เทียนขาว
นาง เพ็ญทิวา เพ็ญทิวา สารบุตร

มนุษย์กับธรรมชาติ "man and nature"


มนุษย์กับธรรมชาติ

      วิวัฒนาการและปฏิสัมพันธ์ระหว่างสังคมมนุษย์กับธรรมชาติ  การเปลี่ยนแปลงและแนวโน้มระบบธรรมชาติ  การดำรงอยู่ร่วมกับธรรมชาติได้อย่างยั่งยืนและสันติสุข ทั้งในระดับบุคคลประชาคมท้องถิ่นและประชาคมโลก

       ธรรมชาติ  สิ่งแวดล้อมและมนุษย์  มีความสัมพันธ์กันอย่างแนบแน่นและพึ่งพากันมาโดยตลอด

        ในวันนี้ที่ธรรมชาติเปลี่ยนแปลงไปอย่างรุนแรง  ส่งผลกระทบต่อชีวิตของมนุษย์และสิ่งมีชีวิตอื่นๆอย่างรุนแรงและหนักหนาสาหัสมาก  สิ่งที่ให้นักศึกษาแต่ละคนวิเคราะห์และเขียนออกมาเพื่อแลกเปลี่ยนกัน  ในประเด็นดังนี้

        1. ปัญหาดังกล่าวเกิดมาจากสาเหตุอะไร

        2. ส่งผลกระทบต่อชีวิตมนุษยชาติอย่างไร

        3. จะร่วมกันช่วยเหลือ ฟื้นฟู  ธรรมชาติอย่างไรและจะร่วมกันป้องกันแก้ไขปัญหาอย่างไร  เพื่อลดความรุนแรงที่มีโอกาสจะเกิดขึ้นอีกต่อไป

         แล้วแต่ความคิดของแต่ละบุคคลนะคะ  ลองค้นหาสาเหตุกันดูว่า  ธรรมชาติได้จัดการอะไรบนความเป็นธรรมชาติไว้บ้าง  และเมื่อธรรมชาติเกิดความไม่ปกติตามที่เคยเป็นมา  ได้ส่งผลความสูญเสียมากมาย  หลายต่อหลายครั้ง พวกเรามีชีวิตอยู่ร่วมกับธรรมชาติจะมีการเตรียมตัว  ฟื้นฟูธรรมชาติส่วนที่ท่านมีส่วนเกี่ยวข้องให้มีความสมดุลได้อย่างไร

         ตอบคนละ 2 หน้ากระดาษเอ 4 แล้วนำมาวางในบล็อกนี้นะคะ  เราจะได้เกิดเวทีแลกเปลี่ยนกับคนอื่นๆได้ด้วย  ส่งภายในวันที่ 25 เมษายน 54 (30 คะแนน)

หมายเลขบันทึก: 433855เขียนเมื่อ 2 เมษายน 2011 20:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 23:27 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (18)
นางสาวสุมิตร ดอกพอง

ไฟป่า

สาเหตุของการเกิดไฟป่า

ไฟป่าจะเกิดขึ้นได้หรือไม่ต้องอาศัยปัจจัย 3 สิ่งคือ เชื้อเพลิง ออกซิเจน และความร้อน ซึ่งเป็น"องค์ประกอบของไฟ" โดยปกตินั้นในป่ามีทั้งเชื้อเพลิงเช่น กิ่งไม้ใบไม้แห้งต่างๆและออกซิเจนหรืออากาศอยู่แล้ว หากมีความร้อนขึ้นย่อมทำให้เกิดไฟป่าขึ้น ฉะนั้น"ความร้อน"จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดไฟป่าขึ้น

ต้นเหตุที่ทำให้เกิดความร้อนขึ้นจนกระทั่งกลายเป็นไฟป่าอาจเกิดจากธรรมชาติเอง เช่น ต้นไม้เสียดสีกัน ฟ้าผ่าเป็นต้น หรือจากคนที่จุดไฟขึ้นด้วยวัตถุประสงค์ต่างๆ ในประเทศไทยไม่พบไฟป่าที่เกิดโดยความร้อนตามธรรมชาติ ส่วนใหญ่เกิดจากฝีมือของคนทั้งสิ้น มนุษย์จึงเป็นต้นเหตุของไฟป่า ที่สำคัญยิ่ง

"สาเหตุ" ที่ทำให้เกิดไฟป่าโดยฝีมือของมนุษย์ทั้งตั้งใจหรือโดยประมาทในประเทศไทยแบ่งตามลักษณะของกิจกรรมและวัตถุประสงค์ที่เกิดขึ้นดังนี้

-ล่าสัตว์- จุดไฟเพื่อให้สัตว์หนีออกจากที่ซ่อน เพื่อสะดวกในการล่า

-เผาไร่- เผากำจัดวัชพืช เตรียมพื้นที่เพาะปลูกโดยปราศจากการควบคุมทำให้ไฟลุกลามเข้าไปในป่า

-หาของป่า- ตีผึ้ง เก็บไข่มดแดง ผักหวาน หน่อไม้ เห็ด ใบตองตึง เก็บฟืน

-เลี้ยงสัตว์- เพื่อให้หญ้าแตกใบอ่อนเป็นอาหารสัตว์ในบริเวณใกล้พื้นที่ป่าแล้วเกิดลุกลามเข้าไปในป่า

-นักท่องเที่ยว- หุงต้มอาหาร ให้แสงสว่าง ให้ความอบอุ่น แล้วดับไม่สนิทเกิดเป็นไฟป่าในที่สุด

-ความขัดแย้ง- ชาวบ้านอาจเกิดความขัดแย้งกับหน่วยราชการในพื้นที่แล้วแกล้งโดยจุดไฟเผาป่า

-ลักลอบทำไม้- เผาทางให้โล่งเตียนเพื่อสะดวกในการลากไม้ ไล่ยุง หุงต้มอาหารในป่า เป็นต้น

ผลกระทบจากไฟป่า

ผลกระทบจากไฟป่าต่อสังคมพืช

- ขาดช่วงการสืบพันธุ์ทดแทนตามธรรมชาติ

- เปลี่ยนแปลงโครงสร้างป่า

- ลดการเจริญเติบโตและคุณภาพของเนื้อไม้

ทันทีที่เกิด"ไฟป่า"ขึ้นความร้อนและเปลวไฟจากไฟป่า จะทำลายลูกไม้ กล้าไม้เล็กๆในป่า หมดโอกาสเติบโตเป็นไม้ใหญ่ ส่วนต้นไม้ใหญ่หยุดการเจริญเติบโต เนื้อไม้เสื่อมคุณภาพลง เป็นแผลเกิดเชื้อโรคและแมลงเข้ากัดทำลายเนื้อไม้ สภาพป่าที่อุดมสมบูรณ์เปลี่ยนสภาพเป็นทุ่งหญ้าไปในที่สุด

ผลกระทบจากไฟป่าต่อสัตว์ป่าและสิ่งมีชีวิตเล็กๆ ในป่า

- ทำอันตรายต่อชีวิตของสัตว์ป่า

- ทำลายแหล่งอาหารและที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่า และทำลายแหล่งหาอาหารตามธรรมชาติของมนุษย์

- ทำอันตรายต่อชีวิตของสัตว์เล็กๆ และจุลินทรีย์ในดิน

"ไฟป่า" ส่งผลให้สัตว์ป่าได้รับบาดเจ็บ ล้มตาย เพราะหนีไฟไม่ทันโดยเฉพาะอย่างยิ่งลูกอ่อนและสัตว์ที่เคลื่อนไหวช้า ที่หนีรอดก็ขาดที่อยู่อาศัยรวมไปถึงแหล่งอาหาร ในที่สุดก็อาจต้องตายเช่นเดียวกัน

ผลกระทบจากไฟป่าต่อสภาวะอากาศโลก

- การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เนื่องจากอุณหภูมิของโลกที่สูงขึ้น

- การเกิดปรากฏการณ์เรือนกระจก

หมอกควันที่เกิดจาก"ไฟป่า" ก่อให้เกิดผลกระทบมากมายทั้งสภาวะอากาศเป็นพิษทำลายสุขภาพของคน เกิดทัศนวิสัยไม่ดีต่อการบินเครื่องบินบางครั้งไม่สามารถขึ้นบินหรือลงจอดได้ส่งผลให้เกิดผลเสียหายทางเศรษฐกิจ รวมไปถึงสูญเสียสภาพความสวยงามตามธรรมชาติ ทำให้สภาพไม่เหมาะในการท่องเที่ยวอีกต่อไป

ผลกระทบจากไฟป่าต่อดินป่าไม้

- เกิดการสูญเสียหน้าดินโดยการกัดชะและการพังทลาย

"ไฟป่า" เผาทำลายสิ่งปกคลุมดิน หน้าดินจึงเปิดโล่ง เมื่อฝนตกลงมาเม็ดฝนก็จะตกกระแทกกับหน้าดินโดยตรง เกิดการชะล้างพังทลายของดินได้ง่าย ทำให้น้ำที่ไหลบ่าไปตามหน้าดิน พัดพาหน้าดินอันอุดมสมบูรณ์ไปด้วย และดินอัดตัวแน่นทึบขึ้นการซึมน้ำไม่ดี ทำให้การอุ้มน้ำหรือดูดซับความชื้นของดินลดลงไม่สามารถเก็บกักน้ำและธาตุอาหารที่จำเป็นต่อพืชได้ ผลกระทบจากไฟป่าต่อน้ำ - สมดุลของน้ำเปลี่ยนแปลงทำให้เกิดอุทกภัยและภัยแล้ง

- เปลี่ยนแปลงคุณสมบัติของน้ำ

น้ำที่เต็มไปด้วยตะกอนและขี้เถ้าจากผลของ"ไฟป่า"จะไหลสู่ลำห้วยลำธาร ทำให้ลำห้วยขุ่นข้นมีสภาพไม่เหมาะต่อการใช้อีกต่อไป เมื่อดินตะกอนไปถับถมในแม่น้ำมากขึ้น ลำน้ำก็จะตื้นเขิน จุน้ำได้น้อยลง เมื่อฝนตกลงมาน้ำก็จะเอ่อล้นท่วมสองฝั่งเกิดเป็นอุทกภัย ที่สร้างความเสียหายในด้านการเกษตรการเพาะปลูก การเลี้ยงสัตว์ และสร้างความเสียหายเมื่อน้ำทะลักเข้าท่วมบ้านเรือนทำให้ทรัพย์สินได้รับความเสียหาย

หน้าแล้งพื้นดินที่มีแต่กรวดทรายและชั้นดินแน่นทึบจากผลของ"ไฟป่า" ไม่สามารถเก็บกักน้ำในช่วงฤดูฝนเอาไว้ได้ ทำให้ลำน้ำแห้งขอดเกิดสภาวะแห้งแล้งขาดแคลนน้ำเพื่อการอุปโภคและบริโภคและเพื่อการเกษตร

ผลกระทบจากไฟป่าต่อการมนุษยชาติ

ผลกระทบต่างๆ ที่เกิดขึ้นจากไฟป่านั้น มีส่วนในการทำลายธรรมชาติ ซึ่งเป็นสถานที่ และแหล่งท่องเที่ยวอันเป็นรายได้สำคัญของประเทศ รวมทั้งจะทำให้ขาดแหล่งพักผ่อนหย่อนใจตามธรรมชาติที่ทุกคนควรจะหวงแหน และอนุรักษ์เอาไว้

ผลกระทบจากไฟป่าต่อทรัพย์สิน สุขภาพ และชีวิตของมนุษย์

ในพื้นที่ที่เกิดไฟป่า ส่วนใหญ่จะทำความเสียหายให้กับบ้านเรือนของราษฎรที่อาศัยอยู่บริเวณชายป่า ทั้งบ้านเรือนที่ถูกไฟไหม้ พืชผลทางการเกษตร หรือแม้แต่ชีวิตของมนุษย์เอง

หมอกควันที่เกิดจากไฟป่า มีผลกระทบโดยตรงที่จะสร้างความเสียหายให้กับการเดินอากาศ รวมทั้งมีผลทำให้ประชาชนในบริเวณดับกล่าวจำนวนมาก ป่วยเป็นโรคระบบทางเดินหายใจ

แนวคิดช่วยเหลือ ฟื้นฟู ธรรมชาติ และการร่วมกันป้องกันแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างยั่งยืน

1. ทุกคนควรมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องของไฟป่า

2. ทุกคนมีความรู้สึกหวงแหนป่า มีจิตสำนึกในการดูแลรักษาป่าไม้ร่วมกัน

3. ไม่เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตัว จนทำให้ส่วนร่วมได้รับผลกระทบจากความประมาทรู้เท่าไม่ถึงการณ์ของตนเอง

4. เจ้าหน้าที่ควรมีการป้องกันและควบคุมไฟป่าควรมีแนวทางปฏิบัติที่ครอบคลุม

5. รัฐควรมีการจัดงบประมาณและเจ้าหน้าที่ให้เพียงพอต่อความต้องการในการดูแลธรรมชาติ

6. ทุกคนควรสร้างความสมดุลให้กับธรรมชาติ เช่น มีการปลูกป่าทดแทนเพื่อฟื้นฟูธรรมชาติ การป้องกันไฟป่าในครัวเรือน

1. ติดตามสภาวะอากาศ ฟังคำเตือนจากกรมอุตุนิยมวิทยา 2. สอบถาม แจ้งสภาวะอากาศ 3. ดับไฟ บุหรี่ ธูป เทียน กองไฟให้ความอบอุ่น ทุกครั้ง ในบ้านหรือกลางแจ้ง 4. ตัดแต่งกิ่งไม้ ให้ห่างจากเสาไฟฟ้า หมั่นตรวจสอบคุณภาพอุปกรณ์ฟ้า 5. ติดตั้งอุปกรณ์ดับเพลิงฉุกเฉินประจำอาคาร ซักซ้อม วางแผนหนีไฟ และเตรียมความพร้อมเสมอ

นางสาวสุพัตรา สารชาติ

1.ปัญหาดังกล่าวเกิดมาจากสาเหตุอะไร

สิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาตินับวันแต่จะถูกทำลายลงไปเรื่อย ๆ โดยที่สิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติถูกทำลาย

และสูญเสียได้ 3 ทาง คือ

1. มนุษย์

2. สัตว์และโรคต่าง ๆ

3. ปรากฏการณ์ธรรมชาติ

ซึ่งการสูญเสียเนื่องจากมนุษย์เป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุด เนื่องจากสาเหตุต่อไปนี้

1. การเพิ่มของประชากร

ปัจจุบัน การเพิ่มของประชากรโดยเฉลี่ยทั่วโลกมีแนวโน้มสูงขึ้น การที่ประชากรเพิ่มจำนวนมากขึ้น หมายถึง ความต้องการในการใช้ ทรัพยากรธรรมชาติในการดำรงชีวิตขั้นต่าง ๆ ก็เพิ่มขึ้นด้วย ทำให้เกิดผลต่าง ๆ ตามมา ได้แก่ การเพิ่มขึ้นของพื้นที่ทำกินทางการเกษตร จนมีการบุกรุกทำลายป่า ทำให้เกิดเสียสมดุลทางธรรมชาติ อีกทั้งความต้องการในการใช้ ทรัพยากรอื่น ๆ มากขึ้นเช่น น้ำ แร่ธาตุ พลังงานอากาศตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันพบว่ามีอัตราการเพิ่มของประชากรมาก ขึ้นในแต่ละปี เป็นสาเหตุสำคัญที่ที่ทำให้การใช้ทรัพยากรเพิ่มมากขึ้นและเป็นผลให้จำนวน ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดลดจำนวนลงอย่างรวดเร็ว และส่งผลให้เกิดปัญหาการขาดแคลนทรัพยากรและปัญหามลพิษสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ ตามมา

2. การขยายตัวของเมือง

การ ขยายตัวของชุมชนหรือเมือง ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมตามธรรมชาติต่าง ๆ ด้วย เนื่องจากการขยายตัวของ เมืองอย่างรวดเร็วจะทำให้เกิดปัญหาการขาดการวางแผนการวางผังเมืองไว้ล่วง หน้า ทำให้เกิดปัญหาขึ้นอีกทั้งการขยายตัว ของเมือง ปกติแล้วจะเกิดการขยายตัวของอุตสาหกรรมเกิดขึ้นด้วย และในขั้นตอนต่าง ๆ ของโรงงานอุตสาหกรรมถ้าหากขาดการวางแผน และการควบคุมที่ดีก็จะส่งผลต่าง ๆ ต่อสิ่งแวดล้อมมากมาย

3. การใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่

เทคโนโลยีสมัยใหม่ที่นำมาใช้ในทางการผลิตด้านการเกษตร โดยการใช้สารเคมีต่าง ๆ เช่น ปุ๋ย และยาฆ่าแมลงทำให้เกิดการตกค้าง ของสารเหล่านี้ในดิน และอาจขยายไปสู่แหล่งน้ำและแหล่งต่าง ๆ ในระบบนิเวศ จนเกิดผลต่าง ๆ ตามมา รวมถึงเกิดการสะสม ในสายใยอาหารทางด้านอุตสาหกรรม สารที่ใช้ในกระบวนการผลิตและสารที่เป็นผลเกิดจากกระบวนการผลิต เช่น ตะกั่ว ปรอท

สารหนู เป็นต้น จะเป็นอันตรายต่อสุขภาพและมีขั้นตอนการกำจัดส่วนที่ตกค้าง ( Residuals ) ให้หมดสิ้นไปได้ยาก และจะเกิดผลกระทบต่าง ๆ ตามมาอีกมากมาย

4. การสร้างสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ

การสร้างถนน อ่างเก็บน้ำ เขื่อน นับว่าเป็นสาเหตุใหญ่ที่ทำให้ทรัพยากรหลัก เช่นป่าไม้ถูกทำลาย ทรัพยากรดิน น้ำ สัตว์ป่าจึงพลอย ได้รับ ผลกระทบกระเทือนตามไปด้วย ทำให้มนุษย์เข้าสู่พื้นที่ป่าที่เหลือได้ง่ายกว่าเดิม เนื่องจากการไปมาสะดวก การทำลายจึง เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง เมื่อป่าเสื่อมโทรมหรือหมดไป ถิ่นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่าถูกทำลาย โอกาสถูกล่ามีมากขึ้น สัตว์บางชนิดหาอาหาร เป็นไปด้วยความยากลำบาก ในที่สุดก็สูญพันธุ์ไป เป็นต้น

5. การกีฬา

ส่วนใหญ่เกิดกับทรัพยากรสัตว์ป่า เช่นการยิงนก ตกปลา และการล่าสัตว์เป็นต้น ถ้าทำเพื่อการกีฬาที่แท้จริงก็ไม่มีปัญหา เรื่องการ ทำลายทรัพยากรธรรมชาติมากนัก แต่เมื่อใดที่เป็นการแข่งขันเพื่อทำสถิติด้านจำนวน ขนาดอาวุธร้ายแรงและทันสมัย จะถูกนำมา ใช้มากยิ่งขึ้น สัตว์ป่าที่ได้มาก็จะนำส่วนหนึ่งของที่ได้หรือบางส่วนของร่างกายไปเป็นอาหาร หรือเครื่องใช้เท่านั้น ส่วนที่เหลือจะทิ้ง ไว้ในป่า ซึ่งเป็นการกระทำที่ไม่คุ้มกับการสูญเสียชีวิตและพันธุกรรมของสัตว์ป่า

6. การสงคราม

ก่อให้เกิดการกระตุ้นให้นำทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่มาใช้มากขึ้น การนำทรัพยากรแร่ธาตุมาใช้เพื่อการผลิตอาวุธและเครื่องมือต่าง ๆ ซึ่งสุดท้ายก็ถูกทำลายไป บางครั้งต้องเร่งขุดเจาะน้ำมันดิบเพื่อขาย แล้วนำเงินตราไปซื้ออาวุธที่ทันสมัยมี ประสิทธิภาพการทำลายสูง มาต่อสู้ซึ่งกันและกัน ผลของสงครามก็คือการสูญเสียทั้งสองฝ่ายในด้านทรัพยากรมนุษย์หรือทรัพยากร อื่น ๆ เช่นการทิ้งระเบิด ทำลายชีวิตและทรัพยากรของมนุษย์ซึ่งเป็นทรัพยากรธรรมชาติการทำลายบ่อน้ำมัน ของอีรักในปี พ. ศ. 2536 ทำให้สูญเสียทรัพยากร ซึ่งต้องใช้เวลาเป็นล้าน ๆ ปีในการเกิดไปอย่างน่าเสียดายและยังส่งผลเสียหายต่อสิ่งแวดล้อมเกือบทั่วโลก

7. ความไม่รู้หรือรู้เท่าไม่ถึงการณ์

หลาย ๆ ครั้งที่คนเราทำลายสิ่งแวดล้อมเพราะความไม่รู้ถึงสาเหตุและผลกระทบ ขาดข้อมูลความเข้าใจที่ถูกต้อง ทำให้เราเข้าถึง และสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมแตกต่างกัน ในขณะที่นักอนุรักษ์นึกถึงสิ่งแวดล้อมในรูปของระบบนิเวศของธรรมชาติ ป่าไม้และสัตว์ป่า แต่ภาคอุตสาหกรรมกลับนึกถึงวัตถุดิบที่เป็นปัจจัยในการผลิตเป็นต้นทุนนัก เศรษฐศาสตร์ จะนึกถึงทรัพยากรที่ต้องใช้ให้คุ้มค่า ชาวนาจะนึกถึงฝน ภาคท่องเที่ยวนึกถึงเงิน การทำการเกษตรที่ไม่ถูกต้องของเกษตรกร ฯลฯ สังคมยังขาดความเข้าใจถึง สิ่งแวดล้อมในลักษณะรวมที่เป็นความสัมพันธ์ของสิ่งต่าง ๆ ที่เมื่อเกิดความเสียหายที่ใดที่หนึ่งก็จะมีผลกระทบแก่กันและ กันบางครั้งลืมไปว่า ความสนุกชั่วครู่ชั่วยามของตนเป็นสิ่งที่ทำลายความเป็นธรรมชาติและความงดงาม ของสถานที่

2.ส่งผลกระทบต่อชีวิตมนุษยชาติอย่างไร

ผลกระทบจากปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม

1. การขาดความสมดุลของระบบนิเวศน์

สภาพความสมดุลของธรรมชาติประกอบขึ้นมาด้วยสิ่งมีชีวิตต่างๆ น้ำ อากาศ ดิน คน พืช สัตว์ ทรัพยากรธรรมชาติ และความสัมพันธ์ขององค์ประกอบข้างต้นถูกสร้างขึ้นมาโดยระยะเวลาที่ยาวนาน ประกอบด้วยความสัมพันธ์ที่เกื้อหนุนกัน กิจกรรมของมนุษย์ เช่น การผลิต การแปรรูป ระบบการจัดการทางด้านการผลิตที่ไม่มีประสิทธิภาพ ส่งผลต่อการทำลายระบบนิเวศอย่างรุนแรง

2. การทำลายชั้นบรรยากาศ "OZONE"

เป็นที่ทราบกันดีว่า "OZONE" ในชั้นบรรยากาศ จะช่วยป้องกันรังสีจากแสงอาทิตย์ ซึ่งอาจเป็นอันตรายต่อคนและสิ่งมีชีวิตต่างๆ สารประกอบที่มีคลอรีนเป็นองค์ประกอบ เช่น CFC และอื่นๆ จำนวนมาก ที่ไปทำลายและทำให้เกิดรูในชั้นบรรยากาศ "OZONE" ถึงแม้ว่าจะถูกห้ามใช้ในหลายๆ ประเทศก็ตาม แต่การปฏิบัติค่อนข้างช้า

3. การเกิดฝนกรด

การเกิดฝนกรด เกิดจากปัญหามลพิษอันเกิดจากผลกระทบจากกระบวนการเผาผลาญของสารฟอสซิล เช่น น้ำมัน ถ่านหิน แก๊ส การผลิตไฟฟ้าที่ไม่ใช้พลังงานน้ำจำนวนมาก จะใช้พลังงานจากการเผาผลาญหรือกิจการหลายๆ ประเภท รวมทั้งรถยนต์ ซึ่งเกิดจากการเผาผลาญที่ทำให้เกิดสารเรียกว่า SOX NOX เมื่อรวมกับฝนที่ตกลงมาจะทำให้เกิดกรดซัลฟูริกและไนตริก ซึ่งมีสภาพเป็นกรดอ่อน มีฤทธิ์ทำลายกัดกร่อน อาคารบ้านเรือน ทำลายพืชผักการเกษตร แหล่งน้ำ มีผลต่อความเป็นอยู่ของผู้คนที่อาศัยอยู่ในบริเวณนั้นๆ

4. การร้อนขึ้นของอุณหภูมิโลก

อุณหภูมิของโลกที่สูงขึ้น ซึ่งเรียกว่า "ปรากฏการณ์เรือนกระจก" มีผลกระทบต่อร่างกาย คือ ช๊อก ทำให้น้ำแข็งที่ขั้วโลกละลาย เกิดน้ำท่วม ทำลายดิน ระดับน้ำทะเลสูงขึ้น ซึ่งเกิดจากการเผาผลาญสารฟอสซิลพวกสารที่มีคาร์บอนเป็นองค์ประกอบ เช่น พวกพืช ซึ่งจะทำให้เกิดก๊าซ CO2 (คาร์บอนไดออกไซด์) แม้ว่าธรรมชาติจะเป็นตัวเปลี่ยน CO2 มาเป็นออกซิเจนแต่มนุษย์ก็ตัดไม้ทำลายป่า มีกิจกรรมการผลิตที่เพิ่ม CO2 สู่บรรยากาศ เกิดเป็นชั้นเรือนกระจกสะท้อนกลับมาสู่มนุษย์ ทำให้โลกร้อนยิ่งขึ้นตามลำดับ

5. มลพิษทางน้ำ

เกิดจากการเกษตรแผนใหม่ ที่มุ่งเน้นการเพาะปลูกที่ก่อให้เกิดผลผลิตจำนวนมาก เพื่อสนองความต้องการของผู้บริโภค ทำให้ก่อให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อม เช่น การพังทะลายของดิน เกิดสารพิษจากยาฆ่าแมลง ปุ๋ย เมื่อมีฝนตกลงมาเกิดการชะล้างสู่แหล่งน้ำ สิ่งมีชีวิตในน้ำถูกทำลายแหล่งน้ำกลายเป็นแหล่งสะสมสารพิษ และในที่สุดก็ย้อนกลับมาสู่มนุษย์จากการเป็นห่วงโซ่อาหาร นั่นเอง

6. มลพิษทางดิน เกิดจากการปล่อยมลพิษสู่ดินจากกระบวนการ ทางอุตสาหกรรมมีผลกระทบทั้งระยะสั้นและระยะยาว เช่น ขยะ, สารเคมี, สารปนเปื้อน, กากนิวเคลียร์ มีผลกระทบต่อการใช้พื้นที่ ทำลายความสมบูรณ์ของดินและชีวิตมนุษย์

7. การเกิดขยะ

แหล่งคือ อุตสาหกรรม กิจกรรมของมนุษย์ จะมีผลกระทบต่อการใช้พื้นดิน การฝังกลบก็ยาก มีผลกระทบระยะยาวในการใช้พื้นดิน

8. มลพิษทางเสียง

เสียงนับว่าเป็นมลพิษที่กระทบโดยตรงต่อผู้ที่อยู่ใกล้ ซึ่งจะเห็นชัดเจนไม่ว่าจะเกิดจากอุตสาหกรรม กิจกรรมมนุษย์ ยานยนต์ต่างๆ เครื่องยนต์ต่าง ๆ ก็ตาม

9. มลพิษทางอากาศ

แหล่งอาจเกิดจากกระบวนการ ยานพาหนะ เครื่องยนต์ การเผาไหม้ต่างๆ เป็นภาพที่ปรากฏทางสายตา กลิ่นที่รุนแรง อุณหภูมิโลกที่ร้อนขึ้น ฝนกรด การทำลายชั้นบรรยากาศ เป็นพิษต่อพืช สัตว์และคน

3.จะร่วมกันช่วยเหลือ ฟื้นฟู ธรรมชาติอย่างไรและจะร่วมกันป้องกันแก้ไขปัญหาอย่างไร เพื่อลดการรุนแรงที่มีโอกาสจะเกิดขึ้นอีกต่อไป

1. การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมโดยทางตรง ซึ่งปฏิบัติได้ในระดับบุคคล องค์กร และระดับประเทศ ที่สำคัญ คือ

1) การใช้อย่างประหยัด คือ การใช้เท่าที่มีความจำเป็น เพื่อให้มีทรัพยากรไว้ใช้ได้นานและเกิดประโยชน์อย่างคุ้มค่ามากที่สุด

2) การนำกลับมาใช้ซ้ำอีก สิ่งของบางอย่างเมื่อมีการใช้แล้วครั้งหนึ่งสามารถที่จะนำมาใช้ซ้ำได้อีก เช่น ถุงพลาสติก กระดาษ เป็นต้น หรือสามารถที่จะนำมาใช้ได้ใหม่โดยผ่านกระบวนการต่างๆ เช่น การนำกระดาษที่ใช้แล้วไปผ่านกระบวนการต่างๆ เพื่อทำเป็นกระดาษแข็ง เป็นต้น ซึ่งเป็นการลดปริมาณการใช้ทรัพยากรและการทำลายสิ่งแวดล้อมได้

3) การบูรณซ่อมแซม สิ่งของบางอย่างเมื่อใช้เป็นเวลานานอาจเกิดการชำรุดได้ เพราะฉะนั้นถ้ามีการบูรณะซ่อมแซม ทำให้สามารถยืดอายุการใช้งานต่อไปได้อีก

4) การบำบัดและการฟื้นฟู เป็นวิธีการที่จะช่วยลดความเสื่อมโทรมของทรัพยากรด้วยการบำบัดก่อน เช่น การบำบัดน้ำเสียจากบ้านเรือนหรือโรงงานอุตสาหกรรม เป็นต้น ก่อนที่จะปล่อยลงสู่แหล่งน้ำสาธารณะ ส่วนการฟื้นฟูเป็นการรื้อฟื้นธรรมชาติให้กลับสู่สภาพเดิม เช่น การปลูกป่าชายเลน เพื่อฟื้นฟูความ สมดุลของป่าชายเลนให้กลับมาอุดมสมบูรณ์ เป็นต้น

5) การใช้สิ่งอื่นทดแทน เป็นวิธีการที่จะช่วยให้มีการใช้ทรัพยากรธรรมชาติน้อยลงและไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม เช่น การใช้ถุงผ้าแทนถุงพลาสติก การใช้ใบตองแทนโฟม การใช้พลังงานแสงแดดแทนแร่เชื้อเพลิง การใช้ปุ๋ยชีวภาพแทนปุ๋ยเคมี เป็นต้น

6) การเฝ้าระวังดูแลและป้องกัน เป็นวิธีการที่จะไม่ให้ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมถูกทำลาย เช่น การเฝ้าระวังการทิ้งขยะ สิ่งปฏิกูลลงแม่น้ำ คูคลอง การจัดทำแนวป้องกันไฟป่า เป็นต้น

2. การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมโดยทางอ้อม สามารถทำได้หลายวิธี ดังนี้

1) การพัฒนาคุณภาพประชาชน โดนสนับสนุนการศึกษาด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่ถูกต้องตามหลักวิชา ซึ่งสามารถทำได้ทุกระดับอายุ ทั้งในระบบโรงเรียนและสถาบันการศึกษาต่างๆ และนอกระบบโรงเรียนผ่านสื่อสารมวลชนต่างๆ เพื่อให้ประชาชนเกิดความตระหนักถึงความสำคัญและความจำเป็นในการอนุรักษ์ เกิดความรักความหวงแหน และให้ความร่วมมืออย่างจริงจัง

2) การใช้มาตรการทางสังคมและกฎหมาย การจัดตั้งกลุ่ม ชุมชน ชมรม สมาคม เพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมต่างๆ ตลอดจนการให้ความร่วมมือทั้งทางด้านพลังกาย พลังใจ พลังความคิด ด้วยจิตสำนึกในความมีคุณค่าของสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรที่มีต่อตัวเรา เช่น กลุ่มชมรมอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของนักเรียน นักศึกษา ในโรงเรียนและสถาบันการศึกษาต่างๆ มูลนิธิคุ้มครองสัตว์ป่าและพรรณพืชแห่งประเทศไทย มูลนิธิสืบ นาคะเสถียร มูลนิธิโลกสีเขียว เป็นต้น

3) ส่งเสริมให้ประชาชนในท้องถิ่นได้มีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ ช่วยกันดูแลรักษาให้คงสภาพเดิม ไม่ให้เกิดความเสื่อมโทรม เพื่อประโยชน์ในการดำรงชีวิตในท้องถิ่นของตน การประสานงานเพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจ และความตระหนักระหว่างหน่วยงานของรัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกับประชาชน ให้มีบทบาทหน้าที่ในการปกป้อง คุ้มครอง ฟื้นฟูการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุด

4) ส่งเสริมการศึกษาวิจัย ค้นหาวิธีการและพัฒนาเทคโนโลยี มาใช้ในการจัดการกับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้เกิดประโยชน์สูงสุด เช่น การใช้ความรู้ทางเทคโนโลยีสารสนเทศมาจัดการวางแผนพัฒนา การพัฒนาอุปกรณ์เครื่องมือเครื่องใช้ให้มีการประหยัดพลังงานมากขึ้น การค้นคว้าวิจัยวิธีการจัดการ การปรับปรุง พัฒนาสิ่งแวดล้อมให้มีประสิทธิภาพและยั่งยืน เป็นต้น

5) การกำหนดนโยบายและวางแนวทางของรัฐบาล ในการอนุรักษ์และพัฒนาสิ่งแวดล้อมทั้งในระยะสันและระยะยาว เพื่อเป็นหลักการให้หน่วยงานและเจ้าหน้าที่ของรัฐที่เกี่ยวข้องยึดถือและนำไปปฏิบัติ รวมทั้งการเผยแพร่ข่าวสารด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ทั้งทางตรงและทางอ้อม

นางสาวสุมิตร ดอกพอง

มนุษย์กับธรรมชาติ

ไฟป่า (ต่อ )

ไฟป่าเป็นปัญหาสำคัญสร้างความเสียหายต่อทรัพยากรป่าไม้และสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ยังเป็นตัวการสำคัญที่ทำให้เกิดปัญหาภัยแล้งตามมาอีกทั้งยังเกิดผลกระทบต่อสังคมและคุณภาพชีวิตของประชาชนซึ่งนับวันจะทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ โดยสาเหตุของไฟป่าส่วนใหญ่เกิดจากมนุษย์แทบทั้งสิ้นทั้งนี้เนื่องจากประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศยังคงใช้ประโยชน์จากไฟในการประกอบอาชีพ เช่น การล่าสัตว์ การเก็บหาของป่า การเผาป่าเพื่อทำไร่เลื่อยลอย การกำจัดวัชพืชเพื่อเตรียมพื้นที่เพาะปลูกจากสาเหตุดังกล่าวทำให้เกิดหมอกควัน ส่งผลกระทบต่อสภาวะแวดล้อมและคุณภาพชีวิตของมนุษย์ทั้งชีวิตและทรัพย์สิน โดยหมอกควันที่ลอยอยู่มีฝุ่นละอองและควันพิษ ทำให้ประชาชนป่วยเป็นโรคทางเดินหายใจ เกิดการระคายเคือง เหนื่อยง่าย หมอกควันจากไฟป่ายังทำให้เกิดทัศนวิสัยที่ไม่เหมาะสมต่อการจราจรทางอากาศ ทั้งยังเป็นตัวการสำคัญที่ทำให้เกิดภัยแล้งตานอกจากนี้ไฟป่ายังก่อให้เกิดสภาวะเรือนกระจก (GREENHOUSE EFFECT) ซึ่งมีผลทำให้อุณหภูมิของโลกสูงขึ้นเนื่องจากในขณะที่เกิดไฟป่า การเผาไหม้ก่อให้เกิดก๊าซชนิดต่าง ๆ โดยเฉพาะก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และก๊าซคาร์บอนมอนนอกไซด์ ซึ่งเมื่อรวมกับก๊าซที่เกิดจากการเผาไหม้ในกิจกรรมอุตสาหกรรม การคมนาคม ซึ่งสะสมก่อตัวเป็นชั้นหนาในบรรยากาศของโลก ทำให้ความร้อนที่แผ่จากผิวโลกกระจายกลับคืนสู่บรรยากาศไม่ได้ ปริมาณความร้อนที่สะสมอยู่บนโลกก็จะเพิ่มขึ้น ประกอบกับในเดือนกุมภาพันธ์ เป็นช่วงที่ตรวจพบการเผาป่ามากที่สุด ซึงจะเห็นได้ว่าปัญหาไฟป่าส่งผลกระทบประชาชนอย่างมาก

ปัญหาการตัดไม้ทำลายป่าและไฟป่า เป็นปัญหาที่พบในท้องถิ่นต่างๆ ส่วนใหญ่มักจะเป็นปัญหาต่อเนื่องมาจากอดีต แต่ในปัจจุบันนี้ก็มักจะมีการลักลอบทำลายป่าไม้อยู่เนืองๆ นอกจากนี้ไฟป่าก็เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้พื้นที่ป่าลดลงและทำลายความสมดุลของธรรมชาติ และการตัดไม้ทำลายป่าทำให้พื้นที่ป่าไม้ลดลงก่อให้เกิดปัญหาต่างๆ ตามมา เช่น ปัญหาน้ำท่วม ปัญหาดินโคลนถล่ม ปัญหาภัยแล้ง ปัญหาแหล่งน้ำตื้นเขิน เป็นต้น สาเหตุของการเกิดไฟป่า ไฟป่าเกิดจาก 2 สาเหตุ คือ 1. เกิดจากธรรมชาติ ไฟป่าที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติเกิดขึ้นจากหลายสาเหตุ เช่นฟ้าผ่า กิ่งไม้เสียดสีกัน ภูเขาไฟระเบิด ก้อนหินกระทบกัน แสงแดดตกกระทบผลึกหิน แสงแดดส่องผ่านหยดน้ำ ปฏิกริยาเคมีในดินป่าพรุ การลุกไหม้ในตัวเองของสิ่งมีชีวิต (Spontaneous Combustion) แต่สาเหตุที่สำคัญ คือ 1.1 ฟ้าผ่า เป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดไฟป่าในเขตอบอุ่น ในประเทศสหรัฐอเมริกา และประเทศแคนาดา พบว่ากว่าครึ่งหนึ่งของไฟป่าที่เกิดขึ้นมีสาเหตุมาจากฟ้าผ่า ทั้งนี้โดยที่ฟ้าผ่าแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ - ฟ้าผ่าแห้ง (Dry or Red Lightning) คือฟ้าผ่าที่เกิดขึ้นในขณะที่ไม่มีฝนตก มักเกิดในช่วงฤดูแล้ง สายฟ้าจะเป็นสีแดง เกิดจากเมฆที่เรียกว่าเมฆฟ้าผ่า ซึ่งเมฆดังกล่าวจะมีแนวการเคลื่อนตัวที่แน่นอนเป็นประจำทุกปี ฟ้าผ่าแห้งเป็นสาเหตุสำคัญของไฟป่าในเขตอบอุ่น - ฟ้าผ่าเปียก (Wet or Blue Lightning) คือฟ้าผ่าที่เกิดควบคู่ไปกับการเกิดพายุฝนฟ้าคะนอง (Thunderstorm) ดังนั้นประกายไฟที่เกิดจากฟ้าผ่าจึงมักไม่ทำให้เกิดไฟไหม้ หรืออาจเกิดได้บ้างแต่ไม่ลุกลามไปไกล เนื่องจากความชื้นสัมพัทธ์และความชื้นของเชื้อเพลิงสูง ฟ้าผ่าในเขตร้อนรวมถึงประเทศไทยมักจะเป็นฟ้าผ่าเปียก จึงแทบจะไม่เป็นสาเหตุของไฟป่าในเขตร้อนนี้เลย 1.2 กิ่งไม้เสียดสีกัน อาจเกิดขึ้นได้ในพื้นที่ป่าที่มีไม้ขึ้นอยู่อย่างหนาแน่นและมีสภาพอากาศแห้งจัด เช่น ในป่าไผ่หรือป่าสน 2. สาเหตุจากมนุษย์ ไฟป่าที่เกิดในประเทศกำลังพัฒนาในเขตร้อนส่วนใหญ่จะมีสาเหตุมาจากกิจกรรมของมนุษย์ สำหรับประเทศไทยจากการเก็บสถิติไฟป่าตั้งแต่ปี พ.ศ. 2528-2542 ซึ่งมีสถิติไฟป่าทั้งสิ้น 73,630 ครั้ง พบว่าเกิดจากสาเหตุตามธรรมชาติคือฟ้าผ่าเพียง 4 ครั้ง เท่านั้น คือเกิดที่ภูกระดึง จังหวัดเลย ที่ห้วยน้ำดัง จังหวัดเชียงใหม่ ที่ท่าแซะ จังหวัดชุมพร และที่เขาใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา แห่งละหนึ่งครั้ง ดังนั้นจึงถือได้ว่าไฟป่าในประเทศไทยทั้งหมดเกิดจากการกระทำของคน โดยมีสาเหตุต่างๆ กัน - เก็บหาของป่า เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดไฟป่ามากที่สุด การเก็บหาของป่าส่วนใหญ่ได้แก่ ไข่มดแดง เห็ด ใบตองตึง ไม้ไผ่ น้ำผึ้ง ผักหวาน และไม้ฟืน การจุดไฟส่วนใหญ่เพื่อให้พื้นป่าโล่ง เดินสะดวกหรือให้แสงสว่างในระหว่างการเดินทางผ่านป่าในเวลากลางคืน หรือจุดเพื่อกระตุ้นการงอกของเห็ด หรือกระตุ้นการแตกใบใหม่ของผักหวานและใบตองตึง หรือจุดเพื่อไล่ตัวมดแดงออกจากรัง รมควันไล่ผึ้ง หรือไล่แมลงต่างๆ ในขณะที่อยู่ในป่า - เผาไร่ เป็นสาเหตุที่สำคัญรองลงมา การเผาไร่ก็เพื่อกำจัดวัชพืชหรือเศษซากพืชที่เหลืออยู่ภายหลังการเก็บเกี่ยว ทั้งนี้เพื่อเตรียมพื้นที่เพาะปลูกในรอบต่อไป ทั้งนี้โดยปราศจากการทำแนวกันไฟและปราศจากการควบคุม ไฟจึงลามเข้าป่าที่อยู่ในบริเวณใกล้เคียง - แกล้งจุด ในกรณีที่ประชาชนในพื้นที่มีปัญหาความขัดแย้งกับหน่วยงานของรัฐในพื้นที่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาเรื่องที่ทำกินหรือถูกจับกุมจากการกระทำผิดในเรื่องป่าไม้ ก็มักจะหาทางแก้แค้นเจ้าหน้าที่ด้วยการเผาป่า - ความประมาท เกิดจากการเข้าไปพักแรมในป่า ก่อกองไฟแล้วลืมดับ หรือทิ้งก้นบุหรี่ลงบนพื้นป่า - ล่าสัตว์ โดยใช้วิธีไล่เหล่า คือจุดไฟไล่ให้สัตว์หนีออกจากที่ซ่อน หรือจุดไฟเพื่อให้แมลงบินหนีไฟ นกชนิดต่างๆ จะบินมากินแมลง แล้วดักยิงนกอีกทอดหนึ่ง หรือจุดไฟเผาทุ่งหญ้า เพื่อให้หญ้าใหม่แตกระบัด ล่อให้สัตว์ชนิดต่างๆ เช่น กระทิง กวาง กระต่าย มากินหญ้า แล้วดักรอยิงสัตว์นั้นๆ - เลี้ยงปศุสัตว์ ประชาชนที่เลี้ยงปศุสัตว์แบบปล่อยให้หากินเองตามธรรมชาติ มักลักลอบจุดไฟเผาป่าให้โล่งมีสภาพเป็นทุ่งหญ้าเพื่อเป็นแหล่งอาหารสัตว์

- ความคึกคะนอง บางครั้งการจุดไฟเผาป่าเกิดจากความคึกคะนองของผู้จุด โดยไม่มีวัตถุประสงค์ใดๆ แต่จุดเล่นเพื่อความสนุกสนาน เท่านั้น

พฤติกรรมของไฟป่า

พฤติกรรมของไฟป่า (Forest Fire Behavior) เป็นคำที่ใช้พรรณนาลักษณะการลุกลามและขยายตัวของไฟป่าภายหลังจากการสันดาปซึ่งจะเป็นไปตามสภาวะแวดล้อมในขณะนั้น ทำให้ไฟป่าที่เกิดขึ้นแต่ละครั้งแสดงพฤติกรรมที่แตกต่างกันไปตามสภาวะแวดล้อมที่แตกต่างกัน การผันแปรของพฤติกรรมไฟป่าดังกล่าว ทำให้พนักงานดับไฟป่าที่มีประสบการณ์สูงส่วนมากมักจะกล่าวว่า ไม่มีไฟป่าใดๆที่แสดงพฤติกรรมเหมือนกันเลย

พฤติกรรมของไฟป่าที่สำคัญ

ได้แก่ อัตราการลุกลามของไฟ (Rate of Spread) ความรุนแรงของไฟ (Fire Intensity) และความยาวเปลวไฟ (Flame Length)

1. อัตราการลุกลามของไฟ วัดเป็นหน่วยระยะทางต่อเวลา เช่น เมตร/นาที หรือวัดเป็นหน่วยพื้นที่ที่ถูกไฟไหม้ต่อระยะเวลา เช่น ไร่/นาที

2. ความรุนแรงของไฟ เป็นการวัดอัตราการปลดปล่อยพลังงานจากเชื้อเพลิงที่ถูกไฟไหม้ โดยทั่วไปนิยมคำนวณค่าความรุนแรงของไฟจากสูตรสำเร็จของ Byram ซึ่งเป็นการวัดอัตราการปลดปล่อยพลังงานต่อหน่วยระยะทางการลุกลามของแนวหัวไฟ (Btu/ft/sec or kw/m) หรือสูตรสำเร็จของ Rothermel ซึ่งเป็นการวัดอัตราการปลดปล่อยพลังงานต่อหน่วยพื้นที่ที่ถูกไฟไหม้ (Btu/ft2/sec or kj/m2/min)

3. ความยาวเปลวไฟ คือระยะจากกึ่งกลางฐานของไฟซึ่งติดกับผิวดินถึงยอดของเปลวไฟ มีหน่วยวัดเป็นเมตรหรือฟุต

ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมของไฟป่า

ปัจจัยหลักที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมของไฟป่า มีอยู่ 3 ปัจจัย ได้แก่ ลักษณะเชื้อเพลิง ลักษณะอากาศ และลักษณะภูมิประเทศ

1. ลักษณะเชื้อเพลิง

• ขนาดของเชื้อเพลิง ขนาดของเชื้อเพลิงเป็นปัจจัยที่กำหนดอัตราการสันดาปของเชื้อเพลิง โดยถ้าเชื้อเพลิงมีพื้นที่ผิวต่อหน่วยปริมาตรมาก อัตราการสันดาปจะช้ากว่าเชื้อเพลิงที่มีพื้นที่ผิวต่อหน่วยปริมาตรน้อย ดังนั้นเชื้อเพลิงที่มีขนาดเล็ก เช่น ใบไม้แห้ง กิ่งก้านไม้แห้ง และหญ้าจะติดไฟง่ายกว่าและลุกลามได้รวดเร็วกว่า ในทางตรงข้ามเชื้อเพลิงขนาดใหญ่ เช่น กิ่งก้านไม้ขนาดใหญ่ ท่อนไม้ ตอไม้ ไม้ยืนตาย จะติดไฟยากกว่า และลุกลามไปอย่างช้าๆ แต่มีความรุนแรงมากกว่า

• ปริมาณหรือน้ำหนักของเชื้อเพลิง ปริมาณหรือน้ำหนักของเชื้อเพลิงต่อหน่วยพื้นที่มีผลโดยตรงต่อความรุนแรงของไฟ โดยหากมีเชื้อเพลิงต่อหน่วยพื้นที่มาก ไฟก็จะมีความรุนแรงมาก และปลดปล่อยพลังงานความร้อนออกมามากด้วยเช่นกัน ปริมาณของเชื้อเพลิงมีการผันแปรอย่างมากตามความแตกต่างของชนิดป่า และความแตกต่างของพื้นที่ ความหนาของชั้นเชื้อเพลิง หากเชื้อเพลิงมีการสะสมตัวกันมาก ชั้นของเชื้อเพลิงจะมีความหนามาก ทำให้เกิดน้ำหนักกดทับให้เชื้อเพลิงเกิดการอัดแน่นตัว มีปริมาณเชื้อเพลิงต่อหน่วยพื้นที่มาก ทำให้ไฟที่เกิดขึ้นมีความรุนแรงมากตามไปด้วย อย่างไรก็ตาม ถ้าชั้นของเชื้อเพลิงหนาเกินไปมีการอัดแน่นจนไม่มีช่องให้ออกซิเจนแทรกตัวเข้าไป การลุกลามก็จะเป็นไปได้ยากและเป็นไปอย่างช้าๆในขณะเดียวกัน ความหนาของชั้นเชื้อเพลิงมีผลโดยตรงต่อความยาวเปลวไฟ คือถ้าชั้นเชื้อเพลิงหนามาก ความยาวเปลวไฟก็จะยาวมากตามไปด้วย

• การจัดเรียงตัวและความต่อเนื่องของเชื้อเพลิง เป็นปัจจัยสำคัญที่กำหนดอัตราการลุกลามและความต่อเนื่องของการลุกลามของไฟ หากเชื้อเพลิงมีการกระจายตัวอยู่อย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่องกันทั่วพื้นทิ่ ไฟก็จะสามารถลุกลามไปได้อย่างต่อเนื่องด้วยความรวดเร็ว แต่ถ้าหากเชื้อเพลิงมีการกระจายตัวไม่สม่ำเสมอ กระจัดกระจายเป็นหย่อมๆ การลุกลามของไฟก็จะหยุดชะงักเป็นช่วงๆ และไฟเคลื่อนที่ไปได้ค่อนข้างช้า

ความชื้นของเชื้อเพลิง มีอิทธิพลต่อการติดไฟและการลุกลามของไฟ คือถ้าเชื้อเพลิงมีความชื้นสูงจะติดไฟยากและการลุกลามเป็นไปอย่างช้าๆ ในทางตรงข้ามถ้าเชื้อเพลิงมีความชื้นต่ำก็จะติดไฟง่ายและลุกลามไปได้อย่างรวดเร็ว อย่างไรก็ตาม พบว่าถ้าความชื้นของเชื้อเพลิงต่ำกว่า 5 % ไฟที่ไหม้เชื้อเพลิงนั้นไม่ว่าจะเป็นเชื้อเพลิงขนาดใหญ่หรือขนาดเล็กก็จะมีอัตราการลุกลามเท่ากัน แต่ที่ถ้าเชื้อเพลิงมีความชื้นอยู่ระหว่าง 5 - 15 % ไฟที่ไหม้เชื้อเพลิงนั้นที่มีขนาดเล็กจะมีอัตราการลุกลามรวดเร็วกว่าเชื้อเพลิงขนาดใหญ่ สำหรับที่ระดับความชื้นของเชื้อเพลิงมากกว่า 15 % ไฟที่ไหม้เชื้อเพลิงขนาดใหญ่จะยังคงลุกไหม้และลุกลามต่อไปได้ ในขณะที่ไฟที่ไหม้เชื้อเพลิงขนาดเล็กจะดับลงด้วยตัวเอง

การป้องกัน และทฤษฏีในการควบคุมไฟป่า

การควบคุมไฟป่า (Forest Fire Control) หมายถึงระบบการจัดการและแก้ไขปัญหาไฟป่าอย่างครบวงจร กล่าวคือเริ่มต้นตั้งแต่การป้องกันมิให้เกิดไฟป่า โดยศึกษาถึงสาเหตุของการเกิดไฟป่าในแต่ละท้องที่ แล้ววางแผนป้องกันหรือกำจัดต้นตอของสาเหตุนั้นเสีย หากได้ผลไฟป่าก็จะไม่เกิด แต่ในทางปฏิบัติแล้ว แม้จะมีการป้องกันไฟป่าได้ดีเพียงใด ก็ยังไม่สามารถป้องกันได้ร้อยเปอร์เซนต์ ไฟป่ายังมีโอกาสเกิดขึ้นได้อีก ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีมาตรการอื่นๆรองรับตามมา ได้แก่การเตรียมการดับไฟป่า การตรวจหาไฟ การดับไฟป่า และการประเมินผลปฏิบัติงาน อย่างไรก็ตาม ปรากฎว่าไฟก็มีประโยชน์ในการจัดการป่าไม้ ในหลายๆด้าน ดังนั้นจึงต้องมีการใช้ประโยชน์จากไฟควบคู่กันไปด้วย กิจกรรมในระบบการควบคุมไฟป่า มีดังนี้

1. การป้องไฟป่า (Prevention)

คือความพยายามในทุกวิถีทางที่จะป้องกันไม่ให้เกิดไฟป่าขึ้น ในทางทฤษฎีคือการแยกองค์ประกอบใดองค์ประกอบหนึ่งออกจากสามเหลี่ยมไฟ ในทางปฏิบัติดำเนินการได้ ดังนี้

1.1 แยกความร้อน ความร้อนที่ทำให้เกิดไฟป่ามาจาก 2 แหล่ง คือจากธรรมชาติ และจากมนุษย์ แหล่งความร้อนที่มาจากธรรมชาติ เช่น จากฟ้าผ่า สามารถป้องกันได้ยาก แต่แหล่งความร้อนที่มาจากมนุษย์สามารถป้องกันได้ คือป้องกันมิให้คนจุดไฟเผาป่า โดยการประชาสัมพันธ์ให้ความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องในเรื่องไฟป่า เพื่อให้ประชาชนตระหนักถึงผลกระทบและอันตรายที่เกิดจากไฟป่า เพื่อให้เลิกจุดไฟเผาป่า หรือใช้มาตรการทางกฎหมายบังคับมิให้ประชาชนจุดไฟเผาป่า เป็นต้น

1.2 แยกเชื้อเพลิง เชื้อเพลิงที่ทำให้เกิดไฟป่า ได้แก่ ใบไม้ กิ่งก้านไม้แห้งที่หล่นทับถมอยู่บนพื้นป่า หญ้า ไม้พุ่ม ท่อนไม้ ตอไม้ รวมไปถึงต้นไม้ที่มีอยู่ในป่า การแยกเชื้อเพลิงในป่าออกจากสามเหลี่ยมไฟ สามารถทำได้ในระดับหนึ่ง โดยการชิงเผาเพื่อกำจัดหรือลดปริมาณเชื้อเพลิง และทำแนวกันไฟ เพื่อตัดช่วงความต่อเนื่องของเชื้อเพลิง

1.3 แยกอากาศ คือแยกออกซิเจนออกจากสามเหลี่ยมไฟ แต่โดยทางปฏิบัติแล้วเป็นไปได้ยากมาก เพราะออกซิเจนเป็นองค์ประกอบหลักของอากาศที่ฟุ้งกระจายอยู่ทั่วไป จึงไม่สามารถที่จะควบคุมหรือกำจัดออกไปจากบริเวณใดบริเวณหนึ่งตามที่ต้องการได้

2. การเตรียมการดับไฟป่า (Pre-suppression) แม้จะมีมาตรการป้องกันไฟป่าที่ดีเพียงใด แต่ไฟป่าก็ยังมีโอกาสเกิดขึ้นได้ ดังนั้นจึงต้องมีการเตรียมความพร้อมสำหรับดับไฟที่เกิดขึ้นให้ดับลงอย่างรวดเร็ว เพื่อลดความสูญเสียของป่าไม้และสิ่งแวดล้อมให้มีน้อยที่สุด การเตรียมการดับไฟป่า จะต้องเสร็จสมบูรณ์ก่อนที่จะถึงฤดูไฟป่า โดยมีขั้นตอน ดังนี้

2.1 เตรียมพนักงานดับไฟป่า โดยการเกณฑ์กำลังพลเพื่อการดับไฟป่า จัดฝึกอบรมให้มีความรู้และทักษะในการดับไฟป่า เพื่อให้มีความพร้อมและมีขีดความสามารถที่จะปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและปลอดภัย (ภาพที่ 1.8) 2.2 จัดองค์กรดับไฟป่า โดยการจัดหมวดหมู่ของพนักงานดับไฟป่า แบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบในการปฏิบัติงาน และจัดสายการบังคับบัญชา เพื่อประสิทธิภาพและป้องกันความสับสนในระหว่างปฏิบัติงาน

2.3 เตรียมเครื่องมือและอุปกรณ์ดับไฟป่า โดยการจัดหา หรือซ่อมแซมเครื่องมือและอุปกรณ์ดับไฟป่าทุกชนิด รวมไปถึงเครื่องมืออื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น อุปกรณ์การสื่อสาร ยานพาหนะ อุปกรณ์การยังชีพในป่า อุปกรณ์การปฐมพยาบาล ให้เพียงพอและอยู่ในสภาพที่พร้อมจะใช้งานได้ทันที

2.4 เตรียมแผนการควบคุมไฟป่า ซึ่งประกอบด้วยแผนดับไฟป่า แผนส่งกำลังบำรุง แผนรักษาความปลอดภัยในขณะปฏิบัติงาน เป็นต้น

• การตรวจหาไฟ (Detection)

เมื่อถึงฤดูไฟป่า จะต้องจัดระบบการตรวจหาไฟ เพื่อให้ทราบว่ามีไฟไหม้ป่าขึ้นที่ใดการตรวจหาไฟมีความสำคัญอย่างยิ่ง เพราะยิ่งตรวจพบไฟเร็วเท่าใดโอกาสที่จะควบคุมไฟนั้นไว้ได้ยิ่งมีมากขึ้นเท่านั้น

• การดับไฟป่า (Suppression)

การดับไฟป่าเป็นขั้นตอนของงานควบคุมไฟป่าที่หนักที่สุด และเสี่ยงอันตรายที่สุด การดับไฟป่าอย่างมีประสิทธิภาพและปลอดภัย ถือว่าเป็นศิลปะชั้นสูงมากกว่าจะเป็นวิทยาศาสตร์ เนื่องจากไม่สามารถจะเขียนหรือกำหนดเทคนิควิธีการดับไฟป่าที่แน่นอนตายตัวได้ หากแต่ทุกอย่างจะต้องพลิกแพลงไปตามสถานการณ์และพฤติกรรมของไฟที่สามารถผันแปรและเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา

• การใช้ประโยชน์จากไฟ (Use of Fire)

ได้แก่การใช้ไฟเพื่อวัตถุประสงค์ต่างๆ ในการจัดการป่าไม้ ได้แก่ การกำจัดชนิดพรรณไม้ที่ไม่ต้องการ การส่งเสริมการงอกของเมล็ดไม้บางชนิด การลดปริมาณโรคและแมลง และการจัดการสัตว์ป่า เป็นต้น แต่การใช้ไฟดังกล่าวจะต้องอยู่ภายใต้แผนการควบคุมที่ถูกต้องและรัดกุมตามหลักวิชาการ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความเสียหายต่อป่าไม้และสิ่งแวดล้อมมากเกินขอบเขตที่ยอมรับได้

• การประเมินผลการปฏิบัติงาน (Evaluation)

โดยการประเมินผลการปฏิบัติงานในทุกๆ ขั้นตอน รวมถึงการประเมินความเสียหายที่เกิดจากไฟไหม้ป่าด้วย ทั้งนี้เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการปรับปรุงแผนงานควบคุมไฟป่าให้มีประสิทธิภาพและปลอดภัยยิ่งๆ ขึ้น

ผลกระทบจากไฟป่าต่อการนันทนาการ

ผลกระทบต่างๆ ที่เกิดขึ้นจากไฟป่านั้น มีส่วนในการทำลายธรรมชาติ ซึ่งเป็นสถานที่ และแหล่งท่องเที่ยวอันเป็นรายได้สำคัญของประเทศ รวมทั้งจะทำให้ขาดแหล่งพักผ่อนหย่อนใจตามธรรมชาติ

ผลกระทบจากไฟป่าต่อทรัพย์สิน สุขภาพ และชีวิตของมนุษย์

ในพื้นที่ที่เกิดไฟป่า ส่วนใหญ่จะทำความเสียหายให้กับบ้านเรือนของราษฎรที่อาศัยอยู่บริเวณชายป่า ทั้งบ้านเรือนที่ถูกไฟไหม้ พืชผลทางการเกษตร หรือแม้แต่ชีวิต

หมอกควันที่เกิดจากไฟป่า มีผลกระทบโดยตรงที่จะสร้างความเสียหายให้กับการเดินอากาศ รวมทั้งมีผลทำให้ประชาชนในบริเวณดับกล่าวจำนวนมาก ป่วยเป็นโรคระบบทางเดินหายใจ

การป้องกันแก้ไขปัญหา

1.รณรงค์ให้ประชาชน และเกษตรกร งดการจุดไฟเผาป่า เพื่อลดควันไฟที่เกิดจากการเผาป่า

2. สร้างความรู้ ความเข้าใจ และความตระหนักให้แก่ประชาชน นักเรียน นักศึกษา หน่วยราชการในการรักษาป่า

3. กิจกรรมการรณรงค์การลดเชื้อเพลิง และทำแนวกันไฟ (โดยไม่จุดไฟ) กรเอกชน ถึงอันตรายและผลกระทบของควันที่เกิดจากไฟป่า

4. เพื่อป้องกันและอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ จากการจุดไฟเผาป่า1.หน่วยงานในสังกัดกรมป่าไม้ และหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง ดำเนินการประชาสัมพันธ์ทุกรูปแบบ เช่น การจัดนิทรรศการ เดินรณรงค์ขอความร่วมมือประชาชน เกษตรกร งดจุดไฟเผาป่า

5. การรณรงค์และส่งเสริมให้เกษตรกร นำกิ่งไม้ ใบไม้ในพื้นที่ป่า หรือวัชพืช มาทำปุ๋ยหมัก เพื่อนำไปใช้บำรุงพืชผล หรือฝังกลบแทนการเผาทำลาย เป็นการลดเชื้อเพลิง

6. การทำแนวกันไฟ โดยหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องร่วมกับอาสาสมัครป้องกันไฟป่า

นายประสงค์ ในทอง 53223551213

1.ควรติดตามฟังข่าวอากาศของกรมอุตุนิยมวิทยาสม่ำเสมอ เมื่อใดที่กรมอุตุนิยมวิทยาเตือนให้อพยพ ทั้งคนและสัตว์เลี้ยงควรรีบอพยพไปอยู่ในที่สูง อาคารที่มั่นคงแข็งแรง

2.ถ้าอยู่ที่ราบให้ระมัดระวังน้ำป่าหลาก จากภูเขาที่ราบสูงลงมา กระแสน้ำจะรวดเร็วมาก ควรสังเกตเมื่อมีฝนตกหนักติดต่อกันบนภูเขาหลาย ๆ วัน ให้เตรียมตัวอพยพขนของไว้ที่สูง

3.ถ้าอยู่ริมน้ำให้เอาเรือหลบเข้าฝั่งไว้ในที่จะใช้งานได้ เมื่อเกิดน้ำท่วม เพื่อการคมนาคม ควรมีการวางแผนอพยพว่าจะไปอยู่ที่ใด พบกันที่ไหน อย่างไร

4.กระแสน้ำหลากจะทำลายวัสดุก่อสร้าง เส้นทางคมนาคม ต้นไม้ และพืชไร่ ต้องระวังกระแสน้ำพัดพาไป อย่าขับรถยนต์ฝ่าลงไปในกระแสน้ำหลาก แม้บนถนนก็ตาม อย่าลงเล่นน้ำ อาจจะประสพอุบัติภัยอื่น ๆ อีกได้

5.หลังจากน้ำท่วม จะเกิดโรคระบาดในระบบทางเดินอาหารทั้งคนและสัตว์ ให้ระวังน้ำบริโภค โดยต้มให้เดือดเสียก่อน

เรื่องที่เกี่ยวข้อง

กิตติมา จิตมงคลรุ่ง ศูนย์เมืองขุขันธ์ 53223551207

ในวันนี้ที่ธรรมชาติเปลี่ยนแปลงไปอย่างรุนแรง ส่งผลกระทบต่อชีวิตของมนุษย์และสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นๆอย่างรุนแรงและหนักหนาสาหัสมาก สิ่งที่ให้นักศึกษาแต่ละคนวิเคราะห์และเขียนออกมา เพื่อแลกเปลี่ยนกัน ดังนี้

1. ปัญหาดังกล่าวเกิดจากสาเหตุใดบ้าง

สาเหตุของการเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อม มีหลายประการ เช่น

1.1 การเพิ่มจำนวนของประชากรอย่างมากและรวดเร็ว ปัจจุบันประชากรโลกเพิ่มขึ้นวินาทีละ 3 คน สำหรับประเทศไทยเพิ่มปีละเกือบ 1ล้านคน ความต้องการอาหาร ที่อยู่อาศัย และพลังงาน ทำให้ประเทศที่กำลังพัฒนาต้องเผชิญกับความยากไร้ ขาดแคลนอาหาร ตกงาน การขยายตัวของเมือง ส่งผลให้มนุษย์เสาะแสวงหาและนำทรัพยากรธรรมชาตาใช้ ทำให้สภาพแวดล้อมเสื่อมโทรมลง

1.2 ความต้องการใช้ทรัพยากรและวัตถุดิบมากขึ้น เช่น การทำลายป่าเพื่อเป็นที่อยู่อาศัยและเกษตรกรรม การใช้ปุ๋ยและยาฆ่าแมลงเพื่อเพิ่มผลผลิต เพื่อหาเงินมาใช้ ทำให้ทรัพยากรธรรมชาติหมดไปอย่างรวดเร็ว

1.3 วิถีชีวิตของมนุษย์ พฤติกรรมของมนุษย์ เกี่ยวกับการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ เพื่อสนองความต้องการพื้นฐานในการดำรงชีวิต เช่น ตัดไม้เพื่อสร้างที่อยู่อาศัย เชื้อเพลิง พลังงาน แร่ธาตุ บุกรุกป่าทำเกษตรกรรม ย่อมส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมโดยตรง

1.4 ความไม่ทัดเทียมในการกระจายตัวของประชากร การที่โรงงานอุตสาหกรรมและแหล่งความเจริญส่วนใหญ่ตั้งอยู่ในเขตเมือง จึงเป็นแรงดึงดูดหนึ่งทำให้ประชากรในเขตชนบทอพยพเข้าสู่เขตเมือง เพื่อหางานทำ ทำให้สังคมเมืองมีผู้คนอาศัยอยู่หนาแน่น นำไปสู่สภาพความเป็นอยู่ที่แออัด ทำให้การบริโภคด้านสาธารณบริโภค เช่น น้ำประปา ไฟฟ้า การเก็บขยะ ที่อยู่อาศัยไม่เพียงพอต่อความต้องการ นำไปสู่ความเสื่อมโทรมด้านสิ่งแวดล้อม เกิดปัญหาสุขภาพและปัญหาสังคมอื่นๆตามมา

1.5 การใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ขาดมาตรการควบคุมที่ดีพอ เช่น การใช้ยาปราบศัตรูพืช ปุ๋ยเคมี ทำให้เศรษฐกิจดี แต่ทำให้มีสารพิษตกค้างทั้งในดิน ในน้ำ และในอากาศ เป็นอันตรายต่อมนุษย์ สัตว์ พืช ทำให้ระบบนิเวศวิทยาเปลี่ยนแปลงไป นอกจากนี้ยังเป็นการทำลายสมบัติของดิน ทำให้ดินเสื่อมและส่งผลเสียทำให้มลภาวะด้านต่างๆอยู่ในระดับความรุนแรงที่เป็นอันตรายต่อโลก

1.6 การพัฒนาเศรษฐกิจ มีการขยายตัวด้านอุตสาหกรรมเป็นหลัก ทำให้มีโรงงานอุตสาหกรรมเกิดขึ้นมากมาย ก่อให้เกิดความเสียหายต่อสภาพแวดล้อม อย่างกว้างขวาง เช่น มลพิษ ทางน้ำ ทางอากาศ สารเคมี

2. ส่งผลกระทบต่อชีวิตมนุษยชาติอย่างไร

การบุกรุกพื้นที่ป่าของมนุษย์ เพื่อแสวงหาอาหาร น้ำ เชื้อเพลิง ประกอบกับความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ของมนุษย์บางกลุ่ม ทำให้เกิดการทำลายป่าไม้จำนวนมหาศาลในอัตราที่รวดเร็ว เกินกว่าจะปลูกทดแทนได้ทัน โดยเฉพาะ การถางป่าเพื่อหากินด้วยการเผา เป็นวิธีที่เร่งให้เกิดความเสื่อมโทรมทางสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรอย่างมาก เพราะส่งผลให้ผิวดินสูญเสียความอุดมสมบูรณ์ เป็นการทำลายเศรษฐกิจระยะยาว การทำลายอย่างกว้างขวางและต่อเนื่องเป็นเวลานานจะทำให้เกิดความแห้งแล้ง มีผลทำให้เกิดการขยายตัวของพื้นที่ที่กลายเป็นทะเลทรายออกไปเป็นวงกว้างขึ้นทุกที และเมื่อประชากรเพิ่มก็จะนำไปสู่การทำลายทรัพยากรทั้งพืช และสัตว์ ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสภาวะอากาศ และระบบนิเวศ

3. จะร่วมมือกันช่วยเหลือ ฟื้นฟู ธรรมชาติอย่างไรและจะร่วมกันป้องกัน แก้ไข ปัญหาอย่างไร เพื่อลดความรุนแรงที่มีโอการจะเกิดขึ้นอีกต่อไป 3.1 รัฐต้องมีการดูแลป้องกันมิให้มีการตัดไม้ ทำลายป่า ไม่ว่าจะเป็นป่าเขตร้อนหรือป่าชายเลน

3.2 พยายามรื้อฟื้นป่าให้มีความอุดมสมบูรณ และฟื้นฟูสภาพนิเวศวิทยา

3.3 เร่งให้มีการดูแลบำรุงรักษาป่าต้นน้ำลำธาร

3.4 หามาตรการทั้งระยะสั้น และระยะยาว เพื่อลดการใช้สารเคมีที่ก่อให้เกิดความเป็นกรดในดินหรือในอากาศ รวมทั้งควบคุมพื้นที่การใช้ให้น้อยลง

3.5 ส่งเสริมให้มีการพัฒนากระบวนการผลิตทางอุตสาหกรรม ที่มีความปลอดภัยต่อชีวิตมนุษย์และลดภาวะความอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม

3.6 ทำนุบำรุงรักษาศิลปะโบราณ และโบราณวัตถุ ให้อยู่ในสภาพดี

3.7 พยายามหยุดยั้งการยายตัวของพื้นที่ที่กำลังจะกลายเป็นทะเลทราย และฟื้นฟูสภาพดินให้ดีดังเดิมโดยการปลูกต้นไม้

แนวคิดของนักศึกษาแต่ละคนที่ได้แสดงความคิดเห็นออกมา แสดงว่า ได้มีการติดตามสถานการณ์ของภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นส่วนดีมากสำหรับคนท่วไปในยุคข้อมูลข่าวสาร ที่ควรเปิดกว้างทางการได้รับข้อมูลและมีการวิเคราะห์อย่างถี่ถ้วน ถึงแหล่งข่าว ความเป็นไปได้และความน่าเชื่อถือของข่าว ก่อนที่จะตัดสินใจเชื่อข่าวนั้นๆหรือไม่

นายประสงค์ ในทอง 53223551213

นายประสงค์ ในทอง

มนุษย์กับธรรมชาติ

โศกนาฏกรรมจากอุทกภัยและวาตภัย

1.ปัญหาดังกล่าวเกิดมาจากสาเหตุอะไร

โศกนาฏกรรมจากอุทกภัยและวาตภัยในประเทศส่วนใหญ่เกิดมาจากภูมิอากาศที่แปรปรวนแพราะมีความกดอากาศต่ำและทำให้ฝนตกหนักเมือฝนตกหนักแล้วทำให้น้ำใหลลงสู่ที่ต่ำอย่างรวดเร็วเพราะไม่มีต้นไม้หรือรากหญ้าไปช่วยดูดซึ่มน้ำเพราะทั้งป่าและต้นไม้ส่วนใหญ่ถูกทำหลายเพราะเนื่องมาจากการบุกรุกทำหลายป่าเพื่อหาพื้นที่มาทำการเกษตรทำไร่และทำสวนซึ่งเรียกว่า การปลูกพืชแบบเชิงเดียวที่ทุกฝ่ายออกมมากล่าวถึงคือ “ยางพารา” และ “ปาล์มน้ำมัน” รวมถึงผลไม้อื้นๆ ซึ่งถูกระบุว่าเป็นพืชเชิงเดี่ยวเช่นกันเพราะมีลักษณะการปลูกที่ว้นระยะเป็นแถวยาว โดยมีช่องว่างระหว่างแถวที่กลายเป็น “ช่องว่าง” เป็นทางน้ำไหล แถมเป็นพืชเชิงเดี่ยวไม่มี “ราก” ในการประสานหน้าดินที่จะสามารถยึดโยงช่องว่างเหล่านั้น เมื่อฝนตกหนักน้ำป่าไหลหลากก็จะกัดเซาะเอาหน้าดินที่ไม่มีรากไม้ยึดเหนี่ยวให้พังทลายจากยอดเขาลงสู่ที่ราบลุ่มอย่างที่เพิ่งเกิดในหลายในหลายจังหวัดภาคใต้ที่ปรากฎใหเห็นถึงความโหดร้ายของธรรมชาติและความเสียหายที่ได้รับ

ในการบุกรุกเพื่อปลูดพืชเสรษกิจอย่างยางและปาล์ม ต้นไม้จำนวนมากถูกโค่นทิ้งและส่วหนึ่งไม่มีการแปรรูปเพื่อขายหรือนำไปใช้ประโยชน์เพราะเกรงถูกจับกุมไม้ใหญ่เหล่านั้นจึงถูกทิ้งอยู่บนเขาสูงและมีการกลบฝังเอาไว้จนวนมากดังนั้นเมือเกิดฝนตกหนักดินถล่มท่อนไม้ที่ถูกทิ้งไว้และยังไม่ผุจำนวมากจึงไหลหลากลงจากเทือกเขากลายเป็น “ท่อนชุงมฤตยู” ที่พุ่งเข้าใส่บ้านเรือนสะพานและผู้คนที่หนีไม่ทันจนกลายเป็นโศกนาฎกรรมครั้งใหญ่ หลักฐานที่พิสูจน์ข้อเท็จจริงคือท่อนม้หรือกองซุงมากมายที่ไหลทะลักมารวมกันล้วนเป็นท่อนไม้เก่าๆมากกว่าต้นไม้ใหม่ๆที่ถูกน้ำป่าถอนรากถอนโคนลงมาสมทบ

ปัญหา ณ วันนี้นอกจากยางและปาล์มจะเป็นพืชเศรษฐกิจแล้วยังคือ “เส้นโลหิต” คือ “ชีวิตและจิตวิญญาณ” ของเกษตรกรภายในประเทศซึ่งไม่สามารถห้าม หรือหยุดยั้งการปลูกการทำสวนยางและปาล์มใด้อย่างแน่นอนรวมทั้งเมื่อราคายางและปาล์มมีแต่จะทะยานสูงขึ้นในเวลานี้และมีความต้องการไช้ที่เพิ่มขึ้นทุกปี แต่พื้นที่ไม่เพิ่มขึ้น ปัญหาการบุกรุกป่าสงวนเพื่อปลูกพืชเศรษฐกิจทั้ง 2 ชนิดจึงยังรุ่นแรงมากขึ้นเพราะระหว่าง “การกลัวภัยพิบัติ” กับ “การต้องการทรัพย์สินเงินทอง” ความต้องการอย่างหลังมีมากกว่าแน่นอน และถ้าเมื่อมีฝนตกน้าฝนก็จะชะล้างหน้าดินอย่างรวดเร็วจนส่วนแต่ละแห่งมีสภาพเป็น “รองน้ำ” เหมือนกับรอยแมวข่วนเกิดขึ้น ซึ่งวิธีการทำการเกษตรแบบนี้เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เกิดฝนตกหนัก น้ำป่าจะใหลบ่าอย่างรวดเร็วดินและหินจากเนินเขาหรือยอดเขาก็จะถล่มตามมาอย่างรวดเร็ว

2.ส่งผลกระทบต่อชีวิตมนุษยชาติอย่างไร

มีทั้งภัยที่เกิดจากธรรมชาติและภัยที่มนุษย์สร้างขึ้น ภัยธรรมชาตินั้นแม้ไม่อาจล่วงรู้ถึงเวลานาทีของการเกิดที่แน่นอนได้และเป็นภัยที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ แต่ทว่าการเตรียมความพร้อมป้องกันที่ดีสามารถลดความรุนแรงและผลกระทบให้เบาบางลงได้

อุทกภัยหรือภัยจากน้ำท่วมเป็นภัยที่เกิดจากธรรมชาติและตามฤดูกาลแต่ก็สามารถป้องกันไม่ให้เกิดได้หรือลดความเสียหายให้น้อยที่สุดได้ของแต่ละพื้นที่ที่เสี่ยงต่อการเกิดอุทกภัย การควบคุมการก่อสร้างในบริเวณที่เกิดอุทกภัย ตลอดจนประกันวินาศภัยและการจัดตั้งหน่วยงานที่รับผิดชอบเรื่องอุทกภัยเมื่อเกิดอุทกภัยต้องมีระบบเตือนภัยล่วงหน้าให้ประชาชนและหน่วยงานต่างๆเตรียมรับมือกับสถานการณ์ฉุกเฉินหรือหลีกเลี่ยงอันตรายที่อาจเกิดขึ้น ในระหว่างที่เกิดอุทกภัยหน่วยงานต่างๆต้องรีบช่วยกู้ภัยและช่วยเหลือโดยทันที และเมื่ออุทกภัยผ่านพ้นไปแล้วต้องรีบช่วยเหลือฟื้นฟูทั้งทางด้านเศรษฐกิจและสังคมให้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้

น้ำท่วมก่อให้เกิดผลกระทบอันตรายและความเสียหาย

1. อันตรายและความเสียหายต่อชีวิต ทรัพย์สิน อาคาร บ้านเรือน โดยตรง เกิดน้ำท่วมในบ้านเมือง โรงงาน คลังพัสดุ โกดังสินค้า บ้านเรือนไม่แข็งแรง อาจถูกกระแสน้ำไหลเชี่ยวพังทลาย หรือคลื่นซัดลงไปทะเลไปได้ ผู้คน สัตวพาหนะ สัตว์เลี้ยง อาจจมน้ำตาย หรือถูกพัดพาไปกับกระแสน้ำไหลเชี่ยว - เส้นทางคมนาคมถูกตัดขาดทั้งทางถนน ทางรถไฟ ชำรุดเสียหาย โดยทั่วไป รวมทั้งยานพาหนะ วิ่งรับส่งสินค้าไม่ได้ เกิดความเสียหายและชะงักงันทางเศรษฐกิจ - กิจการสาธารณูปโภคจะได้รับความเสียหาย เช่น กิจการโทรเลข โทรศัพท์ การไฟฟ้า การประปา และระบบการระบายน้ำ เป็นต้น ท่าอากาศยาน สวนสาธารณะ โรงเรียน - สิ่งก่อสร้างสาธารณสถานเกิดความเสียหาย เช่น สถานีขนส่ง ท่าอากาศยาน สวนสาธารณะ โรงเรียน วัด สถาปัตกรรม และศิลปกรรมต่าง ๆ

2. ความเสียหายของแหล่งเกษตรกรรม ได้แก่ แหล่งกสิกรรมไร่นา สัตว์เลี้ยง สัตว์พาหนะ ตลอดจนแหล่งเก็บเมล็ดพันธ์พืชยุ้งฉาง

3. ความเสียหายทางเศรษฐกิจ รายได้ของประเทศลดลง ผลกำไรจากภารกิจต่าง ๆ ถูกกระทบกระเทือน รัฐต้องมีรายจ่ายสูงขึ้นจากการซ่อมบูรณะซ่อมแซม และช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย และเกิดข้าวยากหมากแพงทั่วไป

4. ความเสียหายทางด้านสุขภาพอนามัยของประชาชน ขณะเกิดอุทกภัยขาดน้ำดีในการอุปโภคบริโภค ขาดความสะดวกด้านห้องน้ำ ห้องส้วม ทำให้เกิดโรคระบาด เช่น โรคน้ำกัดเท้า โรคอหิวาตกโรค รวมทั้งโรคเครียด มีความวิตกกังวลสูง โรคประสาทตามมา

5. ความเสียหายที่มีต่อทรัพยากรธรรมชาติ ฝนตกที่หนัก น้ำที่ท่วมท้นขึ้นมาบนแผ่นดิน และกระแสน้ำที่ไหลเชี่ยวทำให้เกิดแผ่นดินถล่ม (landslides) ได้ นอกจากนั้นผิวหน้าดินที่อุดมสมบูรณ์จะถูกน้ำพัดพาลงสู่ที่ต่ำ ทำให้ดินขาดปุ๋ยธรรมชาติ และแหล่งน้ำเกิดการตื้นเขิน เป็นอุปสรรคในการเดินเรือ

การป้องกันและลดความเสียหายจากอุทกภัย

1.ควรติดตามฟังข่าวอากาศของกรมอุตุนิยมวิทยาสม่ำเสมอ เมื่อใดที่กรมอุตุนิยมวิทยาเตือนให้อพยพ ทั้งคนและสัตว์เลี้ยงควรรีบอพยพไปอยู่ในที่สูง อาคารที่มั่นคงแข็งแรง

2.เมื่อกรมอุตนิยมวิทยาเตือนให้อพยพไปอยู่ในที่สูงอาคารที่มั่นคงแข็งแรงทั้งคนและสัตว์เลี้ยง

3.ถ้าอยู่ที่ราบให้ระมัดระวังน้ำป่าหลาก จากภูเขาที่ราบสูงลงมา กระแสน้ำจะรวดเร็วมาก ควรสังเกตเมื่อมีฝนตกหนักติดต่อกันบนภูเขาหลาย ๆ วัน ให้เตรียมตัวอพยพขนของไว้ที่สูง

4.ถ้าอยู่ริมน้ำให้เอาเรือหลบเข้าฝั่งไว้ในที่จะใช้งานได้ เมื่อเกิดน้ำท่วม เพื่อการคมนาคม ควรมีการวางแผนอพยพว่าจะไปอยู่ที่ใด พบกันที่ไหน อย่างไร

5.กระแสน้ำหลากจะทำลายวัสดุก่อสร้าง เส้นทางคมนาคม ต้นไม้ และพืชไร่ ต้องระวังกระแสน้ำพัดพาไป อย่าขับรถยนต์ฝ่าลงไปในกระแสน้ำหลาก แม้บนถนนก็ตาม อย่าลงเล่นน้ำ อาจจะประสพอุบัติภัยอื่น ๆ อีกได้

6.หลังจากน้ำท่วม จะเกิดโรคระบาดในระบบทางเดินอาหารทั้งคนและสัตว์ ให้ระวังน้ำบริโภค โดยต้มให้เดือดเสียก่อน

อาจารย์ได้รับแนวคิด ข้อคิดเห็น การวิเคราะห์ของนักศึกษาแล้วนะคะ ถือได้ว่า เป็นประโยชน์มากและน่าสนใจ การติดตามข้อมูลข่าวสาร การวิเคราะห์ข้อมูล ความเป็นไปได้ ความน่าเชื่อถือ เป็นอีกประเด็นหนึ่งที่นักศึกษาจะต้องมีการกลั่นกรองอย่างถี่ถ้วน และติดตามข่าวสารอย่างสม่ำเสมอนะคะ

มนุษย์กับธรรมชาติ

คำว่า ธรรมชาติ ใช้สำหรับบรรยายทุกสิ่งบน โลก ที่ไม่ได้ถูกสร้างโดยมนุษย์ อาทิเช่น มนุษย์ สัตว์ ภูเขา แม่น้ำ ต้นไม้ หรือฝน เป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติ มนุษย์กับธรรมชาติมีความสัมพันธ์กันอย่างแน่นแฟ้นมานานแสนนาน ตั้งแต่มนุษย์แรกปรากฏขึ้นมาบนพื้นโลก มนุษย์เป็นองค์ประกอบอย่างหนึ่งของธรรมชาติ มนุษย์อาศัยอยู่ในธรรมชาติ มนุษย์อาศัยธรรมชาติเป็นปัจจัยในการดำรงชีวิต ธรรมชาติจึงเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตมนุษย์ มนุษย์กับธรรมชาติเป็นส่วนของกันและกัน มนุษย์กับธรรมชาติไม่อาจแยกตัวออกจากกันและกันได้ เมื่อใดที่มีเหตุมีผลกำหนดให้ต้องแยกจากกัน เมื่อนั้นย่อมวินิจฉัยได้ว่าทั้งมนุษย์และธรรมชาติกำลังมุ่งวิถีการเปลี่ยนแปลงสู่หายนะด้วยกันทั้งสองฝ่ายเราก็สามารถจำแนกปัญหาสิ่งแวดล้อมที่สังคมมนุษย์กำลังเผชิญอยู่ในปัจจุบันนี้ได้ 3 ปัญหาใหญ่ ๆ คือ

1. ปัญหาการลดลงของทรัพยากรธรรมชาติ

2. ปัญหามลภาวะหรือมลพิษทางสิ่งแวดล้อม

3. ปัญหาการทำลายระบบนิเวศ

ความสำคัญและผลกระทบของทรัพยากรธรรมชาติ

ทรัพยากรธรรมชาติมีความสำคัญต่อมนุษย์มากมายหลายด้านดังนี้

1. การดำรงชีวิต ทรัพยากรธรรมชาติเป็นต้นกำเนิดของปัจจัย 4 ในการดำรงชีวิตของมนุษย์พบว่า มนุษย์จะต้องพึ่งพาทรัพยากรธรรมชาติเพื่อสนองความต้องการทางด้านปัจจัยสี่ คือ อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย และยารักษาโรค

- อาหารที่มนุษย์บริโภคแรกเริ่มส่วนหนึ่งได้จากทรัพยากรธรรมชาติ เช่น เผือก มัน ปลาน้ำจืดและปลาน้ำเค็ม เป็นต้น

- เครื่องนุ่งห่ม แรกเริ่มมนุษย์ประดิษฐ์เครื่องนุ่งห่มจากทรัพยากรธรรมชาติ เช่น จากฝ้าย ป่าน ลินิน ขนสัตว์ ฯลฯ ที่มีอยู่ตามธรรมชาติ ต่อมาเมื่อจำนวนประชากรเพิ่มขึ้น ความต้องการเครื่องนุ่งห่มก็เพิ่มขึ้นด้วย จึงจำเป็นต้องปลูกหรือเลี้ยงสัตว์ เพื่อการทำเครื่องนุ่งห่มเอง และในที่สุดก็ทำเป็นอุตสาหกรรม

- ที่อยู่อาศัย การสร้างที่อยู่อาศัยของชนเผ่าต่าง ๆ จะพยายามหาทรัพยากรธรรมชาติ ที่มีอยู่ในท้องถิ่นมาเป็นองค์ประกอบหลักในการก่อสร้างที่อยู่อาศัยขึ้นมา ตัวอย่างเช่น ในเขตทะเลทรายที่แห้งแล้ง บ้านที่สร้างขึ้นในเขตภูเขาจะทำด้วยดินเหนียว แต่ถ้าเป็นบริเวณที่แห้งแล้ง และไร้พืชพรรณธรรมชาติ บ้านที่สร้างขึ้นอาจจะเจาะเป็นอุโมงค์เข้าไปตามหน้าผา บ้านคนไทยในชนบทสร้างด้วยไม้ ไม้ไผ่ หลังคามุงด้วยจากหรือหญ้า เป็นต้น

- ยารักษาโรค ตั้งแต่สมัยโบราณมนุษย์รู้จักนำพืชสมุนไพรมาใช้ในการรักษาโรค เช่น คนไทยใช้ฟ้าทะลายโจรรักษาโรคหวัด หอบ หืด หัวไพล ขมิ้น น้ำผึ้งใช้บำรุงผิว

2. การตั้งถิ่นฐานและการประกอบอาชีพ ทรัพยากรธรรมชาติเป็นปัจจัยพื้นฐานในการตั้งถิ่นฐานและประกอบอาชีพของมนุษย์ เช่น แถบลุ่มแม่น้ำหรือชายฝั่งทะเลที่อุดมสมบูรณ์ด้วยพืชและสัตว์ จะมีประชาชนเข้าไปตั้งถิ่นฐานและประกอบอาชีพทางการเกษตรกรรมประมง เป็นต้น

3. การพัฒนาทางเศรษฐกิจ จำเป็นต้องใช้ทรัพยากรธรรมชาติ

4. ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี การประดิษฐ์เครื่องมือ เครื่องใช้ เครื่องจักร เครื่องผ่อนแรง ต้องอาศัยทรัพยากรธรรมชาติ

5. การรักษาสมดุลธรรมชาติ ทรัพยากรธรรมชาติเป็นปัจจัยในการรักษาสมดุลธรรมชาติ

ปัญหาการเปลี่ยนแปลงของธรรมชาติ

ในรอบหลายปีที่ผ่านมา แทบทุกคนคงได้รับข่าวภัยพิบัติธรรมชาติที่เกิดขึ้นบนโลกใบนี้จากสื่อต่าง ๆ โดยเฉพาะทางโทรทัศน์และสื่อสิ่งพิมพ์ ไม่ว่าจะเป็นแผ่นดินไหว คลื่นยักษ์สึนามิ พายุถล่ม น้ำท่วม และไฟป่า ฝนแล้ง ทำให้ผู้คนที่ไม่เคยสนใจธรรมชาติมาก่อนก็อดไม่ได้ที่จะคิดถึงสิ่งที่เกิดขึ้นด้วยความหวาดวิตก เพราะภัยพิบัติที่เกิดขึ้นนั้นนอกจากจะมีทุกรูปแบบแล้ว ยังมีความรุนแรงมากกว่าเดิม แถมในหลายภูมิภาคต้องเผชิญหน้ากับความเลวร้ายอย่างที่ไม่เคยคาดคิดมาก่อน จากเหตุการณ์ดังกล่าวทำให้นักวิทยาศาสตร์หลายคนเสนอทฤษฎีต่างๆนานาเพื่ออธิบายถึงภัยพิบัติทางธรรมชาติที่เกิดขึ้น อาทิเช่น ทฤษฎีโลกร้อนโลกเย็น ทฤษฎีแกนโลกเอียง เป็นต้น ซึ่งทุกทฤษฎีล้วนนำไปสู่ข้อสรุปที่ว่า "มนุษย์ได้ล้างผลาญทรัพยากรธรรมชาติจนเกินพอดี เมื่อธรรมชาติเสียความสมดุลก็ย่อมเกิดการทำลายจากธรรมชาติ ซึ่งสิ่งที่เกิดนี้เป็นเพียงสัญญาณเตือนจากธรรมชาติเท่านั้น ยังไม่ถึงเวลาของภัยพิบัติธรรมชาติแท้จริงที่คาดว่าน่าจะเลวร้ายกว่านี้ไม่รู้กี่ร้อยกี่พันเท่า"

ปรากฏการณ์ธรรมชาติ เป็นปรากฏการณ์ที่มนุษย์ไม่ได้สร้างขึ้นเอง และมีผลกระทบกับมนุษย์ ตัวอย่างเช่นเหตุการณ์ที่พบเห็นทั่วไป ฝนตก ฟ้าร้อง ฟ้าผ่า พายุ และเหตุการณ์ที่ไม่พบบ่อยนัก เช่น สุริยุปราคา ฝนดาวตก

สภาพสังคมในปัจจุบัน ที่ความเจริญทางด้านเทคโนโลยีทำให้มนุษย์เราหลงลืม ละเลย สังเกตการณ์เปลี่ยนแปลงธรรมชาติรอบตัว แต่กลับพยายามหาทางเปลี่ยนแปลง เอาชนะธรรมชาติทุกวิถีทางเพื่อสร้างประโยชน์แก่ตน การบริโภคและใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างฟุ่มเฟือยสร้างความเสื่อมโทรมอย่างรวดเร็วให้เกิดกับธรรมชาติในทุกถิ่นทั่วโลก จนธรรมชาติต้องแสดงพลังแห่งความหายนะที่มนุษยชาติมิอาจลืมเลือนไปได้ตราบชั่วชีวิต ดังเช่นปรากฏการซึนามิ หรือการเกิดแผ่นดินไหวที่สร้างความเสียหายทั้งชีวิตและทรัพย์สินในหลายประเทศทั่วโลกเมื่อเร็วๆนี้ โดยที่ความเจริญทางเทคโนโลยีมิอาจยังยั้งปรากฏการแห่งหายนะลงได้เลยแม้แต่น้อย

การเกิดปรากฏการณ์ธรรมชาติ

ในหลายๆ ด้านแล้ว กล่าวได้ว่าธรรมชาติและมนุษย์มีหลายอย่างที่ขัดแย้งกัน บางคนมองธรรมชาติว่าเป็นเพียงทรัพยากรธรรมชาติที่เอามาเป็นประโยชน์ต่อมนุษย์เท่านั้น มนุษย์ตัดต้นไม้เพื่อนำไม้ไปเป็นเชื้อเพลิงหรือนำไปสร้างบ้าน หรือเพื่อนำที่ดินไปทำสวน ปลูกผัก หรือสร้างรถ และโรงงานอุตสาหกรรม ซึ่งปล่อยควันเสีย โดยเฉพาะในเมือง หรือการที่มนุษย์จับปลาอย่างมากมายโดยฆ่าทั้งปลาและทำอันตรายต่อสัตว์อื่นๆ ใต้น้ำ ในขณะที่บางคนเลือกที่จะไม่ทำร้ายธรรมชาติ เพราะพวกเขารู้สึกว่าธรรมชาติมีความจำเป็นต่อพวกเขา พวกเขาจึงพยายามทำสิ่งที่ไม่มีผลกระทบต่อธรรมชาติ โดยเฉพาะในเมืองใหญ่ที่มีผู้คนมากมาย ปัญหาธรรมชาติจึงเป็นปัญหาที่ร้ายแรง มีบางคนคิดว่าอนาคตนี้มนุษย์จะไม่ต้องการธรรมชาติ และฉลาดพอที่จะสร้างสิ่งต่างๆ ทดแทนธรรมชาติได้ แต่อันที่จริงแล้ว มนุษย์เองก็เกิดจากธรรมชาติและธรรมชาติก็สร้างมนุษย์ มนุษย์เป็นสัตว์ชนิดเดียวที่มีสมองอันชาญฉลาด มีความสามารถที่จะปกป้องธรรมชาติจากอันตราย และช่วยเหลือสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นได้ หากธรรมชาติเสื่อมโทรมลงไป มนุษย์อาจจะต้องอยู่อย่างลำบากมากขึ้น นี่จึงเป็นเหตุผลที่เราควรจะดูแลรักษาธรรมชาติ ธรรมชาติสามารถแสดงให้มนุษย์เห็นว่าจะทำสิ่งต่างๆ ได้อย่างไร และมนุษย์ศึกษาธรรมชาติ เพื่อที่จะเข้าใจและแก้ปัญหาต่างๆ ได้อย่างถูกต้อง

ภัยธรรมชาติ

เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของธรรมชาติ หรือมนุษย์ได้ทำให้มันเกิดขึ้นมา ภัยธรรมชาติมีหลายรูปแบบแตกต่างกันไปบางอย่างร้ายแรงน้อย บางอย่างร้ายแรงมากซึ่งอาจทำให้เกิดผลเสียต่อชีวิตและทรัพย์สิน เช่น การเกิดอุทกภัยหรือน้ำท่วม การเกิดพายุ การเกิดแผ่นดินไหว ภูเขาไฟระเบิด โลกร้อน ฝนแล้ง เป็นต้น ซึ่งภัยธรรมชาติต่างๆไม่ว่าจะร้ายแรงมากหรือน้อยก็เกิดขึ้นได้ทุกเวลาโดยที่มนุษย์ไม่ได้ตั้งตัว

กิจกรรมของมนุษย์ที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ ได้แก่

1. กิจกรรมทางด้านอุตสหกรรม โดยไม่มีการคำนึงถึงสิ่งแวดล้อม มีการนำใช้ทรัพยากรธรรมชาติมากมาย และก่อให้เกิดมลพิษ ต่อสิ่งแวดล้อม เช่น อุตสาหกรรมเหมืองแร่ มีการเปิดหน้าดิน ก่อให้เกิดปัญหาการชะล้าง พังทลายของดิน และปัญหาน้ำทิ้ง จากเหมืองลงสู่แหล่งน้ำ ก่อให้เกิดพลพิษทางน้ำ

2. กิจกรรมทางการเกษตร เช่น มีการใช้ยาฆ่าแมลง เพื่อเพิ่มผลผลิต ส่งผลให้เกิดอันตราย ต่อสิ่งแวดล้อม และสุขภาพอนามัยของมนุษย์ เนื่องจากมีการสะสมสารพิษ ไว้ในร่างกายของสิ่งมีชีวิต และสิ่งแวดล้อม ก่อให้เกิดอันตราย ในระยะยาวและเกิดความสูญ ทางด้านเศรษฐกิจ เนื่องจากการเจ็บป่วย ของประชาชน และคุณภาพสิ่งแวดล้อมที่แย่ลง

3. กิจกรรมการบริโภคของมนุษย์ ส่งผลให้ มีการใช้ทรัพยากรอย่างฟุ่มเฟือย ขาดการคำนึงถือสิ่งแวดล้อม ก่อให้เกิดปัญหา สิ่งแวดล้อมตามมา เช่น ปริมาณขยะที่มากขึ้น จากการบริโภคของเรานี้ ที่มากขึ้นซึ่งยากต่อการกำจัด โดยเกิดจาการใช้ทรัพยากร อย่างไม่คุ้มค่า ทำให้ปริมาณทรัพยากรธรรมชาติ ลดน้อยลง เป็นต้น

สาเหตุที่มนุษย์ทำลายสิ่งแวดล้อมมีหลายสาเหตุดังนี้

1. การเพิ่มของประชากร การเพิ่มของประชากรโลก เป็นไปอย่างรวดเร็ว เนื่องจากความเจริญ ทางด้านการแพทย์ ช่วยลดอัตราการตาย โดยการเพิ่มประชากรนี้ ก่อให้เกิดการบริโภคทรัพยากรมากขึ้น มีของเสียมากขึ้น

2. พฤติกรรมการบริโภค อันเนื่องมาจาก ต้องการให้คุณภาพชีวิตดีขึ้น มีความสุขสบาย มากขึ้น มีการนำใช้ทรัพยากรธรรมชาติ อย่างสิ้นเปลือง มีขยะและของเสียมากขึ้น ส่งผลกระทบต่อ สิ่งแวดล้อมและตัวมนุษย์เอง

3. ความโลภของมนุษย์ โดยนำทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมมาใช้ เพื่อให้ตนเองมีความร่ำรวย มีความสะดวกสบาย มีความเห็นแก่ตัว ขาดสติยั้งคิด ถึงสิ่งแวดล้อม อันจะเป็นผลส่งให้เกิดปัญหา สิ่งแวดล้อม ที่มากระทบต่อมนุษย์เองในที่สุด

4. ความไม่รู้ สิ่งที่ทำให้มนุษย์ ขาดการรู้เท่าทัน บนรากฐานแห่งความจริง อย่างลึกซึ้งใน สิ่งแวดล้อม และธรรมชาติ ส่งผลให้มนุษย์ขาดสติในการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ มีพฤติกรรมการบริโภค อันเป็นการทำลายสิ่งแวดล้อม โดยขาดการคาดการณ์ ผลที่จะเกิดตามมา จะส่งผลให้เกิดปัญหาสิ่ง แวดล้อม และนำไปสู่ความเสียหาย ทั้งตนเองและธรรมชาติ

ผลกระทบจากปรากฏการณ์ธรรมชาติ

ปรากฏการณ์ธรรมชาติ คือ การเปลี่ยนแปลงของธรรมชาติ ทั้งในระยะยาวและระยะสั้น สภาพแวดล้อมของโลกเปลี่ยนแปลงไปตามเวลา ทั้งเป็นระบบและไม่เป็นระบบ เป็นสิ่งที่อยู่รอบตัวเรา มันส่งผลกระทบต่อเรา ในธรรมชาติ การเปลี่ยนแปลงบางอย่าง มีผลกระทบต่อเรารุนแรงมาก ยกตัวอย่างเรื่องสึนามิ การเกิดแผ่นดินไหวนั้นพยากรณ์ยากมาก เราจัดการสึนามิ โดยเอาระเบิดปรมาณูไปถล่มมันก็ไม่ได้ แต่ของพวกนี้ถ้ารู้ก่อนสิบนาที มีประโยชน์เยอะเลย รู้ก่อนสองชั่วโมง รักษาชีวิตคนได้เป็นหมื่น ดินฟ้าอากาศก็เช่นเดียวกัน ผลจากการวิจัยที่บอกว่าอุณหภูมิของโลกที่สูงขึ้นแน่นอนว่าจะส่งผลต่อสภาพภูมิอากาศที่จะแปรปรวนมากขึ้น เช่นพายุจะเกิดบ่อยขึ้น ภาวะฝนตกทิ้งช่วง ความแห้งแล้งจะเกิด และเมื่อฝนตกจะเกิดภาวะน้ำท่วมและดินถล่มตามมา ภัยธรรมชาติเหล่านี้เกิดแล้ว ทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ ซึ่งหากประเทศไม่มีการเตรียมการรับมือ หากเกิดอุบัติภัยจาธรรมชาติซ้ำซาก ทำให้เศรษฐกิจของชาติได้รับผลกระทบซ้ำซากครั้งละหลายหมื่นล้านบาทจนประเทศรับไม่ไหว แล้วเราจะทำอย่างไร

ประเทศไทยจะเป็นอีกประเทศที่ได้รับผลกระทบมาก โดยเฉพาะผลกระทบในเรื่อระบบนิเวศวิทยา สิ่งแวดล้อมและความหลากหลายทางชีวภาพ และรวมถึงการสูญพันธุ์ของสัตว์น้ำ และสัตว์ป่า พืชและสถาพป่าไม้ที่จะต้องมีการเปลี่ยนแปลง แต่ทั้งหมดยังเป็นการศึกษาในภาพกว้างยังไม่มีการศึกษาลงไปในรายละเอียดแต่ละด้าน ขณะที่ระบบนิเวศของป่าไม้ สัตว์ป่า ก็เปลี่ยนไปจากเดิมซึ่งประเทศไทยในภาคใต้จะเป็นป่าดิบชื้น ในขณะที่ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือเป็นป่าเต็งและป่าเต็งรัง มีการผลัดใบ ซึ่งอนาคตเมื่ออากาศร้อนจะส่งกระทบทำให้ป่าเกิดความแห้งแล้งเพิ่มขึ้นเกิดไฟป่าบ่อยขึ้น ซึ่งจากการศึกษาพบว่า ประเทศไทยมี อุทยานแห่งชาติและเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าที่จะได้รับผลกระทบทั้งในเรื่องการสูญพันธุ์ของพันธุ์พืชและพันธุ์สัตว์ที่ไม่สามารถอพยพได้เพราะเส้นทางถูกตัดโดยถนน ทำให้ในที่สุดชนิดที่ปรับตัวไม่ได้จะสูญพันธุ์ไปจากประเทศไทย ด้านแหล่งน้ำธรรมชาติ จะมีการเปลี่ยนแปลงสภาพของแหล่งน้ำ ภาวะฝนทิ้งช่วงที่ยาวนานขึ้นอาจจะทำให้สภาพแหล่งน้ำเปลี่ยนแปลง คุณภาพน้ำเปลี่ยน และระบบนิเวศวิทยาเปลี่ยน ส่งผลต่อสิ่งมีชีวิตในน้ำจากการระเหยของน้ำที่เร็วขึ้นทำให้ธาตุอาหารในน้ำเข้มข้นขึ้น และเกิดการตื้นเขิน ส่งผลต่อการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำทั้งน้ำจืด น้ำเค็ม การสูญเสียความมั่นคงด้านอาหาร เป็นสิ่งที่น่าเป็นห่วงที่สุด โดยเฉพาะสินค้าเกษตร เนื่องจากประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรมปละเป็นการเกษตรที่ต้องอาศัยน้ำฝน เพราะฉะนั้นเมื่ออุณหภูมิแปรปรวนทำให้ฤดูเกิดฝนเปลี่ยน ทำให้การปลูกพืชจะได้รับความเสียหายทั้งจากภัยแล้งและน้ำท่วมสลับกันไป

ครอบครัวและชุมชน

วิถีชีวิตในชุมชนเป็นสิ่งที่พัฒนามานาน ประกอบด้วยความรัก ความผูกพัน ความช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกัน เป็นวัฒนธรรม ประเพณีในการใช้ชีวิตร่วมกันของคนในชุมชน ถ่ายทอดจากรุ่นหนึ่งไปสู่อีกรุ่นหนึ่ง ถือว่าเป็นเกราะป้องที่สำคัญแก่คนในชุมชนนั้นๆ ภัยพิบัติที่เกิดขึ้นเช่นกรณีสึนามิ ใช้เวลาไม่นานแต่ทำลายวิถีชีวิตของชุมชนอย่างรวดเร็ว ผู้คนกระจัดกระจาย แยกตัว สับสน และต่างคนต้องเอาตัวเองให้อยู่รอด วัฒนธรรม ประเพณี ของชุมชนถูกทำลายสิ้นในพริบตา การพลัดพรากจากคนและของที่รัก ขาดที่อยู่ สูญเสียทรัพย์สิน ตกงาน ขาดรายได้ ฯลฯ ส่งกระทบผลโดยตรงต่อตัวบุคคล ครอบครัวและสังคมอย่างรุนแรงและยาวนาน ทำให้พบการหย่าร้างเพิ่มขึ้น ในบ้านมีความก้าวร้าว คนหงุดหงิด ซึมเศร้า เด็กถูกทำร้าย เด็กขาดเรียน ขาดทรัพยากรทุกรูปแบบ

ภัยพิบัติสามารถส่งผลกระทบต่อความเสียหายทางกายภาพที่เห็นได้ชัดเจน เช่น เสียชีวิต บาดเจ็บ ไร้ที่อยู่ ขาดที่ทำกิน พิการ อุปกรณ์การทำงานสูญหาย กระทบต่อสภาพสังคม วัฒนธรรม การดำเนินชีวิต รวมทั้งมีผลกระทบต่อจิตใจของผู้ประสบภัย ทำให้เกิดปัญหาต่อจิตใจอย่างรุนแรง หรือเกิดจากการกระทำของมนุษย์ เช่น การก่อการร้าย สงคราม การข่มขืน เป็นต้น

การป้องกันผลจากปรากฏการณ์ธรรมชาติ

มาจนถึงทุกวันนี้ ถ้าหากเราเฝ้าสังเกตุความเปลี่ยนแปลง จนทราบได้ว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงที่รุนแรงเกิดขึ้น ก็จะสามารถป้องกันและแก้ไขได้อย่างทันท่วงที แต่ถ้าไม่มีใครสังเกตเห็น ก็จะเกิดผลร้ายที่รุนแรงมากขึ้น เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นกรณีศึกษาที่มีความสำคัญยิ่งสำหรับทุกคน ซึ่งทุกฝ่ายต้องเรียนรู้และพัฒนาขีดความสามารถในการให้ความช่วยเหลือสำหรับปัญหาภัยพิบัติที่อาจเกิดขึ้นอีกในอนาคต

การสังเกตธรรมชาติของคนสมัยก่อนนอกจากเป็นไปเพื่อการพยากรณ์ปรากฏการณ์ต่างๆที่จะเกิดขึ้นแล้ว ก็ยังเป็นการสังเกตรู้ถึงความยิ่งใหญ่และพลังเร้นลับอันมหาศาลของธรรมชาติพร้อมจะบันดาลความอุดมสมบูรณ์และความหายนะมาสู่มวลมนุษย์ได้ตลอดเวลา คนในสมัยก่อนจึงได้ปลูกฝังสั่งสอนลูกหลานผ่านพิธีกรรมความเชื่อต่างๆนาๆ เพื่อให้ทุกคนรักษาและเคารพธรรมชาติ และเพื่อให้ความสุขและความอุดมสมบูรณ์อยู่คู่กับการดำเนินชีวิตของตนตลอดไปความรู้ในการสังเกตธรรมชาติของคนสมัยเก่าที่เฝ้าดูการเปลี่ยนแปลง ของดินฟ้า อากาศ และสามารถพยากรณ์ปรากฏการทางธรรมชาติได้อย่างแม่นยำ จึงกลายเป็นมรดกทางภูมิปัญญาที่คนอีสานใช้ในการดำเนินชีวิตและประกอบอาชีพด้านการเกษตร มีการสืบทอดองค์ความรู้ดังกล่าวส่งผ่านลูกหลานมาเป็นเวลาช้านาน

หลักการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ

ในการอนุรักษ์และจัดการทรัพยากรธรรมชาติให้เหมาะสมและได้รับประโยชน์สูงสุด ควรคำนึงถึงหลักต่อไปนี้

1. การอนุรักษ์และการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ ต้องคำนึงถึงทรัพยากรธรรมชาติอื่นควบคู่กันไป เพราะทรัพยากรธรรมชาติต่างก็มีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์และส่งผลต่อกันอย่างแยกไม่ได้

2. การวางแผนการจัดการทรัพยากรธรรมชาติอย่างชาญฉลาด ต้องเชื่อมโยงกับการพัฒนา สังคม เศรษฐกิจ การเมือง และคุณภาพชีวิตอย่างกลมกลืน ตลอดจนรักษาไว้ซึ่งความสมดุลของระบบนิเวศควบคู่กันไป

3. การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ต้องร่วมมือกันทุกฝ่าย ทั้งประชาชนในเมือง ในชนบท และผู้บริหาร ทุกคนควรตระหนักถึงความสำคัญของทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมตลอดเวลา โดนเริ่มต้นที่ตนเองและท้องถิ่นของตน ร่วมมือกันทั้งภายในประเทศและทั้งโลก

4. ความสำเร็จของการพัฒนาประเทศขึ้นอยู่กับความอุดมสมบูรณ์และความปลอดภัยของทรัพยากรธรรมชาติ ดังนั้นการทำลายทรัพยากรธรรมชาติจึงเป็นการทำลายมรดกและอนาคตของชาติด้วย

5. ประเทศมหาอำนาจที่เจริญทางด้านอุตสาหกรรม มีความต้องการทรัพยากรธรรมชาติเป็นจำนวนมาก เพื่อใช้ป้อนโรงงานอุตสาหกรรมในประเทศของตน ดังนั้นประเทศที่กำลังพัฒนาทั้งหลายจึงต้องช่วยกันป้องกันการแสวงหาผลประโยชน์ของประเทศมหาอำนาจ

6. มนุษย์สามารถนำเทคโนโลยีต่าง ๆ มาช่วยในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติได้ แต่การจัดการนั้นไม่ควรมุ่งเพียงเพื่อการอยู่ดีกินดีเท่านั้น ต้องคำนึงถึงผลดีทางด้านจิตใจด้วย

7. การใช้ทรัพยากรธรรมชาติในสิ่งแวดล้อมแต่ละแห่งนั้น จำเป็นต้องมีความรู้ในการรักษาทรัพยากรธรรมชาติที่จะให้ประโยชน์แก่มนุษย์ทุกแง่ทุกมุม ทั้งข้อดีและข้อเสีย โดยคำนึงถึงการสูญเปล่าอันเกิดจากการใช้ทรัพยากรธรรมชาติด้วย

8. รักษาทรัพยากรธรรมชาติที่จำเป็นและหายากด้วยความระมัดระวัง พร้อมทั้งประโยชน์และการทำให้อยู่ในสภาพที่เพิ่มทั้งทางด้านกายภาพและเศรษฐกิจเท่าที่ทำได้ รวมทั้งจะต้องตระหนักเสมอว่า การใช้ทรัพยากรธรรมชาติที่มากเกินไปจะไม่เป็นการปลอดภัยต่อสิ่งแวดล้อม

9. ต้องรักษาทรัพยากรที่ทดแทนได้ โดยให้มีอัตราการผลิตเท่ากับอัตราการใช้หรืออัตราการเกิดเท่ากับอัตราการตายเป้นอย่างน้อย

10. หาทาวปรับปรุงวิธีการใหม่ ๆ ในการผลิต และการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างมีประสิทธิภาพ อีกทั้งพยายามค้นคว้าสิ่งใหม่มาใช้ทดแทน

11. ให้การศึกาาเพื่อให้ประชาชนเข้าใจถึงความสำคัญในการรักษาทรัพยากรธรรมชาติ

วิธีการในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาตินั้นดังนี้

1. การถนอม เป็นการรักษาทรัพยากรธรรมชาติทั้งปริมาณและคุณภาพให้มีอยู่นานที่สุดโดยพยายามใช้ทรัพยากรธรรมชาติให้มีประสิทธิภาพ เช่น การเลือกจับปลาที่มีขนาดโตมาใช้ในการบริโภค ไม่จับปลาที่มีขนาดเล็กเกินไป เพื่อให้ปลาเหล่านั้นได้มีโอกาสโตขึ้นมาแทนปลาที่ถูกจับไปบริโภคแล้ว

2. การบูรณะซ่อมแซม เป็นการบุรณะซ่อมแวมทรัพยากรธรรมชาติที่เกิดความเสียหายให้มีสภาพเหมือนเดิมหรือเกือบเท่าเดิม บางครั้งอาจเรียกว่าพัฒนาก้ได้ เช่น ป่าไม้ถูกทำลายหมดไป ควรมีการปลูกป่าขึ้นมาทดแทน จะทำให้มีพื้นที่บริเวณนั้นกลับคืนเป็นป่าไม้อีกครั้งหนึ่ง

3. การปรับปรุงและการใช้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่นการนำแร่โลหะประเภทต่าง ๆ มาถลุงแล้วนำไปสร้างเครื่องจักรกล เครื่องยนต์ หรืออุปกรณ์ต่าง ๆ ซึ่งจะให้ประโยชน์แก่มนุยษ์เรามากยิ่งขึ้น

4. การนำมาใช้ใหม่ เป็นการนำทรัพยากรธรรมชาติที่ใช้แล้วมาใช้ใหม่ เช่น เศษเหล็ก สามารถนำกลับมาหลอม แล้วแปรสภาพสำหรับการใช้ประโยชน์ใหม่ได้

5. การใช้สิ่งอื่นทดแทน เป็นการนำเอาทรัพยากรอย่างอื่นที่มีมากกว่า หรือหาง่ายกว่า มาใช้ทดแทนทรัพยากรธรรมชาติที่หายากหรือกำลังขาดแคลน เช่น นำพลาสติกมาใช้แทนโลหะในบางส่วนของเครื่องจักรหรือยานพาหนะ

6. การสำรวจหาแหล่งทรัพยากรธรรมชาติเพิ่มเติม เพื่อเตรียมไว้ใช้ประโยชน์ในอนาคต เช่น การสำรวจแหล่งน้ำมันในอ่าวไทย ทำให้ค้นพบแหล่งก๊าซธรรมชาติเป็นจำนวนมาก สามารถนำมาใช้ประโยชน์ทั้งในระยะสั้นและในระยะยาว อีกทั้งช่วยลดปริมาณการนำเข้าก๊าซธรรมชาติจากต่าง

7. การประดิษฐ์ของเทียมขึ้นมาใช้ เพื่อหลีกเลี่ยงหรือลดปริมาณในการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ ชนิดอื่น ๆ ที่นิยมใช้กัน ของเทียมที่ผลิตขึ้นมา เช่น ยางเทียม ผ้าเทียม และผ้าไหมเทียม เป็นต้น

8. การเผยแพร่ความรู้ เป็นการเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจในเรื่องทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพื่อที่จะได้รับความร่วมมืออย่างเต็มที่ และรัฐควรมีบทบาทในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยการวางแผนจัดทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างรัดกุม

9. การจัดตั้งสมาคม เป็นการจัดตั้งสมาคมหรือชมรมในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

หลักการและมาตรการรักษาสิ่งแวดล้อม

มาตรการรักษาสิ่งแวดล้อมมีอยู่ด้วยกันหลายระดับในที่นี้จะกล่าว 3 ระดับด้วยกัน คือ

มาตรการรักษาสิ่งแวดล้อมระดับประเทศ

มาตรการรักษาสิ่งแวดล้อมระดับประเทศเป็นข้อเสนอแนะโดยทั่วไป และมีมาตรการบางอย่างที่ ใช้อยู่

ในประเทศไทย

1. ด้านประชากร

1) ชะลอการเพิ่มจำนวนประชากร รวมทั้งมีมาตรการรักษาระดับการเพิ่มของประชากรให้คงที่เหมาะสมและสอดคล้องกับระดับความเจริญทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ

2) รัฐจะต้องนำปัจจัยด้านประชากรเข้าไว้เป็นส่วนหนึ่งในการแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อม

3) รัฐต้องพยายามหยุดยั้งหรือลดการขยายตัวของเมือง โดยพยายามพัฒนาเมืองขนาดกลางและขนาดเล็กแทน เป็นการป้องกันการอพยพย้ายถิ่นของประชากรในเขตชนบท

4) รัฐพึงจัดหาที่ตั้งถิ่นฐานให้แก่ประชากร เพื่อลดการรุกล้ำทรัพยากรธรรมชาติ

2. ด้านสิ่งแวดล้อม

1) รัฐต้องดูแลป้องกันมิให้มีการตัดไม้ทำลายป่า ไม่ว่าจะเป็นป่าเขตร้อน หรือป่าชายเลน

2) พยายามรื้อฟื้นป่าให้มีความสมบูรณ์และฟื้นฟูสภาพนิเวศวิทยา

3) เร่งให้มีการดูแลบำรุงรักษาป่าต้นน้ำลำธาร

4) หามาตรการทั้งระยะสั้นและระยะยาว เพื่อลดการใช้สารเคมีที่ก่อให้เกิดความเป็นกรดในดินหรือในอากาศ รวมทั้งควบคุมพื้นที่การใช้ให้น้อยลง

5) ส่งเสริมให้มีการพัฒนากระบวนการผลิตทางอุตสาหกรรมที่มีความปลอดภัยตอชีวิตมนุษย์ และลดภาวะอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม

6) ทำนุบำรุงรักษาศิลปะ โบราณสถาน และโบราณวัตถุ ให้อยู่ในสภาพดี

7) พยายามหยุดยั้งการขยายตัวของพื้นที่ที่กำลังจะกลายเป็นทะเลยทราย และฟื้นฟูสภาพดินให้ดีดังเดิมโดยการปลูกต้นไม้

3. ด้านทรัพยากรธรรมชาติและพลังงาน

1) รัฐต้องมีมาตรการและนโยบายที่จะช่วยให้ประชากรลดความอดอยาก โดยส่งเสริมระบบเกษตรกรรมให้ประชากรในชนบทสามารถเลี้ยงตนเองได้

2) เร่งค้นคว้าหาทรัพยากรหรือพลังงานอื่น ๆ เพื่อนำมาใช้ทดแทนพลังงานน้ำมันที่กำลังจะหมดไป

3) จัดวางระบบและแนวทางการบริโภคของประชากรในรูปแบบที่จะช่วยไม่ให้เกิดการทำลายทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมมากเกินไป

4) รัฐต้องหามาตรการป้องกันพันธุ์ไม้และสัตว์ป่ามิให้ถูกทำลาย เพื่อลดการสูญเสียพันธุ์พืชและสัตว์เป็นการช่วยรักษาสมดุลทางธรรมชาติไว้

4. ด้านการเมืองและเศรษฐกิจ

1) ในการวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม รัฐต้องวางเป้าหมายที่จะสร้างความกินดีอยู่ดีให้กับประชาชนในชาติ โดยคำนึงถึงการรักษาดุลยภาพระหว่างประชากรกับสิ่งแวดล้อมเป็นสำคัญ

2) ในกระบวนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม รัฐจำเป็นต้องดูแลมิให้นำเอาทรัพยากรธรรมชาติไปใช้จนหมดสิ้น จนไม่มีเหลือเก็บไว้ให้เป็นมรดกแก่ลูกหลาน

3) รัฐต้องสร้างมาตรการที่กระตุ้นให้ชุมชนและบุคคลในชาติทุกเพศทุกวัยมีส่วนร่วมในการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม รวมทั้งการตัดสินใจหรือจัดการใช้ทรัพยากรธรรมชาติเพื่อประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าส่วนตัว และกระตุ้นให้เกิดความสำนึกรับผิดชอบต่อการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและรักษาสภาพแวดล้อม

4) ในระดับนานาประเทศ รัฐพึงให้ความร่วมมือในการศึกษาวิจัย เพื่อพัฒนาหาวิธีการผลิตทางอุตสาหกรรมที่ไม่เป็นอันตรายต่อชีวิตมนุษย์ สัตว์ และพืช

ดินขาดป่า ฟ้าขาดฝน คนขาดใจ

นางนารีย์ วันทะวงษ์ รหัส 53223551208

มนษย์กับธรรมชาติ ข้างบนสักครู่ของ นางนารีย์ วันทะวงษ์ เองค่ะ ส่งแล้วนะค่ะ

ขอความคิดเห็น ของอจารย์ด้วย ขอบคุณค่ะ

นารีย์ วิเคราะห์ได้ดีพอสมควร ค่อนข้างครอบคลุมกับสถานการณ์ในปัจจุบัน การที่มีการสนับสนุนให้มีการพัฒนากระบวนการวิจัยหรือพัฒนานวัตกรรมต่างๆ เพื่อแก้ไขปัญหา หรือ เพื่อคิดค้นวิธีการใหม่ๆในการอยู่ร่วมกับธรรมชาติอย่างสมดุล น่าจะเป็นสิ่งดีดีที่ทุกหน่วยงาน ทุกองค์กรและประชาชนทุกคนควรกระทำ และแสวงหาแนวทางเชิงสร้างสรรค์ร่วมกัน หากทุกคนช่วยกันคนละเล็กละน้อย ก็น่าจะบรรเทาทุกข์ซึ่งกันและกันลงไปได้

นางสาวจินตนา บุญเลิศ

สาเหตุของปัญหา

ปัญหาที่เกิดจากความเปลี่ยนแปลงของธรรมชาติอย่างรุนแรง ส่งผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตบนโลกใบนี้ถึงกับสูญสิ้นชีวิต สาเหตุเกิดจากสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติถูกทำลายจนถึงกับขาดความสมดุลตามกฎเกณฑ์ธรรมชาติ ทำให้ขาดดุลยภาพระหว่างมนุษย์กับสิ่งแวดล้อม เสียระบบความเป็นปกติของธรรมชาติในโลกนี้ ระบบและกฎเกณฑ์ธรรมชาติเป็นสิ่งที่ธรรมชาติสร้างเพื่อให้เกิดความสมดุลและเป็นธรรม แต่ละสิ่งในธรรมชาติจะมีขอบเขตและหน้าที่ หากเกิดการบุกรุกก้าวล้ำขอบเขตหน้าที่ของกันและกัน ก็จะมีความแปรปรวนเกิดความวุ่นวายไม่เป็นปกติในที่สุด

มนุษย์มีส่วนที่ล่วงเกินกฎเกณฑ์ของธรรมชาติ ทำลายสิ่งต่างๆรอบตัวเพื่อสนองความต้องการของมนุษย์ เหยียบย้ำธรรมชาติสิ่งแวดล้อมด้วยคำลวงที่ว่ามนุษย์สามารถเอาชนะธรรมชาติได้ มนุษย์ทำลายตัวเองทำลายเผ่าพันธุ์ทุกครั้งที่มนุษย์ทำลายธรรมชาติ

มนุษย์เป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติ ธรรมชาติจะคัดสรรสิ่งที่ดีที่สุดให้อยู่คู่กับธรรมชาติ ไดโนเสาร์ที่เคยเป็นสัตว์ครองโลกก็สูญพันธุ์ไป มนุษย์ก็สูญพันธ์ได้เช่นกันหากมนุษย์เป็นสิ่งมีชีวิตที่ลืมคำนึงถึงธรรมชาติ ซึ่ง เป็นผู้ที่สร้างมนุษย์มา

สาเหตุแรกของปัญหาเกิดมาจากความไม่เข้าใจหรือไม่พยายามที่จะเรียนรู้ความจริงในธรรมชาติของมนุษย์เอง มนุษย์ในยุคปัจจุบันจึงมีแนวคิดในการใช้ชีวิตเพียงเพื่อความสะดวกสบาย มีความเห็นแก่ตัว จนลืมคำนึงถึงสภาพแวดล้อมในธรรมชาติ ทำให้ขาดความสมดุลจนเสียระบบ ธรรมชาติจึงเกิดความเปลี่ยนแปลงเพื่อจะรักษาระบบสิ่งแวดล้อมของธรรมชาติไว้ที่ความสมดุลของธรรมชาติดั่งเดิม

สาเหตุที่สองของปัญหาที่เกิดความเปลี่ยนแปลงต่างในโลกใบนี้ เป็นไปตามวัฏจักรของระบบสุริยะจักรวาล ที่มีความเป็นไปต่างๆนานา เพื่อการเกิดและการดับสูญ

ผลกระทบต่อชีวิตมนุษย์

ผลกระทบที่เกิดจากความเปลี่ยนแปลงธรรมชาติอย่างรุนแรงต่อชีวิตมนุษย์บนโลกใบนี้มีหลายด้าน เช่น มนุษย์สูญสิ้นชีวิต ขาดอาหาร ขาดแหล่งที่อยู่อาศัยที่เคยอยู่ สูญเสียทรัพย์สินที่มนุษย์สะสม มีความวิตกกังวลกับความเปลี่ยนแปลงของธรรมชาติที่เกิดขึ้นอย่างรุนแรง ทำให้มนุษย์ขาดความมั่นคงในจิตใจ

ส่วนดีที่จะเกิดขึ้นจากบทเรียนจากความเปลี่ยนแปลงของธรรมชาติโดยตรง คือ มนุษย์จะเรียนรู้หาวิธีการใหม่ๆเพื่อปรับตัวให้มีความอยู่รอดต่อไป มนุษย์จะคำนึงถึงสิ่งแวดล้อมในธรรมชาติมากขึ้น และจะค้นหาความหมายที่แท้จริงของชีวิต ค้นหาคำตอบที่เป็นสัจธรรม แล้วมนุษย์ก็จะมีการวางแผนการชีวิตแบบใหม่เพื่อดำรงไว้ซึ่งเผ่าพันธุ์มนุษย์ต่อไป

มนุษย์มีแนวทางป้องกันและแก้ไขปัญหา

สำหรับคำถามแรกในข้อสาม ดิฉันคิดว่า เราไม่เคยเข้าใจธรรมชาติ เราไม่รู้จักธรรมชาติ เราไม่เคยเรียนรู้จักธรรมชาติ เราไม่สามารถที่จะไปช่วยเหลือธรรมชาติได้ ธรรมชาติจะฟื้นฟูตัวเอง เพียงแค่เราเรียนรู้จักชีวิตของตนเอง เพียงแค่เรารู้จักหยุด รู้จักเคารพขอบเขตของกันและกันระหว่างมนุษย์กับสิ่งแวดล้อมในธรรมชาติ ส่วนความร่วมมือของมนุษย์ที่จะป้องกันแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างไรเพื่อลดความรุนแรงจากภัยธรรมชาติในอนาคตต่อไป

การป้องกันและแก้ไขปัญหา ต้องสร้างระบบความคิดของมนุษย์ที่มีต่อสิ่งแวดล้อมในธรรมชาติใหม่ ให้ยอมรับและตระหนักเสมอว่า มนุษย์ คือ สิ่งที่ธรรมชาติสร้างมา และมนุษย์ไม่สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้หากไม่มีสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ แต่ธรรมชาติไม่มีมนุษย์ก็ยังคงอยู่ เป็นความจริง ดั่งนั้นมนุษย์ต้องร่วมมือกันหยุดการพัฒนาที่ไม่อยู่ในความเป็นจริง การพัฒนาที่หมายถึงแต่ความเจริญทางวัตถุ การพัฒนาจะต้องพัฒนาการเรียนรู้ต่อสิ่งแวดล้อมและความจริงของธรรมชาติ การเรียนรู้ที่จะอยู่กับธรรมชาติอย่างไรมนุษย์จึงจะมีความสงบสุขและมีความเจริญรุ่งเรืองโดยไม่ทำลายสิ่งแวดล้อมต้องให้ความรู้ผ่านทางด้านการศึกษาในทุกระดับให้ตระหนักถึงสิ่งต่างๆรอบตัวมนุษย์ทุกคนต้องให้ความรวมมือกันหยุดการกระทำทุกอย่างที่จะส่งผลต่อสิ่งแวดล้อมในทางเสื่อมเสีย เช่น การประกอบอาชีพการเกษตรที่ใช้สารเคมีและที่สำคัญ หยุดการกระทำทุกๆอย่างที่ทำไปเพื่อสร้างตนเองให้เป็นประเทศมหาอำนาจทางการทหารและทางเศรษฐกิจและสังคม ซึงต้องใช้ทรัพยากรสิ่งแวดล้อมในธรรมชาติในปริมาณที่มากเกินจนทำให้เกิดการการเปลี่ยนแปลงทางธรรมชาติรุนแรงอย่างที่ผ่านมา

สุพรรณิการ์ ไชยนิล

1.ปัญหาดังกล่าวเกิดจากสาเหตุอะไร

เกิดจากมนุษย์ เพราะมนุษย์เป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติ อาศัยอยู่บนความอุดมสมบรูณ์ที่เกิดธรรมชาติแต่มนุษย์ก้อลืมตะหนักถึงบุญคุณเมื่อมนุษย์คิดแปลกแยก และรุกรานธรรมชาติ มากๆ เข้า

ธรรมชาติก้อขาดสมดุล เมื่อขาดสมดุล การแปรเปลี่ยน ต่างๆก็ปรากฏ ดังปรากฏการณ์ที่ท่านทั้งหลายได้สัมผัสและพบเจอในขณะนี้

2.ส่งผลกระทบต่อมนุษยชาติ อย่างไรบ้าง

ภัยธรรมชาติ มีความหมายครอบคลุมถึงภัยที่รุนแรง เหตุการณ์ร้ายที่เกิดขึ้น ส่งผลกระทบต่อบุคคลเดียว หรือกระทบต่อผู้คนในวงกว้าง คือกระทบต่อความมั่นคงและ ความปลอดภัย ทำให้เกิดปัญหาต่อจิตใจอย่างรุนแรง ซึ่งอาจเกิดจากภัยธรรมชาติ เช่น แผ่นดินไหว น้ำท่วม คลื่นสึนามิ หรือเกิดจากการกระทำของมนุษย์ เช่น การก่อการร้าย สงคราม การข่มขืน เป็นต้น ภัยพิบัติสามารถส่งผลกระทบต่อความเสียหายทางกายภาพที่เห็นได้ชัดเจน เช่น เสียชีวิต บาดเจ็บ ไร้ที่อยู่ ขาดที่ทำกิน พิการ อุปกรณ์การทำงานสูญหาย กระทบต่อสภาพสังคม วัฒนธรรม การดำเนินชีวิต รวมทั้งมีผลกระทบต่อจิตใจของผู้ประสบภัย

ผลกระทบของภัยธรรมชาติในชุมชน

2.1 ผู้ประสบภัย นอกจากจะเป็นผู้สูญเสียชีวิต คนรัก ทรัพย์สิน ที่พักอาศัย เครื่องมือทำมาหากินและได้รับบาดเจ็บทางร่างกายแล้ว ยังมีภาวะทางจิตใจที่เกิดขึ้นในตัว

2.2 ครอบครัวและชุมชน

วิถีชีวิตในชุมชนเป็นสิ่งที่พัฒนามานาน ประกอบด้วยความรัก ความผูกพัน ความช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกัน เป็นวัฒนธรรม ประเพณีในการใช้ชีวิตร่วมกันของคนในชุมชน ถ่ายทอดจากรุ่นหนึ่งไปสู่อีกรุ่นหนึ่ง ถือว่าเป็นเกราะป้องที่สำคัญแก่คนในชุมชนนั้นๆ ภัยพิบัติที่เกิดขึ้นเช่น กรณีสึนามิ ใช้เวลาไม่นานแต่ทำลายวิถีชีวิตของชุมชนอย่างรวดเร็ว ผู้คนกระจัดกระจาย แยกตัว สับสน และต่างคนต้องเอาตัวเองให้อยู่รอด วัฒนธรรม ประเพณี ของชุมชนถูกทำลายสิ้นในพริบตา การพลัดพรากจากคนและของที่รัก ขาดที่อยู่ สูญเสียทรัพย์สิน ตกงาน ขาดรายได้ ฯลฯ ส่งกระทบผลโดยตรงต่อตัวบุคคล ครอบครัวและสังคมอย่างรุนแรงและยาวนาน ทำให้พบการหย่าร้างเพิ่มขึ้น ในบ้านมีความก้าวร้าว คนหงุดหงิด ซึมเศร้า เด็กถูกทำร้าย เด็กขาดเรียน ขาดทรัพยากรทุกรูปแบบและมักได้รับความช่วยเหลือที่ไม่ตรงตามความต้องการเฉพาะตัว

เมื่อหน่วยช่วยเหลือที่หลั่งไหลเข้ามาช่วยในรูปแบบต่างๆกัน ซึ่งอาจช่วยเหลือได้จริง หรืออาจเป็นตัวสร้างความยุ่งยากให้กับคนในชุมชนเพิ่มขึ้น เช่น มีระบบ วิธีการที่ซับซ้อนและไร้สมรรถภาพในการแก้ปัญหาที่มีอยู่ เช่น เรื่องที่พัก เครื่องมือทำกิน พื้นที่สิทธิ์ตามกฎหมาย ฯลฯ หรือพวกฉวยโอกาสจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ทั้งหมดจะสร้างความเดือนร้อนซ้ำให้กับคนและชุมชน หรือเรียกว่า second disaster

2.3 ผู้ช่วยเหลือในชุมชน

ในสภาพหลังเกิดภัยพิบัติ จะมีผู้ตาย ผู้บาดเจ็บ ผู้หลงทาง ถูกพลัดพรากจากกันมากมาย เป็นสภาพที่กดดันทางอารมณ์ สภาพแวดล้อมเกือบทุกแห่งในพื้นที่เกิดเหตุจะยุ่งเหยิง ผู้ช่วยเหลือผู้ประสบภัยที่ทำงานในชุมชนทำงานหนักเกินกำลัง โดยที่ขาดระบบบริหารงานที่มีประสิทธิภาพ จะทำให้เกิดความผิดพลาด ซ้ำซ้อน สับสน วุ่นวาย รวมทั้งต้องเผชิญหน้ากับทีมช่วยเหลือที่หลากหลายรูปแบบที่หลั่งไหลเข้ามาในพื้นที่ และหลากหลายความต้องการที่เรียกร้องเอาจากคนในพื้นที่

จึงพบว่าผู้ช่วยเหลือผู้ประสบภัยในพื้นที่ เช่น เจ้าหน้าที่ ครู ประชาชนในจังหวัดต้องทำงานหนัก พักผ่อนไม่พอ จิตใจหวั่นไหว ซึมเศร้า ท้อแท้ เครียด วิตกกังวล ท้อแท้ พบพฤติกรรมแยกตัว ก้าวร้าว รู้สึกไม่ปลอดภัย และมีปัญหาสุขภาพได้ง่าย สมาธิและความสนใจต่อสิ่งต่างๆลดลง หลายคนที่มีทัศนคติต่อวิธีการทำงานในด้านลบเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะคนในระบบราชการ

ผลกระทบของภัยธรรมชาติต่อเด็กและวัยรุ่น

ภัยพิบัติที่เกิดขึ้นกระทบต่อเด็กและวัยรุ่นทั้งทางตรงและทางอ้อม ภัยพิบัติมาพร้อมกับความตายต่อหน้าต่อตาของผู้เป็นที่รักหรือบุคคลใกล้ชิด การที่ต้องเผชิญภาพเหตุการณ์ที่น่ากลัว ใกล้ชิดกับความตายมิใช่เรื่องที่จะทำใจให้ยอมรับได้ง่ายโดยเฉพาะถ้าคนนั้นเป็น พ่อแม่ พี่น้อง ปู่ย่าตายาย เพื่อนสนิท ครู เพื่อนบ้าน แฟน หรือแม้แต่สัตว์เลี้ยง นอกจากเด็กและวัยรุ่นจะสูญเสียความสัมพันธ์กับคนที่รักแล้ว ยังสูญเสียสภาพแวดล้อมที่คุ้นเคย ปลอดภัยและเป็นสุข และสูญเสียความมั่นคงของชีวิต ความสูญเสียหลายอย่างมองเห็นได้ชัด แต่ความสูญเสียอีกหลายอย่างที่เป็นนามธรรมก็มีมาก เช่น ความมั่นคง ความอบอุ่นทางจิตใจ ความรักความผูกพัน โอกาสสนุกสนาน แต่เด็กและวัยรุ่นจำเป็นต้องพึ่งพาผู้ใหญ่และต้องการสภาพแวดล้อมที่มั่นคงปลอดภัยสำหรับเป็นรากฐานสำหรับการเติบโตและพัฒนาการที่สมบูรณ์ การสูญเสียดังกล่าวข้างต้นจึงเป็นการสูญเสียที่มีอิทธิพลสำคัญต่อการเติบโตและพัฒนาการที่สมบูรณ์ ยิ่งถ้าต้องอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ไม่มั่นคงเป็นเวลานาน เช่น พ่อแม่ ผู้ปกครองยังสับสน หวั่นไหว ไม่เข้าที่ ไม่มีเวลา ขาดการดูแลเอาใจใส่ คุณครูทำงานหนักหลายด้าน ขาดการสอน ฯลฯ จะยิ่งทำให้เกิดผลกระทบต่อพัฒนาการของเด็กได้รุนแรงและยาวนาน

3.จะร่วมกันช่วยเหลือ ฟื้นฟู ธรรมชาติอย่างไร และจะร่วมกันป้องกันแก้ไขปัญหาอย่างไร เพื่อลดความรุนแรงที่มีโอกาสจะเกิดขึ้นอีกต่อไป

การช่วยเหลือ ฟื้นฟูธรรมชาติ

โครงการที่สำคัญมีผลต่อเนื่องยาวนาน เริ่มด้วยการจ้างแรงงานในชนบท คือการเร่งปลูกป่า ฟื้นฟูความสมบูรณ์ของแผ่นดิน โดยรัฐบาลและเอกชนควรร่วมมือกัน จัดสรรทรัพยากรที่เหมาะสม โดยรัฐบาลอาจจัดงบประมาณไว้ส่วนหนึ่ง และขอการสนับสนุนจากภาคธุรกิจเอกชน หน่วยงานของรัฐโดยตรง เช่น กรมป่าไม้ กรมอุทยานฯ ฯลฯ ต้องมีบทบาทสำคัญและอยู่ภายใต้การปฏิรูปองค์กรเพื่อทำงานด้วยความเข้มแข็ง แทนที่จะอยู่ไปแต่ละวันขณะที่ป่าไม้ต้นน้ำลำธารถูกลักลอบทำลายจนแทบไม่เหลือ ความแห้งแล้งที่เกิดขึ้นในต้นน้ำจังหวัดภาคเหนือเป็นการเตือนว่าในอนาคตประเทศไทยและเพื่อนบ้านต้องเผชิญต่อการแย่งชิงทรัพยากร โดยเฉพาะแม่น้ำโขง การสูญเสียระบบนิเวศวิทยา ทำให้ความยากจนในชนบทแพร่กระจาย ถ้าการเกษตรไม่ได้ผล ฝนทิ้งช่วง น้ำในเขื่อนไม่เพียงพอ

การปลูกป่าทำให้เกิดการจ้างแรงงาน หน่วยงานต่างๆ มีหน้าที่รักษาผลประโยชน์อย่างต่อเนื่อง และรัฐบาลต้องเพิ่มและจัดการระบบดูแลอย่างเคร่งครัด เพื่อให้ได้ผลเต็มที่ แม้จะต้องกินเวลานาน ยังดีกว่าไม่เริ่มต้นทำอะไร ปล่อยให้สภาพเลวร้ายลง ทำให้พื้นที่ป่าไม้เหลือน้อย เพิ่มอุณหภูมิให้สูงเกินกว่าระดับปกติ ดังที่มีการเตือนว่าปีนี้อากาศภาคเหนือจะร้อนระอุ

การฟื้นฟูป่าไม้จะเป็นการเพิ่มศักยภาพในการผลิตอาหารสำหรับอนาคต ซึ่งเป็นที่ต้องการของชาวโลก สร้างความมั่นใจว่าคนไทยจะมีอาหารเพียงพอและเหลือสำหรับสร้างรายได้เข้าประเทศ เพราะการเกษตรเป็นทางเลือกสำหรับการพัฒนาเศรษฐกิจแบบยั่งยืนกว่าภาคอุตสาหกรรม ซึ่งถูกพิสูจน์ให้เห็นในยุควิกฤติเศรษฐกิจปัจจุบันว่า เป็นปัญหามากกว่าการประคองสภาวะของประเทศ เพราะประเทศไทยต้องนำเข้าปัจจัยต่างๆ และพึ่งพาแหล่งป้อนจากต่างประเทศ สร้างมลภาวะเป็นพิษ ทำลายคุณภาพชีวิตของประชาชนในระยะยาว

การป้องกันและแก้ไขปัญหาภัยธรรมชาติ

ภัยธรรมชาตินั้นเกิดจากหลายสาเหตุและปัจจัย แต่ทั้งนี้ในยุคสมัยก่อนที่ ก่อนที่จะมาเป็นสังคมเมืองนั้นการปรับสมดุลทางธรรมชาตินั้นไม่เคยก่อความเสียได้มากมายหนัก เพราะว่า ประชาชนส่วนใหญ่นั้นไม่ค่อยลุกล้ำเข้าไปอาศัยในพื้นที่เสียงที่จะเกิดภัยทางธรรมชาติ แต่ถ้าจำเป็นที่จะต้องเข้าไปอาศัยในพื้นที่ ที่เสี่ยงนั้น การก่อสร้างอาคารบ้านเรืองนั้นก็จะออกมาในรูปแบบของอาคารที่รองรับกับเหตุการณ์ที่จะเกิดในอนาคต เห็นได้จากบ้านเรือนในสมัยก่อนนั้นบ้านเรือนส่วนใหญ่จะเป็นบ้านที่ยกขึ้นจากพื้นให้สูง (ที่ชาวบ้านเขาเรียกกันว่าใต้ถุนบ้าน) เพื่อนที่จะรองรับปริมาณน้ำในช่วงที่มีฝนตกหนัก แต่ในปัจจุบันนั้นบ้านเรือนส่วนใหญ่นั้นเป็นบ้านชั้นเดียวและพื้นก็เรียบระนาบไปกับพื้นดิน นั้นหมายความว่าไม่มีระบบในการป้องกันตนเองในเบื้องต้น

นางกัญญาภัค ศรีสิงห์

สิ่งมีชีวิตมีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับสิ่งแวดล้อม ถ้าสิ่งแวดล้อมเกิดความเสื่อมโทรมย่อมจะส่งผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตอย่างแน่นอน การเพิ่มจำนวนประชากร การพัฒนาและการใช้เทคโนโลยีที่ไม่เหมาะสม ตลอดจนกิจกรรมต่างๆของมนุษย์ จึงเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อม

ปัญหาสิ่งแวดล้อมที่มนุษย์กำลังประสบอยู่ในปัจจุบัน

สิ่งแวดล้อม(Environment) หมายถึงทุกสิ่งทุกอย่างรอบตัวเราเป็นสิ่งแวดล้อมทั้งสิ้นทั้งสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมที่มนุษย์สร้างขึ้น ถ้าสิ่งแวดล้อมเกิดการเปลี่ยนแปลงไปในทางลบหรือถูกทำลาย และการเปลี่ยนแปลงนั้นสะสมตัวมากขึ้นจนธรรมชาติไม่สามารถที่จะปรับให้เข้าสู่สภาวะปกติหรือสภาวะสมดุลได้ทัน ผลที่เกิดขึ้นก็คือความเสื่อมโทรมของสิ่งแวดล้อมนั้นๆซึ่งอาจจะมีผลต่อคุณภาพน้ำ คุณภาพอากาศ คุณภาพดิน การสูญเสียของพืชและสัตว์ การสูญเสียความงามตามธรรมชาติ ฯลฯ สิ่งต่างๆเหล่านี้ย่อมส่งผลกระทบมาถึงมนุษย์ไม่ทางตรงก็ทางอ้อมได้

ปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน ล้วนมีสาเหตุมาจากการเพิ่มประชากรมนุษย์ ผลกระทบข้างเคียง ของการพัฒนาทางวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี ขนบธรรมเนียมประเพณี – วัฒนธรรม – ค่านิยม – ความเชื่อ และการยกระดับมาตรฐานการดำรงชีวิตของมนุษย์ในปัจจุบันนั่นเอง จากปัญหาสิ่งแวดล้อมที่มนุษย์กำลังเผชิญอยู่ อันจะส่งผลกระทบต่อความเป็นอยู่และชีวิตมนุษย์ในปัจจุบัน ซึ่งสามารถสรุปได้ 3 ประการที่สำคัญ คือ

1. ปัญหาการลดลงของทรัพยากรธรรมชาติ ทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่ในประเทศเช่น ดิน น้ำ ป่าไม้ แร่ธาตุ และพลังงาน ถูกนำไปใช้เป็นวัตถุดิบเพื่อเพิ่มผลผลิตทาง อุตสาหกรรม ซึ่งส่งผลให้มีการใช้ทรัพยากรธรรมชาติเพิ่มขึ้นทุกๆปี และส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมตามมา

2. ปัญหาสารพิษ จากการผลิตสินค้าทั้งด้านการเกษตรและอุตสาหกรรมที่เพิ่มขึ้นทำให้มีการใช้สารเคมีต่างๆ ในปริมาณที่มากขึ้น จึงเป็นเหตุให้สารพิษเหล่านั้นถูกปลดปล่อยสู่สิ่งแวดล้อมมากขึ้น ซึ่งยากแก่การป้องกันได้ทั่วถึง ก่อให้เกิดอันตรายแก่มนุษย์และสิ่งแวดล้อม

3. ปัญหาของระบบนิเวศ กิจกรรมต่างๆของมนุษย์ในการใช้ทรัพยากรธรรมชาติและก่อให้เกิดสารพิษเป็นเหตุให้ระบบนิเวศน์ขาดความสมดุล ซึ่งก่อให้เกิดปรากฏการณ์ธรรมชาติต่างๆตามมา เช่น ความร้อนและความแห้งแล้งที่เกิดขึ้นในหลายภูมิภาคของโลก การเกิดอุทกภัย เป็นต้น

ปัญหาทั้ง 3 ประการเป็นปัญหาใหญ่ที่สำคัญ ซึ่งมาจากปัญหาย่อยๆหลายปัญหาด้วยกัน เช่นมลพิษทางน้ำ ทางอากาศ ทางเสียง ขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล

สาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อมต่างๆ

1. การเพิ่มจำนวนประชากร ภายในระยะเวลาไม่กี่สิบปีมานี้ ประชากรของโลกได้เพิ่มจำนวนขึ้นอย่างรวดเร็ว เมื่อจำนวนประชากรเพิ่มขึ้นความต้องการปัจจัยขั้นพื้นฐานในการดำรงชีวิตของมนุษย์ซึ่งได้แก่อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย ยารักษาโรค และสิ่งอำนวยความสะดวกสบายต่างๆก็เพิ่มมากขึ้นเป็นเงาตามตัว มนุษย์จึงจำเป็นต้องพัฒนาและผลิตสิ่งต่างๆเหล่านี้ให้พอเพียงกับความต้องการ ทำให้มีการนำทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่ลดลงทุกๆปี ผลที่เกิดขึ้นตามมาก็คือ การเสียสมดุลธรรมชาติ ซึ่งก่อให้เกิดมลพิษ และปัญหาสิ่งแวดล้อมต่างๆ

2. การพัฒนาและการใช้เทคโนโลยีที่ไม่เหมาะสม การพัฒนาของมนุษย์ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาด้านเกษตรกรรมหรือการพัฒนาด้านอุตสาหกรรม ได้มีการนำทรัพยากรธรรมชาติมาใช้อย่างมากมายจนเกิดเป็นการทำลายธรรมชาติ เช่น การสร้างเขื่อนเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าและชลประทาน มีส่วนทำให้พื้นที่ป่าสูญเสียไป การทำเหมืองแร่ นอกจากทำลายสภาพป่าแล้ว ยังทำให้น้ำและดินเสียหายอีกด้วย เป็นต้น และในปัจจุบัน ได้มีการนำเทคโนโลยีใหม่ๆมาช่วยในการพัฒนาก็ยิ่งเพิ่มความเสียหายมากขึ้นทั้งนี้เนื่องจากการใช้เทคโนโลยีดังกล่าวกระทำไปเพื่อสนองความต้องการของมนุษย์เท่านั้นไม่ได้นำมาเพื่อป้องกัน และแก้ไขปัญหาที่จะเกิดขึ้น ดังนั้น เราจึงพบว่า ปัญหาสิ่งแวดล้อมต่างๆที่เกิดขึ้นในปัจจุบันมีส่วนมาจากการใช้เทคโนโลยีของมนุษย์เกือบทั้งสิ้น เช่น การใช้ปุ๋ยและยาปราบศัตรูพืช เพื่อเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร ได้ก่อให้เกิดการตกค้างของสารพิษทั้งตามพื้นดินในน้ำ ในอากาศ และในพืชผักผลไม้และจะตกค้างมาถึงมนุษย์เมื่อบริโภคอาหารที่มีสารพิษนั้นเข้าไป การใช้น้ำยาสารเคมีในกระบวนการผลิตในโรงงานอุตสาหกรรม น้ำเสียจากกระบวนการดังกล่าวถูกปล่อยทิ้งลงสู่แหล่น้ำ ทำให้เกิดการเน่าเสียตามมาเป็นต้น

3. การกระทำโดยตรงของมนุษย์ จากการศึกษาปัญหาสิ่งแวดล้อมที่มนุษย์กำลังเผชิญอยู่ในปัจจุบัน จะพบว่าปัญหาดังกล่าวล้วนเป็นผลมาจากการกระทำของมนุษย์ทั้งสิ้น มนุษย์เป็นตัวการสำคัญที่ทำให้สิ่งแวดล้อมเสียหายไปทั้งทางตรงและทางอ้อมอยู่ตลอดเวลา การกระทำของมนุษย์ที่สร้างความเสียหายให้กับสิ่งแวดล้อมจนเกิดเป็นมลพิษขึ้นมีมากมาย ที่สำคัญๆมีดังนี้

3.1 การทิ้งขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูลลงบนพื้นดิน ถนนหนทาง และแหล่งน้ำ

3.2 การปล่อยน้ำเสียจากบ้านเรือน ชุมชน หรือโรงงานลงสู่แม่น้ำลำคลอง

3.3 การปล่อยควันพิษซึ่งเกิดจากการเผาไหม้ของเครื่องจักรกลในโรงงานอุตสาหกรรมเข้าสู่อากาศ

3.4 การปล่อยไอเสียจากท่อไอเสียรถยนต์และยานพาหนะต่างๆ

3.5 การทำลายสาธารณสมบัติ เช่น สวนสาธารณะ สถานที่พักผ่อนหย่อนใจ เป็นต้น

ปัญหาสิ่งแวดล้อมนอกจากเกิดจากสาเหตุดังกล่าวนี้แล้ว ยังจากสาเหตุอื่นๆอีก เช่น การขยายตัวของเมืองอย่างรวดเร็วและขาดการวางผังเมืองเอาไว้ล่วงหน้า ขนบธรรมเนียม ประเพณี วัฒนธรรม ค่านิยม ความเชื่อของมนุษย์ เป็นต้น

จะร่วมมือกันช่วยเหลือ ฟื้นฟูธรรมชาติ - - โดย การไม่ทำลายทรัพยากรที่มีอยู่ ช่วยกันปลูกป่าไม้เพื่อที่จะได้ทดแทนส่วนที่ได้ถูกทำลายไป

- ไม่ทิ้งขยะมูลฝอย สิ่งปฏิกูลต่างๆ ลงในแม่น้ำลำคลอง เพราะจะทำให้เกิดมลพิษทางน้ำ ทำให้น้ำเน่าเสีย และทำให้เกิดมลพิษทางอากาศตามมา ซึ่งส่งผลต่อสุขภาพร่างกาย

- งดการใช้สารเคมีต่างๆ ซึ่งเป็นเหตุให้สารพิษเหล่านั้นถูกปลดปล่อยสู่สิ่งแวดล้อม อาจทำให้มีมลพิษทางอากาศได้และจะส่งผลกระทบต่อสุขภาพร่างกาย

- ฝึกนิสัยของตนเองโดยการดำรงชีวิตอยู่อย่างเรียบง่าย ตามความเหมาะสม ไม่ใช่อยู่อย่างฟุ่มเฟือย

- พยายามศึกษาหาความรู้ จะทำให้เราสามารถเข้าใจปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นและมีค่านิยมที่ถูกต้อง

เพราะฉะนั้นการได้เรียนรู้ตั้งแต่ในเยาว์ จะทำให้สามารถเข้าใจสิ่งต่างๆได้ แม้จะต้องใช้เวลาก็ไม่ได้เป็นการสูญเปล่าแต่อย่างใดเพราะการสร้างพื้นฐานและเปลี่ยนค่านิยมที่ถูกต้องให้กับสังคมนั้น เวลาและความรับผิดชอบเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด ถ้าชาวไทยทุกคนของเราได้เริ่มต้นรับผิดชอบอย่างจริงจังแล้วในวันนี้ อนาคตที่ไม่ไกลของทิศทางของสังคมคือลิ่งที่จะช่วยให้คุณภาพของสิ่แวดล้อมดำรงอยู่ได้ตลอดไป

นางกัญญาภัค ศรีสิงห์ รหัสนักศึกษา 53223551206 ศูนย์เมืองขุขันธ์

วลัยรัตน์ ทองวิจิตร

มนุษย์กับธรรมชาติ man and nature

สาเหตุที่ทำให้ธรรมชาติเปลี่ยนแปลงไปอย่างรุนแรงและส่งผลกระทบต่อชีวิตมนุษย์และสิ่งมีชีวิตอื่นนั้น เกิดจากการปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมเพื่อการอยู่รอด แต่มนุษย์กลับใช้ความสามารถที่เป็นลักษณะเฉพาะของมนุษย์ คือความสามารถในการประดิษฐ์ และใช้เครื่องมือมาปรับหรือดัดแปลงสิ่งแวดล้อมให้เข้ากับความต้องการของตนเอง

การดำรงชีวิตของมนุษย์ไม่ว่าในยุคสมัยใดจะต้องรบกวนหรือทำลายสิ่งแวดล้อมไม่มากก็น้อย ต่างกันเพียงแต่ว่าการรบกวนหรือทำลายสิ่งแวดล้อมนั้น จะก่อให้เกิดผลกระทบต่อธรรมชาติจนส่งผลกระทบต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์เองมากน้อยเพียงใด ประวัติความเป็นมาของมนุษย์แต่ดั้งเดิม เมื่อมนุษย์เกิดมาในโลกมนุษย์จะอยู่ตามธรรมชาติออกป่าล่าสัตว์มากินเป็นอาหาร นั่นคือการดำรงชีวิตอยู่แบบผสมกลมกลืนกับธรรมชาติ

การสะสมทรัพยากรต่างๆ ก็ยังไม่เกิดขึ้นเพราะมีทรัพยากรมากมีความอุดมสมบูรณ์มากคนมีน้อยจึงไม่ต้องแย่งชิง และไม่มีการสะสมทรัพยากรธรรมชาติเอาไว้ใช้กัน ต่อมามนุษย์เริ่มมีการพัฒนาความคิดขึ้นมา มีเทคโนโลยีขึ้นมาอย่างง่าย คือมีมีดมีหอก ฯลฯ เกิดขึ้นมีการออกไล่ล่าสัตว์โดยความจริงแล้วพอเริ่มคิดออกป่าล่าสัตว์โดยใช้เทคโนโลยีนั้นก็เท่ากับเป็นการทำลายสิ่งแวดล้อมเพิ่มขึ้นแล้ว มีการคิดค้นด้านการเพาะปลูกขึ้นมีการสะสมมีการแย่งชิงทรัพยากรเกิดระบบเศรษฐกิจและเกิดการซื้อขายเกิดขึ้น ต่อมาเมื่อเกิดระบบการผลิตทางการเกษตรกรรมจึงมีของเหลือกินเหลือใช้ในครัวเรือน เกิดการแลกเปลี่ยนขึ้นและการแลกเปลี่ยนในระยะแรกเป็นการแลกเปลี่ยนระหว่างวัตถุกับวัตถุ ต่อมาการแลกเปลี่ยนไม่สะดวกจึงเกิดการซื้อขายขึ้น ความสามารถในการผลิตในยุคที่มีการทำลายสิ่งแวดล้อมมากขึ้นมีการทำลายทรัพยากรมากขึ้นโดยที่ทุกคนพยายามเร่งผลผลิตมีการใช้ปุ๋ยใช้ยาฆ่าแมลง และการเสาะแสวงหาที่ดินที่อุดมสมบูรณ์ มาใช้ในการเกษตรเป็นไปอย่างแพร่หลายเป็นการทำลายสิ่งแวดล้อมมากยิ่งขึ้น ครั้นถึงยุคอุตสาหกรรมการทำลายสิ่งแวดล้อมจึงเกิดขึ้นอย่างกว้างขวางโดยก่อให้เกิดวิกฤตการณ์เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมขึ้นทั่วโลกสืบเนื่องจนถึงปัจจุบัน เหตุการณ์จากภัยธรรมชาติ ก็เกิดขึ้นที่ประเทศไทยประสบปัญหาเดือดร้อนกันทั่ว ทั้งน้ำท่วมและการเกิดแผ่นดินไหว

การเกิดภัยธรรมชาติที่มักเกิดขึ้นทุกปีต่อมาก็ได้เกิดน้ำท่วมใหญ่ที่ภาคใต้กลางเดือนมีนาคม ซึ่งมันไม่น่าจะเป็นไปได้ คนแก่บางคนบอกว่าอยู่มาจนแก่ปูนนี้แล้วไม่เคยเจออากาศหนาวตอนเดือนมีนาคมก็เพิ่งเจอนี่แหละในประเทศไทยก็เกิดแผ่นดินไหวขึ้นในพื้นที่ทางภาคเหนือของประเทศไทย แต่ไม่รุนแรงมากเท่ากับต่างประเทศ

น้ำเป็นทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ และเป็นองค์ประกอบที่สำคัญในระบบนิเวศน์ นอกจากน้ำที่มีอยู่ตามธรรมชาติจะไม่ปลอดภัยแล้ว ยังมีน้ำเสียที่ทิ้งจากบ้านเรือนชุมชนและโรงงานอุตสาหกรรมไหลไปรวมกันในแหล่งน้ำ ในปัจจุบันจึงปรากฏว่าน้ำในทะเลและมหาสมุทร มีความสกปรกมาก ไม่ปลอดภัยสำหรับสัตว์น้ำ น้ำในแม่น้ำลำคลองในบริเวณที่เป็นชุมชนขนาดใหญ่ก็เกิดน้ำเสียพบว่ามีปริมาณออกซิเจนอยู่ต่ำมากไม่ปลอดภัยทั้งใช้ในการอุปโภคบริโภคของประชาชน

และใช้เป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์น้ำ การขาดแคลนน้ำดื่มน้ำใช้ในครัวเรือนและเพื่อการเพาะปลูกเป็นปัญหาสำคัญของประเทศเนื่องจากเกิดความแห้งแล้ง ทำให้ประชาชนเดือดร้อนได้รับความลำบากตามมา

ปัญหาเหล่านี้เกิดขึ้นสืบเนื่องมาจากมนุษย์ทั้งสิ้นมนุษย์ที่เห็นแก่ตัวและมนุษย์ที่มักง่ายทั้งหลาย

แนวทางการแก้ไขและป้องกัน

อยากให้มนุษย์ทุกคนมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมบำรุงรักษาสิ่งแวดล้อม และการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติอย่างสมดุลและยั่งยืนการบำรุงรักษาและการได้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติความหลากหลายทางชีวภาพในการคุ้มครองส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมและธรรมชาติเพื่อให้ดำรงอยู่ได้อย่างปกติและต่อเนื่องในสิ่งแวดล้อมธรรมชาติที่จะไม่ก่อไห้เกิดอันตรายต่อสุขภาพอนามัยของมนุษย์ ซึ่งเราสามารถแก้ไขได้ดังนี้

- รณรงค์การใช้ใบตองแทนถุงพลาสติก

- ไม่ทิ้งขยะและถุงพลาสติกลงแม่น้ำลำคลอง

- ไม่ตัดไม้ทำลายป่า

- ลดการใช้สารเคมี

- ใช้จักยานแทนรถยนต์เป็นการลดมลภาวะเป็นพิษ

ทรัพยากรธรรมชาติมีจำกัด ทรัพยากรธรรมชาติเป็นทรัพยากรที่จำเป็นต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อมอื่นทั้งสิ่งมีชีวิต และสิ่งไม่มีชีวิต

ถ้าเราทุกคนสามารถลดการกระทำเหล่านี้ได้ก็สามารถรักษาสิ่งแวดล้อมและธรรมชาติให้ดำรงอยู่กับมนุษย์ได้อย่างยั่งยืน

สิ่งแวดล้อมอยู่ได้โดยที่ไม่มีมนุษย์แต่มนุษย์อยู่ไม่ได้โดยที่ไม่มีสิ่งแวดล้อม

ส่งแล้วน่ะค่ะ

ผู้ส่ง นางวลัยรัตน์ ทองวิจิตร ศูนย์เมืองขุขันธ์

รหัส 53223551202

การวิเคราะห์ตนเอง

ข้าพเจ้า นางวลัยรัตน์ ทองวิจิตร ศูนย์เมืองขุขันธ์ รหัส 53223551202

S จุดแข็ง จุดเด่นตนเอง

ข้าพเจ้าเป็นคนที่มีความพยายามถ้าตั้งใจจะทำอะไรต้องทำให้สำเร็จหรือถ้าไม่สำเร็จ ก็จะตั้งใจทำให้ดีที่สุด เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่เคารพในการตัดสินใจของคนอื่นเสมอ

W จุดอ่อน จุดด้อยตนเอง

เป็นคนขี้ใจน้อย ชอบสงสารคนอื่นและไว้ใจเพื่อนมากเกินไปเชื่อคนง่าย หรือบางครั้งเวลามีปัญหาไม่ค่อยปรึกษาใคร

O โอกาสในการแก้ไขจุดด้อยของตนเองที่มาจากปัจจัยภายนอก

ยามที่เราท้อแท้หรือมีปัญหา หรือยามที่เราพลาดพลั้งมีแม่มีครอบครัวและคนรอบข้างคอยให้กำลังใจให้คำปรึกษา คนในชุมชนก็เป็นอีกแรงหนึ่งที่เป็นแรงผลักดัน ทำให้เรามีกำลังใจที่จะสู้ต่อไปในวันข้างหน้า

T อุปสรรคในการแก้ไขปัญหาตนเองที่มาจากปัจจัยภายนอก

คนในครอบครัวและคนรอบข้างมีส่วนช่วยอย่างมากไนการแก้ไขปัญหาตนเองแต่ว่าบางครั้ง

เวลาที่เรามีปัญหาไม่กล้าปรึกษาใครเพราะปัญหาบางปัญหาก็ไม่อยากปรึกษาใคร

ผู้ส่ง นางวลัยรัตน์ ทองวิจิตร

สาเหตุของการเปลี่ยนแปลงของธรรมชาติ

ปัจจุบันการเพิ่มของประชากรสูงขึ้น การที่ประชากรเพิ่มจำนวนมากขึ้น หมายถึง ความต้องการในการใช้ ทรัพยากรธรรมชาติในการดำรงชีวิตขั้นต่าง ๆ ก็เพิ่มขึ้นด้วย ทำให้เกิดผลต่าง ๆ ตามมา ได้แก่ การเพิ่มขึ้นของพื้นที่ทำกินทางการเกษตร จนมีการบุกรุกทำลายป่า ทำให้เกิดเสียสมดุลทางธรรมชาติ อีกทั้งความต้องการในการใช้ ทรัพยากรอื่นๆมากขึ้นเช่น น้ำ แร่ธาตุ พลังงานอากาศตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันพบว่ามีอัตราการเพิ่มของประชากรมากขึ้นในแต่ละปี เป็นสาเหตุสำคัญที่ที่ทำให้การใช้ทรัพยากรเพิ่มมากขึ้นและเป็นผลให้จำนวนทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดลดจำนวนลงอย่างรวดเร็ว และส่งผลให้เกิดปัญหาการขาดแคลนทรัพยากรและปัญหามลพิษสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ ตามมา การใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ที่นำมาใช้ในทางการผลิตด้านการเกษตร โดยการใช้สารเคมีต่าง ๆ เช่น ปุ๋ย และยาฆ่าแมลงทำให้เกิดการตกค้าง ของสารเหล่านี้ในดิน และอาจขยายไปสู่แหล่งน้ำและแหล่งต่าง ๆ ในระบบนิเวศ จนเกิดผลต่าง ๆ ตามมา รวมถึงเกิดการสะสม ในสายใยอาหารทางด้านอุตสาหกรรม สารที่ใช้ในกระบวนการผลิตและสารที่เป็นผลเกิดจากกระบวนการผลิต เช่น ตะกั่ว ปรอท สารหนู เป็นต้น จะเป็นอันตรายต่อสุขภาพและมีขั้นตอนการกำจัดส่วนที่ตกค้างให้หมดสิ้นไปได้ยาก และจะเกิดผลกระทบต่าง ๆ ตามมาอีกมากมาย และยังมีอีกหลายสาเหตุและเป็นสาเหตุใหญ่ เช่น คนระดับนักการเมืองหรือข้าราชการ แสดงอิทธิพลโดยการถือเอาพื้นที่ป่าไปใช้ประโยชน์ส่วนตน ถากถางตัดต้นไม้ เป็นต้น

ผลกระทบจากปัญหาสิ่งแวดล้อม

การเกิดมลพิษทางสิ่งแวดล้อม การดำเนินชีวิตประจำวันจากที่เคยสุขสบายก็อาจจะเกิดเป็นทุกข์เกิดเหตุเดือดร้อนรำคาญ เกิดโรคภัยไข้เจ็บ ดังเช่น น้ำ อาหารที่ดื่มกินถ้าสกปรกก็จะเกิดเป็นโรคอุจาระร่วง หรือโรคที่เป็นพิษทางสารเคมี อากาศรอบ ๆ ตัวถ้าเป็นพิษหายใจเข้าไปก็เกิดเป็นโรคเกี่ยวกับระบบหายใจ การถ่ายทิ้งของเสีย ถ้าไม่มีระบบเก็บกำจัดที่ถูกต้องก็จะเป็นที่น่ารังเกียจ ส่งกลิ่นเหม็นรบกวน เป็นแหล่งแพร่กระจายเชื้อโรค ในการประกอบอาชีพต่าง ๆ ในยามพักผ่อนนอนหลับถ้ามีกลิ่นเหม็นรบกวน และ มีเสียงดังรบกวนหรือที่เรียกว่ามลพิษทางเสียงทำให้การหลับนอนพักผ่อนได้ไม่เต็มที่ก็เกิดอาการอ่อนเพลียเจ็บไข้ได้ง่ายและถ้ามีความเครียดอีกด้วยอาจทำให้เกิดสุขภาพจิตไม่ดี

ผลกระทบต่อระบบนิเวศน์

ระบบนิเวศในโลกมีมากมายหลายระบบอธิเช่น ระบบนิเวศน์ในทุ่งนา ระบบนิเวศน์ในทะเล ระบบนิเวศน์ในสระน้ำ ระบบนิเวศน์ในป่า แต่เมื่อเกิดสภาพแวดล้อมเสื่อมโทรมลงระบบนิเวศน์เหล่านี้มักเกิดการเปลี่ยนแปลง ยกตัวอย่างเช่น ระบบนิเวศน์ในป่าถ้าเกิดระบบนิเวศน์เสีย ผลเสียที่จะตามมาคือป่าก็จะหมดสภาพ สัตว์ที่อาศัยอยู่ก็กระจัดกระจายจากการเป็นระบบไปสู่ความไม่มีระบบถ้ายิ่งเป็นป่าต้นน้ำลำธารถูกทำลาย ระบบนิเวศน์สลายไป ผลกระทบต่อปริมาณน้ำลดลงลักษณะของน้ำเปลี่ยนไปสิ่งที่ตามมาก็เกิดสภาพดินเสื่อมโทรม น้ำท่วมโดยฉับพลันอยู่เสมอ ๆไม่มีป่าช่วยทำหน้าที่เป็นเขื่อนธรรมชาติกั้นไว้และสุดท้ายพื้นที่นั้น ๆ ก็อาจจะกลายสภาพเป็นทะเลทรายได้ในที่สุด ในแหล่งที่อยู่อาศัยอื่นๆก็เช่นกันถ้าสภาพสิ่งแวดล้อมเสื่อมโทรมลงผลกระทบต่อระบบนิเวศน์ก็จะมีอย่างมากมายและผลเสียก็จะมาสู่มนุษย์ทั้งในการดำเนินชีวิตแต่ละวันและทั้งการเกิดโรคภัยไข้เจ็บอีกด้วย

การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมโดย สามารถทำได้หลายวิธี ดังนี้

1) การพัฒนาคุณภาพประชาชน โดนสนับสนุนการศึกษาด้านการอนุรักษ์ทรัพยกรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่ถูกต้องตามหลักวิชาซึ่งสามารถทำได้ทุกระดับอายุ ทั้งในระบบโรงเรียนและสถาบันการศึกษาต่างๆ และนอกระบบโรงเรียนผ่านสื่อสารมวลชนต่างๆเพื่อให้ประชาชนเกิดความตระหนักถึงความสำคัญและความจำเป็นในการอนุรักษ์ เกิดความรักความหวงแหนและให้ความร่วมมืออย่างจริงจัง

2) การใช้มาตรการทางสังคมและกฎหมาย การจัดตั้งกลุ่ม ชุมชน ชมรม สมาคม เพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมต่างๆตลอดจนการให้ความร่วมมือทั้งทางด้านพลังกาย พลังใจ พลังความคิด ด้วยจิตสำนึกในความมีคุณค่าของสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรที่มีต่อตัวเรา เช่น กลุ่มชมรมอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของนักเรียน นักศึกษา ในโรงเรียนและสถาบันการศึกษาต่างๆ

3) ส่งเสริมให้ประชาชนในท้องถิ่นได้มีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ ช่วยกันดูแลรักษาให้คงสภาพเดิม ไม่ให้เกิดความเสื่อมโทรมเพื่อประโยชน์ในการดำรงชีวิตในท้องถิ่นของตน การประสานงานเพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจและความตระหนักระหว่างหน่วยงานของรัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกับประชาชน ให้มีบทบาทหน้าที่ในการปกป้องคุ้มครอง ฟื้นฟูการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุด

4) ส่งเสริมการศึกษาวิจัย ค้นหาวิธีการและพัฒนาเทคโนโลยี มาใช้ในการจัดการกับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้เกิดประโยชน์สูงสุด เช่น การใช้ความรู้ทางเทคโนโลยีสารสนเทศมาจัดการวางแผนพัฒนา การพัฒนาอุปกรณ์เครื่องมือเครื่องใช้ให้มีการประหยัดพลังงานมากขึ้น การค้นคว้าวิจัยวิธีการจัดการ การปรับปรุง พัฒนาสิ่งแวดล้อมให้มีประสิทธิภาพและยั่งยืน เป็นต้นการค้นคว้าวิจัยวิธีการจัดการ การปรับปรุง พัฒนาสิ่งแวดล้อมให้มีประสิทธิภาพและยั่งยืน เป็นต้น

5) การกำหนดนโยบายและวางแนวทางของรัฐบาล ในการอนุรักษ์และพัฒนาสิ่งแวดล้อมทั้งในระยะสันและระยะยาว เพื่อเป็นหลักการให้หน่วยงานและเจ้าหน้าที่ของรัฐที่เกี่ยวข้องยึดถือและนำไปปฏิบัติ รวมทั้งการเผยแพร่ข่าวสารด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ทั้งทางตรงและทางอ้อม

แต่สุดท้ายแล้วไม่ว่าจะใช้มาตรการใดๆ ถ้ายังมีคนเห็นแก่ตัวอยู่ปัญหาสิ่งแวดล้อมแก้ยังไงก็ไม่ดีขึ้นแล้วโลกนี้ก็จะมีเหลือแต่ทะเลทราย

สวัสดีค่ะอาจารย์ ดิฉัน นาง วัฒนา แพงวิเศษ รหัส 53223551211

ขอร่วมแสดงความคิดเห็นด้วยค่ะ

1.ปัญหาภาวะแล้งยาวนาน

ในสภาพธรรมชาติที่พบเห็นได้ในปัจจุบัน สภาพธรรมชาติในชุมชน ของดิฉันเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมเป็นอย่างมากเลยค่ะจากท้องนาที่เคยมีความอุดมสมบูรณ์ มีฤดูกาลที่มีความชัดเจน พอที่จะกำหนดระยะเวลาที่จะดำเนินการเพาะปลูกพืช นา พืชไร่ได้อย่างค่อนข้างถูกต้องเหมาะสม มาตลอดแต่มาในระยะหลัง จากนั้นไม่กี่ปีดิฉันรู้สึกว่าเราจะคาดหวัง ไม่ได้เต็มที่นัก

ในช่วงปีที่ผ่านมาความเปลี่ยนแปลงของธรรมชาติที่เกิดขึ้นในชุมชนของดิฉันคือเกิดความแห้งแล้งมากจนเกิดความเสียหายกับนาข้าวที่เคยได้รับผลผลิตค่อนข้างดีแต่มาในปีนี้ เกิดการแล้งในระยะเวลาที่นานมาก คือแล้งตั้งแต่ช่วง เดือน ตุลาคม จนถึงเดือนเมษายนจึงมีฝนตก ช่วงเวลาที่ผ่านมาในที่ชุมชนของดิฉันจะมีภาวะขาดน้ำกินน้ำใช้ ต้อง ซื้อน้ำจากที่อื่นที่ขนมาขาย มากขึ้น เพราะแม้แต่ หลังคาเรือนที่เคยมีการใช้น้ำจากบ่อบาดาล ในปีนี้กลับมีอาการแห้งขาดน้ำอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน

2.ผลกระทบที่เกิดขึ้น

ในช่วงเวลาที่มีภาวะแล้งที่ยาวนานในชุมชนของดิฉัน จะเห็นได้ว่า เพื่อนบ้านในชุมชนที่มีความขยัน ได้ปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตเข้าไปอยู่ ในเมืองเร็วขึ้นโดยคาดหวังที่จะหารายได้เสริม เพิ่มขึ้น เพื่อชดเชย รายได้ของผลผลิตที่ขาดหายไปจากภัยแล้ง

จากสถานการณ์ฝนแล้งภาพที่เห็นในชุมชนของดิฉัน อีกอย่างคือ สภาพของเด็กๆที่ต้องอยู่กับผู้สูงอายุเมื่อ พ่อแม่นั้นได้เข้าไปหางานทำในเมืองต่างๆ แต่ด้วยความที่รักและห่วงลูก กลัวว่าลูกจะรู้สึกทอดทิ้ง พ่อแม่จึงชดเชยโดยการ สรรหาวัตถุนิยมต่างๆ ที่มีในสมัยนิยมให้กับลูก เพื่อไม่ให้ลูกรู้สึกน้อยหน้าเพื่อน นั้นทำให้ ได้เห็นภาพของเด็กๆที่ยังไม่มีรายได้ที่เป็นของตนเองแต่มีของใช้ฟุ่มเฟือย และราคาค่อนข้างแพง เกินวัย และในช่วงเวลาที่เด็กนั้นไม่มีพ่อแม่คอยติดตามดูแลนั้นเด็กๆจะใช้เวลาอยู่กับเพื่อนมากกว่าที่จะอยู่กับญาติผู้ใหญ่ที่พ่อแม่ฝากให้ช่วยดูแล

อาจจะเป็นเพราะช่วงวัยที่ห่างกันหรือเปล่าก็ไม่ทราบได้ เด็กๆจะปลีกตัวออกห่างผู้ใหญ่ และชอบสุมกันอยู่ในที่ลับตา แม้จะมีเสียงเตือนจากผู้ใหญ่แต่ก็ไม่เป็นที่สนใจของเด็กกลุ่มนี้เท่าไดนัก

3.การแก้ไขป้องกันปัญหา เพื่อลดความรุนแรงที่อาจจะเกิดขึ้น

สำหรับดิฉันเองนั้นได้ประสบกับปัญหาภาวะแล้งยาวนานเหมือนกันผลกระทบที่เกิดในครอบครัวดิฉันก็มีเข้ามา อย่างมาก เพราะที่นาของดิฉันอยู่ในที่ดอน จะเรียกว่านากระเทินก็ได้ เมื่อเห็นว่าฝนมีพอที่จะทำให้ผลผลิตจากนาของดิฉันไม่ได้ผลแน่นอน แล้ว ดิฉันจึงปรับเปลี่ยนความคิดที่น่าจะเรียกว่าเปลี่ยนวิกฤติ ให้เป็นโอกาส โดย การรีบเปลี่ยนจากการทำนาข้าวโดยการหันไปปลูกพืชไร่บางประเภทที่คิดว่า เหมาะสมกว่าการทำนา นั้นคือ การเลือกปลูกอ้อย และปลูกมันซึ่งเป็น พืชที่ไม่ต้องการน้ำมากเช่นข้าว จากการเปลี่ยนแปลงจัดการในพื้นที่ที่นาของดิฉันในครั้งนี้ ทำให้ดิฉันสามารถมีผลิตผลที่จะรอเก็บเกี่ยวในระยะเวลาที่แตกต่างจากการทำนาเพียงอย่างเดียว นั้นคือ ก่อนที่จะเริ่มการทำนาในฤดูกาลต่อไปดิฉันก็จะมีรายได้จากการขาย มันซึ่งทำให้ดิฉันมีทุน ซื้อ ปุ๋ยในการทำนาได้ พอสมควร และหากฝนดีมีนำพอเพียง (ช่วงเดือนกรกฎาคม-สิงหาคม) หลังจากการปลูกมันดิฉันก็ยังมีพื้นที่ ในการทำนาต่อ แล้วเมื่อเสร็จจากฤดูเพาะปลูกข้าว ก่อนจะลงในฤดูเก็บเกี่ยวข้าว(ในช่วง เดือน พฤศจิกายน-ธันวาคม) ดิฉันก็จะมีรายได้จากการขายอ้อยซึ่งดิฉันได้แบ่งพื้นที่ส่วนหนึ่งในการทำไร่อ้อย จากการที่ดิฉันได้เลือกทำการปลูกพืชหลายชนิด เพื่อลดการสูญเสียจากผลกระทบจากธรรมชาติที่แปรปรวนเกินคาดเดาได้รวมไปถึง ราคาของผลผลิตต่างๆที่อาจเกิดการเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา ในปีนี้ดิฉันจึงไม่ได้รับความเดือดร้อนเท่าไหร่แม้จะมี ภาระค่าใช้จ่ายที่มีเข้ามาในการเดินทาง ไปร่วมศึกษากับเพื่อนนักศึกษา และ เพื่อติดต่อกับหน่วยงานต่างโดยบทบาทหน้าที่ ที่มีในชุมชน ทำให้ดิฉันต้องเดินทางแทบทุกวัน

ภาพที่ดิฉันบรรยาย ดูเป็นภาพเล็กๆในชุมชนน้อยๆที่อาจจะมีใครนำไปปรับใช้กับตนเองได้บ้าง เพื่อเป็นการบรรเทาความรู้สึกสูญเสีย จากผลกระทบของภัยธรรมชาติ ที่เกิดในพื้นที่ของแต่ละบุคคล ที่อาจจะแตกต่างกันการเลือกที่ จะปฏิบัติ คงจะไม่ใช้วิธีเดียวกันหมด ก็อยากทราบอยู่ค่ะว่าถ้าคนอื่นที่ประสบ กับปัญหาแบบดิฉันจะ มีวิธี การแก้ปัญหาเช่นไร เมื่อเราต้องมีชีวิตที่อยู่กับธรรมชาติเปลี่ยนไป เรื่อยๆ นั้นมีวิธีรับมือกับ

สวัสดีค่ะอาจารย์ ดิฉัน นาง วัฒนา แพงวิเศษ รหัส 53223551211

ขอร่วมแสดงความคิดเห็นด้วยค่ะ

1.ปัญหาภาวะแล้งยาวนาน

ในสภาพธรรมชาติที่พบเห็นได้ในปัจจุบัน สภาพธรรมชาติในชุมชน ของดิฉันเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมเป็นอย่างมากเลยค่ะจากท้องนาที่เคยมีความอุดมสมบูรณ์ มีฤดูกาลที่มีความชัดเจน พอที่จะกำหนดระยะเวลาที่จะดำเนินการเพาะปลูกพืช นา พืชไร่ได้อย่างค่อนข้างถูกต้องเหมาะสม มาตลอดแต่มาในระยะหลัง จากนั้นไม่กี่ปีดิฉันรู้สึกว่าเราจะคาดหวัง ไม่ได้เต็มที่นัก

ในช่วงปีที่ผ่านมาความเปลี่ยนแปลงของธรรมชาติที่เกิดขึ้นในชุมชนของดิฉันคือเกิดความแห้งแล้งมากจนเกิดความเสียหายกับนาข้าวที่เคยได้รับผลผลิตค่อนข้างดีแต่มาในปีนี้ เกิดการแล้งในระยะเวลาที่นานมาก คือแล้งตั้งแต่ช่วง เดือน ตุลาคม จนถึงเดือนเมษายนจึงมีฝนตก ช่วงเวลาที่ผ่านมาในที่ชุมชนของดิฉันจะมีภาวะขาดน้ำกินน้ำใช้ ต้อง ซื้อน้ำจากที่อื่นที่ขนมาขาย มากขึ้น เพราะแม้แต่ หลังคาเรือนที่เคยมีการใช้น้ำจากบ่อบาดาล ในปีนี้กลับมีอาการแห้งขาดน้ำอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน

2.ผลกระทบที่เกิดขึ้น

ในช่วงเวลาที่มีภาวะแล้งที่ยาวนานในชุมชนของดิฉัน จะเห็นได้ว่า เพื่อนบ้านในชุมชนที่มีความขยัน ได้ปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตเข้าไปอยู่ ในเมืองเร็วขึ้นโดยคาดหวังที่จะหารายได้เสริม เพิ่มขึ้น เพื่อชดเชย รายได้ของผลผลิตที่ขาดหายไปจากภัยแล้ง

จากสถานการณ์ฝนแล้งภาพที่เห็นในชุมชนของดิฉัน อีกอย่างคือ สภาพของเด็กๆที่ต้องอยู่กับผู้สูงอายุเมื่อ พ่อแม่นั้นได้เข้าไปหางานทำในเมืองต่างๆ แต่ด้วยความที่รักและห่วงลูก กลัวว่าลูกจะรู้สึกทอดทิ้ง พ่อแม่จึงชดเชยโดยการ สรรหาวัตถุนิยมต่างๆ ที่มีในสมัยนิยมให้กับลูก เพื่อไม่ให้ลูกรู้สึกน้อยหน้าเพื่อน นั้นทำให้ ได้เห็นภาพของเด็กๆที่ยังไม่มีรายได้ที่เป็นของตนเองแต่มีของใช้ฟุ่มเฟือย และราคาค่อนข้างแพง เกินวัย และในช่วงเวลาที่เด็กนั้นไม่มีพ่อแม่คอยติดตามดูแลนั้นเด็กๆจะใช้เวลาอยู่กับเพื่อนมากกว่าที่จะอยู่กับญาติผู้ใหญ่ที่พ่อแม่ฝากให้ช่วยดูแล

อาจจะเป็นเพราะช่วงวัยที่ห่างกันหรือเปล่าก็ไม่ทราบได้ เด็กๆจะปลีกตัวออกห่างผู้ใหญ่ และชอบสุมกันอยู่ในที่ลับตา แม้จะมีเสียงเตือนจากผู้ใหญ่แต่ก็ไม่เป็นที่สนใจของเด็กกลุ่มนี้เท่าไดนัก

3.การแก้ไขป้องกันปัญหา เพื่อลดความรุนแรงที่อาจจะเกิดขึ้น

สำหรับดิฉันเองนั้นได้ประสบกับปัญหาภาวะแล้งยาวนานเหมือนกันผลกระทบที่เกิดในครอบครัวดิฉันก็มีเข้ามา อย่างมาก เพราะที่นาของดิฉันอยู่ในที่ดอน จะเรียกว่านากระเทินก็ได้ เมื่อเห็นว่าฝนมีพอที่จะทำให้ผลผลิตจากนาของดิฉันไม่ได้ผลแน่นอน แล้ว ดิฉันจึงปรับเปลี่ยนความคิดที่น่าจะเรียกว่าเปลี่ยนวิกฤติ ให้เป็นโอกาส โดย การรีบเปลี่ยนจากการทำนาข้าวโดยการหันไปปลูกพืชไร่บางประเภทที่คิดว่า เหมาะสมกว่าการทำนา นั้นคือ การเลือกปลูกอ้อย และปลูกมันซึ่งเป็น พืชที่ไม่ต้องการน้ำมากเช่นข้าว จากการเปลี่ยนแปลงจัดการในพื้นที่ที่นาของดิฉันในครั้งนี้ ทำให้ดิฉันสามารถมีผลิตผลที่จะรอเก็บเกี่ยวในระยะเวลาที่แตกต่างจากการทำนาเพียงอย่างเดียว นั้นคือ ก่อนที่จะเริ่มการทำนาในฤดูกาลต่อไปดิฉันก็จะมีรายได้จากการขาย มันซึ่งทำให้ดิฉันมีทุน ซื้อ ปุ๋ยในการทำนาได้ พอสมควร และหากฝนดีมีนำพอเพียง (ช่วงเดือนกรกฎาคม-สิงหาคม) หลังจากการปลูกมันดิฉันก็ยังมีพื้นที่ ในการทำนาต่อ แล้วเมื่อเสร็จจากฤดูเพาะปลูกข้าว ก่อนจะลงในฤดูเก็บเกี่ยวข้าว(ในช่วง เดือน พฤศจิกายน-ธันวาคม) ดิฉันก็จะมีรายได้จากการขายอ้อยซึ่งดิฉันได้แบ่งพื้นที่ส่วนหนึ่งในการทำไร่อ้อย จากการที่ดิฉันได้เลือกทำการปลูกพืชหลายชนิด เพื่อลดการสูญเสียจากผลกระทบจากธรรมชาติที่แปรปรวนเกินคาดเดาได้รวมไปถึง ราคาของผลผลิตต่างๆที่อาจเกิดการเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา ในปีนี้ดิฉันจึงไม่ได้รับความเดือดร้อนเท่าไหร่แม้จะมี ภาระค่าใช้จ่ายที่มีเข้ามาในการเดินทาง ไปร่วมศึกษากับเพื่อนนักศึกษา และ เพื่อติดต่อกับหน่วยงานต่างโดยบทบาทหน้าที่ ที่มีในชุมชน ทำให้ดิฉันต้องเดินทางแทบทุกวัน

ภาพที่ดิฉันบรรยาย ดูเป็นภาพเล็กๆในชุมชนน้อยๆที่อาจจะมีใครนำไปปรับใช้กับตนเองได้บ้าง เพื่อเป็นการบรรเทาความรู้สึกสูญเสีย จากผลกระทบของภัยธรรมชาติ ที่เกิดในพื้นที่ของแต่ละบุคคล ที่อาจจะแตกต่างกันการเลือกที่ จะปฏิบัติ คงจะไม่ใช้วิธีเดียวกันหมด ก็อยากทราบอยู่ค่ะว่าถ้าคนอื่นที่ประสบ กับปัญหาแบบดิฉันจะ มีวิธี การแก้ปัญหาเช่นไร เมื่อเราต้องมีชีวิตที่อยู่กับธรรมชาติเปลี่ยนไป เรื่อยๆ นั้นมีวิธีรับมือกับธรรมชาติเช่นไร

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท