ชาวปกาเกอะญอ ผู้ปกป้องและรักษาธรรมชาติยิ่งชีวิต (วัดจันทร์ กัลยาณิวัฒนา)


สิ่งแวดล้อมคือชีวิต ที่มีต้นไม้รอบล้อมเป็นป่าไม้สน ชาวบ้านจะปกป้องไว้ไม่ใหใครมาทำลายโดยเฉพาะจากคนภายนอกพื้นที่ เพราะเขารักป่า เวลาลูกเกิดมาก็จะเอารกมาผูกกับต้นไม้ให้รู้ว่าเขามีความผูกพันกับธรรมชาติ

ได้มีโอกาสเดินทางไปอำเภอกัลยาณิวัฒนา ที่พ่อหลวงบอกว่าอ่านไม่ได้ยากใช้เวลาจากท่าอากาศยานเชียงใหม่ห้าชั่วโมง  ไม่คิดว่าจะเดินทางไปยากลำบากคิดว่าบ้านเอกจตุพร ที่ปายไกลโขแล้วที่นี่ไกลกว่าอีก  แต่ได้มาแล้วก็ถือว่าน้อยคนนักจะได้เข้ามา  เดิมที่นี่อยู่กับอำเภอแม่แจ่ม  คนที่นี่บอกแต่ก่อนจะไปอำเภอทีต้องเสียเวลาสองวัน  ที่นี่อยู่ใกล้ปายมากกว่าแม่แจ่ม  แต่ไม่รู้ใครช่างคิดเอาไปอยู่ซะอำเภอไกลจากเขาโขเลย  แถมชาวบ้านบอกคนที่นี่เขางดไม่เกณฑ์ทหารแต่ชาวบ้านอยากเป็นทางการก็ไม่ยอม  ชาวบ้านถ้าอยากเกณฑ์ก็ย้ายทะเบียนไปที่อื่นหรือไม่ก็  ถ้าใครไม่อยากเกณฑ์ก็ย้ายมาอยู่ที่นี่

ชาวปกาเกอะญอ มีเชื้อสายมากจากกะเหรี่ยง  ส่วนใหญ่อยู่ทางภาคเหนือของไทย  ส่วนที่ชุมชนหนองเต่าจะเรียกตัวเองว่า "ปกาเกอะญอ" แปลว่า"กลุ่มชนที่เรียบง่าย" หรืออีกความหมายคือ "คน" พูดง่ายๆคือกลุ่มชนที่มีวิถีธรรมชาตินั่นเอง

ชาวปกาเกอะญอจะอยู่แบบเรียบง่าย ชอบสันโดษไม่ชอบความวุ่นวายแบบเมืองๆ  เขาพยายามบอกเราว่าที่นี่ไม่มีอะไรหรอกไม่ต้องมาไม่ต้องพูดย้ำๆหลายครั้ง  เพราะที่มามารุกรานทางวัฒนธรรมของเขาจึงบอกอย่าเข้ามา 

ชาวปกาเกอะญอจะมีการอพยพย้ายถิ่นบ่อย แต่เขาจะบอกว่าเขามิใช่ไปเปิดพื้นที่ใหม่ๆแต่จะทำเป็นแบบหมุนเวียน  ในที่อยู่ที่ทำกินคือย้ายไปย้ายมาก็กลับมาแถบพื้นที่เดิม เขามีรูปแบบการดำเนินชีวิตที่มีแบบแผนจารีตประเพณี  วัฒนธรรมที่มีวิถีชีวิตค่อนข้างชัดเจน เชื่อเรื่องการจัดการทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน  มีพิธีกรรมหลายอย่างเกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติ เช่นพิธีเลี้ยงผีป่า ผีเจ้าที่ ผีน้ำ ผีหมู่บ้าน เด็กแรกเกิดผู้เป็นพ่อจะเอารกหรือสะดือไปผูกกับต้นไม้ และคนปกาเกอะญอยังเชื่อว่าวิญญาณของมนุษย์มี  ๓๗ ตัว อยู่ในร่างคน ๕ ตัวและอยู่ในสิ่งแวดล้อมรอบตัวอีกเช่น เก้ง กวาง เสือ กุ้ง หอย ปู ปลา ฯลฯ รวมแล้ว ๓๒ ตัว บรรพบุรุษให้ความสำคัญกับวิถีชีวิต  สิ่งแวดล้อมตามธรรมชาติ  มีความรักธรรมชาติเป็นที่สุด

อำเภอกัลยาณิวัฒนา มี ๓ ตำบล ได้แก่ บ้านจันทร์ แม่แดด และแจ่มหลวง มีตำบลละ ๗ หมู่บ้าน รวม ๒๑ หมู่บ้าน

          พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นเขตป่าสงวนแห่งชาติ มีประชากรประมาณ ๑ หมื่นเศษ ร้อยละ ๙๕ เป็นปกากะญอ ร้อยละ ๓ เป็นลีซอ (บ้านเสาแดงตำบลแจ่มหลวง) และอีกร้อยละ ๒ เป็นม้ง (ตำบลแม่แดด)

มาครั้งนี้ได้พบพ่อหลวงจอนิ โอ่โดเชา ภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เคยเชิญไปบรรยายที่สถาบันพระปกเกล้า พ่อหลวงจอนิ แก่กว่าลุงเอกสองปี  แต่ดูไม่แก่เลย อิอิ  เป็นชาวปกาเกอะญอต่อสืบทอดตระกูลมาหลายชั่วอายุคนแล้ว  มีผู้เฒ่าที่มีอายุถึง ๑๓๔ ปีก็มีแสดงว่าการอยู่แบบธรรมชาติชีวิตจะยาวนาน 

ที่นี่จะทำนาปลูกข้าวไร่ มีความรู้จากการปฏิบัติ ถามร้านขายอาหารตามสั่งบอกว่าข้าวหุงเองมีสองไร่ได้ข้าวมาสองร้อยถัง 

พ่อหลวงจอนิ โอ่โดเชา  บอกว่าเขาเกิดและเติบโตมากับป่าอยู่กับป่ามาทั้งชีวิต  จึงมีความผูกพันอยู่กับป่าและมีความรักป่าตามวิถีชีวิตของชาวปกาเกอะญอโดยทั่วไป  เป็นกรรมการปฏิรูปประเทศไทย กับทีมอาจารย์หมอประเวศ ด้วย

มีลูกชายเป็นนักต่อสู้สืบตระกูลชื่อว่า พฤ โอ่โดเชา ดูประวัติพฤ โอ่โดเชา แล้วต้องยกมือให้เพราะ เคยเดินทางด้วยเท้า ๗๕๐ กิโลเมตรเพื่อต่อสู้เรื่องป่าชุมชน จะขอมีป่าชาวบ้านที่ประชาชนมีส่วนร่วมในการจัดการทรัพยากรเอง  เป็นการต่อสู้โดยสันติวิธี  เรียกกิจกรรมนี้ว่า "ธรรมชาติยาตรา" แสดงว่าภูมิปัญญาได้ถูกถ่ายทอดจากพ่อสู่ลูก สู่หลาน

ไปพบชาวปกากะญอแล้วต้องบอกว่ามีปัญญามากๆเลย  พูดแบบชาวบ้านเข้าใจง่ายบางอย่างเป็นปรัชญา  มีความเชี่ยวชาญด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  เพราะแถบนี้เป็นป่าไม้สน  ว่ากันว่าเคยมีคนมาจากภายนอกพื้นที่เห็นว่ามีไม้สนมาก  เลยสั่งเครื่องแปรรูปไม้มากจากฟินแลนด์ชาวบ้านทราบข่าวมาต่อต้านไล่ออกนอกพื้นที่  เพราะเขารักป่า  เวลาลูกเกิดมาก็จะเอารกมาผูกกับต้นไม้ให้รู้ว่าเขามีความผูกพันกับธรรมชาติ

ชาวปกาเกอะญอมีวิถีชีวิตเป็นของตัวเอง  ใช้ภาษาปกาเกอะญอ ชาวบ้านชี้ให้ดูป้ายอำเภอที่เขียนเป็นภาษาล้านนา  บอกเขียนทำไมที่นี่ไม่มีใครอ่านออกเลย  แปลกแต่จริง 

อำเภอกัลยาณิวัฒนาวันนี้กำลังนำเอาวัตถุไปทำลายคุณค่าที่งดงาม  ถากถางป่านับร้อยๆไร่ที่เป็นแหล่งรวมต้นไม้ใหญ่  ชาวบ้านก็ต่อสู้  พ่อหลวงจอนิบอกว่าเราสู้โดยสันติ  ก็ยังถูกรุกทางวัฒนธรรมอย่างมาก  คนที่นี่นับถือคริสต์นิกายโปรเตสแต๊นท์มากกว่าครึ่ง  ชาวบ้านบอกอำเภอขอที่ดินก็ยกให้แต่ชาวบ้านขออะไรไม่ได้เลย  แถมทำบ้ายมาเบียดทำให้ถนนแคบลงสุดท้ายก็จะมาเอาที่ชาวบ้านขยายถนนอีก  ได้ขออำเภอว่าการก่อสร้างขอมีรูปสัญญาลักษณ์ไก่ของพวกเขาหน่อยได้ใหม  มีภาษาเขาด้วยได้ใหม แต่ถูกปฏิเสธทุกอย่าง 

มาวันนี้ทำให้เห็นว่าความขัดแย้งเริ่มเปิดกว้างแล้วที่นี่  หากยังรุกรานมากๆอาจมีปัญหามากขึ้นได้  วัฒนธรรมใหม่ๆจากพวกวัตถุนิยม  กำลังจะไปทำลายความสวยงามทางวัฒนธรรมเดิมๆ  เท่าที่ดูบ้านพักอาศัยบอกได้ว่าคนที่นี่มีฐานะ  มีระเบียบและรักความสะอาด  ที่ดิน ป่าไม้ ต้นน้ำ ลำธาร สัตว์ป่าเริ่มถูกทำลาย

พ่อหลวงจอนิพยายามชักชวนให้ชาวปกาเกอะญอ  ร่วมกันรักษาป่าไม้ทำกันมาเกือบสี่สิบปีแล้ว 

พ่อหลวงจอนิได้รวบรวมชาวเขาเผ่าต่างๆประมาณ ๑๓ เผ่าเพื่อร่วมกันวางแผนในการดูแลป่าไม้ รักษาต้นน้ำลำธาร ทำเกษตรเชิงอนุรักษ์  มีพิธีบวชต้นไม้ ๕๐ ล้านต้น ตั้งธนาคารข้าว ขณะนี้กำลังทำแผนผังที่ดินทำ MOU ระหว่างชาวบ้านและราชการลงนามร่วมกันว่าจะไม่บุกรุกทำลายบ้านทั้งรัฐและชาวบ้าน  
ได้ไปพักที่โครงการหลวงวัดจันทร์  ก็เป็นธรรมชาติดีแถมแม่ครัวทำอาหารอร่อยใช้ได้อากาศหนาวเหน็บน่าจะประมาณไม่เกินสิบองศา อากาศบริสุทธิ์มากๆอยากบอก
ที่นี่มีร้านขายของชื่อร้านสิริศักดิ์ ชาวบ้านบอกว่าเป็นร้านที่ใหญ่ที่สุดในอำเภอขายทุกชนิดทั้งของสดและแห้ง  เราหาซื้อได้ทุกอย่างจริงๆแม้แต่ซิมโทรศัพท์
บ้านพักในโครงการให้บริการแก่คนทั่วไปมีสนต้นใหญ่ๆกว่าตัวเรามากมายรอบบริเวณและบนหุบเขาที่มองเห็นได้
ต้นสนใหญ่ทั้งสองใบ สามใบ มีทั่วไปแถมใหญ่ๆด้วย ดอกไม้ก็งดงาม
บริเวณใกล้เคียงก่อนถึงที่นี่มีสำนักงาน และบ้านพัก ออป.จัดระเบียบเรียบร้อย  สวยงามที่ดีนะ  มีที่พักอยู่บนเนินถนนหนทางสวยงาม  มีอาหารและกาแฟบริการแถมมีไวร์เลสอีกเยี่ยม
ระหว่างทางคณะเราเจอร้านอาหารมุสลิมมีกาแฟสด  ข้าวซอยขาย ที่แม่แสะ ป่าแป๋ อำเภอแม่แตง  มีหมอนชาขาย  สมาชิกซื้อมาคนละใบสองใบ
หลังร้านมีต้นไม้ดอกไม้สวยงามดี
มีลูกท้อสดๆขาย คนที่นี่อยู่กันแบบธรรมชาติดี
วงสนทนาระหว่างเครือข่ายปาปกากะญอ  กับสมาชิกสถาบันพระปกเกล้าจากแดนไกลสองพันกิโลเมตร
นั่งคุยกับประธานชุมชนเป็นครูที่ รร และพบนายกสมาคมปกาเกอะญอเพื่อการพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม ชื่อคุณพร้อมพล  สัมพันธโน กลุ่มแกนนำชาวบ้านและ พ่อหลวงจอนิ คนที่สวมหมวก เราแลกเปลี่ยนพูดคุยกันสามชั่วโมง  สุดท้ายก็พาไปนำชมโบสถ์คริสต์  โรงเรียน  อำเภอและชุมชน
บอกได้เลยว่าที่นี่มีปัญหา  ที่ขาดการมีส่วนร่วม  ขาดการรับฟัง ยังใช้นโยบายแบบ Dad syndrome คือคุณพ่อรู้ดีที่รัฐไทยชำนาญยิ่ง  จึงไม่อยากให้เป็นพื้นที่ปัญหาแล้วเกิดน้ำท่วมอย่างทางใต้ทุกวันนี้ ถึงเวลาแล้วที่ต้องปกป้องทรัพยากรธรรมชาติให้อยู่กับมนุษย์นานๆ  สวัสดี
 
หมายเลขบันทึก: 433884เขียนเมื่อ 2 เมษายน 2011 23:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:40 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (12)

เคยอ่านให้เด็กน้อยฟังนะคะ

เรื่อง ปกากะญอ รู้สึกว่าจะในหนังสือเรียน

ดี ๆ ๆ ค่ะ

การดำรงชีพตามวิถีธรรมชาติ ไม่เบียดเบียนสิ่งแวดล้อม

 

สวัสดีครับลุงเอก

เมื่อสมัยที่ยังเป็น NGOs ก็ทำงานกับพี่น้องแถบนี้แหละครับ รู้จักคุ้นเคยกับทั้งพระและแกนนำชาวบ้านหลายคน

ผมเพิ่งเขียนเรื่องราวของ พะตีจอนิ โอโดเชา เมื่อวานนี้เองครับ

สวัสดีค่ะ

อ่านเรื่องเล่าของลุงเอก  แล้วได้เข้าใจสังคมของคนในประเทศไทยอีกกลุ่มหนึ่ง  ที่หลายคนยังไม่ได้สัมผัส และไม่เข้าใจนะคะ

หวังว่าลุงเอกคงสบายดี  ด้วยความระลึกถึงค่ะ

Ico48
panacea เป็นวิถีคนที่เราน่าเรียนรู้ว่าเขามีความสุขที่ได้อยู่แบบเขามิใช่แบบเราครับ
Ico48
หนานเกียรติ ขอบคุณมากขออนุญาตลิ๊งค์ซะเลยทำให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้นครับ
Ico48
คิม นพวรรณ ไปเห็นแล้วสงสารมนุษย์ที่ชอบทำลายจัง หาความสุขมได้

ขออนุญาตเอาบันทึกนี้ไปให้นักศึกษากฎหมายสิทธิมนูายชนที่ อ.แหวว สอนสำหรับภาคฤดูร้อน ๒๕๕๔ ได้อ่านกันนะคะ

ขอบคุณล่วงหน้า เพราะทราบว่า พี่เอกอนุญาต

แล้วเราพา สสสส.๓ ไปถึงให้ได้นะคะ

สวัสดีค่ะ ลุงเอก

ไม่ได้เจอนานเลยนะคะ ลุงเอกสบายดีนะคะ ^^วันก่อนมีงานเลี้ยง เสียดายที่ลุงเอกมาร่วมงานไม่ได้ เอาไว้โอกาสเหมาะๆ รอบหน้านะคะ 

ส่วนเรื่อง ปกากะญอ นี้ เคยได้เห็นรายการโทรทัศน์นำเสนอเรื่องราวของชาวบ้าน แอบชื่นชมในความรักในธรรมชาติและขนบธรรมเนียมที่เค้าปลูกฝังให้ลูกหลานค่ะ^^

 

 

 

Ico48
มะปรางเปรี้ยว เรื่องนี้ก็เกี่ยวกับสิทธิมนุษย์ชนด้วยที่ทุกคนสามารถเลือกแนวทางดำรงชีวิตตามแบบวิถีประชาธิปไตย
  • สวัสดีค่ะคุณลุงเอก
  • วิถีชีวิตชนเผ่าแต่ละเผ่าคล้ายๆกัน
  •  โดยเฉพาะเรื่องของการรักษ์ธรรมชาติ นะคะ
  • ที่บ้านก็มีชนเผ่าปะกะญออาศัยอยู่จำนวนมากค่ะ
  • ขยันทำมาหากินค่ะ

เขาปกป้องธรรมชาติดีมาก แล้วเรื่อง กกต.เป็นไง

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท