้างไม่อายที่จะเรียนรู้ และไม่อายที่จะแบ่งปัน ^^

หวัดดีคุณบีเวอร์ ผมว่าเด็กๆ ให้บทเรียนเราเยอะเหมือนกันนะ..

  • สวัสดีค่ะ
  • อ่านไปยิ้มไปในความน่ารัก ฉลาดใช้ความรู้ของลูกสาวของดร.
  • เลยได้คิดว่าถ้าเรากำหนดประเด็นให้เด็กๆเขาเล่าประสบการณ์
  • และนำมาจัดการความรู้อาจจะได้วิธีปฏิบัติดีๆให้เป็นตัวอย่างสำหรับเด็กได้ค่ะ

ได้เลยครับคุณครูครับ เด็กๆมีอะไรที่น่าทึ่งครับ...

และสอนเราได้ด้วย...

เด็กคิดน้อย เปิดโอกาสให้ตัวเอง เลยเีรียนรู้เยอะ

ผู้ใหญ่คิดเยอะ(ว่ารู้แล้ว) เลยเรียนรู้น้อย

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท