ประชุมกับคณะทำงานโครงการพัฒนาบุคลากรท้องถิ่น ครั้งที่ 2


เมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2554 ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ เลขาธิการมูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศพร้อมคณะทำงานจากมูลนิธิฯและบริษัท เอ็นทียู (ประเทศไทย) ร่วมประชุมกับคณะจากกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นเพื่อหารือเกี่ยวกับโครงการพัฒนาบุคลากรท้องถิ่นเป็นครั้งที่ 2 ณ ห้องประชุมแผน-อำไพ 1 อาคาร 1 ชั้น 2 สถาบันพัฒนาบุคลากรท้องถิ่น คลองหนึ่ง

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ เลขาธิการมูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศได้เสนอว่า 

  • จะทำโครงการเป็น Pilot Project ก่อน เป็นเวลา 6 วัน ใน 20 จุด จุดละ 80 คน รวม 40 ชั่วโมง
  • จะทำ Pilot Project ในจังหวัดปทุมธานี อยุธยาและชลบุรี
  • หัวข้อการบรรยาย ซึ่งจะประกอบด้วยเรื่อง การป้องกันและรับมือภัยธรรมชาติ การเปิดเสรีอาเซียน การเงิน การคลัง การประกันราคาสินค้าเกษตร การสร้างภาวะผู้นำ 7 Habits ผู้ประกอบการรุ่นใหม่
  • จะร่วมมือกับมหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
  • อยากให้ทางกรมฯทำจดหมายเห็นชอบให้ดำเนินโครงการ
  • จะขอให้กระทรวงมหาดไทยออกวุฒิบัตรให้ผู้เรียน
  • ถ้าผู้เรียนใน Pilot Project ชอบ ก็จะมีโครงการต่อเนื่อง
  • จะเชิญคุณธงชัย กิติคุณานนท์ ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาบุคลากรท้องถิ่นออกรายการวิทยุให้สัมภาษณ์เกี่ยวกับโครงการนี้

คุณเก็จวลี ลิขิตนุรักษ์ ผู้อำนวยการบริษัท เอ็นทียู (ประเทศไทย) ได้เสนอว่า

  • จะเลือกจุดติดตั้งอุปกรณ์รับสัญญาณดาวเทียมที่มีศักยภาพ จะช่วยควบคุมจำนวนผู้เรียนได้ง่ายขึ้น
  • อยากให้ดร.จีระทำคำอธิบายรายวิชาว่าผู้เรียนจะได้อะไร

คุณธงชัย กิติคุณานนท์ ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาบุคลากรท้องถิ่น ได้เสนอว่า

  • ควรเปิดหลักสูตรให้นายกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้เรียน
  • หัวข้อที่เรียนคือ วิธีการบริหารจัดการน้ำแล้ง น้ำล้น
  • ควรทำโครงการจังหวัดละแห่ง จำนวน 20 จังหวัด  หรือ อำเภอละแห่ง จำนวน 800 อำเภอ
  • ไม่ควรเรียนต่อเนื่อง 6 วัน แต่ควรจะจัดเป็นจันทร์-พุธ-ศุกร์ หรืออังคาร-พฤหัส

ม.ล.ชาญโชติ ชมพูนุท กรรมการมูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศได้เสนอว่า 

  • ในการเรียนแต่ละครั้งควรมีข้อสรุปที่จุดประกาย และนำมาทำวิจัยได้
  • ควรมีหลักสูตรชุมชนกับการบริหารจัดการการท่องเที่ยว 3 ชั่วโมงเรียนเรื่องภาพรวมการท่องเที่ยวและอีก 3 ชั่วโมงเป็น Case study มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น
หมายเลขบันทึก: 433311เขียนเมื่อ 29 มีนาคม 2011 18:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:40 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

                ผมขอขอบคุณท่านผู้อำนวยการธงชัย กิติคุณานนท์และทีมงานที่กรุณานัดประชุมครั้งที่ 2 คราวนี้ เรามาที่สถาบันพัฒนาบุคลากรท้องถิ่นที่กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น

                ถึงแม้ว่า จะอยู่ไกล ก้นซอย แต่เข้าไปแล้วก็พบว่ามีตึกใหญ่ 2 ตึก ซึ่งในเวลา 7 ปีที่ผ่านมา สถาบันนี้ก็ได้พัฒนาบุคลากรท้องถิ่นไปแล้วกว่า 200,000 คน

                วัตถุประสงค์ที่เราไปหารือก็คือ

                ตกลงเรื่องหลักสูตร Pilot Project (โครงการนำร่อง) ซึ่งทางท่านผู้อำนวยการก็ได้แนะนำให้ใช้ศูนย์ NTU ที่มีอยู่แล้ว จัดหลักสูตรที่เหมาะสมและตรงความต้องการ ซึ่งผมได้หารือกับคุณเก็จวลีแล้ว และจะนำเสนอหลักสูตรดังกล่าวไปอีกครั้ง

                ประทับใจในบรรยากาศการเรียนรู้ของสถาบันแห่งนี้มาก ผมและทีมงานก็หวังว่าจะมีโอกาสได้ทำงานร่วมกันต่อไป

สวัสดีค่ะอาจารย์

         ข้อเสนอจากลูกศิษย์ นบส.กศน.3 ค่ะว่าควรเพิ่มเนื้อหาจิตสาธารณะและการเป็นคนของประชาชน ด้วยค่ะ  เนื่องจาก สองหลักสูตรนี้ เป็นพื้นฐานของคนท้องถิ่นที่อาสาจะมาเป็นตัวแทนประชาชนค่ะ

    

ได้อ่านพบพระบรมราโชวาท ของพระบามสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานแก่คณะอาจารย์ ครู และนักเรียนโรงเรียนไกลกังวล ณ.ศาลาเริง พระราชวังไกลกังวล วันศุกร์ ที่ 8 มิถุนายน 2552

" ....วิชาต่างๆ ที่เรียนที่สอบไล่กันได้นั้น โดยลำพัง ไม่ใช่สิ่งที่จะช่วยให้นักเรียนเอาตัวรอดได้ และไม่ใช่สิ่งที่จะช่วยสร้างสรรค์สิ่งใดให้เป็นประโยชน์แก่ตัว แก่ผู้อื่น แก่บ้านเมืองได้ ผู้มีวิชาการแล้วจำเป็นต้องมีคุณสมบัติในตัวเองนอกจากวิชาความรู้ด้วย จึงจะนำตนนำชาติให้รอดและเจริญได้ คุณสมบัติที่จำเป็นสำหรับทุกคนนั้น ได้แก่ ความละอายชั่วกลัวบาป ความซื่อสัตย์สุจริต ทั้งในความคิดและการกระทำ ความกตัญญูรู้คุณชาติบ้านเมืองและผู้ที่มีอุปการะตัวมา ความไม่เห็นแก่ตัวไม่เอารัดเอาเปรียบผู้อื่น หากแต่มีความจริงใจ มีความปรารถนาดีต่อกัน เอื้อเฟื้อกันตามฐานะและหน้าที่ และที่สำคัญอย่างมากก็คือ ความขยันหมั่นเพียร พยายามฝึกหัดประกอบการงานทั้งเล็ก ใหญ่ ง่าย ยาก ด้วยตัวเอง ด้วยความตั้งใจ ไม่ทอดธุระเพื่อความสะดวกสบายจากการเกียจคร้าน ไม่มักง่าย หยาบคาย สะเพร่า..."

พระราชดำรัส ในพระราชพิธีบวงสรวงสมเด็จพระบูรพมหากษัตริยาธิราชเจ้า ณ ท้องสนามหลวง วันจันทร์ที่ ๕ เมษายน ๒๕๒๕

"....คุณธรรมที่ทุกคนควรจะศึกษาและน้อมนำมาปฎิบัติ มีอยู่สี่ประการ ประการแรก คือการรักษาสัจ ความจริงใจต่อตัวเอง ที่จะประพฤติปฏิบัติแต่สิ่งที่เป็นประโยชน์และเป็นธรรม ประการที่สอง คือการรู้จักข่มใจตัวเอง ฝึกใจตนเองให้ประพฤติปฏิบัติอยู่ในความสัจความดีนั้น ประการที่สาม คือการอดทน อดกลั้น และอดออม ที่จะไม่ประพฤติล่วงความสัจสุจริต ไม่ว่าจะด้วยเหตุประการใด ประการที่สี่ คือการรู้จักระวางความชั่ว ความทุจริต และรู้จักสละประโยชน์ส่วนน้อยของตนเพื่อประโยชน์ส่วนใหญ่ของบ้านเมือง คุณธรรมสี่ประการนี้ถ้าแต่ละคนพยายามปลูกฝังและบำรุงให้เจริญงอกงามขึ้นโดยทั่วกันแล้ว จะช่วยให้ประเทศชาติบังเกิดความสุขความร่มเย็น และมีโอกาสที่จะปรับปรุงพัฒนาให้มั่นคงก้าวหน้าต่อไปได้ดังประสงค์......"

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท