ตารางฐานในการคำนวณฯ ของข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา (ฉบับใหม่) เพื่อใช้แทนตารางฉบับเดิม


ตารางฐานในการคำนวณฯ ของข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา (ฉบับใหม่) เพื่อใช้แทนตารางฉบับเดิม

"ตารางฐานในการคำนวณฯ ของข้าราชการพลเรือน

ในสถาบันอุดมศึกษา (ฉบับใหม่) เพื่อใช้แทนตารางฉบับเดิม"

ตามหนังสือที่ ศธ 0509(2)/ว 1579 ลงวันที่ 24 ธันวาคม 2553 สำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา ได้เวียนแจ้งหลักเกณฑ์บริหารงานบุคคลตามระบบบริหารงานบุคคลใหม่ จำนวน 17 ฉบับ โดยได้ส่งประกาศ ก.พ.อ. เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขการเลื่อนเงินเดือนข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. 2553 พร้อมทั้งตารางฐานในการคำนวณและช่วงเงินเดือน สำหรับการเลื่อนเงินเดือนในแต่ละประเภทและระดับตำแหน่งของข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา เพื่อให้สถาบันอุดมศึกษาใช้ประกอบการดำเนินการเลื่อนเงินเดือนข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา นั้น

สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา จึงได้ส่งตารางฐานในการคำนวณฯ ฉบับใหม่ตามไฟล์ด้านล่างนี้มาเพื่อใช้แทนตารางฉบับเดิม...

ฐานในการคำนวณและช่วงเงินเดือนสำหรับการเลื่อนเงินเดือน

ในแต่ละประเภทและระดับตำแหน่งของข้าราชการพลเรือน

ในสถาบันอุดมศึกษา

http://gotoknow.org/file/bussayamas/bussayamas909.pdf

หมายเลขบันทึก: 433392เขียนเมื่อ 30 มีนาคม 2011 10:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 เมษายน 2016 13:47 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (15)

ดูตารางฐานการคำนวณแล้ว  สงสัยว่าค่า Mid point มีไว้เพื่อใช้ทำอะไรคะ  เพราะค่าที่นำไปใช้คือค่าตัวบน และตัวล่าง

 

ตอบ...คุณ laeadsakulrat...

  • ค่า Mid Point เป็นค่ากลางของการคิดเงินเดือนระดับบนกับระดับล่าง หารสอง
  • มีไว้เพื่อเป็นการแบ่งฐานเงินเดือนว่า ถ้าท่านใดได้รับเงินเดือนต่ำกว่าค่า Mid Point ก็จะไปรับเงินเดือนในระดับล่าง ถ้าท่านใดได้รับเงินเดือนสูงกว่าค่า Mid Point ก็จะไปรับเงินเดือนในระดับบนค่ะ
  • แต่ปัจจุบันของข้าราชการพลเรือนสามัญ ก็ยังเป็นปัญหากันอยู่ค่ะ...

สวัสดีค่ะ ท่านผอ.กอง

อยากเรียนถามว่า ถ้าหากจะทำชำนาญการพิเศษ หลังจากระบบบริหารงานบุคคลใหม่ออกมาใช้ คือในปี 2554 จะได้รับเงินประจำตำแหน่งหรือไม่ ถ้าได้จะได้เดือนละเท่าไหร่ ได้ 2 ขาหรือไม่

กราบขอบพระคุณเป็นอย่างสูง

ลูกศิษย์ นบก. รุ่น 7 พิบูลย์สงคราม

ตอบ...คุณนรา...

  • ขอบคุณสำหรับดอกไม้กำลังใจค่ะ พี่นีนาถ...
  • คิดถึงนะค่ะ...

สวัสดีค่ะ...พี่นีนาถ...

  • ความดีใจ ตอบผิด คิดว่ากำลังอยู่ในมาดวิชาการ...อิอิอิ
  • ขอบคุณค่ะ...รัก + คิดถึงพี่เสมอนะค่ะ...
ศิริพร โรจน์พิทักษ์กุล

เรียน  พี่บุษ

มีข้อสงสัยอยากเรียนถามพี่ดังนี้ค่ะ

1.ขั้นต่ำชั่วคราวและขั้นต่ำแตกต่างกันอย่างไรคะ หนูอยู่แท่งบริหาร(ผอ.กอง)แต่เงินเดือนยังไม่ถึงขั้นต่ำ(อยู่แค่ขั้นต่ำชั่วคราว เกินไปนิดหนึ่ง)

ศิริพร..มรภ.นครปฐม

 

ตอบ...คุณศิริพร...

  • เงินเดือนขั้นต่ำชั่วคราว เป็นเงินเดือนที่รัฐได้กำหนดเมื่อคราวที่เป็นซีเดิมไงค่ะ
  • ส่วนเงินเดือนขั้นต่ำ เป็นเงินเดือนที่รัฐกำหนดเมื่อครั้งที่แยกเป็นแท่งหรือประเภทตำแหน่งไว้ในครั้งใหม่นี้ค่ะ
  • ถ้าเดิมเรายังเงินเดือนอยู่ขั้นต่ำชั่วคราวอยู่ ก็ได้รับไปจนกว่าเงินเดือนเราจะถึงระดับเงินเดือนขั้นต่ำตามที่ กพอ.กำหนด ค่ะ
  • เรียกว่าเงินเดือนขั้นต่ำชั่วคราว เกิดขึ้นในกรณีที่เป็นเงินเดือนเดิมในครั้งที่เรายังเป็นระบบซีค่ะ...ได้รับไปจนกว่าจะถึงขั้นต่ำ ที่ กพอ.ได้กำหนดใหม่เป็นเงินเดือนขั้นต่ำค่ะ...
ข้าราชการมหาวิทยาลัย

เรียน ถามว่า การคำนวณ เปอร์เซนต์ ของคะแนนคิดอย่างไรครับ

เช่น ดี 70-79 สมมุติว่า ได้คะแนน 76.40 วิธีคิดเป็นร้อยละ คิดอย่างไร งวดที่แล้วได้ 2.470 %

ตอบ ข้าราชการมหาวิทยาลัย

  • สำหรับการกำหนดช่วงคะแนนและระดับผลการประเมิน ขึ้นอยู่กับมหาวิทยาลัยต้องประกาศให้ข้าราชการทราบก่อนการประเมินผลการปฏิบัติงาน อาจอยู่ที่ แบบประเมินผลการปฏิบัติงานที่มหาวิทยาลัยจะเป็นผู้กำหนดให้ข้าราชการทราบค่ะว่า ช่วงคะแนนใด มีผลการประเมินเท่าใด เช่น
  • ช่วงคะแนน 91 - 100 ผลการประเมิน = ดีเด่น
  • ช่วงคะแนน 82 - 90.99 ผลการประเมิน = ดีมาก
  • ช่วงคะแนน 73 - 81.99 ผลการประเมิน = ดี
  • ช่วงคะแนน 60 - 72.99 ผลการประเมิน = พอใช้
  • ช่วงคะแนน ต่ำกว่า 60 ผลการประเมิน = ต้องปรับปรุง
  • ส่วนการคิด % นั้น ผู้บริหารจะนำคะแนนผลการประเมินหลักมาพิจารณากับวงเงินงบประมาณที่ได้รับจัดสรรเพื่อกำหนดร้อยละการเลื่อนเงินเดือน
  • และจำนวนเงินที่ใช้ในการเลื่อนเงินเดือนคำนวณตามฐานคำนวณของข้าราชการในแต่ละประเภท และดับตำแหน่งที่ได้รับการเลื่อนเงินเดือนทั้งหมดตามร้อยละที่กำหนดไว้
  • หากวงเงินงบประมาณที่ได้รับจัดสรรไม่เพียงพออาจกำหนดระดับผลประเมินเป็นระดับย่อยได้อีกเพื่อให้การบริหารวงเงินได้ประโยชน์สูงสุด
  • การบริหารวงเงินจนกว่าเงินที่ใช้ในการเลื่อน ไม่เกินวงเงินที่ได้รับจัดสรรร้อยละ 3 ของเงินเดือนข้าราชการทั้งหมด
  • สำหรับของกรณีที่คุณแจ้งมานั้น...คุณได้ช่วงคะแนน 76.40 ม. อาจกำหนดให้คุณได้รับ = 2.47 % ซึ่งในแต่ละ ม. จะมีประกาศแจ้งให้ทราบอีกฉบับหนึ่งว่า ใครได้ผลการประเมินในระดับดีเด่น ดีมาก ดี พอใช้ ต้องปรับปรุง จะได้รับในร้อยละเท่าใด ให้กับข้าราชการได้รับทราบด้วยค่ะ (ให้สอบถามที่งานการเจ้าหน้าที่) เพราะจะเป็นภาพรวมที่ทำให้ตัวเรามองเห็นว่าในแต่ละช่วง เรามีผลการประเมินอยู่ในระดับเท่าใด เช่น ดีเด่น ดีมาก ฯลฯ แล้วจะตรงกับที่เราได้รับกี่ %
  • แต่ทั้งนี้ ตามประกาศของ ก.พ.อ. จะระบุให้ว่าการคำนวณร้อยละนั้น คนที่ได้รับจะได้รับไม่เกินร้อยละ 6 และเมื่อบริหารในวงเงินในภาพรวมของ ม. แล้วต้องไม่เกินร้อยละ 3 ของจำนวนเงินเดือนของข้าราชการทั้งหมดค่ะ เมื่อภาพรวมเงินเหลือให้ตัดทิ้ง จำนวนเงินที่เหลือในครั้งที่ 1 จะไม่สามารถนำไปรวมกับจำนวนเงินที่จะคิดให้ในครั้งที่ 2 ได้ค่ะ
  • เรียกว่า "การบริหารวงเงินที่แต่ละคนได้รับว่าได้รับกี่ % ในครั้งใหม่นี้ เป็นการที่ภาครัฐให้บริหารจัดการตัวเอง คือ นำเงินจากฐานเงินเดือนรวมทั้งหมดมาคิด 3 % แล้วขึ้นอยู่กับใครมีผลงานมากกว่ากัน ถ้ามีผลงานมากก็ได้รับ%มาก ส่วนคนที่มีผลงานน้อยนั้นก็ได้รับ% น้อยลง (คนที่ได้%มากก็ไปกินในส่วน%ของผู้ที่ได้รับ%น้อยไงค่ะ เช่น คนที่ 1 ได้รับ 5 % ก็ไปกิน% ของคนที่ได้รับ 2.3 หรือ 2.5 หรือ 3 ไงค่ะ)

สวัสดีค่ะพี่บุษยมาส

ขอทราบการแบ่งกลุ่มบุคคลที่จะใช้ประเมินค่ะ ผู้บริหารควรประกอบด้วยตำแหน่งใดบ้าง ถือตามตำแหน่งที่จำแนกตามการเป็นข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาหรือไม่ เช่น ข้าราชการสายสนับสนุนที่ เป็นผู้บริหาร ต้องอยู่ในกลุ่มบริหารหรือไม่ หรือหน่วยงานสามารถกำหนด /แยกกลุ่มได้เอง โดยไม่ใช้หลักการแบ่งตามชื่อตำแหน่ง เพราะที่หน่วยงาน มีแบบประเมินแยกส่วนผู้บริหาร สายวิชาการ และสายสนับสนุนค่ะ แต่พอจะแบ่งกลุ่มสำหรับการพิจารณาเม็ดเงินและเปอร์เซ็น กลับไม่มีข้าราชการสายสนับสนุน(ผอ.กอง/หน.สนงคณบดี) ไปรวมคนที่อยู่ตามคณะ ก็นับเม็ดเงินรวมกับข้าราชการสายวิชาการ ค่ะ ตอนอบรมก็ยังคิดว่า บริหารคิดกลุ่มบริหารด้วยกัน อีกอย่างแบบประเมิน์ก็แยกคนละแบบ แต่ทำไมเวลานับเม็ดเงิน กลับให้เกลี่ยในกล่มคณะค่ะ ไม่เข้าใจเหมือนกันว่าที่อื่นเป็นแบบนี้หรือเปล่าค่ะ

  • สวัสดีค่ะ คุณ pinna...
  • สำหรับแบบประเมินผลการปฏิบัติงานนั้น ของ ม. พี่จะแบ่งเป็น 2 สาย คือ สายวิชาการและสายสนับสนุน
  • เพราะจำนวนข้าราชการของพี่เริ่มลดลง การคิดคำนวณ % จึงใช้วิธีให้แต่ละคณะคิดและเรียงจำนวนผู้ที่ควรได้ % มากอยู่ด้านบน และผู้ที่ควรได้ % น้อยควรอยู่ด้านล่าง โดยให้แต่ละคณะเรียงมา จะรวมกับเลขาคณะด้วย
  • สำหรับผู้บริหาร เช่น รองอธิการบดี ผช.อธิการบดี คณบดี ผอ.สำนัก/สถาบัน ผอ.กอง อธิการบดีจะเป็นผู้ที่คิด% ให้เองค่ะ
  • แต่การได้% ของ มรพส.จะไม่ค่อยแตกต่างกันมากนัก เพราะแบบประเมินยังไม่สมบูรณ์ค่ะในตอนนี้ ยังใช้แบบเดิมไปก่อน แต่จวนจะเสร็จสมบูรณ์แล้วค่ะ สำหรับสายสนับสนุนจะใช้เมื่อ 1 เม.ย.2555 ส่วนสายวิชาการแบบยังไม่เสร็จค่ะ...
  • ในการคิด% และเม็ดเงิน ม.จะไม่ได้แบ่งไปให้กับคณะหรอกค่ะ เพราะเม็ดเงินของเรามีน้อย แต่อธิการบดีจะเป็นผู้แบ่ง % ให้ และมีเกณฑ์การแบ่งให้อย่างเป็นธรรมค่ะ ต่างกันก็ไม่มากเท่าไหร่ค่ะ ก็พอรับกันได้
  • แต่คอยดูแบบประเมินใหม่ที่เสร็จก่อนนะคะว่ามันจะมีปัญหาหรือเปล่าค่ะ
  • เราจะเกลี่ยเม็ดเงิน โดยมาอยู่ที่ ม. ค่ะ เพราะไม่เช่นนั้นจะมีปัญหาไงค่ะ เราจึงทำได้ เพราะเราไม่ได้ให้คณะเกลี่ยค่ะ

เรียนพี่บุษยมาส

กรณี ผศ.เงินเดือน3หมื่นยังอยู่ในฐานการคำนวนล่างใช่ไหมครับ แต่เกิดนำ%มาคิดกับในฐานบน จะถือว่าผู้นั้นได้รับเงินไม่ถูกต้องใช่หรือไม่ เพราะหน่วยงานที่ผมอยู่คิดแบบนั้นไปแล้ว

ตอบคุณกู้เกียรติ บุญมี

ให้คุณดูช่วงเงินเดือนนะคะ ถ้าเท่ากับหรือน้อยกว่า ๔๐,๓๘๐ บาท ให้นำฐานล่างมาคิดคูณกับ % ที่ได้ค่ะ แต่ถ้าเงินเดือนอยู่ในช่วง ๔๐,๓๙๐ - ๕๔,๐๙๐ บาท ให้นำฐานบนมาคิดคูณกับ % ค่ะ การจะคิดฐานบนฐานล่างต้องดูที่เงินเดือนของข้าราชการผู้นั้นและมาเทียบกับช่องเทียบเงินเดือนด้วยค่ะว่าอยู่ที่เท่าใด...ถ้าคิดผิด กจ. ต้องคิดใหม่นะคะ เนื่องจากคิดผิด และกรมบัญชีกลางเขาจะทานสอบเราด้วย...ของพี่เจอไปแล้วค่ะ กจ.ต้องออกคำสั่งให้ถูกต้อง...ประเด็นนี้ไม่เท่าไหร่ ประเด็นที่จะมีปัญหา เราต้องเรียกข้าราชการผู้นั้นมาชี้แจงและมีการเรียนเงินคืนค่ะ ถ้าเข้าใจก็ดีไป แต่ถ้าไม่เข้าใจเป็นเรื่องนะคะ เพราะของ ม. พี่โดนไปแล้ว กจ. รับเต็ม ๆ เพราะเขาไม่ฟัง ไม่เข้าใจอะไรทั้งนั้น...ซึ่งในความเป็นจริง เมื่อคิดผิด กจ. ต้องคิดให้ถูกต้อง และต้องนำไปเข้าระบบโครงการจ่ายตรงเงินเดือนด้วยค่ะ มันโยงกันไปหมดไงค่ะ...

อยากทราบว่า ทำไมต้องมีคะแนน Mid point ด้วย อย่างนี้ คนที่เงินเดือนน้อยๆ ก็ยิ่งได้น้อยไปใหญ่ เพราะค่า Mid point ที่ได้มันอยู่ฐานล่าง แต่ในขณะที่คนเงินเดือนสูง ค่า Mid point ที่ได้มันอยู่ฐานสูง เงินเดือนก็ยิ่งสูงไปอีก แบบนี้แล้ว คนเงินเดือนต่ำ ๆ ก็คงจะไม่ได้อยู่ในฐานสูงสักที กว่าจะได้ก็คงเกษียณพอดี เพราะบางหน่วยงาน มีเจ้าหน้าที่ทำงานมาหลายปีแล้ว เงินเดือนยังอยู่ในฐานล่างตลอด

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท